เปิดโลกกว้างในหน้าหนังสือ เพราะการอ่าน...คือชีวิต
หากจะให้เอ่ยถึงประโยชน์ของหนังสือนั้นย่อมมีมากมายนับไม่ถ้วน เพราะไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทไหนมักให้อะไรแก่คนอ่านได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสาระความรู้ ความบันเทิง ฝึกสมาธิ รวมทั้งการอ่านยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ และโรคความจำเสื่อม
แม้ข้อดีและประโยชน์ของการอ่านจะมีมากมาย แต่สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยกลับมีจำนวนน้อยมาก เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมรักการอ่าน ธนาคารจิตอาสา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมเปิดโลกอาสา ครั้งที่ 9 ตอน อ่านชีวิต ณ ห้องประชุมใหญ่ บ้านเซเวียร์ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแรงบันดาลใจจากกิจกรรมอาสาส่งเสริมการอ่าน
นางสาวสายใจ คงทน กลุ่ม “We are happy” เผยว่า กลุ่ม We are happy เกิดจากการรวมตัวกันเพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กๆ เกิดนิสัยรักการอ่าน ด้วยการเข้าไปพูดคุยสร้างความคุ้นเคยในแต่ละชุมชน และแต่งตั้งแกนนำในการรักการอ่านเพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละชุมชน แล้วจัดให้มี มุมหนังสือเพื่อให้เด็กในชุมชนได้เข้าถึงแหล่งหนังสือได้ง่ายขึ้น สามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งแต่ละครอบครัวสามารถร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยการอ่าน โดยเริ่มจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับลูก ด้วยการหาเกมสนุกๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน หรือเริ่มให้ดูภาพน่ารักๆ ในหนังสือก่อน
“การอ่าน สร้างให้คนมีความสุข เด็กที่อ่านไม่ออก เรารู้สึกว่าเขาขาดความมั่นใจ เด็กที่เราทำงานด้วยเป็นเด็กระดับ 10 ขวบ ที่ไม่ได้รับโอกาสเรียนหนังสือ มีเด็กหลายคนต้องเลี้ยงน้อง ไม่ได้ไปโรงเรียน เราจึงจัดกิจกรรมอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในหนังสือยิ่งขึ้น นอกจากการอ่าน เราก็ทำเรื่องการรู้เท่าทันสื่อขึ้น เพราะปัจจุบันมีโฆษณาที่หลอกล่อเด็กๆ มากมาย เราจึงสอนเด็กว่านอกจากอ่านออกแล้วต้องวิเคราะห์ได้ด้วย” ตัวแทนกลุ่ม “We are happy” กล่าว
นอกจากนี้ ทางกลุ่มมีการจัดกิจกรรมพาเด็กไปซื้อหนังสือในงานมหกรรมหนังสือฯ ที่จัดขึ้นทุกปี โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศ ไทย (PUBAT) ซึ่งเด็กๆ จะได้รับคูปองไปซื้อหนังสือเองในงาน
“เราภูมิใจ มากที่น้องๆ มีใจรักการอ่าน มีเด็กคนหนึ่งที่ซื้อหนังสือที่เรามีอยู่แล้ว เราก็บอกว่าเล่มนี้ไม่ต้องซื้อก็ได้ ยืมของพี่อ่านก็ได้ เด็กบอกว่า “เล่มนั้นของพี่ แต่เล่มนี้ของผม” เราเห็นสีหน้าและแววตาของเขา มันมีความภูมิใจเกิดขึ้นบนใบหน้าของเขา เด็กบางคนก็ซื้อให้น้อง ซื้อให้พี่ เราว่านี่คือการแบ่งปัน บางครั้งมีผู้ปกครองบางคนที่มาซื้อหนังสือให้ลูกตัวเอง ก็ซื้อหนังสือให้เด็กของเราด้วย ทำให้ได้รับรู้ถึงน้ำใจของเขาด้วย ก็รู้สึกขอบคุณมากที่ทุกคนเห็นคุณค่าของการอ่าน” นางสาวสายใจกล่าวทิ้งท้าย
