สอนภาษาไทยแบบ 5ส - เปิดทำเนียบ ครูดีครูเด่น
แม้ไม่ใช่ภาษาสากลที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกใช้สื่อสารกัน แต่ ครูปราณี สาระคง หรือ ครูปาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประจำชั้น ป.6/9 รร.เมืองนครราชสีมา ก็ภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาษาหนึ่งเดียวในโลก และก็อยากให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้ภาษาของชาติตัวเองได้อย่างถูกต้องอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ครูปราณี ปัจจุบันอายุ 57 ปี รับราชการมาตั้งแต่พ.ศ. 2518 เป็นแม่พิมพ์ของชาติที่มีใจรักและศรัทธาในศาสตร์วิชาภาษาไทยอย่างถ่องแท้ และเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ภาษา ไทยอย่างลึกซึ้ง กระทั่งเกิดผลงานเด่นทำให้เด็กนักเรียนอ่านออกเขียนได้ 100% เป็นที่น่าชื่นชมยกย่อง
ครูปราณี เล่าว่า ครูมีหลักคิดที่ว่าเราต้องจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน เพลิด เพลิน ไม่น่าเบื่อ โดยจะมีกระบวนการคัดกรองเด็กเป็นรายบุคคลก่อนการสอน แล้วใช้หลักการพัฒนาเด็กนักเรียนแบบ 5ส คือ 1. สำรวจ เพื่อหาว่าเด็กแต่ละคนมีข้อบกพร่องทางภาษาขนาดไหน คัดกรองตั้งแต่พยัญชนะ ก-ฮ สระ ไล่มาถึงการประสมคำ อ่านเป็นคำ แล้วจะได้เด็กกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องของภาษาไทย 2. สื่อ โดยวางแผนว่าจะใช้สื่อการสอนแบบไหนที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาเด็กแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะผลิตสื่อที่หลากหลายให้เด็กได้สัมผัสจับต้อง ได้อ่าน-เขียน 3. สอน ใช้วิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ เช่น มีเพลง เกมเข้าไปช่วย การตั้งคำถาม-ตอบคำถาม 4. สอบ เป็นการตรวจสอบวัดผล และ 5. เสริม มีการซ่อมเสริม เด็กคนไหนยังบกพร่องก็ต้องซ่อมเสริม ส่วนเด็กที่เก่งก็ส่งเสริม เช่น หารางวัลให้ หรือพาไปแข่งขันในเวทีต่าง ๆ
สำหรับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยของเด็กยุคใหม่ ครูปราณี ยอมรับว่าเด็กจะให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย อาจจะมองว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ ครูจึงต้องพยายามสอดแทรกความรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายรักการอ่าน มีฐานความรู้ต่าง ๆ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กเข้าห้องสมุด ให้คะแนนในผลงานการเข้าห้องสมุด การให้รางวัลยอดนักอ่าน เป็นต้น
ครูปราณี ยังบอกอีกว่า เด็กสมัยนี้มักใช้ภาษาไทยแบบผิดเพี้ยน มีศัพท์แปลกใหม่ที่ใช้เฉพาะกลุ่มของเขาที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น แต่ครูก็พยายามดึงให้นักเรียนเข้าสู่กรอบการเรียนภาษาไทยแบบดั้งเดิม อนุรักษ์ภาษา ให้เด็กได้ฝึกใช้ภาษาอย่างถูกต้อง เช่น ประกวดเล่านิทาน พร้อมย้ำกับเด็ก ๆ อยู่เสมอว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเด็ก ๆ แต่เราก็อย่าหลงลืมภาษาไทย เพราะถือเป็นหัวใจและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเราเอง
“ในฐานะที่เป็นครูภาษาไทย เราภาคภูมิใจที่สามารถถ่ายทอดภาษาให้เด็กนักเรียน ทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ยิ่งเวลาที่ส่งเด็กเข้าประกวดเรื่องภาษาไทย พอได้รางวัลมาก็ดีใจมาก อะไรไม่สำคัญเท่าเด็ก เมื่อเด็กประสบความสำเร็จ เด็กมีความก้าวหน้า เราก็ภาคภูมิใจที่สุด ส่วนรางวัลครูภาษาไทยดีเด่นจากคุรุสภาที่ได้รับมาถือเป็นสิ่งตอบแทนจากความเพียรพยายาม เราทำงานหนักมาโดยตลอด ถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในชีวิตที่ครั้งหนึ่งเกิดเป็นครู ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจให้อุทิศตนทำงานตลอดช่วงอายุราชการที่เหลืออย่างเต็มที่เพื่ออนาคตที่ดีของเด็กนักเรียนต่อไป” ครูปราณี กล่าว….โดยมนัส กบขุนทด
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/education/232263
