“จิตตนคร นครหลวงของโลก”

แสดงความคิดเห็น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

หนังสือเล่มนี้เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวัฒนมหาเถร) เป็นผลงานประเภทคำบรรยายและโอวาท ทรงพระนิพนธ์เรื่องจิตตนครขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ “จิตตนคร นครหลวงของโลก และแนวปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗” เป็นคำบรรยายธรรมที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงไว้สำหรับอ่านออกออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ในรายการบริหารทางจิต เป็นประจำทุกเช้าวันอาทิตย์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ถึง ๒๕๑๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ ๕๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕

ความคิดผูกเรื่องนี้ขึ้น ได้เกิดจากพระพุทธภาษิตในธรรมบทข้อหนึ่งว่า “พึงกั้นจิตอันมีอุปมาด้วยนคร” อันที่จริง ความหมายแห่งพระธรรมข้อนี้ น่าจะมีเพียงว่า พึงกั้น คือ ทำเครื่องป้องกันและทำการป้องกันนครจากข้าศึกฉันใด ก็พึงกั้นจิตจากข้าศึก คือ กิเลส จิตของคนเราสามารถจะฟุ้งซ่าน ได้ถ้าเราจะกั้นจิตด้วยนครต้องสร้างกำแพงขึ้นมาและต้องมีผู้บริหารจิต” ทรงพระนิพนธ์ แบบบุคลาธิษฐานคือมีการสร้างตัวละครขึ้นมายกประกอบการเล่า เรื่อง เช่น จิต. บารมี, สมุทัย, ศีล, หิริ, โอตัปปะ, โลโภ, โทโส, โมโห, อาสวะ, อินทรีย์สังวร,สติสัมปชัญญะ, สังโยชน์ ๑๐, กิเลสพันห้า ฯลฯ

เนื้อเรื่อง เป็นการอุปมา “กาย” ของมนุษย์เป็นเมืองหนึ่งชื่อว่า “จิตตนคร” มีเจ้าผู้ครองนครชื่อ “พระเจ้าจิตตราช” ภายในเมือง มีทางเข้าออก ๖ ทาง คือ ตา หู จมูก ปาก กาย ใจ (กาย เป็นที่อยู่ของพระเจ้าจิตราช) ในเมืองทุกเมือง จะมีผู้บริหารเมือง หรือที่ปรึกษาเจ้าเมือง แต่ในบทพระนิพนธ์ จะเรียกว่า ”ฝ่ายสมุทัย” กับ “ฝ่ายบารมี” แต่ละฝ่ายก็จะมีผู้ช่วยที่อยู่ภายใต้ด้วย ตัวอย่างเช่น ฝ่ายบารมี มีผู้ที่ให้ความช่วยเหลือคือ ๑. ศีล ๒. หิริ ๓. โอตัปปะ ฝ่ายสมุทัย (ต้นเหตุแห่งทุกข์) มีทหารเอกชื่อว่า ๑. โลโภ ๒. โมโห ๓. โทโส ฝ่ายสมุทัย เป็นผู้อยู่ในด้านสีดำที่ทำหน้าที่ปรึกษาเจ้าเมือง คอยสนับสนุนให้เจ้าเมืองทำตามกิเลส หรือความต้องการของตน แต่ละฝ่ายจะมีลูกน้องของตนที่คอยทำงานรับใช้เกื้อหนุนตามความต้องการของ สมุทัยและในแต่ละฝ่ายย่อย ก็จะยังมีลูกน้องแตกย่อยออกไปอีก ฝ่ายบารมี เป็นฝ่ายสีขาว เป็นเหมือนที่ปรึกษาเจ้าเมืองที่คอยห้ามปรามตักเตือน ในสิ่งที่ไม่ดีและชี้แนวหนทางที่ถูกต้อง

ลักษณะจิตตนคร เหมือนกับนครโบราณ ทั้งหลาย กล่าวคือมีป้อมปราการ มีประตู ๖ ประตู (ทวาร ๖ เป็นชื่อของอายตนะภายในได้แก่ จักขุ, โสต, ฆาน,ชิวหา,กาย,มโน) นอกจากนี้ยังมีคำตามภาษาธรรม อีกหลายคำเช่น

คำว่า “นายทวารบาล” เป็นชื่อของ สติ

คำว่า “คู่แห่งฑูตทางด่วน” เป็นชื่อของ สมรรถ และวิปัสสนา

อ่านเนื้อหาของ “จิตตนคร นครหลวงของโลก” ทั้งหมด คลิก... http://www.tddf.or.th/library/detail.php?contentid=0032&postid=0006875&currentpage=1

(snc.lib.su.ac.th/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ พ.ย.๕๖)

