ดอกบัวแห่งความหวัง ฝั่งฝันบ้านเรียนชวนชื่น
ผลวิจัยโครงการคนไทยมอนิเตอร์ มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” 100,000 คนทั่วประเทศ พบว่า หนึ่งในกุญแจสำคัญ ที่จะเปิดประตูไปสู่สังคมที่ดีขึ้น ได้แก่ พลังของครอบครัว รวมไปถึงการศึกษาที่ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาเยาวชนได้อย่างเต็มศักยภาพและ นี่อาจเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพลังดังกล่าวได้อย่าง ชัดเจน... ชุมชนพ่อแม่“บ้านเรียนชวนชื่น”...บ้านเรียนสำหรับเด็กพิเศษที่มีอาการออทิสติกแห่งปทุมธานี
เมื่อไม่นานมานี้ ในหน้าจอทีวีมีชื่อของเด็กๆ จากบ้านเรียนชวนชื่นปรากฏขึ้น ด้วยการร้องเพลงหมู่อย่างน่ารักซาบซึ้งใจ ในรายการ “ไทยแลนด์ ก็อตทาเลนต์” อันโด่งดัง พร้อมกับคำพูดเรียกน้ำตาผู้ชมทั่วประเทศ
วันนั้นคุณครูแถลงว่า โรงเรียนกำลังจะต้องปิดตัวลง ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้เพราะขาดทุนทรัพย์ เนื่องจากเมื่อราว 7-8 ปีก่อนเกิดไฟไหม้โรงเรียน จึงจำเป็นต้องหาทุนทรัพย์มาซ่อมแซม และสร้างอาคาร แต่เดิมนั้น บ้านเรียนชวนชื่นอยู่ใต้เงาของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง พึ่งพาทุนทรัพย์จากบริษัทแห่งนี้ แต่บริษัทดังกล่าวต้องมาประสบมรสุมในยุคฟองสบู่แตกทำให้ต้องปิดกิจการและเป็นหนี้ธนาคาร
หลังออกรายการทีวี ยอดวิวในเฟซบุ๊กพุ่งแรงและคลิปการแสดงของเด็กๆที่นำลงเว็บไซต์ยูทูบ มีผู้ชมเป็นแสนวิว... น้ำใจและแรงศรัทธาของผู้คนหลั่งไหลไปยังบ้านเรียนชวน ชื่นในรูปของ “การบริจาค” หากแต่ฝ่ายบริหารของโรงเรียน“ปฏิเสธ”โดยสิ้นเชิง
เหตุผล เพราะไม่ได้ต้องการขอเงินฟรี สิ่งที่ทำลงไปเพียงแค่ขอที่ยืนให้กับเด็กๆ และให้สังคมยอมรับถึงความสามารถของเด็กกลุ่มนี้ ในงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กพิเศษได้แบ่งเด็กเหล่านี้ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง...เป็นพวกที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีพ่อแม่หรือคนดูแลตลอดเวลา กลุ่มที่สอง...สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง อาบน้ำ กินข้าว แปรงฟันได้ แต่ไม่สามารถทำงานได้ และ กลุ่มที่สาม...สามารถดูแลตัวเองและทำงานที่ไม่ซับซ้อนได้ เด็กกลุ่ม ที่ 3 นี้ คือ เหตุผลที่ทำให้ทางโรงเรียนจัดทำกิจกรรมและคิดโครงการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ ผ่านการทำสินค้าของที่ระลึกโดยฝีมือเด็กพิเศษที่เรียกว่า “บัวมหามิตร”เพื่อแลกเปลี่ยนกับจิตศรัทธาของผู้คน
นพ.ระพล พูลสวัสดิ์กิติกูล นายแพทย์ผู้ชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี คุณพ่อน้องเบส ประธานกลุ่มพ่อแม่บ้านเรียนชวนชื่น เล่าว่า “เราคิดว่า ถ้าเราเอาเด็กมาฝึกให้เขาสามารถทำอะไรได้จะลดภาระของครอบครัว คนรอบข้างและลดภาระของสังคมลงได้ เด็กแต่ละคนมีศักยภาพไม่เหมือนกัน ถ้าเราจะให้เขาอยู่บ้านก็มีค่าเป็นศูนย์โครงการนี้เขาจะได้เรียนรู้ว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง”
