ศิลปะบำบัด.... ศาสตร์แห่งการรู้จักตัวเอง
ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่บางคนจะเคยตั้งคำถามว่า เราชอบอะไร อยากเป็นอะไร เราเป็นคนอย่างไรกันแน่ เพราะยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ หรือบางคนกว่าจะค้นพบตัวตนของตัวเองนั้นอาจต้องใช้เวลา และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน
การเข้าใจตัวตนอย่างแท้จริงจะสามารถดึงศักยภาพของตนเองมาใช้อย่างเต็มที่ และเริ่มมีชีวิตที่สร้างสรรค์ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น แต่ด้วยความคิดทั้งของเราและผู้อื่นรอบข้างทำให้ภาพตัวตนของเราบิดเบือนและ ไม่ชัดเจน กิจกรรมศิลปะเพื่อการเข้าใจตนเอง สามารถทำให้คุณรู้จักและค้นพบตัวตนที่แท้จริงของคุณได้
นางสาวแสงอุษณีษ์ นวะมะรัตน ครูศิลปะเพื่อการบำบัด กล่าวว่า ศิลปะบำบัด (art therapy) เป็นพื้นฐานของการบำบัดรักษาทางจิตเวชรูปแบบหนึ่ง โดยประยุกต์ใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อมองตัวเองในอีกมุมหนึ่ง ที่เราไม่นึกถึงหรืออาจมองข้ามไป หรือเข้าใจผิดจากมุมมองของคนอื่นที่มองตัวเรา ทำให้เราหลงคิดว่าตัวเองเป็นคนอย่างนั้น รวมทั้งเป็นการค้นหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินทางจิตวิทยา เพื่อเปิดประตูเข้าสู่จิตใจในระดับจิตไร้สำนึก และเลือกใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการรู้จักตนเองดีขึ้น การคลี่คลายปมอะไรบางอย่าง และใช้เพื่อการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้น ศิลปะบำบัด มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วย
ศิลปะบำบัดจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์เสริมและทางเลือก ที่เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นำมาเสริมในการดูแลรักษาแนวทางหลักให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกันเป็นทีมระหว่างนักศิลปะบำบัดกับแพทย์ที่ดูแล รักษาผู้ป่วย และต้องทำไปควบคู่กัน ซึ่งการแสดงออกทางผลงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย ที่สื่อออกมาสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร หรือสภาพจิตมีปัญหาอย่างไร ศิลปะบำบัด ประกอบไปด้วยรูปแบบกิจกรรมทางศิลปะที่มีความหลากหลาย ซึ่งครอบคลุมถึงทัศนศิลป์ ได้แก่ การวาด ระบายสี การปั้น การแกะสลัก การถัก การทอ การประดิษฐ์ ฯลฯ ดนตรี ได้แก่ การเล่นดนตรี ร้องเพลง และกิจกรรมทางดนตรี การแสดง ได้แก่ การแสดง การละคร และการเคลื่อนไหวร่างกาย และวรรณกรรม ได้แก่ บทกวี นิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ ตามโจทย์ที่ครูกำหนดให้เพื่อถ่ายทอดออกมา แล้วนำมาทบทวนว่าเห็นอะไรที่มีความแตกต่าง ก็จะเป็นการสะท้อนตัวตนของแต่ละคนออกมา และการเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และรูปแบบที่หลากหลายเหล่านี้ เพื่อเป็นทางเลือกที่จะระบายความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจตนเอง และจัดการกับความรู้สึกได้ตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละคน ศิลปะบำบัดมีรูปแบบแตกต่างกันไปในผู้รับการบำบัดแต่ละคนที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกัน เทคนิคที่ใช้ เช่น ปั้นดิน วาดภาพ ระบายสี ถักทอ กิจกรรมทางดนตรี เล่นละคร หรือบทบาทสมมติ โดยนักศิลปะบำบัดจะพิจารณาเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยการใช้ศาสตร์ศิลปะบำบัดนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ ขอแค่เป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติในชีวิตประจำวันทั่วไป
ในการทำศิลปะบำบัดทุกครั้ง ควรมีการบันทึกให้เห็นถึงกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อารมณ์ และข้อสังเกตต่างๆ ลงในแฟ้มประวัติผู้ป่วย เพื่อวางแผนร่วมกับทีมงานที่ให้การบำบัดรักษา และกำหนดแนวทางในครั้งต่อไป
"สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักตัวเอง การใช้ศิลปะบำบัดก็เป็นเหมือนการเปิดมุมมอง ลองทบทวนตัวเองในแง่มุมอื่นที่เราอาจหลงลืมบ้าง ก็จะเป็นการทำให้รู้จักตัวเองดีขึ้น เพื่อที่จะมีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ ในอนาคต รวมทั้งจะรู้สึกดีๆ กับชีวิตของตนเองมากขึ้น" ครูศิลปะเพื่อการบำบัดกล่าว
การรู้จักตัวเอง อาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ และไม่ได้พบในเร็ววัน แต่หากมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง สักวันก็ต้องประสบความสำเร็จจนได้ และในท้ายที่สุดแล้วก็จะพบว่าเราต้องการอะไรจากชีวิตตัวเอง
หากเราไม่รู้จักตัวเองเราจะ...1.เราจะไม่รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง ผลคือจุดอ่อนของเราจะทำลายเราเรื่อยๆ 2.เราจะหงุดหงิดที่ทำไมเราไม่ก้าวหน้าทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน หรือคนที่คบ หรืออะไรที่เรากำลังทำอยู่ 3.เราจะรู้สึกเสมอว่าคนอื่นไม่เข้าใจเรา 4.เราจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งที่เกินความสามารถตัวเอง 5.เราจะไม่มีวันเข้าใจเลยว่าเวลาเจอเหตุการณ์ที่มันหนักๆ เหนือการควบคุมของเรา ทำไมเราทำอะไรไม่ได้ เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ หรือจะทำอะไรกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้บ้าง 6.เราจะเจอแต่ความยุ่งยากในชีวิต และเจอแต่งานที่ไม่ใช่ คนที่ไม่ใช่ สถานที่ไม่ใช่ สิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่ 7.ตัวเรานั่นแหละที่กลายเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของตัวเราเอง และ 8.เราจะทำแต่สิ่งที่ไม่เหมาะกับเรา ผลคือความคิดสร้างสรรค์ไม่มา สำเร็จยาก และไม่ใช่ศักยภาพตัวเองเต็มที่ ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีความสุข.
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1760636
(ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กเล็กสีเปื้อนมือทั้งสองข้าง ไม่ใช่เรื่องแปลก ที่บางคนจะเคยตั้งคำถามว่า เราชอบอะไร อยากเป็นอะไร เราเป็นคนอย่างไรกันแน่ เพราะยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ หรือบางคนกว่าจะค้นพบตัวตนของตัวเองนั้นอาจต้องใช้เวลา และประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน การเข้าใจตัวตนอย่างแท้จริงจะสามารถดึงศักยภาพของตนเองมาใช้อย่างเต็มที่ และเริ่มมีชีวิตที่สร้างสรรค์ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น แต่ด้วยความคิดทั้งของเราและผู้อื่นรอบข้างทำให้ภาพตัวตนของเราบิดเบือนและ ไม่ชัดเจน กิจกรรมศิลปะเพื่อการเข้าใจตนเอง สามารถทำให้คุณรู้จักและค้นพบตัวตนที่แท้จริงของคุณได้ นางสาวแสงอุษณีษ์ นวะมะรัตน ครูศิลปะเพื่อการบำบัด กล่าวว่า ศิลปะบำบัด (art therapy) เป็นพื้นฐานของการบำบัดรักษาทางจิตเวชรูปแบบหนึ่ง โดยประยุกต์ใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อมองตัวเองในอีกมุมหนึ่ง ที่เราไม่นึกถึงหรืออาจมองข้ามไป หรือเข้าใจผิดจากมุมมองของคนอื่นที่มองตัวเรา ทำให้เราหลงคิดว่าตัวเองเป็นคนอย่างนั้น รวมทั้งเป็นการค้นหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยใช้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินทางจิตวิทยา เพื่อเปิดประตูเข้าสู่จิตใจในระดับจิตไร้สำนึก และเลือกใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสมช่วยในการรู้จักตนเองดีขึ้น การคลี่คลายปมอะไรบางอย่าง และใช้เพื่อการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้น ศิลปะบำบัด มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วย ศิลปะบำบัดจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์เสริมและทางเลือก ที่เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นำมาเสริมในการดูแลรักษาแนวทางหลักให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกันเป็นทีมระหว่างนักศิลปะบำบัดกับแพทย์ที่ดูแล รักษาผู้ป่วย และต้องทำไปควบคู่กัน ซึ่งการแสดงออกทางผลงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย ที่สื่อออกมาสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร หรือสภาพจิตมีปัญหาอย่างไร ศิลปะบำบัด ประกอบไปด้วยรูปแบบกิจกรรมทางศิลปะที่มีความหลากหลาย ซึ่งครอบคลุมถึงทัศนศิลป์ ได้แก่ การวาด ระบายสี การปั้น การแกะสลัก การถัก การทอ การประดิษฐ์ ฯลฯ ดนตรี ได้แก่ การเล่นดนตรี ร้องเพลง และกิจกรรมทางดนตรี การแสดง ได้แก่ การแสดง การละคร และการเคลื่อนไหวร่างกาย และวรรณกรรม ได้แก่ บทกวี นิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ ตามโจทย์ที่ครูกำหนดให้เพื่อถ่ายทอดออกมา แล้วนำมาทบทวนว่าเห็นอะไรที่มีความแตกต่าง ก็จะเป็นการสะท้อนตัวตนของแต่ละคนออกมา และการเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และรูปแบบที่หลากหลายเหล่านี้ เพื่อเป็นทางเลือกที่จะระบายความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจตนเอง และจัดการกับความรู้สึกได้ตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละคน ศิลปะบำบัดมีรูปแบบแตกต่างกันไปในผู้รับการบำบัดแต่ละคนที่มีสภาพปัญหาแตกต่างกัน เทคนิคที่ใช้ เช่น ปั้นดิน วาดภาพ ระบายสี ถักทอ กิจกรรมทางดนตรี เล่นละคร หรือบทบาทสมมติ โดยนักศิลปะบำบัดจะพิจารณาเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยการใช้ศาสตร์ศิลปะบำบัดนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ ขอแค่เป็นผู้ที่สามารถสื่อสารได้อย่างปกติในชีวิตประจำวันทั่วไป ในการทำศิลปะบำบัดทุกครั้ง ควรมีการบันทึกให้เห็นถึงกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงบันทึกการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อารมณ์ และข้อสังเกตต่างๆ ลงในแฟ้มประวัติผู้ป่วย เพื่อวางแผนร่วมกับทีมงานที่ให้การบำบัดรักษา และกำหนดแนวทางในครั้งต่อไป "สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักตัวเอง การใช้ศิลปะบำบัดก็เป็นเหมือนการเปิดมุมมอง ลองทบทวนตัวเองในแง่มุมอื่นที่เราอาจหลงลืมบ้าง ก็จะเป็นการทำให้รู้จักตัวเองดีขึ้น เพื่อที่จะมีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ ในอนาคต รวมทั้งจะรู้สึกดีๆ กับชีวิตของตนเองมากขึ้น" ครูศิลปะเพื่อการบำบัดกล่าว การรู้จักตัวเอง อาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ และไม่ได้พบในเร็ววัน แต่หากมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง สักวันก็ต้องประสบความสำเร็จจนได้ และในท้ายที่สุดแล้วก็จะพบว่าเราต้องการอะไรจากชีวิตตัวเอง หากเราไม่รู้จักตัวเองเราจะ...1.เราจะไม่รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง ผลคือจุดอ่อนของเราจะทำลายเราเรื่อยๆ 2.เราจะหงุดหงิดที่ทำไมเราไม่ก้าวหน้าทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน หรือคนที่คบ หรืออะไรที่เรากำลังทำอยู่ 3.เราจะรู้สึกเสมอว่าคนอื่นไม่เข้าใจเรา 4.เราจะไม่รู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งที่เกินความสามารถตัวเอง 5.เราจะไม่มีวันเข้าใจเลยว่าเวลาเจอเหตุการณ์ที่มันหนักๆ เหนือการควบคุมของเรา ทำไมเราทำอะไรไม่ได้ เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ หรือจะทำอะไรกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้บ้าง 6.เราจะเจอแต่ความยุ่งยากในชีวิต และเจอแต่งานที่ไม่ใช่ คนที่ไม่ใช่ สถานที่ไม่ใช่ สิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่ 7.ตัวเรานั่นแหละที่กลายเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของตัวเราเอง และ 8.เราจะทำแต่สิ่งที่ไม่เหมาะกับเรา ผลคือความคิดสร้างสรรค์ไม่มา สำเร็จยาก และไม่ใช่ศักยภาพตัวเองเต็มที่ ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีความสุข. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1760636 (ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ต.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)