'ปิงปอง'เปลี่ยนชีวิต เส้นทางฝัน..ครั้งใหญ่ : ทีมข่าวรายงานพิเศษ
"แป๊ก แป๊ก แป๊ก" เสียงลูกปิงปองถูกตีกระทบจากไม้ปิงปองตอบโต้กันไปมาบนโต๊ะปิงปอง โดยมีคนหลายคนยืนลุ้นกันอย่างสนุกสนานในช่วงพักเที่ยงของวันทำงานวันหนึ่ง ได้จุดประกายความสำเร็จของนักกีฬาคนพิการเทเบิลเทนนิสทีมชาติไทย อย่าง "ชญานันทน์ เสฎฐีศรีเกิดกุล" หรือ "ณัฐ" หญิงสาววัย 36 ปี ให้กลายเป็นตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เพิ่งไปคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน ในการแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ที่ประเทศพม่าระหว่างวันที่14-20มกราคมที่ผ่านมา
จากเด็กหญิงที่เกิดอุบัติเหตุตกเปลตอนอายุเพียง 3 ขวบ จนทำให้แขนซ้ายของณัฐอ่อนแรง ใช้การได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็ไม่มากพอที่ทำให้มีแรงยกของได้ เธอเติบโตมาด้วยเสียงล้อของเพื่อนร่วมชั้น แต่ก็บอกกับตัวเองว่า "ถ้าเขายิ่งดูถูกเรา เรายิ่งอยากจะทำให้เขาได้เห็นว่าเราก็ทำได้" เมื่อจบ ป.6 ด้วยวัย 14 ปี ทำให้เธอตัดสินใจมาหางานทำที่กรุงเทพฯ ก่อนจะพยายามเรียนต่อให้มีวุฒิการศึกษา ขณะที่สลับทำงานไปด้วย ก่อนจะได้รับโอกาสเรียนรู้จากการทำงานในสายงานต่างๆ เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ ก่อนจะมารู้จักกับกีฬาเทเบิลเทนนิสที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเธอไปแล้ว
ชญานันทน์ ย้อนเล่าถนนสู่ความเป็นนักกีฬาของตัวเองว่า ขณะนั้นได้ทำงานเป็นพนักงานที่บริษัทซีเอ็ด ที่อยู่ที่ตึกเนชั่น (ชื่อเดิม) ในช่วงพักจะได้ยินเสียงพี่ๆ ตั้งโต๊ะเล่นปิงปองกัน ดูสนุกสนาน เลยไปขอตีด้วย ถึงแม้ตอนนั้นจะยังไม่มั่นใจว่าจะตีได้ แต่ก็ขอได้เล่นเพื่อความสนุกสนาน ก็เริ่มมาเล่นทุกวัน ไม่มีใครมาตีก็ตีกับกำแพงคนเดียว (หัวเราะ) ทำอย่างนั้นอยู่หนึ่งปี จากคำแซวของเพื่อนร่วมโต๊ะปิงปองว่าให้ตีให้โดนบ้าง กลายเป็นแรงผลักดันว่าเราต้องตีให้ได้นะเราก็ไม่อยากจะแพ้แล้ว
หลังจากนั้นเริ่มหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่ามีที่ไหนที่เล่นกันบ้าง ที่ผ่านมาก็มีหลายที่ที่เราไป อย่าง สรรพาวุธบางนา อิมพีเรียลสำโรง บางมด ท่าเรือ แต่ถ้าในวันที่เพื่อนที่ออฟฟิศไม่มีใครว่างมาตี ก็จะไปหาสนามอื่น บ้างก็ตีกับกำแพงคนเดียว ลองผิดลองถูกไปเรื่อย ก่อนที่จะนำมาปรับใช้กับตัวเอง และก็นำข้อมูลไปค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่าลักษณะลูกแต่ละอย่างตีอย่างไร ก่อนจะพัฒนาฝีมือเอาชนะในสนามพนักงานบ้างแล้ว เลยไปเพื่อหาประสบการณ์ด้วยการลงสังกัดกรุงเทพมหานคร ในการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ที่ จ. พิษณุโลก ในปี 2552 ก็สามารถคว้า 2 เหรียญทอง มาได้สำเร็จ ในการแข่งขันประเภท คลาส 8 ตอนนั้นขายังไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่
