ม.อ.เปิดตัวสถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟูเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ-ผู้พิการจากเหตุไม่สงบ

แสดงความคิดเห็น

รศ.บุญ เจริญ วงศ์กิตติศึกษา ผู้อำนวยการสถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า สถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟู จัดตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค เพื่อเป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมฟื้นฟู ตามแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการจากความไม่สงบ ทั้งพิการทางการเคลื่อนไหว สูญเสียทางการได้ยิน และพิการทางสายตา โดยมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับ ผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. โรงพยาบาลศูนย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเครือข่ายบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้และร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ

รศ.บุญเจริญ กล่าวว่า ผลงานวิจัยของสถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟูที่ผ่านมา ประกอบด้วย เทคโนโลยีสำหรับคนพิการด้านร่างกายและอุปกรณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น เครื่องทดสอบเท้าเทียม อุปกรณ์ช่วยยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ระบบเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ รถเข็นไฟฟ้าราคาถูกใช้ง่าย เตียงปรับมุมยืนและปรับการเอียง การจดจำรูปแบบสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อสำหรับระบบควบคุมที่ใช้สัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อหลายฟังก์ชัน เทคโนโลยีสำหรับคนพิการด้านการมองเห็น เช่น คอมพิวเตอร์พกพาที่มีคีย์บอร์ดและจอภาพแสดงผลเป็นอักษรเบรล อุปกรณ์แสดงผลกราฟิกสำหรับผู้พิการด้านการมองเห็น เทคโนโลยีสำหรับคนพิการด้านการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์ขยายสัญญาณจากกล่องเสียงแบบพกพาเป็นต้น

"ปัญหาที่ เกิดจากการใช้เทคโนโลยีคือ ผู้สูงอายุไม่คุ้นเคยกับการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นที่นิยมของวัยรุ่น จึงต้องคิดเกมส์ที่จูงใจผู้สูงอายุ รวมทั้งการติดอุปกรณ์ตามร่างกายจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกรำคาญและเกิดความไม่ สะดวก จึงต้องค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ให้มีขนาดกะทัดรัด ไม่ซับซ้อน ไม่ขัดขวางชีวิตประจำวัน" รศ.บุญเจริญกล่าว

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNVEl4TURFMU53PT0= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ม.ค.57

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 22/01/2557 เวลา 03:00:18

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รศ.บุญ เจริญ วงศ์กิตติศึกษา ผู้อำนวยการสถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า สถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟู จัดตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค เพื่อเป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมฟื้นฟู ตามแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการจากความไม่สงบ ทั้งพิการทางการเคลื่อนไหว สูญเสียทางการได้ยิน และพิการทางสายตา โดยมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับ ผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. โรงพยาบาลศูนย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเครือข่ายบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการใน 3จังหวัดชายแดนภาคใต้และร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ รศ.บุญเจริญ กล่าวว่า ผลงานวิจัยของสถานวิจัยวิศวกรรมฟื้นฟูที่ผ่านมา ประกอบด้วย เทคโนโลยีสำหรับคนพิการด้านร่างกายและอุปกรณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่น เครื่องทดสอบเท้าเทียม อุปกรณ์ช่วยยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ระบบเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับ รถเข็นไฟฟ้าราคาถูกใช้ง่าย เตียงปรับมุมยืนและปรับการเอียง การจดจำรูปแบบสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อสำหรับระบบควบคุมที่ใช้สัญญาณไฟฟ้า กล้ามเนื้อหลายฟังก์ชัน เทคโนโลยีสำหรับคนพิการด้านการมองเห็น เช่น คอมพิวเตอร์พกพาที่มีคีย์บอร์ดและจอภาพแสดงผลเป็นอักษรเบรล อุปกรณ์แสดงผลกราฟิกสำหรับผู้พิการด้านการมองเห็น เทคโนโลยีสำหรับคนพิการด้านการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์ขยายสัญญาณจากกล่องเสียงแบบพกพาเป็นต้น "ปัญหาที่ เกิดจากการใช้เทคโนโลยีคือ ผู้สูงอายุไม่คุ้นเคยกับการเล่นเกมส์ซึ่งเป็นที่นิยมของวัยรุ่น จึงต้องคิดเกมส์ที่จูงใจผู้สูงอายุ รวมทั้งการติดอุปกรณ์ตามร่างกายจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกรำคาญและเกิดความไม่ สะดวก จึงต้องค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ให้มีขนาดกะทัดรัด ไม่ซับซ้อน ไม่ขัดขวางชีวิตประจำวัน" รศ.บุญเจริญกล่าว ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNVEl4TURFMU53PT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...