สนทนาภาษาจังหวะหัวใจ 'เมลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม' ปรมาจารย์นักวาดภาพบนถนนระดับโลก!
คนที่อยู่ในวงการนักวาดภาพบนพื้นถนนระดับโลก เรียกสาวมากความสามารถที่ชื่อ-สกุลยาวเป็นกิโลคนนี้ว่า ปรมาจารย์...!
เม ลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม (Melanie Stimmell Van Latum) เกิดและเติบโตที่ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เส้นทางอาชีพของเธอนั้นน่าสนใจมาก เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนศิลปะ Art Center College of Design ที่เมืองพาซาดีนา หลายคนอาจจะรู้จักเธอจากผลงานศิลปะแบบสามมิติที่เธอวาดภาพสไตล์เรอเนซองส์บน พื้นถนน แต่คงจะเดาไม่ออกว่าความจริงเธอเริ่มต้นทำงานด้วย การใช้เวลา 8 ปีเต็มอยู่เบื้องหลังภาพยนตร์การ์ตูนซีรีส์สุดเปรี้ยว อย่าง South Park โดยเธอเริ่มต้นจากการทำงานเป็น Lead Technical Director ให้กับภาพยนตร์เรื่อง “South Park: Bigger, Longer, & Uncut” ซึ่งเป็นภาคพิเศษบนจอภาพยนตร์ของการ์ตูนซีรีส์ทางโทรทัศน์ชุดนี้
จากนั้น 2 ผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ชุดนี้คือ เทรย์ พาร์คเกอร์ และแมท สโตน จึงชักชวนให้ไปทำงานด้วยกันต่อในการ์ตูนซีรีส์ชุด South Park ทางช่อง Comedy Central ทำหน้าที่กำกับดูแลการถ่ายโอนภาพร่างบนหน้ากระดาษให้กลายเป็นภาพแอนิเมชั่น แบบดิจิตอลบนจอโทรทัศน์ที่ทุกคนได้ชม “ในช่วงพักจากการทำ South Park ตอนซัมเมอร์ ฉันเริ่มออกไปวาดภาพบนถนน ตอนนั้นพูดตรงๆ ว่าทำเอาสนุกเฉยๆ แต่พอได้ลองทำแล้วก็รักเลยค่ะ พื้นถนนยางมะตอยกลายเป็นบ้านหลังที่สองของฉันทุกซัมเมอร์ จนในที่สุดฉันก็ตัดสินใจที่จะลาออกจากการทำงานให้กับซีรีส์ South Park เพื่อออกมาเป็นจิตรกรและเป็น Street painter อย่างเต็มตัว” ในงานเปิดตัวการทุบสถิติ การภาพ 3 มิติที่ยาวสุดในโลก ณ สยามเซ็นเตอร์
ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยเธอ!
Q : เดาจากประวัติคงชอบศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ..?
เรา เติบโตมาจากท่ามกลางครอบครัวที่คุณพ่อทำงานเป็นช่างไม้ คุณแม่ทำขนมเบเกอรี่ต่างๆ พูดได้ว่าเราเติบโตมาท่ามกลางงานศิลปะเหล่านี้ตลอด ตัวเราเองเติบโตมาในยุคที่ต้องทำตามฝันของตัวเอง พูดง่ายๆ รอบๆ ตัวมันมีสภาพแวดล้อมให้เราต้องขับเครื่องเพื่อไปให้ถึงความฝัน
Q : ตอนเด็กๆ ฝันอยากจะเป็นอะไร ฝันแรก..?
อยากจะออกไปเดินทาง ชอบการเดินทาง แต่ไม่เคยนึกว่าอาชีพนี้จะพาเราไปท่องเที่ยวได้ทั่วโลกได้จริงๆ
Q : คุณเคยบอกว่าการสร้างสรรค์ศิลปะนี้เริ่มจากความสนุก จากความสนุกเปลี่ยนเป็นอาชีพเมื่อไหร่..?
การ เข้าสู่อาชีพเป็นความบังเอิญ ซึ่งเพื่อนเป็นสตรีทเพนท์เตอร์อยู่แล้ว ตอนนั้นขาดคนเพื่อนก็เลยมาชวนอยากลองไหม เพราะว่าเราเป็นคนชอบศิลปะดรออิ้ง ก็มีโอกาสก็เรียนมาด้วย ตอนแรกก็งงว่าเป็นอย่างไร แต่ก็อยากลองชอบ หลังจากนั้นก็ทำเรื่อยๆ มา
Q: การวาดภาพ 3 มิติ เสน่ห์มันอยู่ตรงไหน แล้วแตกต่างจากการวาดภาพปกติอย่างไร...?
