พิษน้ำท่วม! รพ.ปิดบริการชั่วคราวเพิ่มอีก 14 แห่ง
โรงพยาบาลอ่วม! พิษน้ำท่วมส่งผลให้ต้องปิดบริการชั่วคราวเพิ่มเป็น 14 แห่ง สธ.เตรียมเร่งฟื้นฟูด่วน ขณะที่ผู้ประสบภัยพบมีปัญหาสุขภาพจิตถึง 43 คน ส่วนยอดผู้เจ็บป่วยทั่วไปมี 4,892 คน เตือนกลุ่มมีโรคประจำตัวไม่ควรลุยน้ำตามลำพัง
วันที่ 25 ก.ย. 56 นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้ให้ศูนย์ป้องกันและปฏิบัติการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์ และสาธารณสุข หรือวอร์รูมช่วยเหลือน้ำท่วมของ สธ.ติดตาม สถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์แก่พื้นที่ได้รับรายงานว่าประสบอุทกภัย โดยได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมยาเวชภัณฑ์ ออกให้การดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วมทุกวัน ล่าสุดได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 165 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย 4,892 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ให้บริการผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 43 คน ในจำนวนนี้พบผู้มีความเครียดในระดับมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวม 6 คน ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ออกเยี่ยมบ้าน 8 กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร เพื่อติดตามอาการระหว่างที่การเดินทางไปสถานพยาบาลไม่สะดวก ป้องกันปัญหาขาดยา รวมทั้งหมด 5,679 คน ทุกคนอาการปกติ โดยได้แจกยาชุดน้ำท่วมเพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นระหว่างน้ำท่วมทั้งหมด 33,311 ชุด
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับผลกระทบของสถานบริการ มีหน่วยงานในสังกัดถูกน้ำท่วมทั้งหมด 20 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล 3 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวม 15 แห่ง ในจำนวนนี้สามารถให้บริการตามปกติได้ 4 แห่ง ให้บริการได้บางส่วน 2 แห่ง และปิดบริการชั่วคราว 14 แห่ง ซึ่ง สธ.จะเร่งทำการฟื้นฟู เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้โดยเร็วที่สุด
“เนื่องจากขณะนี้น้ำท่วมกระจายเป็นวงกว้าง ประชาชนต้องเดินลุยน้ำและบางส่วนออกไปจับปลา จึงขอย้ำเตือนให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่สำคัญคือ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก ให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำตามลำพัง ไม่ควรออกไปหาปลา เนื่องจากหากเกิดอาการกำเริบ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนทั่วไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121141 (ขนาดไฟล์: 164)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้สูงอายุนอนเตียงคนไข้ฝ่าน้ำท่วมไปโรงพยาบาล โรงพยาบาลอ่วม! พิษน้ำท่วมส่งผลให้ต้องปิดบริการชั่วคราวเพิ่มเป็น 14 แห่ง สธ.เตรียมเร่งฟื้นฟูด่วน ขณะที่ผู้ประสบภัยพบมีปัญหาสุขภาพจิตถึง 43 คน ส่วนยอดผู้เจ็บป่วยทั่วไปมี 4,892 คน เตือนกลุ่มมีโรคประจำตัวไม่ควรลุยน้ำตามลำพัง วันที่ 25 ก.ย. 56 นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้ให้ศูนย์ป้องกันและปฏิบัติการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณภัยด้านการแพทย์ และสาธารณสุข หรือวอร์รูมช่วยเหลือน้ำท่วมของ สธ.ติดตาม สถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และให้การสนับสนุนอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์แก่พื้นที่ได้รับรายงานว่าประสบอุทกภัย โดยได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พร้อมยาเวชภัณฑ์ ออกให้การดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังโรคที่มากับน้ำท่วมทุกวัน ล่าสุดได้ออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทั้งหมด 165 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วย 4,892 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด ให้บริการผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจิต 43 คน ในจำนวนนี้พบผู้มีความเครียดในระดับมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ รวม 6 คน ได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ได้ออกเยี่ยมบ้าน 8 กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคลมชัก ผู้ป่วยจิตเวช ผู้พิการและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร เพื่อติดตามอาการระหว่างที่การเดินทางไปสถานพยาบาลไม่สะดวก ป้องกันปัญหาขาดยา รวมทั้งหมด 5,679 คน ทุกคนอาการปกติ โดยได้แจกยาชุดน้ำท่วมเพื่อดูแลสุขภาพเบื้องต้นระหว่างน้ำท่วมทั้งหมด 33,311 ชุด โรงพยาบาลถูกน้ำท่วมขัง นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับผลกระทบของสถานบริการ มีหน่วยงานในสังกัดถูกน้ำท่วมทั้งหมด 20 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาล 3 แห่ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวม 15 แห่ง ในจำนวนนี้สามารถให้บริการตามปกติได้ 4 แห่ง ให้บริการได้บางส่วน 2 แห่ง และปิดบริการชั่วคราว 14 แห่ง ซึ่ง สธ.จะเร่งทำการฟื้นฟู เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้โดยเร็วที่สุด “เนื่องจากขณะนี้น้ำท่วมกระจายเป็นวงกว้าง ประชาชนต้องเดินลุยน้ำและบางส่วนออกไปจับปลา จึงขอย้ำเตือนให้ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่สำคัญคือ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลมชัก ให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำตามลำพัง ไม่ควรออกไปหาปลา เนื่องจากหากเกิดอาการกำเริบ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และเสี่ยงจมน้ำเสียชีวิตได้ง่ายกว่าคนทั่วไป” รมว.สาธารณสุข กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121141 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)