สอดคล้องไปกับความเชื่อของผู้บริหาร โรงเรียนว่าแนวคิดของระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถตอบคำถามให้กับเด็กกลุ่ม นี้ได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียนร่วมกับเด็กปกติซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรมีมาตรฐานที่ชัดเจนว่าเด็กออทิสติกควรเรียนรู้แบบไหน
วัดได้จากเด็กออทิสติกบางคนที่ได้ร่วมเรียนในสายวิชาชีพ มีการออกใบประกาศนียบัตรรับรองการศึกษาให้ ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่หลงเข้าใจผิดว่า ลูกสามารถออกไปทำงานทัดเทียมกับคนอื่นๆได้แต่ในความเป็นจริงการบวกเลขอย่างง่ายๆเด็กกลุ่มนี้ยังทำได้ยาก
แนวคิดนี้จึงทำให้กลุ่ม พ่อแม่ที่นี่รวมตัวกันระดมเงินทุนได้ราว 2 ล้านบาท สร้างโครงการ “บัวมหามิตร” ขึ้นเมื่อ 4 เดือนก่อน โดยพัฒนามาจากชิ้นงานของ “ครูทองหล่อ” ศิลปินผลิตดอกบัวโลหะจาก จ.สุรินทร์ร่วมกับต้นแบบจาก“สวนบัวฟ้า”เว็บไซต์แหล่งรวมพันธุ์บัวที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย
“เราพบว่า เด็กออทิสติกมีพฤติกรรมหนึ่งคือ ชอบทุบ เราจึงนำพฤติกรรมนี้แปลงศักยภาพมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยให้หันมาทุบ แผ่นโลหะแทนที่จะไปทุบอย่างอื่น เป็นวิชาชีพที่เด็กสามารถทำออกมาได้สวยงามเหมือนจริงและใช้ประโยชน์ได้ด้วยการนำไปประกอบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ง่ายๆ”
นอกจากนั้นยังมีการพัฒนารูปแบบของดอกบัวประดิษฐ์นี้ไม่ให้เกิดอันตราย โดยการลบคม ลบมุมแหลมให้เหมาะกับเด็กๆ และเลือกต้นแบบบัวพันธุ์ดีที่ได้รับรางวัลระดับโลกอย่าง พันธุ์ควีนสิริกิติ์ พันธุ์วันวิสาข์ และพันธุ์สวยๆอีกกว่า20สายพันธุ์ “ทั้งหมดเราคิดเองมีลุงทองหล่อมาเริ่มต้นให้ โดยเด็กๆจะได้เรียนรู้ว่า สายพันธุ์บัวไทยเป็นอย่างไร เราทำเหมือนจริงลักษณะสีสันตามบัวจริงๆจนถึงวันนี้เราทำเว็บไซต์ขายงานเลย”คุณครูของเด็กๆบอก
ผลิตผลจากแนวคิดออกมาเป็นบัวโลหะสีเหมือนจริงใน รูปแบบต่างๆ ตอบแทนเงินบริจาค โดย 500 บาทจะได้เชิงเทียนไฟอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเวียนเทียน...800 บาท สำหรับบัวชุดเล็กพร้อมรูปถ่ายและรายละเอียดของบัวพันธุ์นั้นๆ นอกจากนั้นยังมีในราคา 1,500 บาท และราคา 3,000 บาท สำหรับไซส์ใหญ่สุด
ผลงานนี้ จึงนับได้ว่า เป็นครั้งแรกของโลกที่เด็กพิเศษออกมาทำงานฝีมืออวดสังคมว่า เขาสามารถผลิตสินค้าได้สวยงามและมีคุณค่า ประธานกลุ่มย้ำว่า รัฐเองก็มีแนวคิดการศึกษาแบบคู่ขนานให้เด็กธรรมดาและเด็กพิเศษเรียนร่วมกัน สำหรับบ้านเรียนของเราผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาก็สนใจมาดูงาน อยากให้เราเป็นศูนย์เรียนรู้เป็นนวัตกรรมใหม่ แต่เราไม่ได้ตอบรับ เพราะสำหรับเราไม่ใช่แค่เด็กมาเรียนแต่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ด้วยจะมาให้เด็ก ไปร้อยมะลิร้อยมาลัยเป็นอาชีพ อย่างนี้ไม่ได้ให้คุณค่ากับเด็ก ทางเราคิดว่า...จะทำอย่างไรให้เขามีแนวทางของตน