นาย จรัญ มาลัยกุล โครงการอ่านสร้างชาติ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า ความตั้งใจแรกเริ่มคือเราตั้งใจรับบริจาคหนังสือ เพราะเห็นว่ามีหลายองค์กรรับบริจาค แต่เป็นวาระๆ เป็นครั้งๆ ไม่ได้ทำระยะยาว แต่ความเป็นจริงในสังคมยังมีความต้องการหนังสือมาก โดยโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2551 พอมีหนังสือเข้ามาเยอะมากๆ ก็ต้องจัดการ ในช่วงแรกๆ นั้นมีหนังสือเข้ามาปีละแสนกว่าเล่ม ปีที่แล้วมีเกือบ 6 แสนเล่ม แต่มีหนังสือดีๆ ประมาณ 40% ส่วนที่เหลือเป็นขยะ เช่น เอกสารประกอบการประชุม ปฏิทินเก่า โบรชัวร์ และอีกมากมาย
ทางโครงการจึง ต้องคัดแยกหนังสือส่วนที่ดีไปให้ผู้รับ คัดแยกหนังสือที่ดี และคัดให้ตรงกับวัยของผู้รับ ทั้งผู้ใหญ่ เด็กโต เด็กเล็ก โดยอาสาสมัครที่สนใจมาช่วยคัดแยก ต้องแยกประเภทหนังสือได้ หนังสือที่ผ่านการคัดแยกแล้วจะส่งไปนำไปบริจาคให้กลุ่มผู้ที่เข้าไม่ถึง หนังสือ คนในชุมชนแออัด หากผู้รับหนังสือเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ก็จะส่งหนังสือที่นอกเหนือจากตำราไปให้ หรือส่งไปให้ห้องสมุดหมู่บ้าน โดยปีที่แล้วเราบริจาคให้หมู่บ้าน 560 กว่าแห่งทั่วประเทศ แต่ละแห่งส่งให้เฉลี่ย 300 เล่ม ซึ่งถือเป็นการแบ่งปัน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รักการอ่าน
นางนิรมล เปี่ยมอุดมสุข ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด บอกว่า ตอนนี้ทางชมรมกำลังจะจัดอบรมการอ่านหนังสือให้ถูกต้อง โดยจะมีเอกสารแนะนำว่าการอ่านของเราเป็นอย่างไรด้วย เพราะปกติเวลาเราอ่าน เราจะไม่อ่านออกเสียง ลองอ่านออกเสียง แล้วจะทราบทันทีว่าการใช้เสียงของเราเป็นอย่างไร แต่การอ่านสามารถพัฒนาได้ ฝึกได้
คนตาบอดก็เหมือนเราทุกอย่าง เพียงแต่มองไม่ชัดหรือไม่เห็น คนตาบอดหลายคนก็เรียนจบปริญญาได้ มีคนขายลอตเตอรี่หลายคนที่เรียนจบปริญญา ซึ่งคนตาบอดเขาต้องการโอกาส เราสามารถหยิบยื่นโอกาสให้เขาได้ อย่างเรื่องการอ่านหนังสือ เขาไม่สามารถจะอ่านได้อย่างคนปกติ เราก็สามารถช่วยเหลือเขาได้โดยการเป็นอาสาสมัคร
“มีนักเรียนมาเป็นอาสา อ่านหนังสือเรียน และมีการนัดหมายที่ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย หรือโรงเรียนสอนคนตาบอด มีทั้งนั่งอ่านให้เพื่อนฟัง และนำหนังสือมาฝากไว้ที่ห้องสมุดคนตาบอด แล้วก็มีจะมีอาสามาอ่านอัดเสียงใส่ซีดี หรือบางครั้งคนตาบอดก็นำหนังสือมาฝากให้อ่านด้วย ซึ่งคนตาบอดทุกคนต่างดีใจที่ยังมีคนที่นึกถึงพวกเขา สละเวลามาเป็นเพื่อน คอยช่วยเหลือ ทำให้พวกเขาได้สัมผัสกับโลกของการอ่านผ่านกลุ่มเพื่อนอาสาเหล่านี้” ตัวแทนชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดกล่าว
อย่างไรก็ตาม การอ่านย่อมสร้างประโยชน์ หากมีโอกาสขอแค่ทุกคนลองเปิดอ่าน ลองสัมผัสกับตัวหนังสือ แล้วจะได้เห็นมุมมองอีกด้าน และโลกใบใหม่อย่างคาดไม่ถึง หรือหากมีเวลาอยากแบ่งปันประสบการณ์การอ่านให้กับเพื่อนมนุษย์ในสังคม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โครงการธนาคารจิตอาสา http://www.JitArsaBank.com (ขนาดไฟล์: 167) โทร.0-2617-1797 อีเมล์ JitArsaBank@gmail.com มาเปิดโลกกว้างไปกับโลกของหนังสือ แล้วคุณจะหลงรักการอ่าน
ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/261013/81190 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต เด็กหญิงกำลังนอนอ่านหนังสือที่กลางสนามหญ้า หากจะให้เอ่ยถึงประโยชน์ของหนังสือนั้นย่อมมีมากมายนับไม่ถ้วน เพราะไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทไหนมักให้อะไรแก่คนอ่านได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสาระความรู้ ความบันเทิง ฝึกสมาธิ รวมทั้งการอ่านยังเป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์ และโรคความจำเสื่อม แม้ข้อดีและประโยชน์ของการอ่านจะมีมากมาย แต่สถิติการอ่านหนังสือของคนไทยกลับมีจำนวนน้อยมาก เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมรักการอ่าน ธนาคารจิตอาสา ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมเปิดโลกอาสา ครั้งที่ 9 ตอน อ่านชีวิต ณ ห้องประชุมใหญ่ บ้านเซเวียร์ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแรงบันดาลใจจากกิจกรรมอาสาส่งเสริมการอ่าน นางสาวสายใจ คงทน กลุ่ม “We are happy” เผยว่า กลุ่ม We are happy เกิดจากการรวมตัวกันเพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กๆ เกิดนิสัยรักการอ่าน ด้วยการเข้าไปพูดคุยสร้างความคุ้นเคยในแต่ละชุมชน และแต่งตั้งแกนนำในการรักการอ่านเพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละชุมชน แล้วจัดให้มี มุมหนังสือเพื่อให้เด็กในชุมชนได้เข้าถึงแหล่งหนังสือได้ง่ายขึ้น สามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งแต่ละครอบครัวสามารถร่วมกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยการอ่าน โดยเริ่มจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับลูก ด้วยการหาเกมสนุกๆ ที่เกี่ยวกับการอ่าน หรือเริ่มให้ดูภาพน่ารักๆ ในหนังสือก่อน “การอ่าน สร้างให้คนมีความสุข เด็กที่อ่านไม่ออก เรารู้สึกว่าเขาขาดความมั่นใจ เด็กที่เราทำงานด้วยเป็นเด็กระดับ 10 ขวบ ที่ไม่ได้รับโอกาสเรียนหนังสือ มีเด็กหลายคนต้องเลี้ยงน้อง ไม่ได้ไปโรงเรียน เราจึงจัดกิจกรรมอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในหนังสือยิ่งขึ้น นอกจากการอ่าน เราก็ทำเรื่องการรู้เท่าทันสื่อขึ้น เพราะปัจจุบันมีโฆษณาที่หลอกล่อเด็กๆ มากมาย เราจึงสอนเด็กว่านอกจากอ่านออกแล้วต้องวิเคราะห์ได้ด้วย” ตัวแทนกลุ่ม “We are happy” กล่าว นอกจากนี้ ทางกลุ่มมีการจัดกิจกรรมพาเด็กไปซื้อหนังสือในงานมหกรรมหนังสือฯ ที่จัดขึ้นทุกปี โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศ ไทย (PUBAT) ซึ่งเด็กๆ จะได้รับคูปองไปซื้อหนังสือเองในงาน “เราภูมิใจ มากที่น้องๆ มีใจรักการอ่าน มีเด็กคนหนึ่งที่ซื้อหนังสือที่เรามีอยู่แล้ว เราก็บอกว่าเล่มนี้ไม่ต้องซื้อก็ได้ ยืมของพี่อ่านก็ได้ เด็กบอกว่า “เล่มนั้นของพี่ แต่เล่มนี้ของผม” เราเห็นสีหน้าและแววตาของเขา มันมีความภูมิใจเกิดขึ้นบนใบหน้าของเขา เด็กบางคนก็ซื้อให้น้อง ซื้อให้พี่ เราว่านี่คือการแบ่งปัน บางครั้งมีผู้ปกครองบางคนที่มาซื้อหนังสือให้ลูกตัวเอง ก็ซื้อหนังสือให้เด็กของเราด้วย ทำให้ได้รับรู้ถึงน้ำใจของเขาด้วย ก็รู้สึกขอบคุณมากที่ทุกคนเห็นคุณค่าของการอ่าน” นางสาวสายใจกล่าวทิ้งท้าย นาย จรัญ มาลัยกุล โครงการอ่านสร้างชาติ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า ความตั้งใจแรกเริ่มคือเราตั้งใจรับบริจาคหนังสือ เพราะเห็นว่ามีหลายองค์กรรับบริจาค แต่เป็นวาระๆ เป็นครั้งๆ ไม่ได้ทำระยะยาว แต่ความเป็นจริงในสังคมยังมีความต้องการหนังสือมาก โดยโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2551 พอมีหนังสือเข้ามาเยอะมากๆ ก็ต้องจัดการ ในช่วงแรกๆ นั้นมีหนังสือเข้ามาปีละแสนกว่าเล่ม ปีที่แล้วมีเกือบ 6 แสนเล่ม แต่มีหนังสือดีๆ ประมาณ 40% ส่วนที่เหลือเป็นขยะ เช่น เอกสารประกอบการประชุม ปฏิทินเก่า โบรชัวร์ และอีกมากมาย ทางโครงการจึง ต้องคัดแยกหนังสือส่วนที่ดีไปให้ผู้รับ คัดแยกหนังสือที่ดี และคัดให้ตรงกับวัยของผู้รับ ทั้งผู้ใหญ่ เด็กโต เด็กเล็ก โดยอาสาสมัครที่สนใจมาช่วยคัดแยก ต้องแยกประเภทหนังสือได้ หนังสือที่ผ่านการคัดแยกแล้วจะส่งไปนำไปบริจาคให้กลุ่มผู้ที่เข้าไม่ถึง หนังสือ คนในชุมชนแออัด หากผู้รับหนังสือเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ก็จะส่งหนังสือที่นอกเหนือจากตำราไปให้ หรือส่งไปให้ห้องสมุดหมู่บ้าน โดยปีที่แล้วเราบริจาคให้หมู่บ้าน 560 กว่าแห่งทั่วประเทศ แต่ละแห่งส่งให้เฉลี่ย 300 เล่ม ซึ่งถือเป็นการแบ่งปัน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้รักการอ่าน นางนิรมล เปี่ยมอุดมสุข ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด บอกว่า ตอนนี้ทางชมรมกำลังจะจัดอบรมการอ่านหนังสือให้ถูกต้อง โดยจะมีเอกสารแนะนำว่าการอ่านของเราเป็นอย่างไรด้วย เพราะปกติเวลาเราอ่าน เราจะไม่อ่านออกเสียง ลองอ่านออกเสียง แล้วจะทราบทันทีว่าการใช้เสียงของเราเป็นอย่างไร แต่การอ่านสามารถพัฒนาได้ ฝึกได้ คนตาบอดก็เหมือนเราทุกอย่าง เพียงแต่มองไม่ชัดหรือไม่เห็น คนตาบอดหลายคนก็เรียนจบปริญญาได้ มีคนขายลอตเตอรี่หลายคนที่เรียนจบปริญญา ซึ่งคนตาบอดเขาต้องการโอกาส เราสามารถหยิบยื่นโอกาสให้เขาได้ อย่างเรื่องการอ่านหนังสือ เขาไม่สามารถจะอ่านได้อย่างคนปกติ เราก็สามารถช่วยเหลือเขาได้โดยการเป็นอาสาสมัคร “มีนักเรียนมาเป็นอาสา อ่านหนังสือเรียน และมีการนัดหมายที่ห้องสมุดคนตาบอดแห่งชาติ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย หรือโรงเรียนสอนคนตาบอด มีทั้งนั่งอ่านให้เพื่อนฟัง และนำหนังสือมาฝากไว้ที่ห้องสมุดคนตาบอด แล้วก็มีจะมีอาสามาอ่านอัดเสียงใส่ซีดี หรือบางครั้งคนตาบอดก็นำหนังสือมาฝากให้อ่านด้วย ซึ่งคนตาบอดทุกคนต่างดีใจที่ยังมีคนที่นึกถึงพวกเขา สละเวลามาเป็นเพื่อน คอยช่วยเหลือ ทำให้พวกเขาได้สัมผัสกับโลกของการอ่านผ่านกลุ่มเพื่อนอาสาเหล่านี้” ตัวแทนชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอดกล่าว อย่างไรก็ตาม การอ่านย่อมสร้างประโยชน์ หากมีโอกาสขอแค่ทุกคนลองเปิดอ่าน ลองสัมผัสกับตัวหนังสือ แล้วจะได้เห็นมุมมองอีกด้าน และโลกใบใหม่อย่างคาดไม่ถึง หรือหากมีเวลาอยากแบ่งปันประสบการณ์การอ่านให้กับเพื่อนมนุษย์ในสังคม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โครงการธนาคารจิตอาสา http://www.JitArsaBank.com โทร.0-2617-1797 อีเมล์ JitArsaBank@gmail.com มาเปิดโลกกว้างไปกับโลกของหนังสือ แล้วคุณจะหลงรักการอ่าน ขอบคุณ... http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/261013/81190 ( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)