อายทำไม?‘เราไม่แตกต่าง’
ปฏิญญา เอี่ยมตาล โดยทีมข่าวรายงานพิเศษ : “ฝันอยากเป็นนักร้อง หรือเป็นนักประชาสัมพันธ์ก็ได้ หนูว่าหนูเป็นได้ เพราะหนูชอบพูดชอบคุย ชอบถามชอบสงสัย ชอบบอกชอบแนะนำคนนั้นคนนี้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเพื่อนหนูในเฟซบุ๊กเขาเป็นแบบเดียวกัน หนูก็เอารูปที่ถ่ายด้วยกันมาโพสต์ลง เขาโกรธใหญ่เลยว่าเอารูปเขาไปลงทำไม อายคนอื่นหนูตอบว่าจะไปอายทำไมเราไม่แตกต่างไม่เห็นต้องอายเลย”
“น้องฝ้าย” ด.ญ.บุญธิดา ชินวงษ์ นักเรียนชั้น ม.3 วัย 14 ปี เล่าถึงความฝันในอนาคต แม้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเหมือนเด็กคนอื่นแต่ในวันนี้น้องฝ้ายพร้อมแล้วที่จะใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป ตอนเป็นเด็กเล็กเคยเฝ้าถามแม่ทุกวันๆว่าเมื่อไหร่แขนและขาของหนูจะงอกออกมาเสียทีแม่ตอบว่าเดี๋ยวมันก็งอกเอง
“วันนี้หนูรู้แล้ว มันจะไม่งอกออกมาอีก แรกๆ ก็เศร้าใจเหมือนกันนะ แต่พอมาโรงเรียนเห็นเพื่อนคนอื่นๆ เป็นแบบเรา ก็เลยไม่ได้คิดอะไร เพราะหนูมีครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ไม่เคยเก็บหนูไว้ในบ้าน พาไปเดินห้าง ไปโน่นไปนี่เหมือนเด็กปกติทั่วไป หนูไม่เคยคิดน้อยเนื้อต่ำใจที่เกิดมาเป็นแบบนี้ ภูมิใจด้วยซ้ำ เพราะทำอะไรได้หลายอย่าง หนูทำคอมพิวเตอร์เป็น ทำโปรแกรมโฟโต้ช็อป โฟโต้สเคป ฯลฯ หนูชอบไปโรงเรียน มีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะหนูไม่เหงาและไม่คิดมากเหมือนเด็กคนอื่น”
น้องฝ้ายพยายามช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว ด้วยการรับจ้างระบายสีภาพกระเป๋าผ้าบาติกช่วงปิดเทอม รับมา 50 ใบ ได้ค่าจ้างใบละ 10 บาท ใช้วิธีออกแบบรูปภาพเอง หรือเลือกรูปที่ชอบจากอินเทอร์เน็ต หากมีเวลาว่างจะฝึกร้องเพลงและเต้นรำ ตามความฝันที่อยากเป็นนักร้อง ระหว่างระบายสีกระเป๋าผ้าน้องฝ้ายก็ร้องเพลงไปด้วย ส่วนใหญ่เป็นเพลงของนักร้องในดวงใจ คือ “พี่ตูน บอดี้สแลม” หากเป็นไปได้อยากเจอตัวเป็นๆ พี่ตูนสักครั้งหนึ่งอยากไปดูคอนเสิร์ตหน้าเวที
อยากบอกเพื่อนๆ ที่พิการว่า ต้องพอใจในสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับตัวเรา ถึงมันจะไม่ครบก็ตาม จงใช้สิ่งที่หลงเหลืออยู่ให้ได้ประโยชน์ที่สุด ใครจะมองเรายังไงก็ปล่อยให้เขามองไป ขอแค่เราอย่าท้อก็พอ ให้ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ แล้วเวลาไปไหนเราไม่เคยอายใครอย่าไปคิดว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นเราแค่ใช้อุปกรณ์ช่วยเท่านั้น
แม้รัฐบาลพยายามออกนโยบายส่งเสริมเด็กพิการได้ออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ แต่ระหว่างการเดินทางมาโรงเรียนของ “น้องฝ้าย” ไม่ใช่เรื่องง่าย...บ้านน้องฝ้ายอยู่ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ทุกเช้าแม่จ้างน้าชายขับรถไปส่งที่ ร.ร.ศรีสังวาลย์ แถวปากเกร็ด ตอนเย็นต้องมารับกลับบ้าน หากคิดเฉพาะค่ารถก็ไม่ต่ำกว่าวันละ 200บาททำให้เงินเบี้ยเลี้ยงคนพิการที่ได้รับเดือนละ500บาทไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายส่วนนี้
“รัฐบอกจะเพิ่มให้เป็น 800 บาท ตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ยังไม่ได้ แม่บอกได้แค่ 500 บาท บางทีก็สงสารแม่นะ สิ้นเปลืองค่ารถมารับส่ง แต่แม่บอกว่าไม่เป็นไร อยากให้หนูได้เรียนหนังสือ โตขึ้นจะได้ไม่ลำบาก หนูเลยตั้งใจเรียนและบอกแม่ว่าอยากเรียนสูงๆจนจบปริญญาตรีจะได้มีงานทำดีๆมีเงินเดือนมาให้แม่”
