เรียนรู้จากชุมชนตอนที่หนึ่ง : ผู้นำ

แสดงความคิดเห็น

โดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมของสัปดาห์กิจการเพื่อสังคมหลายกิจกรรม รวมถึงการไปร่วม เข้าใจ เข้าถึง กิจการเพื่อสังคม

วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดของดิฉันเองการไปครั้งนี้ เป็นการไปสัมผัสเชียงใหม่ในแบบและในมุมมองที่แตกต่างจากการเป็นชาวเชียงใหม่ ที่อยู่ไกลจากถิ่นกำเนิดเป็นเวลากว่า 35 ปี และมีข้อคิดหลายอย่างที่อยากจะนำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านในวันนี้ค่ะ

คณะของเราประกอบด้วยคนหนุ่มสาวที่สนใจในกิจการเพื่อสังคม และมีจิตเพื่อสาธารณะ หลายคนประกอบกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้ว และหลายคนกำลังค้นหากิจการที่เหมาะสมสำหรับตนเองที่จะทำ ได้ไปอยู่ในกลุ่มหนุ่มสาวเลยทำให้รู้สึกว่าอายุลดลงไปบ้าง

ข้อคิดและบทเรียนแรกที่ได้จากการไปเยี่ยมชมและสัมผัสกับผู้ประกอบกิจการ เพื่อสังคมเหล่านี้คือ ผู้นำ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรหรือชุมชนองค์การหรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ทำงานต่างๆ ได้บรรลุเป้าหมาย และกลายเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่นๆ นั้น ล้วนแต่มีผู้นำที่เข้มแข็ง ไม่เห็นแก่ตัว มองข้ามตนเองและมุ่งสู่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

การมองข้ามตนเอง หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Selfless หมายถึง การมองไม่เห็นตัวเอง ในเวลาที่ทำงาน เพื่อส่วนรวม ไม่นำเอาผลประโยชน์หรือเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ของส่วนรวม และนอกจากจะไม่เอามาเกี่ยวข้องแล้ว การเสียสละประโยชน์ส่วนตัว และความสุขส่วนตัว กลายเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ดีทำจนเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและกิจวัตรตลอดเวลา

หมู่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน หมู่บ้านที่เคยอยู่ห่างไกลจากความเจริญ ชาวบ้านดำรงชีวิตด้วยความลำบาก ได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวชุมชนที่สามารถบริหารจัดการ และพึ่งพาตัวเองมาตลอด 20 ปี เป็นจุดที่ชุมชนอื่นมาขอดูงานตลอดทั้งปี และมีนักท่องเที่ยวมาพักแบบโฮมสเตย์กับชาวบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน

จากการพูดคุย รับฟังการบรรยายและสอบถาม ดิฉันพบว่า ผู้ใหญ่บ้านพรมมินทร์ พวงมาลา ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่เพิ่งเกษียณอายุงานไปเมื่อสองปีที่แล้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านที่มีความทุ่มเท มุ่งมั่น ตั้งใจทำงานและตั้งใจต่อสู้ เพื่อนำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาสู่ชุมชน นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ยังทำให้ดิฉันได้ข้อคิดว่า การเคารพกฎของชุมชน เป็นกติกาที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน

ผู้นำอีกท่านหนึ่งซึ่งดิฉันขอคารวะด้วยหัวใจคือ หมออู๊ด เขียวทอง ผู้ก่อตั้งสมาคมนวดแผนโบราณ โดยคนตาบอด จ.เชียงใหม่ ผู้ต่อสู้เพื่อให้คนตาบอดได้รับการอบรมและสามารถประกอบอาชีพนวดแผนโบราณ เลี้ยงตัวและเลี้ยงครอบครัวได้ หมออู๊ดย้ายไปอยู่เชียงใหม่ตามภรรยา ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาเช่นเดียวกัน

หมออู๊ดต่อสู้เพื่อทวงสิทธิให้กับคนตาบอดในจังหวัดเชียงใหม่หลายอย่าง รวมถึงการมีสัญญาณเสียงเพื่อคนตาบอดบริเวณทางม้าลายข้ามแยก โดยได้ติดตั้งไปแล้วเกือบ 30 จุด และได้สนับสนุนเพื่อให้คนตาบอดได้เรียนนวด รวมถึงไปฝึกอบรมการนวดที่มูลนิธิคอลฟิลเพื่อคนตาบอด ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีกว่าร้อยคน

ได้ฟังหมออู๊ด เล่าถึงวิธีการทวงสิทธิและวิธีการดูแลคนตาบอดที่ผ่านการฝึกอบรมและจะไปประกอบอาชีพเองในบ้านเกิดแล้ว ดิฉันรู้สึกทึ่งมาก ยกตัวอย่าง การมีสถานีวิทยุชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์กิจการ หรือ การฝากฝังลูกศิษย์ โดยหากลูกศิษย์ลูกหาที่ทำงานนวดอยู่ที่สมาคมมีความชำนาญแล้ว อยากจะกลับไปประกอบกิจการที่หมู่บ้านของตนเอง หมออู๊ดจะมีจดหมายฝากฝังไปกับนายอำเภอ หรือกำนันของตำบลนั้น ให้ช่วยสนับสนุน ประชาสัมพันธ์ และหาลูกค้าให้ด้วย ถือเป็นการดูแลแบบครบวงจรเลยทีเดียว

เช่นเดียวกับผู้ใหญ่พรหมินทร์ แห่งบ้านกำปอง หมออู๊ดทำหน้าที่ของตนเองในการต่อสู้ เรียกร้อง และปลุกปั้นกิจการเพื่อผู้พิการทางสายตา โดยไม่มองตนเองอยู่ในภาพ แต่มององค์กรและผู้ที่อยู่ในองค์กรเป็นหลัก นอกจากนี้ แม้จะเป็นผู้พิการแต่ก็ยังมีจิตสาธารณะ เผื่อแผ่ไปบริการนวดให้กับคนชราที่บ้านพักคนชรา และพระภิกษุสงฆ์ที่ชราภาพทุกๆ ปี

คณะของเราได้ทดลองใช้บริการด้วยค่ะ ดีมากๆ เลย นวดแล้วแก้ไขปัญหาของเส้นสายในร่างกายได้ดี ถ้ามีโอกาสจะต้องกลับไปรับบริการอีกแน่ๆ อีกชุมชนหนึ่งที่ต้องให้เครดิตกับผู้นำคือ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของบ้านไร่กองขิง ซึ่งชาวบ้านขายที่นาให้กับนายทุน และหันไปทำงานรับจ้างทั่วไป งานก่อสร้าง หรืองานแม่บ้านในเมืองใหญ่ แต่ต้องตกงานหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และกลับมาอยู่ในหมู่บ้านโดยไม่มีงานทำ

ในปี 2542 คุณสุพรรณ อินทะชัย ประธานกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ซึ่งภรรยาของผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ได้บริหารจัดการชุมชน จากการออมเงินคนละ 50 บาทต่อเดือน จำนวน 18 คน จนกระทั่งปัจจุบันมีเงินออมเพื่อหมุนเวียนในกิจการกว่า 3 ล้านบาท สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของหมู่บ้านที่มีประชากร 1,207 คน บนพื้นที่ประมาณ 600 ไร่

ในการดำเนินการต่างๆ ก็มีอุปสรรคมากมาย คุณสุพรรณเล่าให้ฟังถึงวิธีการจัดการ โดยเป็นลักษณะที่ตอบโจทย์ของลูกบ้านได้ เช่น การปลูกพืชผักไว้รับประทาน และแลกเปลี่ยนกันเอง การใช้มาตรการทางสังคมและการอบรมเรื่องคุณธรรม เมื่อให้กู้เงินของกลุ่มเพื่อนำไปลงทุนหรือใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เช่น การสาปแช่ง 7 ชั่วโคตรหากไม่คืนเงิน ในขณะเดียวกันก็พยายามหารายได้ด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการ ของตลาด ดิฉันอ่านในเอกสารซึ่งคาดว่าพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว แจ้งว่าจะมีการผลิตชาอัญชันในเร็วๆ นี้ แต่เมื่อไปเยี่ยมในต้นเดือนมีนาคม ชาดอกอัญชันก็มีวางขายแล้ว นับว่ามีการก้าวหน้าและมีการดำเนินการตามแผนงานดีมาก ทั้งนี้ความมุ่งมั่น ความเสียสละ และการมองประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี ที่จะทำให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า และชุมชนภายใต้การนำ มีความสุข

ดิฉันเคยเขียนบทความ ผู้นำ เมื่อเดือนมกราคม 2551 โดยอ้างถึงการบรรยายของ ดอกเตอร์ วี เชา ฮุย ศาสตราจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี นันยาง ของสิงคโปร์ ว่าผู้นำที่บรรลุแล้ว ควรจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับแสง ท่านที่สนใจลองค้นหาอ่านดูนะคะ สัปดาห์หน้าจะขอเล่าถึงแนวคิดในการบริหารธุรกิจ จากผู้ที่ไม่ได้ผ่านโรงเรียนบริหารธุรกิจค่ะ

ขอบคุณ... http://goo.gl/4eQrZF (ขนาดไฟล์: 0 )