จากเวทีกีฬาแห่งชาติ ก็ได้รับคำแนะนำว่าหากอยากติดทีมชาติควรจะไปคัดตัว จนตัดสินใจไปคัดตัวจาก 6 คน เอาแค่ที่ 1 กับที่ 2 ตอนนั้นได้ที่ 2 แล้วพอเขาเรียกก็เรียกเก็บตัว เรามีเวลาซ้อมมากขึ้น มีโค้ชมาป้อนลูกให้ บอกเทคนิค ก็จะรู้มากขึ้น เราจะมีแนว พอไปแข่งอาเซียนพาราเกมส์ ที่มาเลเซีย ปี 2552 และตอนนั้นก็เปลี่ยนไปแข่งในประเภทคลาส 9 แล้ว คือเกือบแข็งแรงเหมือนคนปกติแล้ว เพราะศักยภาพเราแข็งแรงขึ้นจากการซ้อม ตอนนั้นคิดว่า "ทำให้เต็มที่ก็พอ" พอคลาสเราเพิ่มขึ้นจากการตรวจของหมอ ก็ต้องมาวิเคราะห์ตัวเอง ไปเสิร์ชวิดีโอว่าคลาส 9 แชมป์โอลิมปิก เขาตีกันอย่างไร เร็วแค่ไหน การเคลื่อนไหว ทักษะที่เขาตีเป็นอย่างไร ตอนนั้นได้เหรียญแต่ไม่ใช่เหรียญทอง
ระหว่างนั้น "ณัฐ" วนเวียนซ้อมและแข่งกีฬาแห่งชาติ คว้าเหรียญรางวัลสร้างความภูมิใจแก่ตัวเอง เมื่อเธอกำลังจะติดทีมชาติอาเซียนพาราเกมส์ ที่อินโดนีเซีย ปี 2554 เธอตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำมากว่า 6 ปี มาซ้อมเอง 1 เดือน ก่อนจะถูกเรียกตัวเข้าซ้อมกับทีมชาติก่อนไปแข่ง จากการมุ่งมั่นทำให้เธอคว้า "เหรียญทอง"ในเวทีระดับชาติมาครองได้สำเร็จ
ชญานันทน์ บอกต่อว่า เคยมีความคิดที่เกือบจะเลิกเล่น จากคำพูด คำสบประมาทจากคนอื่นทำให้เราเครียด แต่ทำให้เราก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตตัวเอง จนในที่สุดก็คิดที่จะกลับมาสู้ต่อ เพราะภาพที่เราเห็นพี่ๆเขาเล่นปิงปองทำให้เรานึกถึงโดยไม่สนใจคนอื่นที่สบประมาทเรา
"เวลาเราตกเป็นรองผู้ต่อสู้ เราจะคิดว่าทักษะอะไรบ้างที่เราแข็ง เอาทักษะตรงนั้นมาปิดทักษะที่เป็นรอง เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนเราพยายามเอาจุดแข็งมาใช้ ซึ่งวันนั้นก็พลิกกลับมาชนะได้ ทุกวันจะซ้อมหนักมากกลับบ้านดึกทุกคืน อันนี้คือซ้อมเอง ตีกับกำแพงไปเรื่อยๆ ตีใส่ไม้กระดาน เสิร์ฟไม่ได้ก็หัดใหม่"
