ปักธงธรรม : ขยะความคิด ผลพิษแห่งจิตโง่ความหายนะในทุกกาล

แสดงความคิดเห็น

เจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ธรรมดา ธรรมทั้งหลายไม่ก่อกุศล ก็ต้องก่ออกุศล ย่อมเปรียบเสมือนเช่นพืชที่ชักพาสัตว์ทั้งหลายไปเกิดในภูมิต่างๆ .. สัตว์โลกทั้งปวงจึงมีกรรมเป็นพืช มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์... ถูกกรรมบันดาลให้เป็นไป ไม่ว่าจะไปเกิดในรูปใด ใน เหฏฐิมสงสาร อันเป็นภูมิชั้นต่ำ หรือไปเกิดใน อุปริมสงสาร เป็นภูมิชั้นสูง ก็ตกที่นั่งเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน.... เพราะเมื่อ กรรมเก่าอันเป็นพืช ที่นำไปเกิดภูมินั้น หมดสิ้นไป กรรมใหม่อันเป็นพืชที่เป็นเหตุใหม่ก็จะเข้ามาสำแดง ชักนำให้ดำเนินไปตามกรรมวิถีสู่ภูมินั้นๆ เป็นผลที่เกิดแต่เหตุ ได้แก่ พืชกรรม!!. ให้เป็นไปตามยถากรรม วนอยู่ในมหาสมุทรแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า วัฏสงสาร วนเวียนเรื่อยไป ไม่มีวันหยุดยั้งเที่ยงแท้แน่นอน ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งหลายแห่งสัตว์ทุกข์ ดังเช่น......

สัตว์นรก.. ซึ่งจะต้องเสวยทุกข์ จนสิ้นอายุขัยในขุมนรกที่ตนเกิด.. บางทีก็กลับมาเกิดใหม่ที่ขุมเดิมอีก หรืออาจจะไปสู่นรกขุมอื่นๆ ก็มี.. บางทีก็ไปเกิดเป็น เปรต ในเปตติวิสัยภูมิ และวกกลับมาเกิดในนรกภูมิอีก ก็ย่อมได้ หรือเวียนว่ายอยู่ในเปตติวิสัยอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสิ้นแรงกรรมอันเป็นเหตุนั้น บางครั้งก็เคลื่อนสู่ความเป็น อสุรกาย .. เดียรัจฉาน สู่มนุษย์หรือเทวโลก หรือวกวนกลับมาสู่ นรก เปรต อสุรกาย เดียรัจฉาน ก็ย่อมเป็นไปได้ทั้งนั้น.. อันเป็นความสืบเนื่องมาจากเหตุคือพืชกรรมเป็นปัจจัย...

แม้การเกิดในภูมิเดียวกันนั้น ความทุกข์ที่เสวยก็ต่างกันไป ตามพืชกรรม อันเป็นต้นเหตุที่ก่อการมา ดังเช่นในความเป็น มนุษย์ ก็ยังมีเพศชาย-หญิง หากจัดแบ่งมนุษย์ในโลกเป็นประเภทใหญ่ๆ ก็พอจะอนุมานได้ ๒ ประเภท ได้แก่ อันธพาลปุถุชน และ กัลยาณปุถุชน....อันธพาลปุถุชน นั้น ได้แก่ เหล่าชนที่เป็นคนพาลสันดานหยาบ บุญบาปไม่คิดคำนึงถึง ไม่มี หิริโอตตัปปะ มีชีวิตไปตามกระแสโลก .. หลงใหลในกระแสประดุจ คนตามืดบอด หูหนวก.. ยากที่จะรับรู้เห็นสิ่งที่เป็นจริงอยู่ในโลกแห่งการจินตนาการ สร้างมโนภาพด้วยการนึกคิดปรุงแต่งไปตามจิตวิสัยที่ขับเคลื่อนด้วยกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ให้หลงตนยึดตัวโงหัวไม่ขึ้น จากอำนาจโลกธรรมที่กดทับควบคุมจิต จนเสีย ดุลยภาพแห่งธรรม... ยากที่จะเข้าใจว่า อะไรคือคุณความดี ประพฤติแต่อกุศลกรรม มุ่งไปหาฝ่ายบาป ด้วยจิตใจเอิบอาบไปด้วยความคิดชั่วร้าย ที่ซึมซาบโลดแล่นอยู่ในม่านแห่งความคิด เมื่อตายไปแล้วจึงมุ่งหน้าไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔ สุดแต่พืชกรรมที่ปลูกสร้างไว้ ที่จะสนองตอบแทนคืนกลับการกระทำตามความเหมาะสม.. จึงมีคำกล่าวว่า.. ปลูกต้นไม้พิษ ก็ต้องได้รับผลเป็นพิษ!!