เสน่ห์ ของมันคือ เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะได้ เราสามารถอินเตอร์แอ็กทีฟกับมันได้ ปกติงานอาร์ตทั่วไปมันดูอย่างเดียว จะเหยียบเกลือกกลิ้ง หรือจะนอนทับอะไรได้ทั้งหมด มันจึงรู้สึกเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของงานอาร์ตจริงๆ ด้วย
Q: งานสไตล์นี้ เข้าใจถูกไหมว่า ต้องวาดท้องถนนเท่านั้นใช่ไหม...?
ตอน แรกเริ่มต้นบนท้องถนนธรรมดาๆ แต่ระยะ 5-6 ปีหลัง มีการพัฒนามากขึ้น มันเกิดจากวงการโฆษณาที่เอาอารมณ์ของศิลปะการวาดภาพบนท้องถนนมาเล่น แล้วคำถามก็เกิดขึ้นว่าถ้าไม่เล่นที่ถนนแล้วที่ไหนเล่นได้ จึงดัดแปลงเป็นบนกำแพงเป็นหลังคาบ้าง เพื่อนที่จะตอบโจทย์งานศิลปะที่ไม่ตายตัวมากที่สุด
Q : วาดบนท้องถนนประเภทไหนวาดได้ หรือวาดไม่ได้...?
ทำ ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพื้นยาง พลาสติก คอนกรีต ไม่ว่าจะเป็นแนวนอนแนวตั้ง อย่างที่เราทำที่นี่ (สยามเซ็นเตอร์) วาดพบแผนกระดาษพิเศษแล้วเอามาแปะอีกที และเป็นการวาดสดๆ ตัวพื้นผิวแบบไหนไม่เป็นอุปสรรคต่อการวาดภาพ
Q : รู้ไหมว่าถ้าคุณมาวาดภาพบนถนนประเทศไทยจะโดนตำรวจไทยจับ...?
(หัวเราะเสียงดัง) เพราะอย่างนี้แหละถึงต้องมาวาดในห้าง ในสยาม วาดในกระดาษแคนวาส พอตำรวจมาก็ม้วนเก็บได้
Q : สิ่งอยากจะสื่อสาร เจเนอเรชั่นวาย (คน ที่เกิดช่วง พ.ศ.2523–2537 หรือ ค.ศ.1980–1994 กลุ่มนี้เป็นเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ กล้าแสดงออก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่แคร์ต่อคำวิจารณ์ มีความมั่นใจในตัวเองสูง ชอบทางลัด รวดเร็ว และไฮเทคโนโลยีเป็นที่สุด) ผ่านศิลปะภาพ 3 มิติชิ้นนี้...?
ตัวงานเราได้รับโจทย์มาว่า การดำดิ่งไปสู่โลกของเมลอน ผ่านสายน้ำ ที่นี่มันมีโจทย์อีกอันหนึ่งก็คือว่า ต้องสะท้อนความเป็นเจเนอรี่ชั่นวายด้วย ก็ไปถูกใจบีทของอีควอไลเซอร์ มิวสิกก็เป็นส่วนหนึ่งของเจเนอเรชั่นวาย ก็เอาอีควอไลเซอร์มาบวกกับสายน้ำ สายน้ำที่มันขึ้นลงก็เหมือนกับอีควอไลเซอร์ ไม่หยุดยิ่ง เป็นสายน้ำที่ขึ้นลงตามบีทของดนตรี เป็นสิ่งที่เจนวายเป็นอยู่
Q : ความสุขวันนี้ของนักสร้างสรรค์ศิลปะแบบคุณคืออะไร...?
คือ การวาดภาพเปลี่ยนพื้นผิวทุกอย่างได้ ให้มันกลายเป็นอะไรก็ได้ให้มันมีมิติมากขึ้น 2.ทำให้คนมีส่วนรวมกับงานศิลปะของเราด้วยไม่ใช่เขามันคนเดียว ทุกคนสามารถกลิ้งกับมันได้ เหยียบได้ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะของเราจริงๆ มันแตกต่างจากอาร์ตในรูปแบบอื่น.
