ฝึกทักษะชีวิตด้วย“ดนตรีไทย” ครูสอนดี “นครราชสีมาปัญญานุกูล”

แสดงความคิดเห็น

ท่วงทำนองอันไพเราะของ “เพลงชวา” ที่ดังแว่วมาจากห้องดนตรีไทยของ “โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล” ฟังเผินๆ หลายคนอาจคิดว่าเป็นการซ้อมดนตรีไทยของเด็กทั่วไป แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ จะพบว่าผู้ที่นั่งอยู่หลังเครื่องดนตรีไทยแต่ละชิ้นนั้นเป็นเด็กที่บกพร่อง ทางสติปัญญา ที่แทบไม่มีใครเชื่อว่าพวกเขาจะรวมตัวกันเล่นดนตรีไทยเป็นวงใหญ่ได้ขนาดนี้

นับว่าเป็นวงดนตรีวงพิเศษเพียงหนึ่งเดียวของประเทศไทย ที่เกิดจากความมุมานะมุ่งมั่นและจิตใจที่เสียสละทุ่มเทของครูผู้ที่มีหัวใจ รักในดนตรีไทยของ “นิตยดา อ้อเอก” ครูผู้ได้รับ “ทุนครูสอนดี” จาก “โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง ครูสอนดี” ที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)

ครูนิตยาจัดทำโครงการ “สื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ดนตรีไทย” ให้แก่เด็กนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ให้สามารถบรรเลงและขับร้องดนตรีไทย เพื่อลบข้อจำกัดและปมด้อย เสริมปมเด่น สร้างศักยภาพให้พวกเขาสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว โดยใช้ดนตรีไทยมาเป็นกิจกรรม “ดนตรีบำบัด” โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและความร่วมมือร่วมใจจากเพื่อนครูในการทำงานเป็นอย่างดีมาโดยตลอด

วงดนตรีไทยของโรงเรียนแห่งนี้ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ อาทิ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขิมแผ่นหรือขิมเหล็ก โทน รำมะนา กลองแขก อังกะลุง โหม่ง กรับ ฉิ่ง ฯลฯ โดยเด็กแต่ละคนจะได้เลือกเล่นเครื่องดนตรีที่ตัวเองสนใจได้ตามชอบโดยไม่มี การบังคับ ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความสนใจให้กับเด็ก ไม่มีการแบ่งชั้นเพศหรืออายุ โดยเด็กๆ ทุกคนจะได้เรียนดนตรีไทยทุกวันวันละ 1 ชั่วโมงหลังเลิกเรียน โดยจะมีคุณครูพร้อมดูแลตลอดเวลา

“เทคนิคในการสอนก็คือต้องให้เด็กรักเราก่อน ถ้าเด็กรักเราแล้วเรียกมาง่าย แต่ถ้าเด็กไม่รักแล้วเรียกยังไงก็ไม่มา เพราะว่ามันเหมือนกับการเรียน เป็นอะไรที่ไม่ใช่สนุกสนานอย่างเดียว ต้องอาศัยการจำและทักษะหลายๆ อย่าง เพราะฉะนั้นต้องให้ใจรักก่อน อย่างน้อยก็คือให้เขารักครูก่อน ด้วยการพูดกับเขาดีๆ พูดเพราะ ใจดี ใจเย็นแจกขนมไม่ดุไม่ตี”ครูนิตยดาเผยถึงเทคนิคในการสอน

การเปิดโอกาสให้เด็กๆ เลือกเล่นเครื่องดนตรีได้โดยไม่หวง ทำให้ประสบปัญหาเครื่องดนตรีพังไปนับไม่ถ้วน เพราะเด็กยังกะน้ำหนักมือไม่ถูก ซื้อมาใช้ไม่นานก็พังอีก ทำให้ “ครูนิตยดา” ต้องคิดแก้ปัญหาเครื่องดนตรีพังด้วยการออกแบบ “เครื่องดนตรีจำลอง” ที่สร้างขึ้นจากไม้อัด เช่น “ขิมไม้อัด” รวมไปถึงการใช้ “กระดาษเทา-ขาว” มาวาดขึ้นเป็นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกหัดตีตามจังหวะและหัดท่องจำตัวโน้ต และหาเครื่องดนตรีทดแทน “ขิมสาย” โดยเปลี่ยนเป็น “ขิมเหล็ก” มาใช้แทนที่จะต้องเปลี่ยนสายขิมกันแทบไม่เว้นแต่ละวัน และที่สำคัญยังต้องสอนแบบซ้ำๆย้ำกันชนิดที่เรียกว่าหากเป็นครูปกติทั่วไปคงถอดใจเลิกสอนไปนานแล้ว

