ขาดเธอขาดใจ…ภาวะโรคติดสมาร์ทโฟนเรื้อรัง
จากช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าว สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เผยความคืบหน้ากรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ชายคนหนึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยกรณีก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงนักศึกษาชาวอเมริกันตายบนรถไฟซึ่งเขาได้ปฏิเสธว่า เขาไม่ได้ทำ แต่จากการตรวจ สอบกล้องวงจรปิดพบภาพที่ชายคนนี้กำลังหยิบปืนขึ้นมาเล็ง พร้อมเช็ดปืนเก็บเข้ากระเป๋าหลังจากเล็งเสร็จ โดยเขาเคลื่อนไหวอย่างเงียบๆไม่น่าสงสัย รวมถึงลงมือยิงปืนแบบไม่ปิดบังและเป็นภาพที่ชัดเจนมาก แต่คนรอบข้างทั้งหมดไม่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเพราะมัวแต่ก้มหน้ากดโทรศัพท์ มือถือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ปฏิเสธที่จะเผยแพร่ภาพดังกล่าวเพราะอยู่ในระหว่างสอบสวน
จากข่าวดังกล่าวสามารถบอกได้ว่าพฤติกรรมของคนสมัยใหม่ไม่ว่าจะคนไทยหรือ ต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจกับสมาร์ทโฟนมากกว่าสิ่งรอบข้าง โดย InsightExpress บริษัทผู้วิจัยตลาดในสหรัฐฯ ได้ทำการวิจัยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักศึกษา และคนทำงานตั้งแต่อายุ 18-30 ปี และการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายไอทีในอุตสากหรรมต่างๆรวมทั้งสิ้น 3,600 คนใน 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
โดยผลการสำรวจเผยว่า วัยรุ่นยุคใหม่หรือที่เรียกกันว่า คนรุ่น Gen Y มีการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อดูอัพเดตข่าว และโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค “ก่อนจะลุกจากเตียง” สูงถึง 90% ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราสูงถึง 98% โดยความเห็นของของวัยรุ่นส่วนหนึ่งระบุว่าหากไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนก็เหมือนกับ ว่า “รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนมีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต”
นอกจากผลสำรวจเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนก่อนลุกจากเตียงแล้ว ยังมีผลสำรวจในประเทศไทยที่น่าสนใจแบ่งย่อยออกไปอีกดังนี้ 1)ในวัยรุ่นไทย 9 ใน 10 คนระบุว่าใน 1 วัน พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนนับครั้งไม่ถ้วน 2) 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะ “รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนมีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต” หากไม่เช็คสมาร์ทโฟน 3)100%ของผู้ตอบแบบสอบถามเช็คสมาร์ทโฟนบนเตียงนอน 4) 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟนในห้องน้ำ 5) 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟนเพื่อส่งข้อความ เช็คอีเมล์ หรือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก่อนและหลังระหว่างรับประทานอาหาร 6) 100% ในวัยรุ่นชี้ว่าแอพพลิเคชั่นบนมือถือมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต 7) 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบว่าตนเองใช้เวลาในการติดต่อกับเพื่อนผ่านโลกออนไลน์ มากกว่าการพูดคุยเป็นการส่วนตัว 8) 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์เฟสบุคตลอดเวลา
ทั้งนี้ มีข้อมูลระบุว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีคนใช้เฟซบุ๊คมากที่สุดในโลก ส่วนแอปพลิเคชั่นไลน์มีคนไทยใช้มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น นอกจากนี้จากพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนยังส่งผลต่อสุขภาพ ด้วย5 โรคที่มากับสมาร์ทโฟน ทั้งโรคทางจิตและโรคทางกาย เช่น 1) โรคเศร้าจากเฟซบุ้ก : การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่า การใช้ เฟซบุ้ก มากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขและความพึงพอใจในการดำรงชีวิต เช่นโดดเดี่ยว เศร้า และเหงาหงอยมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ้กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรู้สึกว้าเหว่ 2) ละเมอแชท (Sleep – Texting)เป็น อาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์ข้อความแชทในมือถือของผู้ที่เข้าขั้น “ติด” อาการนี้จะเกิดขึ้นในขณะหลับ และเมื่อได้ยินเสียงข้อความส่งมา ร่างกายและระบบประสาทจะตอบสนองด้วยการหยิบมือถือมาแล้วพิมพ์ข้อความตอบกลับ ไปในทันที 3) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคนี้เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป โดยปกติแล้วในสมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุปัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และไม่จำกัดช่วงอายุวัย อาการสำคัญ คือเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากใย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆ เป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด 4) โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็น โรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงความเครียดเมื่อมือถืออยู่ในจุดอับสัญญาณจนติดต่อใครไม่ได้ Nomophobia มาจากคำว่า “no-mobile-phone phobia” ซึ่งจัดเป็นโรคกลัวทางจิตเวช เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ แสดงอาการด้วยการหยิบสมาร์ทโฟน หรือแทปเลต ขึ้นมาเช็กอยู่ตลอดเวลา ติดการส่งข้อความและการโพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญไม่เคยปิดมือถือเพราะกลัวพลาดการอัพเดทเรื่องราวต่างๆ 5) สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่สมาร์ทโฟน หรือแทปเลตมากจนเกินไป เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้าทำให้แก้มบริเวณกราม เกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง สาเหตุมาจากการนั่งก้มหน้ามองสมาร์ทโฟนหรือแทปเล็ตเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอและเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา และจะเห็นชัดเจนเมื่อถ่ายภาพด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตาม แม้สมาร์ทโฟนจะมีข้อเสีย แต่เป็นข้อเสียที่เกิดจากการใช้อย่างเกินขอบเขตและไม่มีลิมิต ซึ่งบางคนถึงกับใส่ใจมือถือมากกว่าคนที่อยู่ข้างๆ อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ผู้ที่อยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สมาร์ทโฟนแบบตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งอาจจะใช้ในเวลาไม่เหมาะสมเช่น เวลางาน เวลาเรียน เวลาประชุม นั่นอาจจะก่อให้เกิดผลเสียกับหน้าที่การงานและการเรียนได้ เพราะฉะนั้นควรใช้สมาร์ทโฟนแต่พอดีและรู้จักกาลเทศะ รวมถึงให้ความสำคัญกับคนรอบข้างบ้าง
ขอบคุณ... http://news.mthai.com/news-clips/279619.html
(MthaiNewsออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
จากช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าว สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เผยความคืบหน้ากรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ชายคนหนึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยกรณีก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงนักศึกษาชาวอเมริกันตายบนรถไฟซึ่งเขาได้ปฏิเสธว่า เขาไม่ได้ทำ แต่จากการตรวจ สอบกล้องวงจรปิดพบภาพที่ชายคนนี้กำลังหยิบปืนขึ้นมาเล็ง พร้อมเช็ดปืนเก็บเข้ากระเป๋าหลังจากเล็งเสร็จ โดยเขาเคลื่อนไหวอย่างเงียบๆไม่น่าสงสัย รวมถึงลงมือยิงปืนแบบไม่ปิดบังและเป็นภาพที่ชัดเจนมาก แต่คนรอบข้างทั้งหมดไม่เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเพราะมัวแต่ก้มหน้ากดโทรศัพท์ มือถือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ปฏิเสธที่จะเผยแพร่ภาพดังกล่าวเพราะอยู่ในระหว่างสอบสวน ชายวัยกลางคนตะโกนใส่มือถือ จากข่าวดังกล่าวสามารถบอกได้ว่าพฤติกรรมของคนสมัยใหม่ไม่ว่าจะคนไทยหรือ ต่างประเทศ ต่างให้ความสนใจกับสมาร์ทโฟนมากกว่าสิ่งรอบข้าง โดย InsightExpress บริษัทผู้วิจัยตลาดในสหรัฐฯ ได้ทำการวิจัยสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของนักศึกษา และคนทำงานตั้งแต่อายุ 18-30 ปี และการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายไอทีในอุตสากหรรมต่างๆรวมทั้งสิ้น 3,600 คนใน 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยผลการสำรวจเผยว่า วัยรุ่นยุคใหม่หรือที่เรียกกันว่า คนรุ่น Gen Y มีการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อดูอัพเดตข่าว และโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค “ก่อนจะลุกจากเตียง” สูงถึง 90% ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราสูงถึง 98% โดยความเห็นของของวัยรุ่นส่วนหนึ่งระบุว่าหากไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟนก็เหมือนกับ ว่า “รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนมีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต” นอกจากผลสำรวจเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนก่อนลุกจากเตียงแล้ว ยังมีผลสำรวจในประเทศไทยที่น่าสนใจแบ่งย่อยออกไปอีกดังนี้ 1)ในวัยรุ่นไทย 