แนวโน้มประเทศของเรา เจริญขึ้น ประเทศก็พัฒนาขึ้น อีกหน่อยเด็กออทิสติกต้องออกไปในสังคม ไปทำงานร่วมกับคนปกติได้ สิ่งที่เราต้องทำคือ เราต้องยอมรับสมรรถภาพของเด็กเหล่านี้ก่อนว่าเขาทำอะไรได้แค่ไหน และเขาต้องมีที่ยืนอย่างเหมาะสม พวกเขาต้องดูแลตัวเองได้...“ผมไม่ได้คาดหวังว่า ลูกจะเติบโตไปทำงานเป็นผู้บริหารผมหวังแค่ให้เขาอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นภาระกับใคร”
คุณแม่ของลูกออทิสติกท่านหนึ่ง กล่าวว่า “ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด ถ้าพ่อแม่พี่น้องไม่ยอมรับแล้วเด็กจะอยู่ตรงไหน ถ้าเรายอมรับได้ สังคมภายนอกก็ยอมรับได้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมแล้วพาเขาออกสู่สังคมภายนอก ค่อยๆก้าวตามศักยภาพเด็ก ปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กเขาจะเข้มแข็ง พ่อแม่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมเด็กแยกกันไม่ได้ ตอนนี้ปัญหาไม่ใช่แต่เด็กพิเศษ เด็กปกติก็มีปัญหาเยอะมาก ถ้าไม่ดูแลกันดีๆ มันจะไปเติมปัญหาสังคมในองค์กรก็เช่นกันต้องช่วยกัน”
คุณหมอย้ำชัดว่า “สถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น เป็นเซลล์ที่มารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเป็นอวัยวะ เมื่อสังคมแข็งแรง ประเทศชาติก็แข็งแรง” นี่อาจเป็นอีกหนทางหนึ่ง ในการผลักดันพัฒนาสังคมไทย โดยมีพ่อแม่เป็นพลังสำคัญไม่ว่าลูกจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติก็ตาม.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/378241 (ขนาดไฟล์: 167)
ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดอกบัวประดิษฐ์จากฝีมือเด็กออทิสติก ผลวิจัยโครงการคนไทยมอนิเตอร์ มูลนิธิเพื่อ “คนไทย” 100,000 คนทั่วประเทศ พบว่า หนึ่งในกุญแจสำคัญ ที่จะเปิดประตูไปสู่สังคมที่ดีขึ้น ได้แก่ พลังของครอบครัว รวมไปถึงการศึกษาที่ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาเยาวชนได้อย่างเต็มศักยภาพและ นี่อาจเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงพลังดังกล่าวได้อย่าง ชัดเจน... ชุมชนพ่อแม่“บ้านเรียนชวนชื่น”...บ้านเรียนสำหรับเด็กพิเศษที่มีอาการออทิสติกแห่งปทุมธานี เมื่อไม่นานมานี้ ในหน้าจอทีวีมีชื่อของเด็กๆ จากบ้านเรียนชวนชื่นปรากฏขึ้น ด้วยการร้องเพลงหมู่อย่างน่ารักซาบซึ้งใจ ในรายการ “ไทยแลนด์ ก็อตทาเลนต์” อันโด่งดัง พร้อมกับคำพูดเรียกน้ำตาผู้ชมทั่วประเทศ วันนั้นคุณครูแถลงว่า โรงเรียนกำลังจะต้องปิดตัวลง ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้เพราะขาดทุนทรัพย์ เนื่องจากเมื่อราว 7-8 ปีก่อนเกิดไฟไหม้โรงเรียน จึงจำเป็นต้องหาทุนทรัพย์มาซ่อมแซม และสร้างอาคาร แต่เดิมนั้น บ้านเรียนชวนชื่นอยู่ใต้เงาของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง พึ่งพาทุนทรัพย์จากบริษัทแห่งนี้ แต่บริษัทดังกล่าวต้องมาประสบมรสุมในยุคฟองสบู่แตกทำให้ต้องปิดกิจการและเป็นหนี้ธนาคาร หลังออกรายการทีวี ยอดวิวในเฟซบุ๊กพุ่งแรงและคลิปการแสดงของเด็กๆที่นำลงเว็บไซต์ยูทูบ มีผู้ชมเป็นแสนวิว... น้ำใจและแรงศรัทธาของผู้คนหลั่งไหลไปยังบ้านเรียนชวน ชื่นในรูปของ “การบริจาค” หากแต่ฝ่ายบริหารของโรงเรียน“ปฏิเสธ”โดยสิ้นเชิง เหตุผล เพราะไม่ได้ต้องการขอเงินฟรี สิ่งที่ทำลงไปเพียงแค่ขอที่ยืนให้กับเด็กๆ และให้สังคมยอมรับถึงความสามารถของเด็กกลุ่มนี้ ในงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กพิเศษได้แบ่งเด็กเหล่านี้ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง...เป็นพวกที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีพ่อแม่หรือคนดูแลตลอดเวลา กลุ่มที่สอง...สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง อาบน้ำ กินข้าว แปรงฟันได้ แต่ไม่สามารถทำงานได้ และ กลุ่มที่สาม...สามารถดูแลตัวเองและทำงานที่ไม่ซับซ้อนได้ เด็กกลุ่ม ที่ 3 นี้ คือ เหตุผลที่ทำให้ทางโรงเรียนจัดทำกิจกรรมและคิดโครงการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ ผ่านการทำสินค้าของที่ระลึกโดยฝีมือเด็กพิเศษที่เรียกว่า “บัวมหามิตร”เพื่อแลกเปลี่ยนกับจิตศรัทธาของผู้คน นพ.ระพล พูลสวัสดิ์กิติกูล นายแพทย์ผู้ชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี คุณพ่อน้องเบส ประธานกลุ่มพ่อแม่บ้านเรียนชวนชื่น เล่าว่า “เราคิดว่า ถ้าเราเอาเด็กมาฝึกให้เขาสามารถทำอะไรได้จะลดภาระของครอบครัว คนรอบข้างและลดภาระของสังคมลงได้ เด็กแต่ละคนมีศักยภาพไม่เหมือนกัน ถ้าเราจะให้เขาอยู่บ้านก็มีค่าเป็นศูนย์โครงการนี้เขาจะได้เรียนรู้ว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง” สอดคล้องไปกับความเชื่อของผู้บริหาร โรงเรียนว่าแนวคิดของระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถตอบคำถามให้กับเด็กกลุ่ม นี้ได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเรียนร่วมกับเด็กปกติซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ควรมีมาตรฐานที่ชัดเจนว่าเด็กออทิสติกควรเรียนรู้แบบไหน วัดได้จากเด็กออทิสติกบางคนที่ได้ร่วมเรียนในสายวิชาชีพ มีการออกใบประกาศนียบัตรรับรองการศึกษาให้ ไม่ว่าจะในระดับใดก็ตาม ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่หลงเข้าใจผิดว่า ลูกสามารถออกไปทำงานทัดเทียมกับคนอื่นๆได้แต่ในความเป็นจริงการบวกเลขอย่างง่ายๆเด็กกลุ่มนี้ยังทำได้ยาก แนวคิดนี้จึงทำให้กลุ่ม พ่อแม่ที่นี่รวมตัวกันระดมเงินทุนได้ราว 2 ล้านบาท สร้างโครงการ “บัวมหามิตร” ขึ้นเมื่อ 4 เดือนก่อน โดยพัฒนามาจากชิ้นงานของ “ครูทองหล่อ” ศิลปินผลิตดอกบัวโลหะจาก จ.สุรินทร์ร่วมกับต้นแบบจาก“สวนบัวฟ้า”เว็บไซต์แหล่งรวมพันธุ์บัวที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย “เราพบว่า เด็กออทิสติกมีพฤติกรรมหนึ่งคือ ชอบทุบ เราจึงนำพฤติกรรมนี้แปลงศักยภาพมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยให้หันมาทุบ แผ่นโลหะแทนที่จะไปทุบอย่างอื่น เป็นวิชาชีพที่เด็กสามารถทำออกมาได้สวยงามเหมือนจริงและใช้ประโยชน์ได้ด้วยการนำไปประกอบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ง่ายๆ” นอกจากนั้นยังมีการพัฒนารูปแบบของดอกบัวประดิษฐ์นี้ไม่ให้เกิดอันตราย โดยการลบคม