“เพราะเด็กของเรามีการรับรู้ที่ช้า เนื่องจากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา เพราะฉะนั้นการสอนเด็กกลุ่มนี้ต้องสอนแบบสอนซ้ำ ย้ำ ทวน สอนประมาณ 700-800 รอบถึงจะเล่นได้แต่ละเพลง และต้องทวนทุกวัน เพราะว่าถ้าไม่ได้ทวน สองสามวันก็จะลืม ต้องมาทบทวนใหม่ตั้งแต่ต้น

และที่สำคัญก็คือเราจะต้อง ให้กำลังใจเขา ต้องใจเย็น ไม่ดุ ไม่ว่า มีแต่ชม มีแต่ยอไว้ ซึ่งแตกต่างกับเด็กปกติที่สอนแค่3-4รอบก็เล่นได้แต่เด็กของเราไม่รู้กี่ร้อยกี่พันรอบถึงจะเล่นได้”ครูนิตยดาระบุ

แต่ผลดีที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เด็กๆ จะสามารถร้องและเล่นดนตรีไทยเป็นเพลงต่างๆ ได้เท่านั้น ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการในด้านจิตใจ คือมีอารมณ์ที่สงบเยือกเย็นขึ้น นิ่งมากขึ้น มีสมาธิเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถเรียนรู้ในทักษะด้านวิชาการต่างๆในชั้นเรียนได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

นางกาญจนา กระจ่างโพธิ์ ครูผู้สอนทักษะอาชีพและทักษะด้านสังคม ที่ร่วมกับครูนิตยดาช่วยสอนดนตรีไทยให้กับเด็กๆ ที่บกพร่องทางสติปัญญามานานกว่า 20 ปี เล่าว่า ถ้าเป็นคนปกติทั่วเขาคงไม่สอนแล้ว เพราะเด็กกลุ่มนี้สอนยากมาก แต่ครูนิตยดามีความอดทน มีความตั้งใจและความพยายามสูงมาก และมีเทคนิคที่ทำให้เด็กสามารถจำโน้ตและสามารถเล่นเป็นเพลงได้

“เด็กๆ เมื่อได้เล่นได้ฟังดนตรีไทยที่ไพเราะ อารมณ์ของเขาก็จะดีขึ้น เพราะปกติเด็กกลุ่มนี้จะมีอารมณ์แปรปรวน ยิ่งเมื่อได้ไปโชว์ความสามารถเขาก็ยิ่งมีความสุขและอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น การเล่นดนตรีไทยยังส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะเขาจะมีสมาธิและมีความจำที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังบูรณาการด้านวิชาการและความรู้ต่างๆในระหว่างการสอนดนตรีไทยได้อีกด้วย”ครูกาญจนาระบุ

นางรุ่งฤดี ดวงเงิน ครูผู้สอนทักษะวิชาการและทักษะการสื่อสาร ที่มาช่วยสอนดนตรีไทย เล่าว่า เสียงดนตรีสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กกลุ่มนี้ที่มีใจรักในเสียงดนตรีได้ เป็นอย่างดี เมื่อได้ยินเสียงเพลงก็จะเดินมาหาเราก็จะชักชวนให้เขาเข้ามาร่วมกิจกรรม

“ดนตรีไทยช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ได้เป็นอย่างดี จากเด็กที่เคยอารมณ์ร้าย เครียด เมื่อมาได้เล่นดนตรีไทยก็ผ่อนคลายอารมณ์ดีขึ้น งานที่ครูนิตยดาทำนั้นแสดงให้เห็นว่าความพิการด้านสติปัญญานั้นไม่ได้เป็น ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ หลายคนมีพรสวรรค์ด้านนี้ เรียนรู้ไม่นานก็สามารถเล่นได้ พอเล่นแล้วก็รักอยากที่จะต่อเพลงใหม่ไปเรื่อยๆ”ครูรุ่งฤดีกล่าว

