มงคลพระบรมราโชวาท (9 ข้อคิดจากพ่อ)
เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช และเทศกาลปีใหม่ 2557 ที่กำลังจะมาถึง ดีไลฟ์ได้คัดสรร 10 พระบรมราโชวาทจากหนังสือ ๑๐๘ มงคล พระบรมราโชวาท ที่ได้รวบรวมส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักคิดในการดำเนินชีวิตที่พระองค์พระราชทานต่อคนไทย เพื่อเตือนใจและใช้เป็นแสงสว่างเป็นมงคลต่อชีวิต
1.สัจวาจา คือ รากฐานของการประสบความสำเร็จ
"...สัจวาจานั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งาม ที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จสัจ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ วาจา เป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ ที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น..."
2.ความสงบหนักแน่น ทำให้เกิดความยั้งคิด
"...ความสงบหนักแน่นเป็นเครื่องผ่อนปรนระงับความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจในกันและกันได้ทุกกรณี โดยเฉพาะความสงบหนักแน่นในจิตใจนั้นทำให้เกิดความยั้งคิดพิจารณาตามเหตุ ตามผล จึงช่วยให้สามารถขบคิดวินิจฉัยเรื่องราวปัญหา และกระทำได้ถูกต้องพอเหมาะพอดี มีประสิทธิผล..."
3.มีการศึกษาสูง แต่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ไม่มีความเจริญ
"...แม้จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงเพียงใด ถ้าบกพร่องต่อการประมาณตนในทางปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ วิชาต่าง ๆ ที่ได้เล่าเรียนมาจนสำเร็จนั้นก็ไร้ประโยชน์ ไม่สามารถจะนำความเจริญมาสู่ตน และประเทศชาติสมดังความปรารถนา..."
4.แม้ความดีทำยาก และเห็นผลช้า ก็จำเป็นต้องทำ
"...การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่วซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว..."
5.อย่ามีอคติ เพราะอคติก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
"...อคตินั้นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้มองไม่เห็นทาง เพราะลำเอียงเข้าข้างตัว ด้วยความรักบ้าง ความชังบ้าง ความหลงใหลบ้าง เมื่อเกิดอคติแล้วก็จะทำให้สับสนในเหตุและผล ไม่ทำตามเหตุผล และเมื่อไม่ทำตามเหตุผล ความผิดพลาดก็ต้องเกิดขึ้น..."
6.ความคิดต่างกันไม่เสียหายหากใช้สติปัญญา
"...ความ สามัคคีนั้นอาจหมายความถึงเห็นชอบเห็นพ้องกันโดยไม่แย้งกันความจริงงาน ทุกอย่างหรือการอยู่เป็นสังคมย่อมต้องมีความขัดแย้งกันความคิดต่างกันซึ่ง ไม่เสียหาย แต่อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้าเราใช้หลักวิชาและความปรองดองด้วยการใช้ปัญญา การแย้งต่าง ๆ ย่อมเป็นประโยชน์ ถ้ามีรากฐานของความคิดอย่างเดียวกัน
รากฐานของความคิดนั้นคือ แต่ละคนจะต้องทำให้บ้านเมืองมีความสุข มีความเป็นปึกแผ่น..."
7.ไม่โลภมากก็อยู่เป็นสุข
"...คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อยเมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย...ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..."
8.พึงใช้เสรีภาพด้วยความระมัดระวังและรับผิดชอบ
"...ทุก วันนี้คนทั่วไปนิยมยินดีอย่างมากในความคิดและการกระทำโดยอิสรเสรีเด็กก็ได้ รับการส่งเสริมและสั่งสอนให้ทำให้คิดอย่างอิสระการมีเสรีภาพนั้นเป็นของดี อย่างยิ่งแต่เมื่อจะใช้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและความรับผิดชอบ มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขาก็มีอยู่เท่าเทียมกัน
...มิฉะนั้นจะทำให้มีความยุ่งยาก จะทำให้สังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายโดยสิ้นเชิง..."
9.จะปักใจเชื่ออะไรต้องใช้สติและค้นคว้าไตร่ตรองให้แน่ใจว่าเป็นความจริง
"...โลก ปัจจุบันเต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อฉะนั้นก่อนที่จะปักใจเชื่ออะไรลงไปควร พิจารณาดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อนแม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรง แนะนำให้ใช้สติและปัญญาศึกษาค้นคว้าและไตร่ตรองให้แน่ว่าคำสั่งสอนนั้นเป็น ความจริงที่เชื่อได้หรือไม่ไม่ใช่สักแต่เชื่อเพราะว่ามีผู้รู้บัญญัติ ไว้..."