ลบมุมแหลมให้เหมาะกับเด็กๆ และเลือกต้นแบบบัวพันธุ์ดีที่ได้รับรางวัลระดับโลกอย่าง พันธุ์ควีนสิริกิติ์ พันธุ์วันวิสาข์ และพันธุ์สวยๆอีกกว่า20สายพันธุ์ “ทั้งหมดเราคิดเองมีลุงทองหล่อมาเริ่มต้นให้ โดยเด็กๆจะได้เรียนรู้ว่า สายพันธุ์บัวไทยเป็นอย่างไร เราทำเหมือนจริงลักษณะสีสันตามบัวจริงๆจนถึงวันนี้เราทำเว็บไซต์ขายงานเลย”คุณครูของเด็กๆบอก ผลิตผลจากแนวคิดออกมาเป็นบัวโลหะสีเหมือนจริงใน รูปแบบต่างๆ ตอบแทนเงินบริจาค โดย 500 บาทจะได้เชิงเทียนไฟอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเวียนเทียน...800 บาท สำหรับบัวชุดเล็กพร้อมรูปถ่ายและรายละเอียดของบัวพันธุ์นั้นๆ นอกจากนั้นยังมีในราคา 1,500 บาท และราคา 3,000 บาท สำหรับไซส์ใหญ่สุด ผลงานนี้ จึงนับได้ว่า เป็นครั้งแรกของโลกที่เด็กพิเศษออกมาทำงานฝีมืออวดสังคมว่า เขาสามารถผลิตสินค้าได้สวยงามและมีคุณค่า ประธานกลุ่มย้ำว่า รัฐเองก็มีแนวคิดการศึกษาแบบคู่ขนานให้เด็กธรรมดาและเด็กพิเศษเรียนร่วมกัน สำหรับบ้านเรียนของเราผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาก็สนใจมาดูงาน อยากให้เราเป็นศูนย์เรียนรู้เป็นนวัตกรรมใหม่ แต่เราไม่ได้ตอบรับ เพราะสำหรับเราไม่ใช่แค่เด็กมาเรียนแต่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ด้วยจะมาให้เด็ก ไปร้อยมะลิร้อยมาลัยเป็นอาชีพ อย่างนี้ไม่ได้ให้คุณค่ากับเด็ก ทางเราคิดว่า...จะทำอย่างไรให้เขามีแนวทางของตน แนวโน้มประเทศของเรา เจริญขึ้น ประเทศก็พัฒนาขึ้น อีกหน่อยเด็กออทิสติกต้องออกไปในสังคม ไปทำงานร่วมกับคนปกติได้ สิ่งที่เราต้องทำคือ เราต้องยอมรับสมรรถภาพของเด็กเหล่านี้ก่อนว่าเขาทำอะไรได้แค่ไหน และเขาต้องมีที่ยืนอย่างเหมาะสม พวกเขาต้องดูแลตัวเองได้...“ผมไม่ได้คาดหวังว่า ลูกจะเติบโตไปทำงานเป็นผู้บริหารผมหวังแค่ให้เขาอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นภาระกับใคร” คุณแม่ของลูกออทิสติกท่านหนึ่ง กล่าวว่า “ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด ถ้าพ่อแม่พี่น้องไม่ยอมรับแล้วเด็กจะอยู่ตรงไหน ถ้าเรายอมรับได้ สังคมภายนอกก็ยอมรับได้ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมแล้วพาเขาออกสู่สังคมภายนอก ค่อยๆก้าวตามศักยภาพเด็ก ปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กเขาจะเข้มแข็ง พ่อแม่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมเด็กแยกกันไม่ได้ ตอนนี้ปัญหาไม่ใช่แต่เด็กพิเศษ เด็กปกติก็มีปัญหาเยอะมาก ถ้าไม่ดูแลกันดีๆ มันจะไปเติมปัญหาสังคมในองค์กรก็เช่นกันต้องช่วยกัน” คุณหมอย้ำชัดว่า “สถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้น เป็นเซลล์ที่มารวมกันเป็นเนื้อเยื่อเป็นอวัยวะ เมื่อสังคมแข็งแรง ประเทศชาติก็แข็งแรง” นี่อาจเป็นอีกหนทางหนึ่ง ในการผลักดันพัฒนาสังคมไทย โดยมีพ่อแม่เป็นพลังสำคัญไม่ว่าลูกจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติก็ตาม. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/378241 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)