ผู้หญิงเครียดเสี่ยงสมองเสื่อม
ผลวิจัยตีพิมพ์ใน บีเอ็มเจ โอเพน วารสารการแพทย์ออนไลน์ เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าผู้หญิงที่เคยประสบกับสภาวะเครียดรุนแรงจะส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะ เกิดอาการสมองเสื่อมขึ้นในเวลาต่อมา
ดอกเตอร์ลีนา โจฮานส์สัน และทีมวิจัยได้ร่วมกันติดตามศึกษาผู้หญิงชาวสวีเดนจำนวน 800 คน ด้วยการทดสอบและตรวจร่างกายหลากหลายรูปแบบในช่วงที่กลุ่มตัวอย่างมีอายุราว 30-50 ปี และกลับมาติดตามผลอีกครั้งในอีก 40 ปีต่อมา โดยในช่วงการตรวจสอบครั้งแรกพบว่าผู้หญิงราว 1 ใน 4 ระบุว่าเคยประสบภาวะเครียดเช่นการตกเป็นม่ายหรือการตกงาน อย่างน้อย 1 ครั้ง ขณะที่ผู้หญิงในสัดส่วนเท่ากัน เคยประสบภาวะเครียดในลักษณะดังกล่าวอย่างน้อย 2 ครั้ง ขณะที่ 1 ใน 5 เคยมีประสบการณ์ 3 ครั้ง และส่วนที่เหลือเคยมากกว่าหรือไม่เคยเลย
หลังจากนั้น ระหว่างการติดตาม มีผู้หญิงกลุ่มตัวอย่างจำนวน 425 คนเสียชีวิตขณะที่อีก 153 คน เกิดอาการสมองเสื่อม และจากการวิเคราะห์วิถีชีวิตของผู้หญิงกลุ่มนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกัน ระหว่างความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตและความเสี่ยงในการเกิดสมองเสื่อมขึ้น
จากผลการศึกษาดังกล่าวดอกเตอร์โจฮานส์สัน ระบุว่าการเกิดอาการสมองเสื่อมเป็นผลมากจากฮอร์โมนความเครียดที่สามารถคงอยู่ได้นานเป็นปีหลังเกิดความเครียดขึ้น และนอกจากฮอร์โมนความเครียดจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย เช่นความดันโลหิตและการควบคุมน้ำตาลในร่างกายแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองที่ส่งผลให้เกิดอาการสมองเสื่อมตามมา ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์โจฮานส์สัน ระบุว่าจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อ ดูว่าการจัดการความเครียดและการบำบัดพฤติกรรมจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อมได้หรือไม่
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381818819
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงสาววัยทำงานแสดงอาการปวดศีรษะ ผลวิจัยตีพิมพ์ใน บีเอ็มเจ โอเพน วารสารการแพทย์ออนไลน์ เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าผู้หญิงที่เคยประสบกับสภาวะเครียดรุนแรงจะส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะ เกิดอาการสมองเสื่อมขึ้นในเวลาต่อมา ดอกเตอร์ลีนา โจฮานส์สัน และทีมวิจัยได้ร่วมกันติดตามศึกษาผู้หญิงชาวสวีเดนจำนวน 800 คน ด้วยการทดสอบและตรวจร่างกายหลากหลายรูปแบบในช่วงที่กลุ่มตัวอย่างมีอายุราว 30-50 ปี และกลับมาติดตามผลอีกครั้งในอีก 40 ปีต่อมา โดยในช่วงการตรวจสอบครั้งแรกพบว่าผู้หญิงราว 1 ใน 4 ระบุว่าเคยประสบภาวะเครียดเช่นการตกเป็นม่ายหรือการตกงาน อย่างน้อย 1 ครั้ง ขณะที่ผู้หญิงในสัดส่วนเท่ากัน เคยประสบภาวะเครียดในลักษณะดังกล่าวอย่างน้อย 2 ครั้ง ขณะที่ 1 ใน 5 เคยมีประสบการณ์ 3 ครั้ง และส่วนที่เหลือเคยมากกว่าหรือไม่เคยเลย หลังจากนั้น ระหว่างการติดตาม มีผู้หญิงกลุ่มตัวอย่างจำนวน 425 คนเสียชีวิตขณะที่อีก 153 คน เกิดอาการสมองเสื่อม และจากการวิเคราะห์วิถีชีวิตของผู้หญิงกลุ่มนี้พบว่ามีความเชื่อมโยงกัน ระหว่างความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตและความเสี่ยงในการเกิดสมองเสื่อมขึ้น จากผลการศึกษาดังกล่าวดอกเตอร์โจฮานส์สัน ระบุว่าการเกิดอาการสมองเสื่อมเป็นผลมากจากฮอร์โมนความเครียดที่สามารถคงอยู่ได้นานเป็นปีหลังเกิดความเครียดขึ้น และนอกจากฮอร์โมนความเครียดจะส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย เช่นความดันโลหิตและการควบคุมน้ำตาลในร่างกายแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองที่ส่งผลให้เกิดอาการสมองเสื่อมตามมา ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์โจฮานส์สัน ระบุว่าจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อ ดูว่าการจัดการความเครียดและการบำบัดพฤติกรรมจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการสมองเสื่อมได้หรือไม่ ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381818819 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)