สำหรับ กัลยาณปุถุชน นั้น ย่อมมีคุณสมบัติตรงข้ามกับ อันธพาลปุถุชน ซึ่งย่อมจะมั่นคงอยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์ เชื่อมั่นในหลักสันติธรรม มีศีลธรรมประจำใจ ประกอบไปด้วย หิริ ความละอายต่อบาป และ โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปกรรม บำเพ็ญบุญกุศลอยู่เนืองๆ มุ่งหน้าสู่ทิศความเจริญด้วย กุศลกรรม.. เมื่อเขาสิ้นชีพิตักษัย ตายจากมนุษย์ไปแล้ว ก็ย่อมไม่แคล้วไปสู่ สุคติภูมิ เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อม ด้วยมนุษย์สมบัติ ๔ หรือสู่ความเป็นเทวดา อันใดอันหนึ่ง หากมีวาสนาบารมียิ่งขึ้น ด้วยการอุตส่าห์เจริญภาวนาอบรมจิต จนสำเร็จฌานต่างๆ ก็สามารถเข้าสู่เขต พรหมโลก อุบัติเป็นพระพรหมผู้วิเศษ และหากเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จ ญาณทัสนะ ตามลำดับ ก็สามารถเปลี่ยนฐานะจากปุถุชนเป็นอริยบุคคล เพื่อถึงที่สุดแห่งความสุดโคตรเป็นปุถุชนสู่เบื้องหน้าคือ พระนิพพาน พ้นจากวัฏสงสารชั่วนิรันดร์ ด้วย พระอริยมรรคญาณ ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุผล อันจะเกิดมีขึ้นเฉพาะสัตว์โลกที่มีวาสนาบารมี สั่งสมมาจนสามารถเข้าสู่ เขตพระพุทธศาสนา ได้ เพื่อจะได้ศึกษาปฏิบัติตามพระอริยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว

วันนี้แห่งสัตว์ทั้งหลายที่เป็น มนุษย์ อันได้ฐานะอันประเสริฐ เกิดมาอย่างสมบูรณ์พร้อม ไม่อาภัพที่จะประกอบคุณความดี ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จึงพึงควรตระหนักในการประกอบสร้าง พืชกรรม ให้ถูกต้อง ตามหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ที่แสดงความจริงขั้นสูงสุดของความเป็นธรรมดาในโลกนี้ เพื่อนำภูมิปัญญาธรรมคืนกลับสู่จิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้สามารถเข้าถึงจนปรากฏ พุทธภาวะ อันเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ ด้วยกระบวนการศึกษาปฏิบัติที่ถูกต้องตรงธรรม เพื่อจะได้พัฒนาชีวิตไปสู่ทิศทางของความสุขและประโยชน์โดยธรรม... ซึ่งจะเกิดปรากฏมีขึ้นได้นั้น จะต้องพัฒนา สติปัญญา ให้เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ที่เป็นสัตว์พิเศษประเภทเดียวที่สามารถพัฒนาสติปัญญาได้ เพื่อการรู้เท่าทันโลก ว่าเป็นเพียงม่านมายาที่มารสร้างไว้ล่อลวงดักจับสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ใน ตาข่ายมาร อันให้รสชาติแห่งความทุกข์อย่างไม่รู้จักจบสิ้น.... และโดยความเป็นจริงแห่งการดำเนินชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่ติดอยู่ในตาข่ายมาร เสวยรสชาติความทุกข์อยู่ทุกขณะ แต่ ด้วยความไม่รู้ จึงเกิดความสำคัญผิดในความจริง ให้วิปลาสผิดเพี้ยนไปจนเกิดความวิบัติในความคิด.. ให้คิดพูดทำในสิ่งที่ไม่ควร .. ละทิ้งสิ่งที่ควร