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 10/03/2557 เวลา 04:11:24 ดูภาพสไลด์โชว์  เรียนรู้จากชุมชนตอนที่หนึ่ง : ผู้นำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ สัปดาห์ที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมของสัปดาห์กิจการเพื่อสังคมหลายกิจกรรม รวมถึงการไปร่วม เข้าใจ เข้าถึง กิจการเพื่อสังคม วิวรรณ ธาราหิรัญโชติในจังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดของดิฉันเองการไปครั้งนี้ เป็นการไปสัมผัสเชียงใหม่ในแบบและในมุมมองที่แตกต่างจากการเป็นชาวเชียงใหม่ ที่อยู่ไกลจากถิ่นกำเนิดเป็นเวลากว่า 35 ปี และมีข้อคิดหลายอย่างที่อยากจะนำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านในวันนี้ค่ะ คณะของเราประกอบด้วยคนหนุ่มสาวที่สนใจในกิจการเพื่อสังคม และมีจิตเพื่อสาธารณะ หลายคนประกอบกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้ว และหลายคนกำลังค้นหากิจการที่เหมาะสมสำหรับตนเองที่จะทำ ได้ไปอยู่ในกลุ่มหนุ่มสาวเลยทำให้รู้สึกว่าอายุลดลงไปบ้าง ข้อคิดและบทเรียนแรกที่ได้จากการไปเยี่ยมชมและสัมผัสกับผู้ประกอบกิจการ เพื่อสังคมเหล่านี้คือ ผู้นำ เป็นผู้มีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรหรือชุมชนองค์การหรือชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ทำงานต่างๆ ได้บรรลุเป้าหมาย และกลายเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่นๆ นั้น ล้วนแต่มีผู้นำที่เข้มแข็ง ไม่เห็นแก่ตัว มองข้ามตนเองและมุ่งสู่ประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก การมองข้ามตนเอง หรือที่ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Selfless หมายถึง การมองไม่เห็นตัวเอง ในเวลาที่ทำงาน เพื่อส่วนรวม ไม่นำเอาผลประโยชน์หรือเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องในการตัดสินใจทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ ของส่วนรวม และนอกจากจะไม่เอามาเกี่ยวข้องแล้ว การเสียสละประโยชน์ส่วนตัว และความสุขส่วนตัว กลายเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ดีทำจนเป็นส่วนหนึ่งของความคิดและกิจวัตรตลอดเวลา หมู่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน หมู่บ้านที่เคยอยู่ห่างไกลจากความเจริญ ชาวบ้านดำรงชีวิตด้วยความลำบาก ได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นต้นแบบของการท่องเที่ยวชุมชนที่สามารถบริหารจัดการ และพึ่งพาตัวเองมาตลอด 20 ปี เป็นจุดที่ชุมชนอื่นมาขอดูงานตลอดทั้งปี และมีนักท่องเที่ยวมาพักแบบโฮมสเตย์กับชาวบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน จากการพูดคุย รับฟังการบรรยายและสอบถาม ดิฉันพบว่า ผู้ใหญ่บ้านพรมมินทร์ พวงมาลา ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่เพิ่งเกษียณอายุงานไปเมื่อสองปีที่แล้ว เป็นผู้ใหญ่บ้านที่มีความทุ่มเท มุ่งมั่น ตั้งใจทำงานและตั้งใจต่อสู้ เพื่อนำสิ่งใหม่ๆ ดีๆ มาสู่ชุมชน นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ยังทำให้ดิฉันได้ข้อคิดว่า การเคารพกฎของชุมชน เป็นกติกาที่สำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเจริญก้าวหน้าไปด้วยกัน ผู้นำอีกท่านหนึ่งซึ่งดิฉันขอคารวะด้วยหัวใจคือ หมออู๊ด เขียวทอง ผู้ก่อตั้งสมาคมนวดแผนโบราณ โดยคนตาบอด จ.เชียงใหม่ ผู้ต่อสู้เพื่อให้คนตาบอดได้รับการอบรมและสามารถประกอบอาชีพนวดแผนโบราณ เลี้ยงตัวและเลี้ยงครอบครัวได้ หมออู๊ดย้ายไปอยู่เชียงใหม่ตามภรรยา ซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตาเช่นเดียวกัน หมออู๊ดต่อสู้เพื่อทวงสิทธิให้กับคนตาบอดในจังหวัดเชียงใหม่หลายอย่าง รวมถึงการมีสัญญาณเสียงเพื่อคนตาบอดบริเวณทางม้าลายข้ามแยก โดยได้ติดตั้งไปแล้วเกือบ 30 จุด และได้สนับสนุนเพื่อให้คนตาบอดได้เรียนนวด รวมถึงไปฝึกอบรมการนวดที่มูลนิธิคอลฟิลเพื่อคนตาบอด ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีกว่าร้อยคน ได้ฟังหมออู๊ด เล่าถึงวิธีการทวงสิทธิและวิธีการดูแลคนตาบอดที่ผ่านการฝึกอบรมและจะไปประกอบอาชีพเองในบ้านเกิดแล้ว ดิฉันรู้สึกทึ่งมาก ยกตัวอย่าง การมีสถานีวิทยุชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์กิจการ หรือ การฝากฝังลูกศิษย์ โดยหากลูกศิษย์ลูกหาที่ทำงานนวดอยู่ที่สมาคมมีความชำนาญแล้ว อยากจะกลับไปประกอบกิจการที่หมู่บ้านของตนเอง หมออู๊ดจะมีจดหมายฝากฝังไปกับนายอำเภอ หรือกำนันของตำบลนั้น ให้ช่วยสนับสนุน ประชาสัมพันธ์ และหาลูกค้าให้ด้วย ถือเป็นการดูแลแบบครบวงจรเลยทีเดียว เช่นเดียวกับผู้ใหญ่พรหมินทร์ แห่งบ้านกำปอง หมออู๊ดทำหน้าที่ของตนเองในการต่อสู้ เรียกร้อง และปลุกปั้นกิจการเพื่อผู้พิการทางสายตา โดยไม่มองตนเองอยู่ในภาพ แต่มององค์กรและผู้ที่อยู่ในองค์กรเป็นหลัก นอกจากนี้ แม้จะเป็นผู้พิการแต่ก็ยังมีจิตสาธารณะ เผื่อแผ่ไปบริการนวดให้กับคนชราที่บ้านพักคนชรา และพระภิกษุสงฆ์ที่ชราภาพทุกๆ ปี คณะของเราได้ทดลองใช้บริการด้วยค่ะ ดีมากๆ เลย นวดแล้วแก้ไขปัญหาของเส้นสายในร่างกายได้ดี ถ้ามีโอกาสจะต้องกลับไปรับบริการอีกแน่ๆ อีกชุมชนหนึ่งที่ต้องให้เครดิตกับผู้นำคือ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของบ้านไร่กองขิง ซึ่งชาวบ้านขายที่นาให้กับนายทุน และหันไปทำงานรับจ้างทั่วไป งานก่อสร้าง หรืองานแม่บ้านในเมืองใหญ่ แต่ต้องตกงานหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง และกลับมาอยู่ในหมู่บ้านโดยไม่มีงานทำ ในปี 2542 คุณสุพรรณ อินทะชัย ประธานกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ซึ่งภรรยาของผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ได้บริหารจัดการชุมชน จากการออมเงินคนละ 50 บาทต่อเดือน จำนวน 18 คน จนกระทั่งปัจจุบันมีเงินออมเพื่อหมุนเวียนในกิจการกว่า 3 ล้านบาท สร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของหมู่บ้านที่มีประชากร 1,207 คน บนพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ในการดำเนินการต่างๆ ก็มีอุปสรรคมากมาย คุณสุพรรณเล่าให้ฟังถึงวิธีการจัดการ โดยเป็นลักษณะที่ตอบโจทย์ของลูกบ้านได้ เช่น การปลูกพืชผักไว้รับประทาน และแลกเปลี่ยนกันเอง การใช้มาตรการทางสังคมและการอบรมเรื่องคุณธรรม เมื่อให้กู้เงินของกลุ่มเพื่อนำไปลงทุนหรือใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน เช่น การสาปแช่ง 7 ชั่วโคตรหากไม่คืนเงิน ในขณะเดียวกันก็พยายามหารายได้ด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการ ของตลาด ดิฉันอ่านในเอกสารซึ่งคาดว่าพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว แจ้งว่าจะมีการผลิตชาอัญชันในเร็วๆ นี้ แต่เมื่อไปเยี่ยมในต้นเดือนมีนาคม ชาดอกอัญชันก็มีวางขายแล้ว นับว่ามีการก้าวหน้าและมีการดำเนินการตามแผนงานดีมาก ทั้งนี้ความมุ่งมั่น ความเสียสละ และการมองประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี ที่จะทำให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า และชุมชนภายใต้การนำ มีความสุข ดิฉันเคยเขียนบทความ ผู้นำ เมื่อเดือนมกราคม 2551 โดยอ้างถึงการบรรยายของ ดอกเตอร์ วี เชา ฮุย ศาสตราจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี นันยาง ของสิงคโปร์ ว่าผู้นำที่บรรลุแล้ว ควรจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับแสง ท่านที่สนใจลองค้นหาอ่านดูนะคะ สัปดาห์หน้าจะขอเล่าถึงแนวคิดในการบริหารธุรกิจ จากผู้ที่ไม่ได้ผ่านโรงเรียนบริหารธุรกิจค่ะ ขอบคุณ... http://goo.gl/4eQrZF กรุงเทพธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...