"ESCAP" มอบรางวัล 3 องค์กรสากล สร้างงานเพื่อผู้พิการอย่างยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

ภาพ ผู้ชนะรางวัล "ESCAP-Sasakawa"

การดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ ถือเป็นโมเดลใหม่ที่ถูกมองข้ามจากหลายองค์กร ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย แต่ถ้าหากมองให้ลึกลงไป คงต้องยอมรับว่าพวกเขาสามารถสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้เช่นเดียว กับคนทั่วไป เพียงแต่ขาดโอกาสในการแสดงออกเท่านั้น

จากผลสำรวจของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้พิการ 15% ของจำนวนประชากรโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกถึง 650 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดแรงงานที่ใหญ่สำหรับธุรกิจทั่วโลก ผลเช่นนี้จึงทำ ให้หลายองค์กรในต่างประเทศให้ความสำคัญกับผู้พิการ โดยพยายามสร้างโมเดลธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการจนสามารถทำให้หลายองค์กรเป็นที่ยอมรับในด้านการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความต้องการผู้พิการ และเพื่อยกย่องแนวคิดขององค์กรที่เอื้อต่อผู้พิการในสังคม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) จึงร่วมกับมูลนิธินิปปอน (The Nippon Foundation) และศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) จึงจัดให้มีการมอบรางวัล "ESCAP-Sasakawa Award" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยรางวัลนี้ "ดร.โนลีน เฮเซอร์" เลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ บอกว่า เกิดจากการคัดสรรองค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความต้องการของผู้พิการเป็นหลักสำคัญ "เพราะการที่เราให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้พิการ นอกจากจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น ยังเป็นการช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเอง เพราะธุรกิจต่าง ๆ สามารถเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย"

สำหรับผู้ชนะรางวัล "ESCAP-Sasakawa" จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ หนึ่ง ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ บริษัทไวโปร องค์กรที่ปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์ซด้านไอทีจากประเทศอินเดีย มีชื่อเสียงด้านการสร้างค่านิยมองค์กร และความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินธุรกิจในการจ้างงานผู้พิการอย่างชัดเจน ซึ่ง "ไอแซค จอร์จ" รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทไวโปร บอกว่า นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนขององค์กร

"โดยให้การสนับสนุนทั้งพนักงานที่มีความพิการอยู่แล้ว และเกิดความพิการระหว่างการทำงาน ปัจจุบันเรามีพนักงานผู้พิการทั้งสิ้น 450 คน คิดเป็น 3% ของพนักงานทั้งหมด ดังนั้น เราจะต้องพัฒนากรอบการทำงานเป็นระยะ ๆ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เอื้อต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน"

สอง ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ เป็นโรงแรมในเครืออินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป ซึ่งออกแบบโมเดลการดำเนินธุรกิจในการจ้างงานผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2529

สำหรับการดำเนินการในด้านการพัฒนา "จักดีพ ธาคราล" ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ บอกว่า องค์กรจะเน้นการพัฒนา และฝึกนักเรียนพิการให้พร้อมทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว

"ในแผนกและส่วนต่าง ๆ เช่น ส่วนงานต้อนรับ, แผนกครัว, ศูนย์ธุรกิจ, ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งพนักงานผู้พิการจำนวนกว่า 13% จะได้รับโอกาสเข้าทำงานในส่วนนี้ และเรายังตั้งใจที่จะเพิ่มการจ้างงานพนักงานผู้พิการเพิ่มอีก 20% ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ให้เราได้เห็นว่าสังคมที่เอื้อเฟื้อต่อกันจะส่งผลดีต่อธุรกิจของเราต่อไปด้วย"

สาม ประเภทผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ สำหรับรางวัลนี้จะได้รับเงินสดมูลค่าระหว่าง 50,000-100,000 เหรียญสหรัฐ ได้แก่ บริษัท Trash to Cash ประเทศอินเดีย โดยมีแนวคิดในการใช้วัสดุเหลือใช้จากโรงงานมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค ส่วนโมเดลในการดำเนินธุรกิจ "มาดูมิตา ปูริ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Trash to Cash บอกว่า เรามุ่งไปที่การจ้างงานพนักงานที่มีความสามารถโดยเฉพาะผู้พิการ

"เพราะเรามองว่ากลุ่มคนเหล่านี้คือทรัพย์สินที่มีค่า ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีพนักงานที่เป็นผู้พิการถึง 65% ส่วนเงินที่ได้จากการสนับสนุนดังกล่าว เราจะนำไปขยายการจ้างงานผู้พิการเพิ่มอีก 5,000 คนในอีก 2 ปีข้างหน้า และจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุม 10 เมืองใหญ่ทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งเรามองว่า Trash to Cash ไม่ได้เป็นธุรกิจที่ได้กำไรมหาศาล แต่เป็นธุรกิจที่ทำให้พนักงานและองค์กรสามารถเกิดความยั่งยืนในอนาคต"

โดยการมอบรางวัลทั้งหมดนี้ "ดร.โนลีน"หวังว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกองค์กรในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะมอบโอกาสให้กับผู้พิการแสดงศักยภาพร่วมกันเพื่อเดินหน้าไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้กับผู้พิการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393300077

(ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)

ที่มา: ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57
วันที่โพสต์: 26/02/2557 เวลา 04:28:40 ดูภาพสไลด์โชว์ "ESCAP" มอบรางวัล 3 องค์กรสากล สร้างงานเพื่อผู้พิการอย่างยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพ ผู้ชนะรางวัล \"ESCAP-Sasakawa\" การดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการ ถือเป็นโมเดลใหม่ที่ถูกมองข้ามจากหลายองค์กร ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย แต่ถ้าหากมองให้ลึกลงไป คงต้องยอมรับว่าพวกเขาสามารถสร้างศักยภาพให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้เช่นเดียว กับคนทั่วไป เพียงแต่ขาดโอกาสในการแสดงออกเท่านั้น จากผลสำรวจของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบันมีจำนวนผู้พิการ 15% ของจำนวนประชากรโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย-แปซิฟิกถึง 650 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดแรงงานที่ใหญ่สำหรับธุรกิจทั่วโลก ผลเช่นนี้จึงทำ ให้หลายองค์กรในต่างประเทศให้ความสำคัญกับผู้พิการ โดยพยายามสร้างโมเดลธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการจนสามารถทำให้หลายองค์กรเป็นที่ยอมรับในด้านการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความต้องการผู้พิการ และเพื่อยกย่องแนวคิดขององค์กรที่เอื้อต่อผู้พิการในสังคม คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UN ESCAP) จึงร่วมกับมูลนิธินิปปอน (The Nippon Foundation) และศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCD) จึงจัดให้มีการมอบรางวัล "ESCAP-Sasakawa Award" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยรางวัลนี้ "ดร.โนลีน เฮเซอร์" เลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ บอกว่า เกิดจากการคัดสรรองค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความต้องการของผู้พิการเป็นหลักสำคัญ "เพราะการที่เราให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้พิการ นอกจากจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้น ยังเป็นการช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเอง เพราะธุรกิจต่าง ๆ สามารถเข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย" สำหรับผู้ชนะรางวัล "ESCAP-Sasakawa" จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ หนึ่ง ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับนานาชาติที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ บริษัทไวโปร องค์กรที่ปรึกษาและให้บริการเอาต์ซอร์ซด้านไอทีจากประเทศอินเดีย มีชื่อเสียงด้านการสร้างค่านิยมองค์กร และความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เงินทุน และความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินธุรกิจในการจ้างงานผู้พิการอย่างชัดเจน ซึ่ง "ไอแซค จอร์จ" รองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัทไวโปร บอกว่า นี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนขององค์กร "โดยให้การสนับสนุนทั้งพนักงานที่มีความพิการอยู่แล้ว และเกิดความพิการระหว่างการทำงาน ปัจจุบันเรามีพนักงานผู้พิการทั้งสิ้น 450 คน คิดเป็น 3% ของพนักงานทั้งหมด ดังนั้น เราจะต้องพัฒนากรอบการทำงานเป็นระยะ ๆ เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้เอื้อต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน" สอง ประเภทองค์กรหรือธุรกิจระดับประเทศที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ ได้แก่ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ เป็นโรงแรมในเครืออินเตอร์คอนติเนนตัล โฮเต็ล กรุ๊ป ซึ่งออกแบบโมเดลการดำเนินธุรกิจในการจ้างงานผู้พิการมาตั้งแต่ปี 2529 สำหรับการดำเนินการในด้านการพัฒนา "จักดีพ ธาคราล" ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สิงคโปร์ ออร์ชาร์ด ซิตี้ เซ็นเตอร์ บอกว่า องค์กรจะเน้นการพัฒนา และฝึกนักเรียนพิการให้พร้อมทำงานในอุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว "ในแผนกและส่วนต่าง ๆ เช่น ส่วนงานต้อนรับ, แผนกครัว, ศูนย์ธุรกิจ, ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งพนักงานผู้พิการจำนวนกว่า 13% จะได้รับโอกาสเข้าทำงานในส่วนนี้ และเรายังตั้งใจที่จะเพิ่มการจ้างงานพนักงานผู้พิการเพิ่มอีก 20% ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ให้เราได้เห็นว่าสังคมที่เอื้อเฟื้อต่อกันจะส่งผลดีต่อธุรกิจของเราต่อไปด้วย" สาม ประเภทผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่เอื้อต่อผู้พิการ สำหรับรางวัลนี้จะได้รับเงินสดมูลค่าระหว่าง 50,000-100,000 เหรียญสหรัฐ ได้แก่ บริษัท Trash to Cash ประเทศอินเดีย โดยมีแนวคิดในการใช้วัสดุเหลือใช้จากโรงงานมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค ส่วนโมเดลในการดำเนินธุรกิจ "มาดูมิตา ปูริ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Trash to Cash บอกว่า เรามุ่งไปที่การจ้างงานพนักงานที่มีความสามารถโดยเฉพาะผู้พิการ "เพราะเรามองว่ากลุ่มคนเหล่านี้คือทรัพย์สินที่มีค่า ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีพนักงานที่เป็นผู้พิการถึง 65% ส่วนเงินที่ได้จากการสนับสนุนดังกล่าว เราจะนำไปขยายการจ้างงานผู้พิการเพิ่มอีก 5,000 คนในอีก 2 ปีข้างหน้า และจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุม 10 เมืองใหญ่ทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งเรามองว่า Trash to Cash ไม่ได้เป็นธุรกิจที่ได้กำไรมหาศาล แต่เป็นธุรกิจที่ทำให้พนักงานและองค์กรสามารถเกิดความยั่งยืนในอนาคต" โดยการมอบรางวัลทั้งหมดนี้ "ดร.โนลีน"หวังว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกองค์กรในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะมอบโอกาสให้กับผู้พิการแสดงศักยภาพร่วมกันเพื่อเดินหน้าไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้กับผู้พิการอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393300077 (ประชาไทออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 ก.พ.57)

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...