ขอบคุณ … http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1386133609
( ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ธ.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเฉลิมพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช และเทศกาลปีใหม่ 2557 ที่กำลังจะมาถึง ดีไลฟ์ได้คัดสรร 10 พระบรมราโชวาทจากหนังสือ ๑๐๘ มงคล พระบรมราโชวาท ที่ได้รวบรวมส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักคิดในการดำเนินชีวิตที่พระองค์พระราชทานต่อคนไทย เพื่อเตือนใจและใช้เป็นแสงสว่างเป็นมงคลต่อชีวิต 1.สัจวาจา คือ รากฐานของการประสบความสำเร็จ "...สัจวาจานั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งาม ที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จสัจ เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ วาจา เป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ ที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น..." 2.ความสงบหนักแน่น ทำให้เกิดความยั้งคิด "...ความสงบหนักแน่นเป็นเครื่องผ่อนปรนระงับความรุนแรง ความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจในกันและกันได้ทุกกรณี โดยเฉพาะความสงบหนักแน่นในจิตใจนั้นทำให้เกิดความยั้งคิดพิจารณาตามเหตุ ตามผล จึงช่วยให้สามารถขบคิดวินิจฉัยเรื่องราวปัญหา และกระทำได้ถูกต้องพอเหมาะพอดี มีประสิทธิผล..." 3.มีการศึกษาสูง แต่ไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ไม่มีความเจริญ "...แม้จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงเพียงใด ถ้าบกพร่องต่อการประมาณตนในทางปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ วิชาต่าง ๆ ที่ได้เล่าเรียนมาจนสำเร็จนั้นก็ไร้ประโยชน์ ไม่สามารถจะนำความเจริญมาสู่ตน และประเทศชาติสมดังความปรารถนา..." 4.แม้ความดีทำยาก และเห็นผลช้า ก็จำเป็นต้องทำ "...การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่วซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว..." 5.อย่ามีอคติ เพราะอคติก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ "...อคตินั้นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้มองไม่เห็นทาง เพราะลำเอียงเข้าข้างตัว ด้วยความรักบ้าง ความชังบ้าง ความหลงใหลบ้าง เมื่อเกิดอคติแล้วก็จะทำให้สับสนในเหตุและผล ไม่ทำตามเหตุผล และเมื่อไม่ทำตามเหตุผล ความผิดพลาดก็ต้องเกิดขึ้น..." 6.ความคิดต่างกันไม่เสียหายหากใช้สติปัญญา "...ความ สามัคคีนั้นอาจหมายความถึงเห็นชอบเห็นพ้องกันโดยไม่แย้งกันความจริงงาน ทุกอย่างหรือการอยู่เป็นสังคมย่อมต้องมีความขัดแย้งกันความคิดต่างกันซึ่ง ไม่เสียหาย แต่อยู่ที่จิตใจของเรา ถ้าเราใช้หลักวิชาและความปรองดองด้วยการใช้ปัญญา การแย้งต่าง ๆ ย่อมเป็นประโยชน์ ถ้ามีรากฐานของความคิดอย่างเดียวกัน รากฐานของความคิดนั้นคือ แต่ละคนจะต้องทำให้บ้านเมืองมีความสุข มีความเป็นปึกแผ่น..." 7.ไม่โลภมากก็อยู่เป็นสุข "...คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อยเมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย...ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..." 8.พึงใช้เสรีภาพด้วยความระมัดระวังและรับผิดชอบ "...ทุก วันนี้คนทั่วไปนิยมยินดีอย่างมากในความคิดและการกระทำโดยอิสรเสรีเด็กก็ได้ รับการส่งเสริมและสั่งสอนให้ทำให้คิดอย่างอิสระการมีเสรีภาพนั้นเป็นของดี อย่างยิ่งแต่เมื่อจะใช้จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและความรับผิดชอบ มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขาก็มีอยู่เท่าเทียมกัน ...มิฉะนั้นจะทำให้มีความยุ่งยาก จะทำให้สังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายโดยสิ้นเชิง..." 9.จะปักใจเชื่ออะไรต้องใช้สติและค้นคว้าไตร่ตรองให้แน่ใจว่าเป็นความจริง "...โลก ปัจจุบันเต็มไปด้วยการโฆษณาชวนเชื่อฉะนั้นก่อนที่จะปักใจเชื่ออะไรลงไปควร พิจารณาดูเหตุผลให้ถ่องแท้เสียก่อนแม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรง แนะนำให้ใช้สติและปัญญาศึกษาค้นคว้าและไตร่ตรองให้แน่ว่าคำสั่งสอนนั้นเป็น ความจริงที่เชื่อได้หรือไม่ไม่ใช่สักแต่เชื่อเพราะว่ามีผู้รู้บัญญัติ ไว้..." ขอบคุณ … http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1386133609 ( ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ธ.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)