ผลของการทำงานโดยใช้ดนตรีบำบัดในกลุ่มเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ เวลาไปแสดงโชว์ในงานต่างๆ นักดนตรีกลุ่มนี้จะนั่งนิ่งเหมือนเด็กปกติ จนหลายคนดูแทบไม่รู้ว่าเป็นเด็กพิเศษ เพราะถูกฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ว่าก่อนเล่นต้องประสานมือไว้ที่ตัก ตอนเล่นต้องนั่งพับเพียบ เวลาเล่นต้องนั่งนิ่งๆ เล่นเสร็จแล้วต้องกราบเครื่องทุกครั้ง ทำให้ลูกศิษย์ของ “ครูนิตยดา” ดูน่ารักและมีมารยาท แต่พอเลิกเล่นแล้วเขาจะหยุกหยิกๆเดินไปเดินมาลุกนั่งๆตามนิสัยปกติ

“ถึงแม้เขาจะเป็นเด็กพิการ แต่เขาก็มีโอกาสที่จะเล่นดนตรีไทยได้ และตอนนี้ความภาคภูมิใจของครูคือ เด็กพิการทางด้านสติปัญญาหรือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่สามารถ เล่นดนตรีไทยได้มีน้อยมาก หรือจะพูดได้ง่ายๆ ว่ามีโรงเดียวของประเทศไทย ซึ่งทำให้ครูภาคภูมิใจมาก แล้วก็บอกกับเด็กๆ ทุกคนว่าว่าหนูต้องภาคภูมิใจนะ เราเป็นโรงเรียนเดียวของประเทศไทยที่สามารถเล่นดนตรีไทยได้” ครูนิตยดากล่าวสรุปอย่างภาคภูมิใจ.

ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/tabloid/131013/80613 (ขนาดไฟล์: 167)

ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย13ต.ค.56

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย13ต.ค.56
วันที่โพสต์: 14/10/2556 เวลา 03:39:32