** 6+1 ข้อควรรู้จักนักวาดภาพบนพื้นถนนระดับปรมาจารย์ **
1.ปี 1998 เมลานี พบรักกับการวาดภาพบนพื้นถนนแบบสามมิติ ในช่วงเวลาว่างจากงาน และจากวันนั้นมาไม่นาน เธอก็ได้กลายเป็นนักวาดภาพแบบ Street painter แถวหน้าของวงการ ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “Maestra Madonnara” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Master Street Painter หรือนักวาดภาพบนพื้นถนนระดับปรมาจารย์ แถมยังเป็นศิลปินหญิงเพียงคนเดียวที่ได้รับการขนานนามเช่นนี้ใน 2 ประเทศ (คืออิตาลีและเยอรมนี) ตลอดช่วงเวลา 14 ปีเต็ม ในการทำงานเป็นศิลปินผู้วาดภาพในแนวทางนี้
2.เมลานี เคยได้รับรางวัลสำคัญๆ ในแวดวงศิลปะหลายครั้ง อาทิ เหรียญทองและรางวัลที่ 1 ในการแข่งขันวาดภาพบนพื้นถนนในยุโรป เธอเคยทำงานวาดภาพให้ลูกค้าระดับนานาชาติมาแล้วในหลายประเทศ ทั้งตุรกี ฮอลแลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส แคนาดา และเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส รวมถึงในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ เมลานียังทำงานเป็นที่ปรึกษา เข้าร่วมวาดภาพ และร่วมเวิร์กช็อป ในเทศกาลวาดภาพด้วยชอล์กในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
3. เดือน ม.ค. 2012 เมลานีและเพื่อนๆ อีก 2 คนคือ จูลี เคิร์ก เพอร์เซลล์ และเร็มโค แวน ลาทัม เปิดบริษัทรับทำงานวาดภาพบนพื้นถนนชื่อ “We Talk Chalk” เน้นทำงานวาดภาพบนพื้นถนนแบบ 3 มิติ และการทำงานวิชวลอาร์ตให้กับลูกค้าทั่วโลก บริษัท We Talk Chalk มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับลูกค้ารายใหญ่ อาทิ Coors, Kraft, Verizon, VW และ Aramco Saudi Arabia ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดดำเนินการ
4. นอกจากที่ กล่าวมา เมลานียังมีโปรเจกต์อื่นๆ ที่ทำให้เธอไม่ว่างอีกหลายโปรเจกต์ อาทิ การเป็นสนับสนุนเบื้องหลังการศึกษาศิลปะและการบำบัดด้วยศิลปะ โดยเมลานีร่วมมือกับศูนย์ศิลปะการแสดงแห่งเทศมณฑลออเรนจ์ (The Orange County Performing Arts) และศูนย์ดนตรีลอสแองเจลิส (Los Angeles Music Center) ทำหน้าที่เป็นผู้จัด เวิร์กช็อปและนำผู้คนที่พักอาศัยอยู่ในเทศมณฑล มาเข้าร่วมในเทศกาลวาดภาพพื้น ถนนสไตล์อิตาเลียน และการวาดภาพสีน้ำมันทั่วแคลิฟอร์เนียตอนใต้ (เทศกาลนี้ถือเป็นการจัดคลาสสอนการวาดภาพสีน้ำมันสำหรับโรงเรียนระดับประถม ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้เป็นครั้งแรก)
5.และ ที่สำคัญ เมลานียังร่วมกับศูนย์ศิลปะลอสแองเจลิส ในการสร้างสรรค์โปรเจกต์การสอนศิลปะ ระดับมัธยมปลายในพื้นที่ทางใต้ของเซ็นทรัล ลอสแองเจลิส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเรื่องที่เยาวชน อาจจะไปเข้าแก๊งอาชญากรรม หรือไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยการสอนของเธอมุ่งเน้นการเชื่อมโยงศิลปะเข้าไปอยู่ในตารางการเรียนการสอน ประจำวันอย่างกลมกลืน ทั้งนี้ โดยใช้ศิลปะการวาดภาพบนพื้นถนนเป็นตัวขับเคลื่อน เมลานีได้สร้างโปรแกรมการสอน