หลง "ยศ" ลืม... "ตาย" หลง "กาย" ลืม... "แก่"
"ที่นี่วุ่นวายหนอๆๆ"...
สถานการณ์ของผู้ชุมนุม ที่ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องหลังวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "พ่อ" ของชาวไทยทุกคน
การชุมนุมทางการเมือง เป็นการต่อสู้ของคน 2 กลุ่ม...ว่าด้วยที่มาของ "อำนาจ"...
อำนาจ คืออะไร...คงไม่ต้องให้คำจำกัดความ ซึ่งพวกเราก็ทราบกันอยู่ระหว่าง "คน" หรือ "มนุษย์" กับ "กิเลส" ว่าด้วยโลภ โกรธ หลง...เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และมีอยู่ในทั่วทุกตัวคน จนกระทั่งคำว่า "ประชาธิปไตย" คืออะไร?...ของประเทศไทยในตำรารัฐศาสตร์...ไทยและเทศ ปรากฏว่า...น่าจะมีข้อยกเว้น
ผู้เขียนเองติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง ยากที่จะคาดเดาได้ว่า "จะจบลงอย่างไร?" และเพื่อให้ผ่อนคลายจากสถานการณ์ทางการเมือง และกลับเข้ามาสู่การพิจารณาตัวตนไม้ให้ตกอยู่ในห้วงแห่งความสับสนทางความคิด จึงต้องใช้วิถีธรรมนำสู่การปฏิบัติเพื่อขจัดสิ่งรบกวนสภาวะจิตใจ
เคย อ่านหนังสือ "วิธีสร้างบารมี" เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนอารมณ์ ความรู้สึก จากภาวะตึงเครียดของบ้านเมือง เข้าสู่ภาวะของการตั้ง "สติ" ให้กับเราทุกคนที่เป็นคนไทย ขออรรถาธิบายโดยสังเขป
ว่าด้วย "การสร้างบุญบารมี" ผู้อ่านคงอยากรู้ว่าทำบุญอย่างไร? จะได้บารมีสูงที่สุด... เพื่อจะได้เข้าใจให้ถูกต้อง และเข้าไปให้ถึงและนำมาใช้พัฒนาตนเอง
"บุญ" ความหมาย คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และกุศลธรรม
"บารมี" ความหมาย คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
วิธีการสร้างบุญบารมีทางพุทธศาสนานั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ "การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา" นิยมเรียกสั้นๆ กันว่า "ทาน ศีล ภาวนา"
การให้ทานเป็นการสร้างบุญเบื้องต้นที่สุด ได้บุญน้อยที่สุดในการทำบุญทั้ง 3 ขั้นนี้ ซึ่งไม่ว่าจะสร้างบุญด้วยการให้ทานมากมายเพียงไร ก็ไม่มีทางจะได้บุญมากกว่าการรักษาศีลไปได้
ศีล คือ ข้อห้ามทำไม่ดี ทางกาย วาจา ใจ ด้วยความเคร่งครัด เข้มข้น เคร่งครัดอย่างไรก็ไม่มีทางจะได้บุญมากไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้
การเจริญ "ภาวนา" จึงเป็นการสร้างบุญที่มี "กำลังสูงสุด" ได้ "บุญบารมีมากที่สุด"
ทุกวันนี้เราส่วนใหญ่เข้าใจถูกเพียงครึ่งเดียว เน้นการให้ "ทาน" อย่างเดียว เช่น ทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สละทรัพย์ ทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เพราะง่าย สะดวกดี แต่ก็ยังดีเพราะส่วนใหญ่ เมื่อเราทำบุญสิ่งสำคัญที่สุด คือ สบายใจ อิ่มใจ อิ่มบุญ หน้าตาสดใส
ส่วนการรักษา "ศีล" แม้ว่าจะได้บุญมากกว่า แต่ก็ยังทำกันเป็นส่วนน้อย เพราะว่าจะต้องอาศัยความอดทน มีสติ สำรวม กาย วาจา ใจ ให้ "ระลึก รู้สึกใจ" และ "ตัวเอง" ตลอดว่ามี "เบรก" ชีวิต ยับยั้งจิต ชั่งใจไม่ให้ผิด "ศีล" นั้นยากมาก แต่ถ้าหมั่นปฏิบัติจริงต่อเนื่องเป็นนิตย์ก็จะทำได้
เพื่อความเข้าใจอันดี การสร้างบุญบารมีที่มีกำลัง "สูงสุด" คือการ "ภาวนา" ซึ่งมี 2 อย่าง คือ
- สมถะภาวนา (การทำสมาธิ) ได้แก่ การทำจิตใจให้เป็น "สมาธิ" หรือเป็น "ฌาน" ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน แส่ส่ายไปยัง
อารมณ์อื่นๆ วิธีการมีหลายแบบ ที่คุ้นๆ ใช้บ่อยๆ คือ การปฏิบัติ"กรรมฐาน"