การไม่รู้จักความควร และความไม่ควร จึงเป็นการแสดงออกถึง อำนาจแห่งความไม่รู้(อวิชชา) ในจิตสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า อับปัญญา ที่มักจะพูดกล่าวกันว่า จิตมืดมนลุ่มหลง สยบติดอยู่อย่างไม่รู้ไม่เข้าใจ อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า โมหะจิต... ซึ่งจิตลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้ใด มักจะถูกเรียกว่าเป็น คนสิ้นคิด หมายถึง คิดพิจารณาเรื่องที่เป็นประโยชน์ ถูกต้องชอบโดยธรรม ไม่เป็น... จะพูดแต่เรื่องเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระธรรม ทำแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้ผลตอบแทนเป็นโทษทุกข์ภัยคืนกลับมาวันทวี... นี่คือฤทธิ์เดชของความไม่รู้ไม่เข้าใจ ซึ่ง เกิดจากการไม่รู้จักคิดพิจารณาโดยแยบคาย และขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องโดยธรรม ทั้งนี้ เพราะการไม่ยอมรับฟังเสียงจากภายนอก จากสัตบุรุษหรือบัณฑิต ผู้มั่นคงอยู่ในคุณความดี มีความรู้และคุณธรรม... การขาดการรับฟังเสียงจากภายนอก ที่ชี้แนะทางสว่างเขตสวรรค์ มุ่งสู่แดนธรรมอันสงบ เมื่อประกอบกับการไม่รู้จักคิดพิจารณาโดยแยบคาย ด้วยอำนาจแห่งความระลึกรู้ชอบและความเพียรชอบ จึงให้ดำเนินชีวิตไปสู่กระแส บาปชีวิต ที่เกิดจากการสร้างมโนภาพผิดๆ ไปจากธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงมุ่งหน้าสู่ความหายนะเป็นที่หมาย ไร้ความสันติ...

แม้ว่ามนุษย์ .. สัตว์ทั้งหลาย จะตั้งใจว่า ไม่ต้องการความทุกข์.. จะไม่จองเวร.. จะไม่ใช้อาชญา.. จะไม่มีศัตรู.. จะไม่เบียดเบียนต่อกัน.. จะอยู่กันอย่างไม่มีเวร.. แต่กลับต้องอยู่อย่างมีความทุกข์ .. จองเวรกันและกัน ใช้อาชญา เป็นศัตรูกัน เบียดเบียนกัน และใช้ชีวิตอยู่อย่างมีเวร เพราะถูก อำนาจความไม่รู้ ผูกมัดไว้ อันนำไปสู่ การมีความริษยาและความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกมัดจิตสัตว์เหล่านั้น ให้นำไปสู่การจองเวร การใช้อาชญา การเป็นศัตรู การเบียดเบียนกัน.. ซึ่ง ความริษยาและความตระหนี่ นั้น เกิดขึ้นจาก อกุศลจิต ที่มักมากไปใน ราคะ..โลภะกิเลส จนเกิดเหนี่ยวในอารมณ์ชอบ-ชัง อันเกิดจากสิ่งที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ซึ่งมี ฉันทะกาม คือ ความพอใจในกามคุณเป็นปัจจัย ด้วยความนึกคิดวิตกอยู่ใน กามวิตก เมื่อ พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก นั่นคือ มิจฉาสังกัปปะ อันเกิดขึ้นเพราะการมีความเห็นผิดที่เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ จึงเกิดขึ้นจากอำนาจอวิชชาที่ควบคุมจิต ด้วยฤทธิ์เดชของกิเลสสาม ได้แก่ โลภะ (ราคะ), โทสะ, โมหะ ซึ่งทำให้จิตเป็นอกุศล ด้วยการสัมปยุตกับ อกุศลธรรม จึงนึกคิดวิตกแต่เรื่องเหลวไหลไร้สาระ ให้ในสมองกับหนึ่งจิตเต็มไปด้วย ขยะแห่งความคิด ที่ไร้ค่าคุณธรรม จึงก่อเกิด ปปัญจธรรม ขึ้นควบคุมจิต ให้มากไปด้วย ความอยาก (ตัณหา).. ความถือตัว (มานะ) และ ความเห็นผิด (ทิฏฐิ) .....นี่คือมูลเหตุแห่งความหายนะของสัตว์มนุษย์ในทุกกาลสมัย… โดย...พระ อ.อารยวังโส dhamma_araya@hotmail.com

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1787755

( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ย.56 )

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 30/11/2556 เวลา 02:32:24

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เจริญพรสาธุชนผู้มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ธรรมดา ธรรมทั้งหลายไม่ก่อกุศล ก็ต้องก่ออกุศล ย่อมเปรียบเสมือนเช่นพืชที่ชักพาสัตว์ทั้งหลายไปเกิดในภูมิต่างๆ .. สัตว์โลกทั้งปวงจึงมีกรรมเป็นพืช มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์... ถูกกรรมบันดาลให้เป็นไป ไม่ว่าจะไปเกิดในรูปใด ใน เหฏฐิมสงสาร อันเป็นภูมิชั้นต่ำ หรือไปเกิดใน อุปริมสงสาร เป็นภูมิชั้นสูง ก็ตกที่นั่งเหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน.... เพราะเมื่อ กรรมเก่าอันเป็นพืช ที่นำไปเกิดภูมินั้น หมดสิ้นไป กรรมใหม่อันเป็นพืชที่เป็นเหตุใหม่ก็จะเข้ามาสำแดง ชักนำให้ดำเนินไปตามกรรมวิถีสู่ภูมินั้นๆ เป็นผลที่เกิดแต่เหตุ ได้แก่ พืชกรรม!!. ให้เป็นไปตามยถากรรม วนอยู่ในมหาสมุทรแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า วัฏสงสาร วนเวียนเรื่อยไป ไม่มีวันหยุดยั้งเที่ยงแท้แน่นอน ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งหลายแห่งสัตว์ทุกข์ ดังเช่น...... สัตว์นรก.. ซึ่งจะต้องเสวยทุกข์ จนสิ้นอายุขัยในขุมนรกที่ตนเกิด.. บางทีก็กลับมาเกิดใหม่ที่ขุมเดิมอีก หรืออาจจะไปสู่นรกขุมอื่นๆ ก็มี.. บางทีก็ไปเกิดเป็น เปรต ในเปตติวิสัยภูมิ และวกกลับมาเกิดในนรกภูมิอีก ก็ย่อมได้ หรือเวียนว่ายอยู่ในเปตติวิสัยอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะสิ้นแรงกรรมอันเป็นเหตุนั้น บางครั้งก็เคลื่อนสู่ความเป็น อสุรกาย .. เดียรัจฉาน สู่มนุษย์หรือเทวโลก หรือวกวนกลับมาสู่ นรก เปรต อสุรกาย เดียรัจฉาน ก็ย่อมเป็นไปได้ทั้งนั้น.. อันเป็นความสืบเนื่องมาจากเหตุคือพืชกรรมเป็นปัจจัย... แม้การเกิดในภูมิเดียวกันนั้น ความทุกข์ที่เสวยก็ต่างกันไป ตามพืชกรรม อันเป็นต้นเหตุที่ก่อการมา ดังเช่นในความเป็น มนุษย์ ก็ยังมีเพศชาย-หญิง หากจัดแบ่งมนุษย์ในโลกเป็นประเภทใหญ่ๆ ก็พอจะอนุมานได้ ๒ ประเภท ได้แก่ อันธพาลปุถุชน และ กัลยาณปุถุชน....อันธพาลปุถุชน นั้น ได้แก่ เหล่าชนที่เป็นคนพาลสันดานหยาบ บุญบาปไม่คิดคำนึงถึง ไม่มี หิริโอตตัปปะ มีชีวิตไปตามกระแสโลก .. หลงใหลในกระแสประดุจ คนตามืดบอด หูหนวก.. ยากที่จะรับรู้เห็นสิ่งที่เป็นจริงอยู่ในโลกแห่งการจินตนาการ สร้างมโนภาพด้วยการนึกคิดปรุงแต่งไปตามจิตวิสัยที่ขับเคลื่อนด้วยกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ให้หลงตนยึดตัวโงหัวไม่ขึ้น จากอำนาจโลกธรรมที่กดทับควบคุมจิต จนเสีย ดุลยภาพแห่งธรรม... ยากที่จะเข้าใจว่า อะไรคือคุณความดี ประพฤติแต่อกุศลกรรม มุ่งไปหาฝ่ายบาป ด้วยจิตใจเอิบอาบไปด้วยความคิดชั่วร้าย ที่ซึมซาบโลดแล่นอยู่ในม่านแห่งความคิด เมื่อตายไปแล้วจึงมุ่งหน้าไปสู่อบายภูมิทั้ง ๔ สุดแต่พืชกรรมที่ปลูกสร้างไว้ ที่จะสนองตอบแทนคืนกลับการกระทำตามความเหมาะสม.. จึงมีคำกล่าวว่า.. ปลูกต้นไม้พิษ ก็ต้องได้รับผลเป็นพิษ!! สำหรับ กัลยาณปุถุชน นั้น ย่อมมีคุณสมบัติตรงข้ามกับ อันธพาลปุถุชน ซึ่งย่อมจะมั่นคงอยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์ เชื่อมั่นในหลักสันติธรรม มีศีลธรรมประจำใจ ประกอบไปด้วย หิริ ความละอายต่อบาป และ โอตตัปปะ ความสะดุ้งกลัวต่อบาปกรรม บำเพ็ญบุญกุศลอยู่เนืองๆ มุ่งหน้าสู่ทิศความเจริญด้วย กุศลกรรม.. เมื่อเขาสิ้นชีพิตักษัย ตายจากมนุษย์ไปแล้ว ก็ย่อมไม่แคล้วไปสู่ สุคติภูมิ เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อม ด้วยมนุษย์สมบัติ ๔ หรือสู่ความเป็นเทวดา อันใดอันหนึ่ง หากมีวาสนาบารมียิ่งขึ้น ด้วยการอุตส่าห์เจริญภาวนาอบรมจิต จนสำเร็จฌานต่างๆ ก็สามารถเข้าสู่เขต พรหมโลก อุบัติเป็นพระพรหมผู้วิเศษ และหากเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสำเร็จ ญาณทัสนะ ตามลำดับ ก็สามารถเปลี่ยนฐานะจากปุถุชนเป็นอริยบุคคล เพื่อถึงที่สุดแห่งความสุดโคตรเป็นปุถุชนสู่เบื้องหน้าคือ พระนิพพาน พ้นจากวัฏสงสารชั่วนิรันดร์ ด้วย พระอริยมรรคญาณ ที่บำเพ็ญเพียรจนบรรลุผล อันจะเกิดมีขึ้นเฉพาะสัตว์โลกที่มีวาสนาบารมี สั่งสมมาจนสามารถเข้าสู่ เขตพระพุทธศาสนา ได้ เพื่อจะได้ศึกษาปฏิบัติตามพระอริยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงไว้ดีแล้ว วันนี้แห่งสัตว์ทั้งหลายที่เป็น มนุษย์ อันได้ฐานะอันประเสริฐ เกิดมาอย่างสมบูรณ์พร้อม ไม่อาภัพที่จะประกอบคุณความดี ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด จึงพึงควรตระหนักในการประกอบสร้าง พืชกรรม ให้ถูกต้อง ตามหลักธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ที่แสดงความจริงขั้นสูงสุดของความเป็นธรรมดาในโลกนี้ เพื่อนำภูมิปัญญาธรรมคืนกลับสู่จิตแห่งสัตว์ทั้งหลาย ให้สามารถเข้าถึงจนปรากฏ พุทธภาวะ อันเป็นธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ ด้วยกระบวนการศึกษาปฏิบัติที่ถูกต้องตรงธรรม เพื่อจะได้พัฒนาชีวิตไปสู่ทิศทางของความสุขและประโยชน์โดยธรรม... ซึ่งจะเกิดปรากฏมีขึ้นได้นั้น จะต้องพัฒนา สติปัญญา ให้เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ ที่เป็นสัตว์พิเศษประเภทเดียวที่สามารถพัฒนาสติปัญญาได้ เพื่อการรู้เท่าทันโลก ว่าเป็นเพียงม่านมายาที่มารสร้างไว้ล่อลวงดักจับสัตว์ทั้งหลายให้ติดอยู่ใน ตาข่ายมาร อันให้รสชาติแห่งความทุกข์อย่างไม่รู้จักจบสิ้น.... และโดยความเป็นจริงแห่งการดำเนินชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ล้วนแล้วแต่ติดอยู่ในตาข่ายมาร เสวยรสชาติความทุกข์อยู่ทุกขณะ แต่ ด้วยความไม่รู้ จึงเกิดความสำคัญผิดในความจริง ให้วิปลาสผิดเพี้ยนไปจนเกิดความวิบัติในความคิด.. ให้คิดพูดทำในสิ่งที่ไม่ควร .. ละทิ้งสิ่งที่ควร การไม่รู้จักความควร และความไม่ควร จึงเป็นการแสดงออกถึง อำนาจแห่งความไม่รู้(อวิชชา) ในจิตสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่า อับปัญญา ที่มักจะพูดกล่าวกันว่า จิตมืดมนลุ่มหลง สยบติดอยู่อย่างไม่รู้ไม่เข้าใจ อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า โมหะจิต... ซึ่งจิตลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้ใด มักจะถูกเรียกว่าเป็น คนสิ้นคิด หมายถึง คิดพิจารณาเรื่องที่เป็นประโยชน์ ถูกต้องชอบโดยธรรม ไม่เป็น... จะพูดแต่เรื่องเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระธรรม ทำแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้ผลตอบแทนเป็นโทษทุกข์ภัยคืนกลับมาวันทวี... นี่คือฤทธิ์เดชของความไม่รู้ไม่เข้าใจ ซึ่ง เกิดจากการไม่รู้จักคิดพิจารณาโดยแยบคาย และขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องโดยธรรม ทั้งนี้ เพราะการไม่ยอมรับฟังเสียงจากภายนอก จากสัตบุรุษหรือบัณฑิต ผู้มั่นคงอยู่ในคุณความดี มีความรู้และคุณธรรม... การขาดการรับฟังเสียงจากภายนอก ที่ชี้แนะทางสว่างเขตสวรรค์ มุ่งสู่แดนธรรมอันสงบ เมื่อประกอบกับการไม่รู้จักคิดพิจารณาโดยแยบคาย ด้วยอำนาจแห่งความระลึกรู้ชอบและความเพียรชอบ จึงให้ดำเนินชีวิตไปสู่กระแส บาปชีวิต ที่เกิดจากการสร้างมโนภาพผิดๆ ไปจากธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงมุ่งหน้าสู่ความหายนะเป็นที่หมาย ไร้ความสันติ... แม้ว่ามนุษย์ .. สัตว์ทั้งหลาย จะตั้งใจว่า ไม่ต้องการความทุกข์.. จะไม่จองเวร.. จะไม่ใช้อาชญา.. จะไม่มีศัตรู.. จะไม่เบียดเบียนต่อกัน.. จะอยู่กันอย่างไม่มีเวร.. แต่กลับต้องอยู่อย่างมีความทุกข์ .. จองเวรกันและกัน ใช้อาชญา เป็นศัตรูกัน เบียดเบียนกัน และใช้ชีวิตอยู่อย่างมีเวร เพราะถูก อำนาจความไม่รู้ ผูกมัดไว้ อันนำไปสู่ การมีความริษยาและความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกมัดจิตสัตว์เหล่านั้น ให้นำไปสู่การจองเวร การใช้อาชญา การเป็นศัตรู การเบียดเบียนกัน.. ซึ่ง ความริษยาและความตระหนี่ นั้น เกิดขึ้นจาก อกุศลจิต ที่มักมากไปใน ราคะ..โลภะกิเลส จนเกิดเหนี่ยวในอารมณ์ชอบ-ชัง อันเกิดจากสิ่งที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ซึ่งมี ฉันทะกาม คือ ความพอใจในกามคุณเป็นปัจจัย ด้วยความนึกคิดวิตกอยู่ใน กามวิตก เมื่อ พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก นั่นคือ มิจฉาสังกัปปะ อันเกิดขึ้นเพราะการมีความเห็นผิดที่เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ จึงเกิดขึ้นจากอำนาจอวิชชาที่ควบคุมจิต ด้วยฤทธิ์เดชของกิเลสสาม ได้แก่ โลภะ (ราคะ), โทสะ, โมหะ ซึ่งทำให้จิตเป็นอกุศล ด้วยการสัมปยุตกับ อกุศลธรรม จึงนึกคิดวิตกแต่เรื่องเหลวไหลไร้สาระ ให้ในสมองกับหนึ่งจิตเต็มไปด้วย ขยะแห่งความคิด ที่ไร้ค่าคุณธรรม จึงก่อเกิด ปปัญจธรรม ขึ้นควบคุมจิต ให้มากไปด้วย ความอยาก (ตัณหา).. ความถือตัว (มานะ) และ ความเห็นผิด (ทิฏฐิ) .....นี่คือมูลเหตุแห่งความหายนะของสัตว์มนุษย์ในทุกกาลสมัย… โดย...พระ อ.อารยวังโส dhamma_araya@hotmail.com ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1787755 ( ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...