ความยาว 12 สัปดาห์ ที่ช่วยให้ครูอาจารย์สามารถดึงเด็กนักเรียนที่มีปัญหาเข้ามาร่วมเรียนในคลาสนี้ได้ และเมื่อเธอได้รับคำร้องขอให้ไปจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการทำงานวาดภาพบนพื้น ถนนในโรงเรียนต่างๆ ในรัฐอื่นๆ ทั่วสหรัฐฯ รวมถึงในประเทศอื่นๆ มากเข้า เมลานีจึงตัดสินใจจัดตั้ง Street Painting Academy ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนไม่จำกัดอายุ เข้ามาเรียนรู้การทำงานศิลปะสไตล์อิตาเลียน ที่สืบทอดมากว่า 500 ปีแขนงนี้กับเธอ
6.เมลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม เป็นศิลปินระดับนานาชาติที่เข้ามาร่วมมือกับสเมอร์นอฟ และสยามเซ็นเตอร์ในการสร้างแรงบันดาลใจ และปลุกความคิดสร้างสรรค์ให้กับคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยด้วย การสร้างผลงานภาพวาด 3 มิติชิ้นพิเศษที่ยาวที่สุดในโลก (ได้รับการรับรองจาก GUINNESS WORLD RECORDS) โดยผลงานที่ใช้ชื่อว่า “Dive into the World of Melon” ชิ้นนี้มีความยาวกว่า 164 เมตร ผลงานชิ้นนี้จะพาผู้ชมดำดิ่งไปพบกับรสชาติใหม่ของความตื่นเต้นจากภาพวาดเม ลอน ที่แตกออกเป็นรูปน้ำตกอันสวยงาม นอกจากจะเป็นภาพวาดที่ล้ำจินตนาการของผู้ชมแล้ว ยังเป็นภาพวาดที่สะท้อน ไลฟ์สไตล์ของคนเจนเนอเรชั่นวายได้อย่างชัดเจน ผลงาน ชุด “Dive Into the World of Melon” ผลงานภาพวาดสามมิติที่ยาวที่สุดในโลก 164 เมตร โดยสเมอร์นอฟและสยามเซ็นเตอร์
7.รางวัล ที่ เมลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม เคยได้รับ 2010 เหรียญทองการแข่งขัน Incontro Nazionale Madonnari ที่เคอร์ทาโทเน อิตาลี 2010 อันดับ 1 การแข่งขัน Dutch Open Championship ที่วาลเคนเบิร์ก ฮอลแลนด์ 2010 อันดับ 3 รางวัล People’s Choice Award ที่วาลเคนเบิร์ก ฮอลแลนด์ 2008 อันดับ 3 การแข่งขัน Dutch Open Championship ที่วาลเคนเบิร์ก ฮอลแลนด์ 2008 รางวัล People’s Choice Award ที่นีซ ฝรั่งเศส 2006 เหรียญเงิน เทศกาล Madonnari Festival ที่เคอร์ทาโทเน อิตาลี 2004 รางวัลที่ 1 การแข่งขัน Strassenmaler Competition ที่เกลเดิร์น เยอรมนี 2003 รางวัลที่ 1 การแข่งขัน Strassenmaler Competition ที่เกลเดิร์น เยอรมนี 2003 เหรียญทอง เทศกาล Madonnari Festival ที่เคอร์ทาโทเน อิตาลี 2002 เหรียญทอง เทศกาล Madonnari Festival ที่เคอร์ทาโทเน อิตาลี.โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
ขอบคุณ... http://m.thairath.co.th/content/life/369211
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เม ลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม กับผลงานภาพวานบนถนน คนที่อยู่ในวงการนักวาดภาพบนพื้นถนนระดับโลก เรียกสาวมากความสามารถที่ชื่อ-สกุลยาวเป็นกิโลคนนี้ว่า ปรมาจารย์...! เม ลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม (Melanie Stimmell Van Latum) เกิดและเติบโตที่ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เส้นทางอาชีพของเธอนั้นน่าสนใจมาก