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ท่วงทำนองอันไพเราะของ “เพลงชวา” ที่ดังแว่วมาจากห้องดนตรีไทยของ “โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล” ฟังเผินๆ หลายคนอาจคิดว่าเป็นการซ้อมดนตรีไทยของเด็กทั่วไป แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ จะพบว่าผู้ที่นั่งอยู่หลังเครื่องดนตรีไทยแต่ละชิ้นนั้นเป็นเด็กที่บกพร่อง ทางสติปัญญา ที่แทบไม่มีใครเชื่อว่าพวกเขาจะรวมตัวกันเล่นดนตรีไทยเป็นวงใหญ่ได้ขนาดนี้ นับว่าเป็นวงดนตรีวงพิเศษเพียงหนึ่งเดียวของประเทศไทย ที่เกิดจากความมุมานะมุ่งมั่นและจิตใจที่เสียสละทุ่มเทของครูผู้ที่มีหัวใจ รักในดนตรีไทยของ “นิตยดา อ้อเอก” ครูผู้ได้รับ “ทุนครูสอนดี” จาก “โครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง ครูสอนดี” ที่ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ครูนิตยาจัดทำโครงการ “สื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ดนตรีไทย” ให้แก่เด็กนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา ให้สามารถบรรเลงและขับร้องดนตรีไทย เพื่อลบข้อจำกัดและปมด้อย เสริมปมเด่น สร้างศักยภาพให้พวกเขาสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว โดยใช้ดนตรีไทยมาเป็นกิจกรรม “ดนตรีบำบัด” โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารและความร่วมมือร่วมใจจากเพื่อนครูในการทำงานเป็นอย่างดีมาโดยตลอด วงดนตรีไทยของโรงเรียนแห่งนี้ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ อาทิ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ขิมแผ่นหรือขิมเหล็ก โทน รำมะนา กลองแขก อังกะลุง โหม่ง กรับ ฉิ่ง ฯลฯ โดยเด็กแต่ละคนจะได้เลือกเล่นเครื่องดนตรีที่ตัวเองสนใจได้ตามชอบโดยไม่มี การบังคับ ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความสนใจให้กับเด็ก ไม่มีการแบ่งชั้นเพศหรืออายุ โดยเด็กๆ ทุกคนจะได้เรียนดนตรีไทยทุกวันวันละ 1 ชั่วโมงหลังเลิกเรียน โดยจะมีคุณครูพร้อมดูแลตลอดเวลา “เทคนิคในการสอนก็คือต้องให้เด็กรักเราก่อน ถ้าเด็กรักเราแล้วเรียกมาง่าย แต่ถ้าเด็กไม่รักแล้วเรียกยังไงก็ไม่มา เพราะว่ามันเหมือนกับการเรียน เป็นอะไรที่ไม่ใช่สนุกสนานอย่างเดียว ต้องอาศัยการจำและทักษะหลายๆ อย่าง เพราะฉะนั้นต้องให้ใจรักก่อน อย่างน้อยก็คือให้เขารักครูก่อน ด้วยการพูดกับเขาดีๆ พูดเพราะ ใจดี ใจเย็นแจกขนมไม่ดุไม่ตี”ครูนิตยดาเผยถึงเทคนิคในการสอน การเปิดโอกาสให้เด็กๆ เลือกเล่นเครื่องดนตรีได้โดยไม่หวง ทำให้ประสบปัญหาเครื่องดนตรีพังไปนับไม่ถ้วน เพราะเด็กยังกะน้ำหนักมือไม่ถูก ซื้อมาใช้ไม่นานก็พังอีก ทำให้ “ครูนิตยดา” ต้องคิดแก้ปัญหาเครื่องดนตรีพังด้วยการออกแบบ “เครื่องดนตรีจำลอง” ที่สร้างขึ้นจากไม้อัด เช่น “ขิมไม้อัด” รวมไปถึงการใช้ “กระดาษเทา-ขาว” มาวาดขึ้นเป็นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกหัดตีตามจังหวะและหัดท่องจำตัวโน้ต และหาเครื่องดนตรีทดแทน “ขิมสาย” โดยเปลี่ยนเป็น “ขิมเหล็ก” มาใช้แทนที่จะต้องเปลี่ยนสายขิมกันแทบไม่เว้นแต่ละวัน และที่สำคัญยังต้องสอนแบบซ้ำๆย้ำกันชนิดที่เรียกว่าหากเป็นครูปกติทั่วไปคงถอดใจเลิกสอนไปนานแล้ว “เพราะเด็กของเรามีการรับรู้ที่ช้า เนื่องจากเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา เพราะฉะนั้นการสอนเด็กกลุ่มนี้ต้องสอนแบบสอนซ้ำ ย้ำ ทวน สอนประมาณ 700-800 รอบถึงจะเล่นได้แต่ละเพลง และต้องทวนทุกวัน เพราะว่าถ้าไม่ได้ทวน สองสามวันก็จะลืม ต้องมาทบทวนใหม่ตั้งแต่ต้น และที่สำคัญก็คือเราจะต้อง