ที่มา: snc.lib.su.ac.th/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ พ.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 20/11/2556 เวลา 04:36:27 ดูภาพสไลด์โชว์ “จิตตนคร นครหลวงของโลก”

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก หนังสือเล่มนี้เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวัฒนมหาเถร) เป็นผลงานประเภทคำบรรยายและโอวาท ทรงพระนิพนธ์เรื่องจิตตนครขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ “จิตตนคร นครหลวงของโลก และแนวปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗” เป็นคำบรรยายธรรมที่สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงไว้สำหรับอ่านออกออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต ในรายการบริหารทางจิต เป็นประจำทุกเช้าวันอาทิตย์ ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ ถึง ๒๕๑๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ครบ ๕๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ ความคิดผูกเรื่องนี้ขึ้น ได้เกิดจากพระพุทธภาษิตในธรรมบทข้อหนึ่งว่า “พึงกั้นจิตอันมีอุปมาด้วยนคร” อันที่จริง ความหมายแห่งพระธรรมข้อนี้ น่าจะมีเพียงว่า พึงกั้น คือ ทำเครื่องป้องกันและทำการป้องกันนครจากข้าศึกฉันใด ก็พึงกั้นจิตจากข้าศึก คือ กิเลส จิตของคนเราสามารถจะฟุ้งซ่าน ได้ถ้าเราจะกั้นจิตด้วยนครต้องสร้างกำแพงขึ้นมาและต้องมีผู้บริหารจิต” ทรงพระนิพนธ์ แบบบุคลาธิษฐานคือมีการสร้างตัวละครขึ้นมายกประกอบการเล่า เรื่อง เช่น จิต. บารมี, สมุทัย, ศีล, หิริ, โอตัปปะ, โลโภ, โทโส, โมโห, อาสวะ, อินทรีย์สังวร,สติสัมปชัญญะ, สังโยชน์ ๑๐, กิเลสพันห้า ฯลฯ เนื้อเรื่อง เป็นการอุปมา “กาย” ของมนุษย์เป็นเมืองหนึ่งชื่อว่า “จิตตนคร” มีเจ้าผู้ครองนครชื่อ “พระเจ้าจิตตราช” ภายในเมือง มีทางเข้าออก ๖ ทาง คือ ตา หู จมูก ปาก กาย ใจ (กาย เป็นที่อยู่ของพระเจ้าจิตราช) ในเมืองทุกเมือง จะมีผู้บริหารเมือง หรือที่ปรึกษาเจ้าเมือง แต่ในบทพระนิพนธ์ จะเรียกว่า ”ฝ่ายสมุทัย” กับ “ฝ่ายบารมี” แต่ละฝ่ายก็จะมีผู้ช่วยที่อยู่ภายใต้ด้วย ตัวอย่างเช่น ฝ่ายบารมี มีผู้ที่ให้ความช่วยเหลือคือ ๑. ศีล ๒. หิริ ๓. โอตัปปะ ฝ่ายสมุทัย (ต้นเหตุแห่งทุกข์) มีทหารเอกชื่อว่า ๑. โลโภ ๒. โมโห ๓. โทโส ฝ่ายสมุทัย เป็นผู้อยู่ในด้านสีดำที่ทำหน้าที่ปรึกษาเจ้าเมือง คอยสนับสนุนให้เจ้าเมืองทำตามกิเลส หรือความต้องการของตน แต่ละฝ่ายจะมีลูกน้องของตนที่คอยทำงานรับใช้เกื้อหนุนตามความต้องการของ สมุทัยและในแต่ละฝ่ายย่อย ก็จะยังมีลูกน้องแตกย่อยออกไปอีก ฝ่ายบารมี เป็นฝ่ายสีขาว เป็นเหมือนที่ปรึกษาเจ้าเมืองที่คอยห้ามปรามตักเตือน ในสิ่งที่ไม่ดีและชี้แนวหนทางที่ถูกต้อง ลักษณะจิตตนคร เหมือนกับนครโบราณ ทั้งหลาย กล่าวคือมีป้อมปราการ มีประตู ๖ ประตู (ทวาร ๖ เป็นชื่อของอายตนะภายในได้แก่ จักขุ, โสต, ฆาน,ชิวหา,กาย,มโน) นอกจากนี้ยังมีคำตามภาษาธรรม อีกหลายคำเช่น คำว่า “นายทวารบาล” เป็นชื่อของ สติ คำว่า “คู่แห่งฑูตทางด่วน” เป็นชื่อของ สมรรถ และวิปัสสนา อ่านเนื้อหาของ “จิตตนคร นครหลวงของโลก” ทั้งหมด คลิก... http://www.tddf.or.th/library/detail.php?contentid=0032&postid=0006875¤tpage=1 (snc.lib.su.ac.th/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๑ พ.ย.๕๖)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...