เธอจบการศึกษาจากโรงเรียนศิลปะ Art Center College of Design ที่เมืองพาซาดีนา หลายคนอาจจะรู้จักเธอจากผลงานศิลปะแบบสามมิติที่เธอวาดภาพสไตล์เรอเนซองส์บน พื้นถนน แต่คงจะเดาไม่ออกว่าความจริงเธอเริ่มต้นทำงานด้วย การใช้เวลา 8 ปีเต็มอยู่เบื้องหลังภาพยนตร์การ์ตูนซีรีส์สุดเปรี้ยว อย่าง South Park โดยเธอเริ่มต้นจากการทำงานเป็น Lead Technical Director ให้กับภาพยนตร์เรื่อง “South Park: Bigger, Longer, & Uncut” ซึ่งเป็นภาคพิเศษบนจอภาพยนตร์ของการ์ตูนซีรีส์ทางโทรทัศน์ชุดนี้ จากนั้น 2 ผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ชุดนี้คือ เทรย์ พาร์คเกอร์ และแมท สโตน จึงชักชวนให้ไปทำงานด้วยกันต่อในการ์ตูนซีรีส์ชุด South Park ทางช่อง Comedy Central ทำหน้าที่กำกับดูแลการถ่ายโอนภาพร่างบนหน้ากระดาษให้กลายเป็นภาพแอนิเมชั่น แบบดิจิตอลบนจอโทรทัศน์ที่ทุกคนได้ชม “ในช่วงพักจากการทำ South Park ตอนซัมเมอร์ ฉันเริ่มออกไปวาดภาพบนถนน ตอนนั้นพูดตรงๆ ว่าทำเอาสนุกเฉยๆ แต่พอได้ลองทำแล้วก็รักเลยค่ะ พื้นถนนยางมะตอยกลายเป็นบ้านหลังที่สองของฉันทุกซัมเมอร์ จนในที่สุดฉันก็ตัดสินใจที่จะลาออกจากการทำงานให้กับซีรีส์ South Park เพื่อออกมาเป็นจิตรกรและเป็น Street painter อย่างเต็มตัว” ในงานเปิดตัวการทุบสถิติ การภาพ 3 มิติที่ยาวสุดในโลก ณ สยามเซ็นเตอร์ เม ลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม กับผลงานภาพวานบนถนน ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยเธอ! Q : เดาจากประวัติคงชอบศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ..? เรา เติบโตมาจากท่ามกลางครอบครัวที่คุณพ่อทำงานเป็นช่างไม้ คุณแม่ทำขนมเบเกอรี่ต่างๆ พูดได้ว่าเราเติบโตมาท่ามกลางงานศิลปะเหล่านี้ตลอด ตัวเราเองเติบโตมาในยุคที่ต้องทำตามฝันของตัวเอง พูดง่ายๆ รอบๆ ตัวมันมีสภาพแวดล้อมให้เราต้องขับเครื่องเพื่อไปให้ถึงความฝัน Q : ตอนเด็กๆ ฝันอยากจะเป็นอะไร ฝันแรก..? อยากจะออกไปเดินทาง ชอบการเดินทาง แต่ไม่เคยนึกว่าอาชีพนี้จะพาเราไปท่องเที่ยวได้ทั่วโลกได้จริงๆ เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน Q : คุณเคยบอกว่าการสร้างสรรค์ศิลปะนี้เริ่มจากความสนุก จากความสนุกเปลี่ยนเป็นอาชีพเมื่อไหร่..? การ เข้าสู่อาชีพเป็นความบังเอิญ ซึ่งเพื่อนเป็นสตรีทเพนท์เตอร์อยู่แล้ว ตอนนั้นขาดคนเพื่อนก็เลยมาชวนอยากลองไหม เพราะว่าเราเป็นคนชอบศิลปะดรออิ้ง ก็มีโอกาสก็เรียนมาด้วย ตอนแรกก็งงว่าเป็นอย่างไร แต่ก็อยากลองชอบ หลังจากนั้นก็ทำเรื่อยๆ มา Q: การวาดภาพ 3 มิติ เสน่ห์มันอยู่ตรงไหน แล้วแตกต่างจากการวาดภาพปกติอย่างไร...? เสน่ห์ ของมันคือ เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะได้ เราสามารถอินเตอร์แอ็กทีฟกับมันได้ ปกติงานอาร์ตทั่วไปมันดูอย่างเดียว จะเหยียบเกลือกกลิ้ง หรือจะนอนทับอะไรได้ทั้งหมด มันจึงรู้สึกเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของงานอาร์ตจริงๆ ด้วย เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน Q: งานสไตล์นี้ เข้าใจถูกไหมว่า ต้องวาดท้องถนนเท่านั้นใช่ไหม...? ตอน แรกเริ่มต้นบนท้องถนนธรรมดาๆ แต่ระยะ 5-6 ปีหลัง มีการพัฒนามากขึ้น มันเกิดจากวงการโฆษณาที่เอาอารมณ์ของศิลปะการวาดภาพบนท้องถนนมาเล่น แล้วคำถามก็เกิดขึ้นว่าถ้าไม่เล่นที่ถนนแล้วที่ไหนเล่นได้ จึงดัดแปลงเป็นบนกำแพงเป็นหลังคาบ้าง เพื่อนที่จะตอบโจทย์งานศิลปะที่ไม่ตายตัวมากที่สุด Q : วาดบนท้องถนนประเภทไหนวาดได้ หรือวาดไม่ได้...? ทำ ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพื้นยาง พลาสติก คอนกรีต ไม่ว่าจะเป็นแนวนอนแนวตั้ง อย่างที่เราทำที่นี่ (สยามเซ็นเตอร์) วาดพบแผนกระดาษพิเศษแล้วเอามาแปะอีกที และเป็นการวาดสดๆ ตัวพื้นผิวแบบไหนไม่เป็นอุปสรรคต่อการวาดภาพ เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน Q : รู้ไหมว่าถ้าคุณมาวาดภาพบนถนนประเทศไทยจะโดนตำรวจไทยจับ...? (หัวเราะเสียงดัง) เพราะอย่างนี้แหละถึงต้องมาวาดในห้าง ในสยาม วาดในกระดาษแคนวาส พอตำรวจมาก็ม้วนเก็บได้ Q : สิ่งอยากจะสื่อสาร เจเนอเรชั่นวาย (คน ที่เกิดช่วง พ.ศ.2523–2537 หรือ ค.ศ.1980–1994 กลุ่มนี้เป็นเด็กวัยรุ่นยุคใหม่ กล้าแสดงออก มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่แคร์ต่อคำวิจารณ์ มีความมั่นใจในตัวเองสูง ชอบทางลัด รวดเร็ว และไฮเทคโนโลยีเป็นที่สุด) ผ่านศิลปะภาพ 3 มิติชิ้นนี้...? ตัวงานเราได้รับโจทย์มาว่า การดำดิ่งไปสู่โลกของเมลอน ผ่านสายน้ำ ที่นี่มันมีโจทย์อีกอันหนึ่งก็คือว่า ต้องสะท้อนความเป็นเจเนอรี่ชั่นวายด้วย ก็ไปถูกใจบีทของอีควอไลเซอร์ มิวสิกก็เป็นส่วนหนึ่งของเจเนอเรชั่นวาย ก็เอาอีควอไลเซอร์มาบวกกับสายน้ำ สายน้ำที่มันขึ้นลงก็เหมือนกับอีควอไลเซอร์ ไม่หยุดยิ่ง เป็นสายน้ำที่ขึ้นลงตามบีทของดนตรี เป็นสิ่งที่เจนวายเป็นอยู่ เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน Q : ความสุขวันนี้ของนักสร้างสรรค์ศิลปะแบบคุณคืออะไร...? คือ การวาดภาพเปลี่ยนพื้นผิวทุกอย่างได้ ให้มันกลายเป็นอะไรก็ได้ให้มันมีมิติมากขึ้น 2.ทำให้คนมีส่วนรวมกับงานศิลปะของเราด้วยไม่ใช่เขามันคนเดียว ทุกคนสามารถกลิ้งกับมันได้ เหยียบได้ รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะของเราจริงๆ มันแตกต่างจากอาร์ตในรูปแบบอื่น. เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน ** 6+1 ข้อควรรู้จักนักวาดภาพบนพื้นถนนระดับปรมาจารย์ ** 1.ปี 1998 เมลานี พบรักกับการวาดภาพบนพื้นถนนแบบสามมิติ ในช่วงเวลาว่างจากงาน และจากวันนั้นมาไม่นาน เธอก็ได้กลายเป็นนักวาดภาพแบบ Street painter แถวหน้าของวงการ ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “Maestra Madonnara” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Master Street Painter หรือนักวาดภาพบนพื้นถนนระดับปรมาจารย์ แถมยังเป็นศิลปินหญิงเพียงคนเดียวที่ได้รับการขนานนามเช่นนี้ใน 2 ประเทศ (คืออิตาลีและเยอรมนี) ตลอดช่วงเวลา 14 ปีเต็ม ในการทำงานเป็นศิลปินผู้วาดภาพในแนวทางนี้ 2.