9 ใน 10 คนระบุว่าใน 1 วัน พวกเขาเช็คสมาร์ทโฟนนับครั้งไม่ถ้วน 2) 91% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะ “รู้สึกกระวนกระวาย เหมือนมีอะไรบางอย่างขาดหายไปจากชีวิต” หากไม่เช็คสมาร์ทโฟน 3)100%ของผู้ตอบแบบสอบถามเช็คสมาร์ทโฟนบนเตียงนอน 4) 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟนในห้องน้ำ 5) 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สมาร์ทโฟนเพื่อส่งข้อความ เช็คอีเมล์ หรือโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คก่อนและหลังระหว่างรับประทานอาหาร 6) 100% ในวัยรุ่นชี้ว่าแอพพลิเคชั่นบนมือถือมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต 7) 98% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบว่าตนเองใช้เวลาในการติดต่อกับเพื่อนผ่านโลกออนไลน์ มากกว่าการพูดคุยเป็นการส่วนตัว 8) 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์เฟสบุคตลอดเวลา ทั้งนี้ มีข้อมูลระบุว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีคนใช้เฟซบุ๊คมากที่สุดในโลก ส่วนแอปพลิเคชั่นไลน์มีคนไทยใช้มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากญี่ปุ่น นอกจากนี้จากพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนยังส่งผลต่อสุขภาพ ด้วย5 โรคที่มากับสมาร์ทโฟน ทั้งโรคทางจิตและโรคทางกาย เช่น 1) โรคเศร้าจากเฟซบุ้ก : การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่า การใช้ เฟซบุ้ก มากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขและความพึงพอใจในการดำรงชีวิต เช่นโดดเดี่ยว เศร้า และเหงาหงอยมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ้กเป็นเครื่องระบายความรู้สึกมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความรู้สึกว้าเหว่ 2) ละเมอแชท (Sleep – Texting)เป็น อาการชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพิมพ์ข้อความแชทในมือถือของผู้ที่เข้าขั้น “ติด” อาการนี้จะเกิดขึ้นในขณะหลับ และเมื่อได้ยินเสียงข้อความส่งมา ร่างกายและระบบประสาทจะตอบสนองด้วยการหยิบมือถือมาแล้วพิมพ์ข้อความตอบกลับ ไปในทันที 3) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคนี้เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป โดยปกติแล้วในสมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุปัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และไม่จำกัดช่วงอายุวัย อาการสำคัญ คือเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากใย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆ เป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด 4) โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็น โรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงความเครียดเมื่อมือถืออยู่ในจุดอับสัญญาณจนติดต่อใครไม่ได้ Nomophobia มาจากคำว่า “no-mobile-phone phobia” ซึ่งจัดเป็นโรคกลัวทางจิตเวช เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ แสดงอาการด้วยการหยิบสมาร์ทโฟน หรือแทปเลต ขึ้นมาเช็กอยู่ตลอดเวลา ติดการส่งข้อความและการโพสต์ข้อความผ่านสังคมออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญไม่เคยปิดมือถือเพราะกลัวพลาดการอัพเดทเรื่องราวต่างๆ 5) สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face)เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่สมาร์ทโฟน หรือแทปเลตมากจนเกินไป เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้าทำให้แก้มบริเวณกราม เกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง สาเหตุมาจากการนั่งก้มหน้ามองสมาร์ทโฟนหรือแทปเล็ตเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอและเพิ่มแรงกดบริเวณแก้ม จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมา และจะเห็นชัดเจนเมื่อถ่ายภาพด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม แม้สมาร์ทโฟนจะมีข้อเสีย แต่เป็นข้อเสียที่เกิดจากการใช้อย่างเกินขอบเขตและไม่มีลิมิต ซึ่งบางคนถึงกับใส่ใจมือถือมากกว่าคนที่อยู่ข้างๆ อาจจะก่อให้เกิดความรำคาญใจแก่ผู้ที่อยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สมาร์ทโฟนแบบตลอดเวลา ซึ่งบางครั้งอาจจะใช้ในเวลาไม่เหมาะสมเช่น เวลางาน เวลาเรียน เวลาประชุม นั่นอาจจะก่อให้เกิดผลเสียกับหน้าที่การงานและการเรียนได้ เพราะฉะนั้นควรใช้สมาร์ทโฟนแต่พอดีและรู้จักกาลเทศะ รวมถึงให้ความสำคัญกับคนรอบข้างบ้าง ขอบคุณ... http://news.mthai.com/news-clips/279619.html (MthaiNewsออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)