"เว็บเพื่อทุกคน" แนวคิดดีๆจากอังกฤษ
โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th : อ่านเจอแนวคิดดีๆ ที่ว่านี้จากนิตยสาร ไวร์ด นิตยสารในแวดวงวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าของอังกฤษ ที่ติดตามการนำเอาความคิดเหล่านี้มาทำให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง 25 ปีของการกำเนิด "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" โดยนักคิดชาวอังกฤษอย่างทิมเบอร์เนอร์ส-ลีเมื่อวันที่16มกราคมที่ผ่านมา
งานนี้มีหลายฝ่ายร่วมไม้ร่วมมือกัน แรกสุดก็คือธนาคาร บาร์เคลย์, เฟซบุ๊ก เว็บไซต์โซเชียลมีเดียระดับโลก, มาร์ธา เลน ฟ็อกซ์ บล็อกเกอร์ชื่อดังของอังกฤษ แล้วก็ "ฟรี:ฟอร์เมอร์ส" บริษัทสตาร์ทอัพด้านไอทีที่เปลี่ยนตัวเองมาเป็นทำกิจกรรมเพื่อสังคม สิ่งที่คนเหล่านี้ประกาศทำร่วมกันในวันนั้นก็คือ การรณรงค์สร้าง "เครือข่ายสำหรับทุกคน" หรือ "เว็บเพื่อทุกคน" ใช้ช่วงระยะเวลาสั้นๆ 12 เดือนเต็มๆ
แนวคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของแคมเปญนี้ มาจากปรัชญาในการรังสรรค์ "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" (ที่เราเห็นกันทุกวันในรูปของตัวย่อ www) นั่นคือสิ่งนี้ "สร้างขึ้นเพื่อทุกคน" กี เฟอร์นานโด ซีอีโอของฟรี:ฟอร์เมอร์ส อธิบายเอาไว้ว่า "เว็บเพื่อทุกคน" ก็จะทำคล้ายๆ กัน คือทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่จะยังประโยชน์ให้กับทุกคน ตั้งแต่วัยรุ่นที่ไม่มีงานทำแต่มีความสามารถในทางด้านไอที ไปจนถึงผู้อาวุโสทั้งหลายที่นั่งดำรงตำแหน่งซีอีโอ ของบริษัทใหญ่ๆ ในระดับ 100 บริษัทแรกในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ที่อยากรู้แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้วิธีการและ "ทริค" ในการใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ที่หลั่งไหลเข้ามาเหมือนกับน้ำป่าทะลักหลังพ้นยุคของพวกเขาแล้ว
สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในการจัดให้มี "ปฏิสัมพันธ์" ระหว่างคนสองกลุ่มที่ว่านั้น ก็คือการถ่ายทอดทักษะซึ่งกันและกันที่จะนำไปสู่ภาวะการสร้างสรรค์ใหม่ ซึ่งส่งผลในทางบวกโดยตรงต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศชาติในที่สุด
ตัวอย่างที่ กี เฟอร์นันโด ยกมาให้เห็นเป็นอุทาหรณ์ชัดเจนก็คือ ในขณะที่คนอย่างซีอีโอของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง งงๆ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่วัยรุ่นในอังกฤษสักคนอาจจัดปาร์ตี้แล้วอาศัยโซเชียลมีเดีย เป็นสื่อเรียกคนได้มากกว่า 200 คนมาร่วมงานที่ว่านั้นได้ง่ายๆ ในเวลาเดียวกันนั้น วัยรุ่นคนนั้นอาจไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือไม่ตระหนักด้วยซ้ำไปว่า วิธีการที่ตนทำในการสื่อสารเรื่องปาร์ตี้นั้น มีศักยภาพในทางด้านการตลาด มีคุณค่าในเชิงการตลาดอย่างไรแต่ซีอีโอคนนั้นกลับเข้าใจเรื่องนี้ดีมากเป็นต้น
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ซีอีโอรายนั้นอาจออกอุทาน "โอ้โห" ให้กับความสามารถของเด็กหนุ่ม ที่แสดงให้เห็นวิธีการเหล่านั้น ในขณะที่เด็กหนุ่มคนนั้นก็จะได้เรียนรู้มิติและพลานุภาพทางการตลาดในสิ่งที่เขาทำไปด้วยในตัวจากซีอีโอ และหากทุกอย่างเข้าล็อก บริษัทนั้นอาจได้พนักงานคนใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านไอที ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ส่วนเด็กหนุ่มก็จะมีงานมีการทำ มีเงินเดือนให้ใช้ แทนที่จะว่างงานเล่นแต่อินเตอร์เน็ตเหมือนก่อนหน้านี้
ในทางปฏิบัติการรณรงค์ครั้งนี้จะเป็นการนำเอาคนสองกลุ่มเหล่านี้มีพบกัน ในเวิร์กช็อป หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยๆ ที่ทุกคนสามารถเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และเลือกที่จะถ่ายทอดในสิ่งที่ตัวเองถนัดได้