ให้กำลังใจเขา ต้องใจเย็น ไม่ดุ ไม่ว่า มีแต่ชม มีแต่ยอไว้ ซึ่งแตกต่างกับเด็กปกติที่สอนแค่3-4รอบก็เล่นได้แต่เด็กของเราไม่รู้กี่ร้อยกี่พันรอบถึงจะเล่นได้”ครูนิตยดาระบุ แต่ผลดีที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เด็กๆ จะสามารถร้องและเล่นดนตรีไทยเป็นเพลงต่างๆ ได้เท่านั้น ยังส่งผลดีต่อพัฒนาการในด้านจิตใจ คือมีอารมณ์ที่สงบเยือกเย็นขึ้น นิ่งมากขึ้น มีสมาธิเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถเรียนรู้ในทักษะด้านวิชาการต่างๆในชั้นเรียนได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นางกาญจนา กระจ่างโพธิ์ ครูผู้สอนทักษะอาชีพและทักษะด้านสังคม ที่ร่วมกับครูนิตยดาช่วยสอนดนตรีไทยให้กับเด็กๆ ที่บกพร่องทางสติปัญญามานานกว่า 20 ปี เล่าว่า ถ้าเป็นคนปกติทั่วเขาคงไม่สอนแล้ว เพราะเด็กกลุ่มนี้สอนยากมาก แต่ครูนิตยดามีความอดทน มีความตั้งใจและความพยายามสูงมาก และมีเทคนิคที่ทำให้เด็กสามารถจำโน้ตและสามารถเล่นเป็นเพลงได้ “เด็กๆ เมื่อได้เล่นได้ฟังดนตรีไทยที่ไพเราะ อารมณ์ของเขาก็จะดีขึ้น เพราะปกติเด็กกลุ่มนี้จะมีอารมณ์แปรปรวน ยิ่งเมื่อได้ไปโชว์ความสามารถเขาก็ยิ่งมีความสุขและอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น การเล่นดนตรีไทยยังส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะเขาจะมีสมาธิและมีความจำที่ดีขึ้น ที่สำคัญยังบูรณาการด้านวิชาการและความรู้ต่างๆในระหว่างการสอนดนตรีไทยได้อีกด้วย”ครูกาญจนาระบุ นางรุ่งฤดี ดวงเงิน ครูผู้สอนทักษะวิชาการและทักษะการสื่อสาร ที่มาช่วยสอนดนตรีไทย เล่าว่า เสียงดนตรีสามารถดึงดูดความสนใจของเด็กกลุ่มนี้ที่มีใจรักในเสียงดนตรีได้ เป็นอย่างดี เมื่อได้ยินเสียงเพลงก็จะเดินมาหาเราก็จะชักชวนให้เขาเข้ามาร่วมกิจกรรม “ดนตรีไทยช่วยพัฒนาด้านอารมณ์ได้เป็นอย่างดี จากเด็กที่เคยอารมณ์ร้าย เครียด เมื่อมาได้เล่นดนตรีไทยก็ผ่อนคลายอารมณ์ดีขึ้น งานที่ครูนิตยดาทำนั้นแสดงให้เห็นว่าความพิการด้านสติปัญญานั้นไม่ได้เป็น ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ หลายคนมีพรสวรรค์ด้านนี้ เรียนรู้ไม่นานก็สามารถเล่นได้ พอเล่นแล้วก็รักอยากที่จะต่อเพลงใหม่ไปเรื่อยๆ”ครูรุ่งฤดีกล่าว ผลของการทำงานโดยใช้ดนตรีบำบัดในกลุ่มเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ เวลาไปแสดงโชว์ในงานต่างๆ นักดนตรีกลุ่มนี้จะนั่งนิ่งเหมือนเด็กปกติ จนหลายคนดูแทบไม่รู้ว่าเป็นเด็กพิเศษ เพราะถูกฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ว่าก่อนเล่นต้องประสานมือไว้ที่ตัก ตอนเล่นต้องนั่งพับเพียบ เวลาเล่นต้องนั่งนิ่งๆ เล่นเสร็จแล้วต้องกราบเครื่องทุกครั้ง ทำให้ลูกศิษย์ของ “ครูนิตยดา” ดูน่ารักและมีมารยาท แต่พอเลิกเล่นแล้วเขาจะหยุกหยิกๆเดินไปเดินมาลุกนั่งๆตามนิสัยปกติ “ถึงแม้เขาจะเป็นเด็กพิการ แต่เขาก็มีโอกาสที่จะเล่นดนตรีไทยได้ และตอนนี้ความภาคภูมิใจของครูคือ เด็กพิการทางด้านสติปัญญาหรือเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาที่สามารถ เล่นดนตรีไทยได้มีน้อยมาก หรือจะพูดได้ง่ายๆ ว่ามีโรงเดียวของประเทศไทย ซึ่งทำให้ครูภาคภูมิใจมาก แล้วก็บอกกับเด็กๆ ทุกคนว่าว่าหนูต้องภาคภูมิใจนะ เราเป็นโรงเรียนเดียวของประเทศไทยที่สามารถเล่นดนตรีไทยได้” ครูนิตยดากล่าวสรุปอย่างภาคภูมิใจ. ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/tabloid/131013/80613 ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย13ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...