นิทรรศการบทเรียนในความมืด@อพวช.จามจุรีสแควร์

แสดงความคิดเห็น

นายพินิตย์ ขจรผดุงกิตติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด อพวช.

ในงานมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู EDUCA 2013 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย และบริษัทปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด "Strong Performers and Successful Reformers" ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ภายในงานนอกจากได้พบกับเวทีการประชุมวิชาการ ทั้งการประชุมนานาชาติ การบรรยายพิเศษและการประชุมอภิปรายจากนักการศึกษาระดับโลก การจัดทำเวิร์กช็อปครอบคลุมทุกความต้องการของครูไทยแล้ว ยังมีการจัดโซนสำหรับแสดงสินค้า นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีที่หลากหลาย

หนึ่งในโซนนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยี มีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปีนี้ จัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ นำเสนอความหลากหลายการให้บริการ เมื่อพูดถึง อพวช. หลายคนนึกภาพตึกลูกเต๋า 3 ลูกวางพิงกันในบริเวณเทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี ซึ่งภายใต้สัญลักษณ์อันคุ้นตานั้น อพวช.ยังมีจุดให้บริการที่หลากหลาย และกระจายสู่สถานที่ต่างๆ ด้วย

นายพินิตย์ ขจรผดุงกิตติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด อพวช. กล่าวว่า อพวช.เน้นการให้เรียนรู้แบบ "ไม่ใช่เพียงได้ยินหรือได้เห็น แต่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง" โดยขณะนี้เปิดให้บริการในชื่อ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่คลองห้า ภายในเทคโนธานี รวมทั้งเปิดพื้นที่ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ จามจุรีสแควร์ สามย่าน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชน คนทำงานและผู้ที่มีเวลาไม่มากได้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

"อพวช.ยังกระจายฐานการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สู่ทุกภูมิภาคในรูปแบบของคาราวานวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการจัดค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำ อาทิ ค่ายตะลุยโลกวิทยาศาสตร์ โลกแห่งการบิน วิศวกรตัวน้อย โลกแมลงมหัศจรรย์ ป.ปลาตากลม และท่องโลกการสื่อสาร โดยมีวิทยากรให้ความรู้ มีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังร่วมมือกับทุกสถาบันในการจัดค่าย ตามหลักสูตร หรือตามความประสงค์ของสถาบันนั้นๆ" นายพินิตย์ กล่าว

ผอ.พินิตย์ กล่าวต่อว่า อยากแนะนำให้ทุกท่านได้มีโอกาสไปสัมผัสคือนิทรรศการ "บทเรียนในความมืด" ซึ่งจัดแสดงที่ อพวช. จามจุรีสแควร์ (มีตลอดปี) บนพื้นที่ 600 ตารางเมตร ในนิทรรศการนี้จะเป็นโซนโลกมืด และไกด์นำทางก็จะเป็นผู้พิการทางสายตา ในช่วงเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง กับเรื่องราวที่ไม่ต่างจากการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ต่างกันตรงที่ต้องอยู่ในโลกมืดตลอดเวลา เราต้องใช้ประสาทสัมผัสส่วนอื่นๆ ที่ต้องเรียนรู้เอาตัวรอด เมื่อตาไม่เห็นอะไรเลย เป็นการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อผู้พิการทางสายตาไปในตัวด้วย

"นิทรรศการบทเรียนในความมืด ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. อาคารจามจุรีสแควร์นั้น นิทรรศการนี้เปิดประสบการณ์ให้คนทั่วไปได้ลองดำเนินชีวิตภายใต้ความมืด เพื่อให้ทราบว่าเรามีประสาทสัมผัสอะไรบ้าง รวมทั้งพัฒนาหรือใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ด้วยการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสการรับรู้ของร่างกายส่วนอื่นนอกเหนือจากดวงตา ทำให้เข้าใจผู้พิการทางสายตามากขึ้นว่า คนกลุ่มนี้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไป"

อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาส ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างผู้พิการทางสายตาและผู้มีสายตาปกติที่จะยอมรับและอยู่ร่วมกันในสังคม โดยนิทรรศการนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดย Dr.Andreas Heinecke ชาวเยอรมัน จัดแสดงมาแล้ว กว่า 160 เมือง ใน 35 ประเทศทั่วโลก นิทรรศการจัดแสดงที่ประเทศไทย ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2553 และจะครบรอบ 3 ปี ในวันที่ 15 ตุลาคม 2556 นี้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีผู้เข้าชมกว่า 5 หมื่นคน

นอกจากนี้ ที่ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี ได้เปิดบริการล่าสุด โรงฉายภาพยนตร์แบบโดม Science Dome (NSM) ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ อวกาศและดวงดาว หลายเรื่อง "การเข้าร่วมงานกับ EDUCA 2013 ในครั้งนี้ อพวช.ไม่ได้นำเสนอในรูปแบบให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมเหมือนสัปดาห์วิทยา ศาสตร์ แต่เน้นการให้ข้อมูลผ่านตัวอย่างนิทรรศการเคลื่อนที่และกิจกรรม เพื่อแสดงถึงบริการและประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อมาเยี่ยมชม อพวช. คลองห้า ปทุมธานี เพราะกลุ่มเป้าหมายของ EDUCA เป็นกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเราเน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยน และนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัวเรา สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ลืมตาจนถึงเข้านอน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด ทั้งนี้เพราะ อพวช.คือ ผู้สื่อสารทางวิทยาศาสตร์ หน้าที่หลักคือการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น ดังนั้นในทุกส่วนของการจัดกิจกรรม จึงเน้นการเรียนรู้ ค้นหาคำตอบด้วยตัวเองทั้งสิ้น" นายพินิตย์ กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131030/171602.html (ขนาดไฟล์: 167)

(คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ต.ค.56)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 30/10/2556 เวลา 05:53:44 ดูภาพสไลด์โชว์ นิทรรศการบทเรียนในความมืด@อพวช.จามจุรีสแควร์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายพินิตย์ ขจรผดุงกิตติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด อพวช. ในงานมหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู EDUCA 2013 ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย และบริษัทปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ภายใต้แนวคิด "Strong Performers and Successful Reformers" ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ภายในงานนอกจากได้พบกับเวทีการประชุมวิชาการ ทั้งการประชุมนานาชาติ การบรรยายพิเศษและการประชุมอภิปรายจากนักการศึกษาระดับโลก การจัดทำเวิร์กช็อปครอบคลุมทุกความต้องการของครูไทยแล้ว ยังมีการจัดโซนสำหรับแสดงสินค้า นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีที่หลากหลาย หนึ่งในโซนนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยี มีองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ปีนี้ จัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ นำเสนอความหลากหลายการให้บริการ เมื่อพูดถึง อพวช. หลายคนนึกภาพตึกลูกเต๋า 3 ลูกวางพิงกันในบริเวณเทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี ซึ่งภายใต้สัญลักษณ์อันคุ้นตานั้น อพวช.ยังมีจุดให้บริการที่หลากหลาย และกระจายสู่สถานที่ต่างๆ ด้วย นายพินิตย์ ขจรผดุงกิตติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและการตลาด อพวช. กล่าวว่า อพวช.เน้นการให้เรียนรู้แบบ "ไม่ใช่เพียงได้ยินหรือได้เห็น แต่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง" โดยขณะนี้เปิดให้บริการในชื่อ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่คลองห้า ภายในเทคโนธานี รวมทั้งเปิดพื้นที่ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ณ จามจุรีสแควร์ สามย่าน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชน คนทำงานและผู้ที่มีเวลาไม่มากได้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น "อพวช.ยังกระจายฐานการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สู่ทุกภูมิภาคในรูปแบบของคาราวานวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการจัดค่ายวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นประจำ อาทิ ค่ายตะลุยโลกวิทยาศาสตร์ โลกแห่งการบิน วิศวกรตัวน้อย โลกแมลงมหัศจรรย์ ป.ปลาตากลม และท่องโลกการสื่อสาร โดยมีวิทยากรให้ความรู้ มีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังร่วมมือกับทุกสถาบันในการจัดค่าย ตามหลักสูตร หรือตามความประสงค์ของสถาบันนั้นๆ" นายพินิตย์ กล่าว ผอ.พินิตย์ กล่าวต่อว่า อยากแนะนำให้ทุกท่านได้มีโอกาสไปสัมผัสคือนิทรรศการ "บทเรียนในความมืด" ซึ่งจัดแสดงที่ อพวช. จามจุรีสแควร์ (มีตลอดปี) บนพื้นที่ 600 ตารางเมตร ในนิทรรศการนี้จะเป็นโซนโลกมืด และไกด์นำทางก็จะเป็นผู้พิการทางสายตา ในช่วงเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง กับเรื่องราวที่ไม่ต่างจากการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ต่างกันตรงที่ต้องอยู่ในโลกมืดตลอดเวลา เราต้องใช้ประสาทสัมผัสส่วนอื่นๆ ที่ต้องเรียนรู้เอาตัวรอด เมื่อตาไม่เห็นอะไรเลย เป็นการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อผู้พิการทางสายตาไปในตัวด้วย "นิทรรศการบทเรียนในความมืด ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. อาคารจามจุรีสแควร์นั้น นิทรรศการนี้เปิดประสบการณ์ให้คนทั่วไปได้ลองดำเนินชีวิตภายใต้ความมืด เพื่อให้ทราบว่าเรามีประสาทสัมผัสอะไรบ้าง รวมทั้งพัฒนาหรือใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ด้วยการสังเกตผ่านประสาทสัมผัสการรับรู้ของร่างกายส่วนอื่นนอกเหนือจากดวงตา ทำให้เข้าใจผู้พิการทางสายตามากขึ้นว่า คนกลุ่มนี้สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติเหมือนคนธรรมดาทั่วไป" อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาส ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างผู้พิการทางสายตาและผู้มีสายตาปกติที่จะยอมรับและอยู่ร่วมกันในสังคม โดยนิทรรศการนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดย Dr.Andreas Heinecke ชาวเยอรมัน จัดแสดงมาแล้ว กว่า 160 เมือง ใน 35 ประเทศทั่วโลก นิทรรศการจัดแสดงที่ประเทศไทย ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2553 และจะครบรอบ 3 ปี ในวันที่ 15 ตุลาคม 2556 นี้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีผู้เข้าชมกว่า 5 หมื่นคน นอกจากนี้ ที่ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี ได้เปิดบริการล่าสุด โรงฉายภาพยนตร์แบบโดม Science Dome (NSM) ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ อวกาศและดวงดาว หลายเรื่อง "การเข้าร่วมงานกับ EDUCA 2013 ในครั้งนี้ อพวช.ไม่ได้นำเสนอในรูปแบบให้เด็กได้เข้าร่วมกิจกรรมเหมือนสัปดาห์วิทยา ศาสตร์ แต่เน้นการให้ข้อมูลผ่านตัวอย่างนิทรรศการเคลื่อนที่และกิจกรรม เพื่อแสดงถึงบริการและประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อมาเยี่ยมชม อพวช. คลองห้า ปทุมธานี เพราะกลุ่มเป้าหมายของ EDUCA เป็นกลุ่มครู ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเราเน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยน และนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัวเรา สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ลืมตาจนถึงเข้านอน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด ทั้งนี้เพราะ อพวช.คือ ผู้สื่อสารทางวิทยาศาสตร์ หน้าที่หลักคือการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้น ดังนั้นในทุกส่วนของการจัดกิจกรรม จึงเน้นการเรียนรู้ ค้นหาคำตอบด้วยตัวเองทั้งสิ้น" นายพินิตย์ กล่าวทิ้งท้าย ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131030/171602.html (คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ต.ค.56)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...