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ครูปราณี สาระคง หรือ ครูปาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประจำชั้น ป.6/9 รร.เมืองนครราชสีมา แม้ไม่ใช่ภาษาสากลที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกใช้สื่อสารกัน แต่ ครูปราณี สาระคง หรือ ครูปาน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประจำชั้น ป.6/9 รร.เมืองนครราชสีมา ก็ภาคภูมิใจในภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ภาษาหนึ่งเดียวในโลก และก็อยากให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้ภาษาของชาติตัวเองได้อย่างถูกต้องอันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ครูปราณี ปัจจุบันอายุ 57 ปี รับราชการมาตั้งแต่พ.ศ. 2518 เป็นแม่พิมพ์ของชาติที่มีใจรักและศรัทธาในศาสตร์วิชาภาษาไทยอย่างถ่องแท้ และเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ภาษา ไทยอย่างลึกซึ้ง กระทั่งเกิดผลงานเด่นทำให้เด็กนักเรียนอ่านออกเขียนได้ 100% เป็นที่น่าชื่นชมยกย่อง ครูปราณี เล่าว่า ครูมีหลักคิดที่ว่าเราต้องจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน เพลิด เพลิน ไม่น่าเบื่อ โดยจะมีกระบวนการคัดกรองเด็กเป็นรายบุคคลก่อนการสอน แล้วใช้หลักการพัฒนาเด็กนักเรียนแบบ 5ส คือ 1. สำรวจ เพื่อหาว่าเด็กแต่ละคนมีข้อบกพร่องทางภาษาขนาดไหน คัดกรองตั้งแต่พยัญชนะ ก-ฮ สระ ไล่มาถึงการประสมคำ อ่านเป็นคำ แล้วจะได้เด็กกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องของภาษาไทย 2. สื่อ โดยวางแผนว่าจะใช้สื่อการสอนแบบไหนที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาเด็กแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะผลิตสื่อที่หลากหลายให้เด็กได้สัมผัสจับต้อง ได้อ่าน-เขียน 3. สอน ใช้วิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ เช่น มีเพลง เกมเข้าไปช่วย การตั้งคำถาม-ตอบคำถาม 4. สอบ เป็นการตรวจสอบวัดผล และ 5. เสริม มีการซ่อมเสริม เด็กคนไหนยังบกพร่องก็ต้องซ่อมเสริม ส่วนเด็กที่เก่งก็ส่งเสริม เช่น หารางวัลให้ หรือพาไปแข่งขันในเวทีต่าง ๆ สำหรับปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยของเด็กยุคใหม่ ครูปราณี ยอมรับว่าเด็กจะให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย อาจจะมองว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ ครูจึงต้องพยายามสอดแทรกความรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ค่ายรักการอ่าน มีฐานความรู้ต่าง ๆ ทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กเข้าห้องสมุด ให้คะแนนในผลงานการเข้าห้องสมุด การให้รางวัลยอดนักอ่าน เป็นต้น ครูปราณี ยังบอกอีกว่า เด็กสมัยนี้มักใช้ภาษาไทยแบบผิดเพี้ยน มีศัพท์แปลกใหม่ที่ใช้เฉพาะกลุ่มของเขาที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น แต่ครูก็พยายามดึงให้นักเรียนเข้าสู่กรอบการเรียนภาษาไทยแบบดั้งเดิม อนุรักษ์ภาษา ให้เด็กได้ฝึกใช้ภาษาอย่างถูกต้อง เช่น ประกวดเล่านิทาน พร้อมย้ำกับเด็ก ๆ อยู่เสมอว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเด็ก ๆ แต่เราก็อย่าหลงลืมภาษาไทย เพราะถือเป็นหัวใจและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเราเอง “ในฐานะที่เป็นครูภาษาไทย เราภาคภูมิใจที่สามารถถ่ายทอดภาษาให้เด็กนักเรียน ทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ยิ่งเวลาที่ส่งเด็กเข้าประกวดเรื่องภาษาไทย พอได้รางวัลมาก็ดีใจมาก อะไรไม่สำคัญเท่าเด็ก เมื่อเด็กประสบความสำเร็จ เด็กมีความก้าวหน้า เราก็ภาคภูมิใจที่สุด ส่วนรางวัลครูภาษาไทยดีเด่นจากคุรุสภาที่ได้รับมาถือเป็นสิ่งตอบแทนจากความเพียรพยายาม เราทำงานหนักมาโดยตลอด ถือเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในชีวิตที่ครั้งหนึ่งเกิดเป็นครู ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจให้อุทิศตนทำงานตลอดช่วงอายุราชการที่เหลืออย่างเต็มที่เพื่ออนาคตที่ดีของเด็กนักเรียนต่อไป” ครูปราณี กล่าว….โดยมนัส กบขุนทด ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/education/232263 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)