- วิปัสสนากรรมฐาน (การเจริญปัญญา) เมื่อจิตของเรานั้นบำเพ็ญตั้งมั่นใน "สมาธิ" จนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌาน นิ่งแล้วจิตของผู้ปฏิบัติจะมีกำลังควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้
อารมณ์ ของ "วิปัสสนา" ต่างจากอารมณ์ของ "สมาธิ" เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตมุ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่เพียงอารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกไม่คิดอะไรๆ คนปฏิบัติส่วนใหญ่จะรู้สึกจะชอบรู้สึกสงบสบาย และจะติดหรือเสพติดในอารมณ์นี้...แต่
"วิปัสสนา" ไม่ใช่การให้จิตตั้งมั่นอยู่นิ่งอารมณ์เดียว แต่เป็นจิตใคร่ครวญหาเหตุผล ซึ่งมีความสำคัญมาก ในสภาวะ "ธรรม" ทั้งหลายของสิ่งที่เป็น "อารมณ์" อย่างเดียวของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือขันธ์ 5 ซึ่งนิยมเรียกว่า "รูป" กับ "นาม"
โดย "รูป" มี 1 ส่วน "นาม" มี 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปมาว่า นั่นแหละ คือ ตัวเรา มี "รูป" กับ "นาม" เป็นเพียงอุปทานขันธ์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง เพราะ "อวิชชา" คือความรู้ไม่เท่าทัน หรือความเบาปัญญา เกิดความยึดมั่น ถือมั่น เป็นตัวตนของตน ด้วยอำนาจ "อุปทาน" เกิดการขัดแย้ง แก่งแย่ง ยึดยื้อ ต่อสู้ทุกวิถีทาง นำไปสู่ความแตกแยกของสังคม ทำให้เกิดสงครามครอบครัว สงครามชุมชนได้ แต่ถ้าเรารู้ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การเจริญภาวนาหรือวิปัสสนา ดูจิต พิจารณาเห็นจริงว่า "รูปกับนาม" เป็นคนละอัน อาศัยกันอยู่ "รูปกับนาม" เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน ซึ่งก็คือ การรู้แจ้งเห็นจริงว่าสภาวะธรรมทั้งหลายที่เกิดจากการผัสสะของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันได้แก่ ขันธ์ 5 นั้นล้วนคือ พระ "ไตรลักษณ์" อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง
หากเรามีจิตใคร่ครวญ พิจารณาให้เข้าใจ เข้าถึง "ความตาย" เป็นอารมณ์ จะเห็นได้ "มรณะ" เป็น "ธรรม" อันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถเอาชนะ แม้แต่พระพุทธเจ้าซึ่งทรงบรรลุถึงธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่พระองค์ยังต้องทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก
การระลึกถึง ความตายเป็นอาจิณ จึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น ให้รีบพากเพียรทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ก่อนความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ" คน พืช สัตว์ ทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว แก่ เฒ่า แล้วก็ตายในที่สุด ไม่อาจเลี่ยงผ่านได้
ทุกผู้คน ไม่ว่ายากดีมีจน ชาวบ้าน ตามี ยายมา เด็ก หนุ่ม สาว แก่ เฒ่า สูงต่ำ ดำแดง ต่างฐานันดรศักดิ์อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ กรรมกร หาเช้ากินค่ำ ยาจก ขอทาน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้ว่าฯ แพทย์ ครู พยาบาล อธิบดี ปลัดกระทรวง นายสิบ พลโท พลเอก จอมพล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภา ผู้นำฝ่ายค้าน นักการเมือง ทุกระดับ เมื่อถึงเวลาด้วยวัยอันควร ทุกคน "จบ" เหมือนกันหมด