นั่นคือ วัยรุ่นที่เรียนอยู่ในระดับมัธยมหรืออุดมศึกษา ก็อาจอาสามาสอนวิธีการเขียนรหัสโปรแกรมหรือโค้ดดิ้งพื้นฐาน เรื่อยไปจนถึงการสร้างแอพพลิเคชั่นให้กับนักธุรกิจที่อยากรู้อยากเห็น เช่นเดียวกับที่วัยรุ่นสักคนก็อาจสมัครเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการตลาดจากซีอีโอใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียง ทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
คุณูปการอย่างหนึ่งซึ่งการรณรงค์ครั้งนี้เปิดให้นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วก็คือ การเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศักยภาพในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่พวกเขาทำอยู่เป็นประจำออกมา ที่อาจมากมายอย่างคาดไม่ถึง อาทิ นักศึกษาหรืออาจารย์ด้านโบราณคดีในมหาวิทยาลัย อาจมีขีดความสามารถด้านอินเตอร์เน็ตชนิดเหลือเชื่อ แต่ไม่มีโอกาสได้แสดงออกให้ใครเห็น หรือคนเร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัยมานานนับปี ไม่เคยผ่านการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย กลับมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้อย่างน่าทึ่ง แต่ไม่มี "ไอเดีย" ใดๆทางธุรกิจที่จะทำเงินสร้างรายได้จากขีดความสามารถนั้นเป็นต้น
ผมไม่แน่ใจว่าแนวความคิดที่ว่านี้ หากนำมาใช้ในประเทศไทย จะสร้างผลลัพธ์ได้ในทำนองเดียวกับที่กลุ่มรณรงค์ในอังกฤษคาดหวัง แต่อย่างน้อยที่สุด การได้แบ่งปัน การมีโอกาสได้ทำความรู้จักผู้คนใหม่ๆ ได้มิตรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมายจากการนี้ ก็น่าจะเกินคุ้มที่จะลองแล้วกระมังครับ!
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391149218
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
\"เว็บเพื่อทุกคน\" แนวคิดดีๆจากอังกฤษ โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์ pairat@matichon.co.th : อ่านเจอแนวคิดดีๆ ที่ว่านี้จากนิตยสาร ไวร์ด นิตยสารในแวดวงวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าของอังกฤษ ที่ติดตามการนำเอาความคิดเหล่านี้มาทำให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง 25 ปีของการกำเนิด "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" โดยนักคิดชาวอังกฤษอย่างทิมเบอร์เนอร์ส-ลีเมื่อวันที่16มกราคมที่ผ่านมา งานนี้มีหลายฝ่ายร่วมไม้ร่วมมือกัน แรกสุดก็คือธนาคาร บาร์เคลย์, เฟซบุ๊ก เว็บไซต์โซเชียลมีเดียระดับโลก, มาร์ธา เลน ฟ็อกซ์ บล็อกเกอร์ชื่อดังของอังกฤษ แล้วก็ "ฟรี:ฟอร์เมอร์ส" บริษัทสตาร์ทอัพด้านไอทีที่เปลี่ยนตัวเองมาเป็นทำกิจกรรมเพื่อสังคม สิ่งที่คนเหล่านี้ประกาศทำร่วมกันในวันนั้นก็คือ การรณรงค์สร้าง "เครือข่ายสำหรับทุกคน" หรือ "เว็บเพื่อทุกคน" ใช้ช่วงระยะเวลาสั้นๆ 12 เดือนเต็มๆ แนวคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของแคมเปญนี้ มาจากปรัชญาในการรังสรรค์ "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" (ที่เราเห็นกันทุกวันในรูปของตัวย่อ www) นั่นคือสิ่งนี้ "สร้างขึ้นเพื่อทุกคน" กี เฟอร์นานโด ซีอีโอของฟรี:ฟอร์เมอร์ส อธิบายเอาไว้ว่า "เว็บเพื่อทุกคน" ก็จะทำคล้ายๆ กัน คือทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่จะยังประโยชน์ให้กับทุกคน ตั้งแต่วัยรุ่นที่ไม่มีงานทำแต่มีความสามารถในทางด้านไอที ไปจนถึงผู้อาวุโสทั้งหลายที่นั่งดำรงตำแหน่งซีอีโอ ของบริษัทใหญ่ๆ ในระดับ 100 บริษัทแรกในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ที่อยากรู้แต่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้วิธีการและ "ทริค" ในการใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวง ที่หลั่งไหลเข้ามาเหมือนกับน้ำป่าทะลักหลังพ้นยุคของพวกเขาแล้ว สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในการจัดให้มี "ปฏิสัมพันธ์" ระหว่างคนสองกลุ่มที่ว่านั้น ก็คือการถ่ายทอดทักษะซึ่งกันและกันที่จะนำไปสู่ภาวะการสร้างสรรค์ใหม่ ซึ่งส่งผลในทางบวกโดยตรงต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศชาติในที่สุด ตัวอย่างที่ กี เฟอร์นันโด ยกมาให้เห็นเป็นอุทาหรณ์ชัดเจนก็คือ ในขณะที่คนอย่างซีอีโอของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง งงๆ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่วัยรุ่นในอังกฤษสักคนอาจจัดปาร์ตี้แล้วอาศัยโซเชียลมีเดีย เป็นสื่อเรียกคนได้มากกว่า 200 คนมาร่วมงานที่ว่านั้นได้ง่ายๆ ในเวลาเดียวกันนั้น วัยรุ่นคนนั้นอาจไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือไม่ตระหนักด้วยซ้ำไปว่า วิธีการที่ตนทำในการสื่อสารเรื่องปาร์ตี้นั้น มีศักยภาพในทางด้านการตลาด มีคุณค่าในเชิงการตลาดอย่างไรแต่ซีอีโอคนนั้นกลับเข้าใจเรื่องนี้ดีมากเป็นต้น ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ซีอีโอรายนั้นอาจออกอุทาน "โอ้โห" ให้กับความสามารถของเด็กหนุ่ม ที่แสดงให้เห็นวิธีการเหล่านั้น ในขณะที่เด็กหนุ่มคนนั้นก็จะได้เรียนรู้มิติและพลานุภาพทางการตลาดในสิ่งที่เขาทำไปด้วยในตัวจากซีอีโอ และหากทุกอย่างเข้าล็อก บริษัทนั้นอาจได้พนักงานคนใหม่ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านไอที ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ส่วนเด็กหนุ่มก็จะมีงานมีการทำ มีเงินเดือนให้ใช้ แทนที่จะว่างงานเล่นแต่อินเตอร์เน็ตเหมือนก่อนหน้านี้ ในทางปฏิบัติการรณรงค์ครั้งนี้จะเป็นการนำเอาคนสองกลุ่มเหล่านี้มีพบกัน ในเวิร์กช็อป หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มย่อยๆ ที่ทุกคนสามารถเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ และเลือกที่จะถ่ายทอดในสิ่งที่ตัวเองถนัดได้ นั่นคือ วัยรุ่นที่เรียนอยู่ในระดับมัธยมหรืออุดมศึกษา ก็อาจอาสามาสอนวิธีการเขียนรหัสโปรแกรมหรือโค้ดดิ้งพื้นฐาน เรื่อยไปจนถึงการสร้างแอพพลิเคชั่นให้กับนักธุรกิจที่อยากรู้อยากเห็น เช่นเดียวกับที่วัยรุ่นสักคนก็อาจสมัครเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการตลาดจากซีอีโอใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียง ทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด คุณูปการอย่างหนึ่งซึ่งการรณรงค์ครั้งนี้เปิดให้นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วก็คือ การเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศักยภาพในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่พวกเขาทำอยู่เป็นประจำออกมา ที่อาจมากมายอย่างคาดไม่ถึง อาทิ นักศึกษาหรืออาจารย์ด้านโบราณคดีในมหาวิทยาลัย อาจมีขีดความสามารถด้านอินเตอร์เน็ตชนิดเหลือเชื่อ แต่ไม่มีโอกาสได้แสดงออกให้ใครเห็น หรือคนเร่ร่อนไร้ที่อยู่อาศัยมานานนับปี ไม่เคยผ่านการเรียนรู้ระดับมหาวิทยาลัย กลับมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมได้อย่างน่าทึ่ง แต่ไม่มี "ไอเดีย" ใดๆทางธุรกิจที่จะทำเงินสร้างรายได้จากขีดความสามารถนั้นเป็นต้น ผมไม่แน่ใจว่าแนวความคิดที่ว่านี้ หากนำมาใช้ในประเทศไทย จะสร้างผลลัพธ์ได้ในทำนองเดียวกับที่กลุ่มรณรงค์ในอังกฤษคาดหวัง แต่อย่างน้อยที่สุด การได้แบ่งปัน การมีโอกาสได้ทำความรู้จักผู้คนใหม่ๆ ได้มิตรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมายจากการนี้ ก็น่าจะเกินคุ้มที่จะลองแล้วกระมังครับ! ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1391149218 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)