ทุกวันนี้เธอตั้งความหวังไว้ว่า อยากไปแข่งในเวทีระดับเอเชีย คือเอเชี่ยนพาราเกมส์ให้ได้ หรือระดับพาราลิมปิก ที่เปรียบเสมือนโอลิมปิกของคนพิการให้ได้ ถ้ามีโอกาส แต่การที่จะก้าวไปอีกขั้นคือความพยายามต้องสูงขึ้น และทักษะต้องสูงขึ้น เราต้องดูคู่แข่งการตีขนาดไหน ต้องตีด้วยความเร็ว ลูกเสิร์ฟ ต้องเพิ่มเทคนิคไปให้ตัวเอง ให้พร้อมกับระดับเอเชีย ทุกวันนี้พยายามพัฒนาตัวเอง พอมีโอกาสมาหาเราวันหนึ่งแล้ว เราจะได้พร้อมเลย ไม่ใช่รอให้โอกาสมาแล้วค่อยมาพัฒนาตัว จะได้ไม่เสียโอกาส และเธอก็ตั้งเป้าจะเรียนให้จบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามที่ตั้งใจ
ชญานันทน์ ทิ้งท้ายถึงความรู้สึกครั้งแรกที่ได้เหรียญรางวัลในการแข่งขันระดับประเทศ และระดับชาติ ว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ความพยายามของเรา จากแค่คิดว่าไม่อยากจะแพ้ อยากจะตีสนุกๆ และเมื่อรู้ว่าเราชอบสิ่งนี้ ก็กลายเป็นแรงผลักดันให้เรามาถึงจุดนี้ เห็นเราทุ่มเทเหมือนคนบ้า ไม่มีใครตีก็ตีอยู่คนเดียว ทุกคนที่เห็นเราพยายามก็ดีใจกับเรา ก็คิดว่าถ้าเราทำเต็มที่เราก็มีโอกาสที่จะสำเร็จ สิ่งที่เราคิดก็ไม่ไกลเกินจะหวัง แต่เราต้องมีความพยายาม และพยายามคิดว่าอะไรที่เราขาดก็พยายามเติมเข้าไป และอย่าคิดว่าปัญหาอุปสรรคที่เราเจอนั้นไม่มีทางออก !!
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140209/178546.html#.UviNafsyPlA (ขนาดไฟล์: 167)
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.พ.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ชญานันทน์ เสฎฐีศรีเกิดกุล ตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทย "แป๊ก แป๊ก แป๊ก" เสียงลูกปิงปองถูกตีกระทบจากไม้ปิงปองตอบโต้กันไปมาบนโต๊ะปิงปอง โดยมีคนหลายคนยืนลุ้นกันอย่างสนุกสนานในช่วงพักเที่ยงของวันทำงานวันหนึ่ง ได้จุดประกายความสำเร็จของนักกีฬาคนพิการเทเบิลเทนนิสทีมชาติไทย อย่าง "ชญานันทน์ เสฎฐีศรีเกิดกุล" หรือ "ณัฐ" หญิงสาววัย 36 ปี ให้กลายเป็นตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เพิ่งไปคว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน ในการแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ที่ประเทศพม่าระหว่างวันที่14-20มกราคมที่ผ่านมา จากเด็กหญิงที่เกิดอุบัติเหตุตกเปลตอนอายุเพียง 3 ขวบ จนทำให้แขนซ้ายของณัฐอ่อนแรง ใช้การได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็ไม่มากพอที่ทำให้มีแรงยกของได้ เธอเติบโตมาด้วยเสียงล้อของเพื่อนร่วมชั้น แต่ก็บอกกับตัวเองว่า "ถ้าเขายิ่งดูถูกเรา เรายิ่งอยากจะทำให้เขาได้เห็นว่าเราก็ทำได้" เมื่อจบ ป.6 ด้วยวัย 14 ปี ทำให้เธอตัดสินใจมาหางานทำที่กรุงเทพฯ ก่อนจะพยายามเรียนต่อให้มีวุฒิการศึกษา ขณะที่สลับทำงานไปด้วย ก่อนจะได้รับโอกาสเรียนรู้จากการทำงานในสายงานต่างๆ เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ ก่อนจะมารู้จักกับกีฬาเทเบิลเทนนิสที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเธอไปแล้ว ชญานันทน์ ย้อนเล่าถนนสู่ความเป็นนักกีฬาของตัวเองว่า ขณะนั้นได้ทำงานเป็นพนักงานที่บริษัทซีเอ็ด ที่อยู่ที่ตึกเนชั่น (ชื่อเดิม) ในช่วงพักจะได้ยินเสียงพี่ๆ ตั้งโต๊ะเล่นปิงปองกัน ดูสนุกสนาน เลยไปขอตีด้วย ถึงแม้ตอนนั้นจะยังไม่มั่นใจว่าจะตีได้ แต่ก็ขอได้เล่นเพื่อความสนุกสนาน ก็เริ่มมาเล่นทุกวัน ไม่มีใครมาตีก็ตีกับกำแพงคนเดียว (หัวเราะ) ทำอย่างนั้นอยู่หนึ่งปี จากคำแซวของเพื่อนร่วมโต๊ะปิงปองว่าให้ตีให้โดนบ้าง กลายเป็นแรงผลักดันว่าเราต้องตีให้ได้นะเราก็ไม่อยากจะแพ้แล้ว หลังจากนั้นเริ่มหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่ามีที่ไหนที่เล่นกันบ้าง ที่ผ่านมาก็มีหลายที่ที่เราไป อย่าง สรรพาวุธบางนา อิมพีเรียลสำโรง บางมด ท่าเรือ แต่ถ้าในวันที่เพื่อนที่ออฟฟิศไม่มีใครว่างมาตี ก็จะไปหาสนามอื่น บ้างก็ตีกับกำแพงคนเดียว ลองผิดลองถูกไปเรื่อย ก่อนที่จะนำมาปรับใช้กับตัวเอง และก็นำข้อมูลไปค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่าลักษณะลูกแต่ละอย่างตีอย่างไร ก่อนจะพัฒนาฝีมือเอาชนะในสนามพนักงานบ้างแล้ว เลยไปเพื่อหาประสบการณ์ด้วยการลงสังกัดกรุงเทพมหานคร ในการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ที่ จ. พิษณุโลก ในปี 2552 ก็สามารถคว้า 2 เหรียญทอง มาได้สำเร็จ ในการแข่งขันประเภท คลาส 8 ตอนนั้นขายังไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่ จากเวทีกีฬาแห่งชาติ ก็ได้รับคำแนะนำว่าหากอยากติดทีมชาติควรจะไปคัดตัว จนตัดสินใจไปคัดตัวจาก 6 คน เอาแค่ที่ 1 กับที่ 2 ตอนนั้นได้ที่ 2 แล้วพอเขาเรียกก็เรียกเก็บตัว เรามีเวลาซ้อมมากขึ้น มีโค้ชมาป้อนลูกให้ บอกเทคนิค ก็จะรู้มากขึ้น เราจะมีแนว พอไปแข่งอาเซียนพาราเกมส์ ที่มาเลเซีย ปี 2552 และตอนนั้นก็เปลี่ยนไปแข่งในประเภทคลาส 9 แล้ว คือเกือบแข็งแรงเหมือนคนปกติแล้ว เพราะศักยภาพเราแข็งแรงขึ้นจากการซ้อม ตอนนั้นคิดว่า "ทำให้เต็มที่ก็พอ" พอคลาสเราเพิ่มขึ้นจากการตรวจของหมอ ก็ต้องมาวิเคราะห์ตัวเอง ไปเสิร์ชวิดีโอว่าคลาส 9 แชมป์โอลิมปิก เขาตีกันอย่างไร เร็วแค่ไหน การเคลื่อนไหว ทักษะที่เขาตีเป็นอย่างไร ตอนนั้นได้เหรียญแต่ไม่ใช่เหรียญทอง ระหว่างนั้น "ณัฐ" วนเวียนซ้อมและแข่งกีฬาแห่งชาติ คว้าเหรียญรางวัลสร้างความภูมิใจแก่ตัวเอง เมื่อเธอกำลังจะติดทีมชาติอาเซียนพาราเกมส์ ที่อินโดนีเซีย ปี 2554 เธอตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่ทำมากว่า 6 ปี มาซ้อมเอง 1 เดือน ก่อนจะถูกเรียกตัวเข้าซ้อมกับทีมชาติก่อนไปแข่ง จากการมุ่งมั่นทำให้เธอคว้า "เหรียญทอง"ในเวทีระดับชาติมาครองได้สำเร็จ ชญานันทน์ บอกต่อว่า เคยมีความคิดที่เกือบจะเลิกเล่น จากคำพูด คำสบประมาทจากคนอื่นทำให้เราเครียด แต่ทำให้เราก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรกับชีวิตตัวเอง จนในที่สุดก็คิดที่จะกลับมาสู้ต่อ เพราะภาพที่เราเห็นพี่ๆเขาเล่นปิงปองทำให้เรานึกถึงโดยไม่สนใจคนอื่นที่สบประมาทเรา "เวลาเราตกเป็นรองผู้ต่อสู้ เราจะคิดว่าทักษะอะไรบ้างที่เราแข็ง เอาทักษะตรงนั้นมาปิดทักษะที่เป็นรอง เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนเราพยายามเอาจุดแข็งมาใช้ ซึ่งวันนั้นก็พลิกกลับมาชนะได้ ทุกวันจะซ้อมหนักมากกลับบ้านดึกทุกคืน อันนี้คือซ้อมเอง ตีกับกำแพงไปเรื่อยๆ ตีใส่ไม้กระดาน เสิร์ฟไม่ได้ก็หัดใหม่" ทุกวันนี้เธอตั้งความหวังไว้ว่า อยากไปแข่งในเวทีระดับเอเชีย คือเอเชี่ยนพาราเกมส์ให้ได้ หรือระดับพาราลิมปิก ที่เปรียบเสมือนโอลิมปิกของคนพิการให้ได้ ถ้ามีโอกาส แต่การที่จะก้าวไปอีกขั้นคือความพยายามต้องสูงขึ้น และทักษะต้องสูงขึ้น เราต้องดูคู่แข่งการตีขนาดไหน ต้องตีด้วยความเร็ว ลูกเสิร์ฟ ต้องเพิ่มเทคนิคไปให้ตัวเอง ให้พร้อมกับระดับเอเชีย ทุกวันนี้พยายามพัฒนาตัวเอง พอมีโอกาสมาหาเราวันหนึ่งแล้ว เราจะได้พร้อมเลย ไม่ใช่รอให้โอกาสมาแล้วค่อยมาพัฒนาตัว จะได้ไม่เสียโอกาส และเธอก็ตั้งเป้าจะเรียนให้จบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามที่ตั้งใจ ชญานันทน์ ทิ้งท้ายถึงความรู้สึกครั้งแรกที่ได้เหรียญรางวัลในการแข่งขันระดับประเทศ และระดับชาติ ว่า รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ความพยายามของเรา จากแค่คิดว่าไม่อยากจะแพ้ อยากจะตีสนุกๆ และเมื่อรู้ว่าเราชอบสิ่งนี้ ก็กลายเป็นแรงผลักดันให้เรามาถึงจุดนี้ เห็นเราทุ่มเทเหมือนคนบ้า ไม่มีใครตีก็ตีอยู่คนเดียว ทุกคนที่เห็นเราพยายามก็ดีใจกับเรา ก็คิดว่าถ้าเราทำเต็มที่เราก็มีโอกาสที่จะสำเร็จ สิ่งที่เราคิดก็ไม่ไกลเกินจะหวัง แต่เราต้องมีความพยายาม และพยายามคิดว่าอะไรที่เราขาดก็พยายามเติมเข้าไป และอย่าคิดว่าปัญหาอุปสรรคที่เราเจอนั้นไม่มีทางออก !! ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140209/178546.html#.UviNafsyPlA คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.พ.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)