หากเรา ทุกคน คิดถึงความตายตลอดเวลาเสมอนั้น ถือว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้ว ย่อมเร่งทำดีทำบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ อำนาจตำแหน่งหน้าที่ เป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนหูหนวกตาบอด
โบราณกล่าวไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่า กู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจ ย่อมหูหนวกตาบอด" เรียกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" และความจริงมีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้
บางท่านวัยใกล้ฝั่ง ยังหลงมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่ง หน้าที่ จนลืมไปว่า อีกไม่นาน ก็จะต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป และเมื่อได้พรากจากสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหา เกาะแน่นอยู่ก็ต้องพร้อมสลายพร้อมกับความตายของตน ไม่ได้ติดตามไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนว่าสิ่งที่ต่อสู้มาเหนื่อยยาก ขวนขวายแย่งชิงต่อสู้มาเหนื่อยยาก จนได้สิ่งนั้นมา จะต้องโมฆะและสูญเปล่าโดยหาสารประโยชน์อันใดมิได้เลย
ทั้งหมดนี้เป็นการเจริญภาวนา "สมถะและวิปัสสนา" อย่างง่ายๆ ประจำวัน ปรากฏอยู่ในหนังสือ "วิธีสร้างบุญ" ขอฝากให้ฝึกจิตเนืองๆ ด้วย "มรณานุสติกรรมฐาน" เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆ สูงขึ้นและสงบละจากนิวรณ์ธรรม 5 ประการได้ ให้เห็นจริงตามที่สมเด็จพระสังฆราชท่านกล่าวไว้ว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" ไว้เตือนสติ...นะครับ….โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386776136&grpid=03&catid=&subcatid=
(มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พุทธศาสนิกชนทำบุญตักบาตร "ที่นี่วุ่นวายหนอๆๆ"... สถานการณ์ของผู้ชุมนุม ที่ยังคงเดินหน้าต่อเนื่องหลังวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "พ่อ" ของชาวไทยทุกคน การชุมนุมทางการเมือง เป็นการต่อสู้ของคน 2 กลุ่ม...ว่าด้วยที่มาของ "อำนาจ"... อำนาจ คืออะไร...คงไม่ต้องให้คำจำกัดความ ซึ่งพวกเราก็ทราบกันอยู่ระหว่าง "คน" หรือ "มนุษย์" กับ "กิเลส" ว่าด้วยโลภ โกรธ หลง...เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และมีอยู่ในทั่วทุกตัวคน จนกระทั่งคำว่า "ประชาธิปไตย" คืออะไร?...ของประเทศไทยในตำรารัฐศาสตร์...ไทยและเทศ ปรากฏว่า...น่าจะมีข้อยกเว้น ผู้เขียนเองติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง ยากที่จะคาดเดาได้ว่า "จะจบลงอย่างไร?" และเพื่อให้ผ่อนคลายจากสถานการณ์ทางการเมือง และกลับเข้ามาสู่การพิจารณาตัวตนไม้ให้ตกอยู่ในห้วงแห่งความสับสนทางความคิด จึงต้องใช้วิถีธรรมนำสู่การปฏิบัติเพื่อขจัดสิ่งรบกวนสภาวะจิตใจ เคย อ่านหนังสือ "วิธีสร้างบารมี" เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนอารมณ์ ความรู้สึก จากภาวะตึงเครียดของบ้านเมือง เข้าสู่ภาวะของการตั้ง "สติ" ให้กับเราทุกคนที่เป็นคนไทย ขออรรถาธิบายโดยสังเขป ว่าด้วย "การสร้างบุญบารมี" ผู้อ่านคงอยากรู้ว่าทำบุญอย่างไร? จะได้บารมีสูงที่สุด... เพื่อจะได้เข้าใจให้ถูกต้อง และเข้าไปให้ถึงและนำมาใช้พัฒนาตนเอง "บุญ" ความหมาย คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และกุศลธรรม "บารมี" ความหมาย คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง วิธีการสร้างบุญบารมีทางพุทธศาสนานั้นมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ "การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา" นิยมเรียกสั้นๆ กันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" การให้ทานเป็นการสร้างบุญเบื้องต้นที่สุด ได้บุญน้อยที่สุดในการทำบุญทั้ง 3 ขั้นนี้ ซึ่งไม่ว่าจะสร้างบุญด้วยการให้ทานมากมายเพียงไร ก็ไม่มีทางจะได้บุญมากกว่าการรักษาศีลไปได้ ศีล คือ ข้อห้ามทำไม่ดี ทางกาย วาจา ใจ ด้วยความเคร่งครัด เข้มข้น เคร่งครัดอย่างไรก็ไม่มีทางจะได้บุญมากไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ การเจริญ "ภาวนา" จึงเป็นการสร้างบุญที่มี "กำลังสูงสุด" ได้ "บุญบารมีมากที่สุด" ทุกวันนี้เราส่วนใหญ่เข้าใจถูกเพียงครึ่งเดียว เน้นการให้ "ทาน" อย่างเดียว เช่น ทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สละทรัพย์ ทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เพราะง่าย สะดวกดี แต่ก็ยังดีเพราะส่วนใหญ่ เมื่อเราทำบุญสิ่งสำคัญที่สุด คือ สบายใจ อิ่มใจ อิ่มบุญ หน้าตาสดใส ส่วนการรักษา "ศีล" แม้ว่าจะได้บุญมากกว่า แต่ก็ยังทำกันเป็นส่วนน้อย เพราะว่าจะต้องอาศัยความอดทน มีสติ สำรวม กาย วาจา ใจ ให้ "ระลึก รู้สึกใจ" และ "ตัวเอง" ตลอดว่ามี "เบรก" ชีวิต ยับยั้งจิต ชั่งใจไม่ให้ผิด "ศีล" นั้นยากมาก แต่ถ้าหมั่นปฏิบัติจริงต่อเนื่องเป็นนิตย์ก็จะทำได้ เพื่อความเข้าใจอันดี การสร้างบุญบารมีที่มีกำลัง "สูงสุด" คือการ "ภาวนา" ซึ่งมี 2 อย่าง คือ - สมถะภาวนา (การทำสมาธิ) ได้แก่ การทำจิตใจให้เป็น "สมาธิ" หรือเป็น "ฌาน" ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน แส่ส่ายไปยัง อารมณ์อื่นๆ วิธีการมีหลายแบบ ที่คุ้นๆ ใช้บ่อยๆ คือ การปฏิบัติ"กรรมฐาน" - วิปัสสนากรรมฐาน (การเจริญปัญญา) เมื่อจิตของเรานั้นบำเพ็ญตั้งมั่นใน "สมาธิ" จนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌาน นิ่งแล้วจิตของผู้ปฏิบัติจะมีกำลังควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ ของ "วิปัสสนา" ต่างจากอารมณ์ของ "สมาธิ" เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตมุ่งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่เพียงอารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกไม่คิดอะไรๆ คนปฏิบัติส่วนใหญ่จะรู้สึกจะชอบรู้สึกสงบสบาย และจะติดหรือเสพติดในอารมณ์นี้...แต่ "วิปัสสนา" ไม่ใช่การให้จิตตั้งมั่นอยู่นิ่งอารมณ์เดียว แต่เป็นจิตใคร่ครวญหาเหตุผล ซึ่งมีความสำคัญมาก ในสภาวะ "ธรรม" ทั้งหลายของสิ่งที่เป็น "อารมณ์" อย่างเดียวของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือขันธ์ 5 ซึ่งนิยมเรียกว่า "รูป" กับ "นาม" โดย "รูป" มี 1 ส่วน "นาม" มี 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปมาว่า นั่นแหละ คือ ตัวเรา มี "รูป" กับ "นาม" เป็นเพียงอุปทานขันธ์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง เพราะ "อวิชชา" คือความรู้ไม่เท่าทัน หรือความเบาปัญญา เกิดความยึดมั่น ถือมั่น เป็นตัวตนของตน ด้วยอำนาจ "อุปทาน" เกิดการขัดแย้ง แก่งแย่ง ยึดยื้อ ต่อสู้ทุกวิถีทาง นำไปสู่ความแตกแยกของสังคม ทำให้เกิดสงครามครอบครัว สงครามชุมชนได้ แต่ถ้าเรารู้ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การเจริญภาวนาหรือวิปัสสนา ดูจิต พิจารณาเห็นจริงว่า "รูปกับนาม" เป็นคนละอัน อาศัยกันอยู่ "รูปกับนาม" เกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน ซึ่งก็คือ การรู้แจ้งเห็นจริงว่าสภาวะธรรมทั้งหลายที่เกิดจากการผัสสะของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันได้แก่ ขันธ์ 5 นั้นล้วนคือ พระ "ไตรลักษณ์" อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง หากเรามีจิตใคร่ครวญ พิจารณาให้เข้าใจ เข้าถึง "ความตาย" เป็นอารมณ์ จะเห็นได้ "มรณะ" เป็น "ธรรม" อันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถเอาชนะ แม้แต่พระพุทธเจ้าซึ่งทรงบรรลุถึงธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่พระองค์ยังต้องทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึง ความตายเป็นอาจิณ จึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น ให้รีบพากเพียรทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ก่อนความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ" คน พืช สัตว์ ทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว แก่ เฒ่า แล้วก็ตายในที่สุด ไม่อาจเลี่ยงผ่านได้ ทุกผู้คน ไม่ว่ายากดีมีจน ชาวบ้าน ตามี ยายมา เด็ก หนุ่ม สาว แก่ เฒ่า สูงต่ำ ดำแดง ต่างฐานันดรศักดิ์อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ กรรมกร หาเช้ากินค่ำ ยาจก ขอทาน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้ว่าฯ แพทย์ ครู พยาบาล อธิบดี ปลัดกระทรวง นายสิบ พลโท พลเอก จอมพล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภา ผู้นำฝ่ายค้าน นักการเมือง ทุกระดับ เมื่อถึงเวลาด้วยวัยอันควร ทุกคน "จบ" เหมือนกันหมด หากเรา ทุกคน คิดถึงความตายตลอดเวลาเสมอนั้น ถือว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้ว ย่อมเร่งทำดีทำบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ อำนาจตำแหน่งหน้าที่ เป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนหูหนวกตาบอด โบราณกล่าวไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่า กู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจ ย่อมหูหนวกตาบอด" เรียกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" และความจริงมีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ บางท่านวัยใกล้ฝั่ง ยังหลงมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่ง หน้าที่ จนลืมไปว่า อีกไม่นาน ก็จะต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป และเมื่อได้พรากจากสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหา เกาะแน่นอยู่ก็ต้องพร้อมสลายพร้อมกับความตายของตน ไม่ได้ติดตามไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนว่าสิ่งที่ต่อสู้มาเหนื่อยยาก ขวนขวายแย่งชิงต่อสู้มาเหนื่อยยาก จนได้สิ่งนั้นมา จะต้องโมฆะและสูญเปล่าโดยหาสารประโยชน์อันใดมิได้เลย ทั้งหมดนี้เป็นการเจริญภาวนา "สมถะและวิปัสสนา" อย่างง่ายๆ ประจำวัน ปรากฏอยู่ในหนังสือ "วิธีสร้างบุญ" ขอฝากให้ฝึกจิตเนืองๆ ด้วย "มรณานุสติกรรมฐาน" เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆ สูงขึ้นและสงบละจากนิวรณ์ธรรม 5 ประการได้ ให้เห็นจริงตามที่สมเด็จพระสังฆราชท่านกล่าวไว้ว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" ไว้เตือนสติ...นะครับ….โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1386776136&grpid=03&catid=&subcatid= (มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ธ.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)