เมลานี เคยได้รับรางวัลสำคัญๆ ในแวดวงศิลปะหลายครั้ง อาทิ เหรียญทองและรางวัลที่ 1 ในการแข่งขันวาดภาพบนพื้นถนนในยุโรป เธอเคยทำงานวาดภาพให้ลูกค้าระดับนานาชาติมาแล้วในหลายประเทศ ทั้งตุรกี ฮอลแลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส แคนาดา และเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส รวมถึงในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ เมลานียังทำงานเป็นที่ปรึกษา เข้าร่วมวาดภาพ และร่วมเวิร์กช็อป ในเทศกาลวาดภาพด้วยชอล์กในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน 3. เดือน ม.ค. 2012 เมลานีและเพื่อนๆ อีก 2 คนคือ จูลี เคิร์ก เพอร์เซลล์ และเร็มโค แวน ลาทัม เปิดบริษัทรับทำงานวาดภาพบนพื้นถนนชื่อ “We Talk Chalk” เน้นทำงานวาดภาพบนพื้นถนนแบบ 3 มิติ และการทำงานวิชวลอาร์ตให้กับลูกค้าทั่วโลก บริษัท We Talk Chalk มีโอกาสได้ทำงานร่วมกับลูกค้ารายใหญ่ อาทิ Coors, Kraft, Verizon, VW และ Aramco Saudi Arabia ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดดำเนินการ 4. นอกจากที่ กล่าวมา เมลานียังมีโปรเจกต์อื่นๆ ที่ทำให้เธอไม่ว่างอีกหลายโปรเจกต์ อาทิ การเป็นสนับสนุนเบื้องหลังการศึกษาศิลปะและการบำบัดด้วยศิลปะ โดยเมลานีร่วมมือกับศูนย์ศิลปะการแสดงแห่งเทศมณฑลออเรนจ์ (The Orange County Performing Arts) และศูนย์ดนตรีลอสแองเจลิส (Los Angeles Music Center) ทำหน้าที่เป็นผู้จัด เวิร์กช็อปและนำผู้คนที่พักอาศัยอยู่ในเทศมณฑล มาเข้าร่วมในเทศกาลวาดภาพพื้น ถนนสไตล์อิตาเลียน และการวาดภาพสีน้ำมันทั่วแคลิฟอร์เนียตอนใต้ (เทศกาลนี้ถือเป็นการจัดคลาสสอนการวาดภาพสีน้ำมันสำหรับโรงเรียนระดับประถม ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้เป็นครั้งแรก) เม ลานี สติมเมลล์ ฟานลาทัมกับผลงานภาพวานบนถนน 5.และ ที่สำคัญ เมลานียังร่วมกับศูนย์ศิลปะลอสแองเจลิส ในการสร้างสรรค์โปรเจกต์การสอนศิลปะ ระดับมัธยมปลายในพื้นที่ทางใต้ของเซ็นทรัล ลอสแองเจลิส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเรื่องที่เยาวชน อาจจะไปเข้าแก๊งอาชญากรรม หรือไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยการสอนของเธอมุ่งเน้นการเชื่อมโยงศิลปะเข้าไปอยู่ในตารางการเรียนการสอน ประจำวันอย่างกลมกลืน ทั้งนี้ โดยใช้ศิลปะการวาดภาพบนพื้นถนนเป็นตัวขับเคลื่อน เมลานีได้สร้างโปรแกรมการสอน ความยาว 12 สัปดาห์ ที่ช่วยให้ครูอาจารย์สามารถดึงเด็กนักเรียนที่มีปัญหาเข้ามาร่วมเรียนในคลาสนี้ได้ และเมื่อเธอได้รับคำร้องขอให้ไปจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการทำงานวาดภาพบนพื้น ถนนในโรงเรียนต่างๆ ในรัฐอื่นๆ ทั่วสหรัฐฯ รวมถึงในประเทศอื่นๆ มากเข้า เมลานีจึงตัดสินใจจัดตั้ง Street Painting Academy ขึ้น โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนไม่จำกัดอายุ เข้ามาเรียนรู้การทำงานศิลปะสไตล์อิตาเลียน ที่สืบทอดมากว่า 500 ปีแขนงนี้กับเธอ 6.เมลานี สติมเมลล์ ฟาน ลาทัม
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)