โพลวันไม้เท้าขาวสากล 'ผู้พิการทางสายตา'อยากได้โอกาสในการเรียน/การทำงาน
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ,ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจความคิดเห็น ของผู้พิการสายตาเรือนรางและตาบอดสนิทจำนวน 410 คน ใช้เครื่องมือสำรวจปลายปิดเป็นอักษรเบรลล์ สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 35-44 ปี การศึกษาเฉลี่ยระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 4-11 ตุลาคม 2556 เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการให้โอกาสและความสะดวกแต่ผู้พิการทางสายตาและ ผู้พิการอื่น ๆ ได้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพและได้รับความเข้าใจที่ถูกต้อง เนื่องในโอกาสวันไม้เท้าขาวสากล ซึ่งเวียนมาทุกวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี
จากผลการสำรวจสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเตอร์เทอร์เน็ตโพลล์สามารถสรุปได้ ว่า ในด้านมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตร่วมกับคนปกติได้โดยไม่มีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 87.56 ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถมีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 84.88 และผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถเรียน/ทำงานได้ คิดเป็นร้อยละ 79.27 ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.32 อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ควรได้รับโอกาสใน การเรียน/ทำงาน ส่วนมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาไม่อยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่น่าสงสาร/น่าเวทนา คิดเป็นร้อยละ 88.78 เป็นภาระในการดูแลของสังคม คิดเป็นร้อยละ 85.61 และเป็นผู้ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 81.95 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.1 ไม่อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ไม่สามารถ เรียน/ทำงานได้
สำหรับสิ่งที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ ความเข้าใจของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 88.05 โอกาสในการเรียน/การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 83.9 โอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคม คิดเป็นร้อยละ 80.98 การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 71.95 และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 69.76 มีเพียงร้อยละ 43.66 ที่ต้องการความสงสารและความเห็นอกเห็นใจจากสังคม
ปัญหาสำคัญที่สุด 5 อันดับซึ่งส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตาคือ ทัศนคติในทางลบของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 87.32 การขาดโอกาสในการเข้าทำงาน/การประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 84.39 การขาดโอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ต่อสังคม คิดเป็นร้อยละ 82.2 การขาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 78.29 และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตามีไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 73.66
ส่วนระดับความคิดเห็นต่อการให้โอกาสและการอำนวยความสะดวกจากสังคมให้กับผู้ พิการทางสายตา จากคะแนนเต็ม 5 การได้รับโอกาสและการอำนวยความสะดวกจากสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 2.99 โดยในด้านการได้รับโอกาสทางการศึกษาได้รับคะแนนสูงสุดคือ 3.97 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ขณะที่ การได้รับโอกาสในการเข้าทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน การได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ และการได้รับความสะดวกจากสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้พิการทางสายตา เช่น ลิฟต์ที่มีเสียง/อักษรเบลล์ บาทวิถีที่มีสัญลักษณ์นูน สัญญาณไฟจราจรที่มีเสียง อยู่ในระดับน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.48 2.46 และ 2.39 ตามลำดับ
( ฐานเศรษฐกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ,ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ระดับอุดมศึกษาร่วมแถลงผลการสำรวจความคิดเห็น ของผู้พิการสายตาเรือนรางและตาบอดสนิทจำนวน 410 คน ใช้เครื่องมือสำรวจปลายปิดเป็นอักษรเบรลล์ สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 35-44 ปี การศึกษาเฉลี่ยระดับปริญญาตรี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 4-11 ตุลาคม 2556 เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการให้โอกาสและความสะดวกแต่ผู้พิการทางสายตาและ ผู้พิการอื่น ๆ ได้อยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพและได้รับความเข้าใจที่ถูกต้อง เนื่องในโอกาสวันไม้เท้าขาวสากล ซึ่งเวียนมาทุกวันที่ 15 ตุลาคม ของทุกปี จากผลการสำรวจสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเตอร์เทอร์เน็ตโพลล์สามารถสรุปได้ ว่า ในด้านมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตร่วมกับคนปกติได้โดยไม่มีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 87.56 ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถมีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 84.88 และผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่สามารถเรียน/ทำงานได้ คิดเป็นร้อยละ 79.27 ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.32 อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ควรได้รับโอกาสใน การเรียน/ทำงาน ส่วนมุมมองที่ผู้พิการทางสายตาไม่อยากได้จากสังคมสูงสุด 3 อันดับได้แก่ ผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่น่าสงสาร/น่าเวทนา คิดเป็นร้อยละ 88.78 เป็นภาระในการดูแลของสังคม คิดเป็นร้อยละ 85.61 และเป็นผู้ที่ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมได้ คิดเป็นร้อยละ 81.95 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 76.1 ไม่อยากให้สังคมทั่วไปมีมุมมองว่าผู้พิการทางสายตาเป็นผู้ที่ไม่สามารถ เรียน/ทำงานได้ สำหรับสิ่งที่ผู้พิการทางสายตาอยากได้จากสังคมมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ ความเข้าใจของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 88.05 โอกาสในการเรียน/การทำงาน คิดเป็นร้อยละ 83.9 โอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ให้กับสังคม คิดเป็นร้อยละ 80.98 การอำนวยความสะดวกในการเดินทาง คิดเป็นร้อยละ 71.95 และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 69.76 มีเพียงร้อยละ 43.66 ที่ต้องการความสงสารและความเห็นอกเห็นใจจากสังคม ปัญหาสำคัญที่สุด 5 อันดับซึ่งส่งผลกระทบกับการดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตาคือ ทัศนคติในทางลบของสังคมต่อผู้พิการทางสายตา คิดเป็นร้อยละ 87.32 การขาดโอกาสในการเข้าทำงาน/การประกอบอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 84.39 การขาดโอกาสในการแสดงความสามารถ/มีส่วนร่วม/ทำประโยชน์ต่อสังคม คิดเป็นร้อยละ 82.2 การขาดโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 78.29 และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางสายตามีไม่เพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 73.66 ส่วนระดับความคิดเห็นต่อการให้โอกาสและการอำนวยความสะดวกจากสังคมให้กับผู้ พิการทางสายตา จากคะแนนเต็ม 5 การได้รับโอกาสและการอำนวยความสะดวกจากสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 2.99 โดยในด้านการได้รับโอกาสทางการศึกษาได้รับคะแนนสูงสุดคือ 3.97 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ขณะที่ การได้รับโอกาสในการเข้าทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน การได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ และการได้รับความสะดวกจากสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้พิการทางสายตา เช่น ลิฟต์ที่มีเสียง/อักษรเบลล์ บาทวิถีที่มีสัญลักษณ์นูน สัญญาณไฟจราจรที่มีเสียง อยู่ในระดับน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.48 2.46 และ 2.39 ตามลำดับ ขอบคุณ… http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=202613:2013-10-12-01-03-26&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524 ( ฐานเศรษฐกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)