เนื่องจากโรงเรียนมี “โครงการไอทีเด็กพิการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทำให้น้องฝ้ายได้รับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง สำหรับฝึกใช้ที่บ้าน น้องฝ้ายใช้คอมพิวเตอร์ตัวนี้รับจ้างพิมพ์รายงานให้พี่ๆ และญาติๆ รวมถึงคนในละแวกบ้าน และเอาเงินที่ได้มาเก็บใส่กระปุกออมสินไว้ช่วยแม่จ่ายค่าเล่าเรียนเทอมละ4,000บาทแต่ตอนนี้เครื่องปริ๊นเตอร์เสียทำให้ขาดรายได้ส่วนนี้ไป
“ตอนนี้เรียนอีกเทอมเดียวจบ ม.3 แม่อยากให้เรียน กศน. หนูบอกไม่เอา อยากเรียนต่อ ม.4 แต่แม่บอกว่า กลัวมีปัญหาในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายเยอะ ตอนนี้คงดูก่อนว่าแม่จะส่งหนูเรียนไหวไหม” น้องฝ้าย กล่าวอย่างมีความหวัง
คนพิการจดทะเบียนทั่วประเทศไทย 1.66 ล้านคน
เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี 1.4 แสนคน
วัยแรกเกิด - 6 ปี 2.1 หมื่นคน
7-14 ปี 5.9 หมื่นคน
15-20 ปี 6 หมื่นคน
ที่มา : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150611/207804.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ด.ญ.บุญธิดา ชินวงษ์ นักเรียนชั้น ม.3 วัย 14 ปี ปฏิญญา เอี่ยมตาล โดยทีมข่าวรายงานพิเศษ : “ฝันอยากเป็นนักร้อง หรือเป็นนักประชาสัมพันธ์ก็ได้ หนูว่าหนูเป็นได้ เพราะหนูชอบพูดชอบคุย ชอบถามชอบสงสัย ชอบบอกชอบแนะนำคนนั้นคนนี้ มีอยู่ครั้งหนึ่งเพื่อนหนูในเฟซบุ๊กเขาเป็นแบบเดียวกัน หนูก็เอารูปที่ถ่ายด้วยกันมาโพสต์ลง เขาโกรธใหญ่เลยว่าเอารูปเขาไปลงทำไม อายคนอื่นหนูตอบว่าจะไปอายทำไมเราไม่แตกต่างไม่เห็นต้องอายเลย” “น้องฝ้าย” ด.ญ.บุญธิดา ชินวงษ์ นักเรียนชั้น ม.3 วัย 14 ปี เล่าถึงความฝันในอนาคต แม้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเหมือนเด็กคนอื่นแต่ในวันนี้น้องฝ้ายพร้อมแล้วที่จะใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไป ตอนเป็นเด็กเล็กเคยเฝ้าถามแม่ทุกวันๆว่าเมื่อไหร่แขนและขาของหนูจะงอกออกมาเสียทีแม่ตอบว่าเดี๋ยวมันก็งอกเอง “วันนี้หนูรู้แล้ว มันจะไม่งอกออกมาอีก แรกๆ ก็เศร้าใจเหมือนกันนะ แต่พอมาโรงเรียนเห็นเพื่อนคนอื่นๆ เป็นแบบเรา ก็เลยไม่ได้คิดอะไร เพราะหนูมีครอบครัวที่อบอุ่น พ่อแม่ไม่เคยเก็บหนูไว้ในบ้าน พาไปเดินห้าง ไปโน่นไปนี่เหมือนเด็กปกติทั่วไป หนูไม่เคยคิดน้อยเนื้อต่ำใจที่เกิดมาเป็นแบบนี้ ภูมิใจด้วยซ้ำ เพราะทำอะไรได้หลายอย่าง หนูทำคอมพิวเตอร์เป็น ทำโปรแกรมโฟโต้ช็อป โฟโต้สเคป ฯลฯ หนูชอบไปโรงเรียน มีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะหนูไม่เหงาและไม่คิดมากเหมือนเด็กคนอื่น” น้องฝ้ายพยายามช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว ด้วยการรับจ้างระบายสีภาพกระเป๋าผ้าบาติกช่วงปิดเทอม รับมา 50 ใบ ได้ค่าจ้างใบละ 10 บาท ใช้วิธีออกแบบรูปภาพเอง หรือเลือกรูปที่ชอบจากอินเทอร์เน็ต หากมีเวลาว่างจะฝึกร้องเพลงและเต้นรำ ตามความฝันที่อยากเป็นนักร้อง ระหว่างระบายสีกระเป๋าผ้าน้องฝ้ายก็ร้องเพลงไปด้วย ส่วนใหญ่เป็นเพลงของนักร้องในดวงใจ คือ “พี่ตูน บอดี้สแลม” หากเป็นไปได้อยากเจอตัวเป็นๆ พี่ตูนสักครั้งหนึ่งอยากไปดูคอนเสิร์ตหน้าเวที อยากบอกเพื่อนๆ ที่พิการว่า ต้องพอใจในสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับตัวเรา ถึงมันจะไม่ครบก็ตาม จงใช้สิ่งที่หลงเหลืออยู่ให้ได้ประโยชน์ที่สุด ใครจะมองเรายังไงก็ปล่อยให้เขามองไป ขอแค่เราอย่าท้อก็พอ ให้ใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ แล้วเวลาไปไหนเราไม่เคยอายใครอย่าไปคิดว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่นเราแค่ใช้อุปกรณ์ช่วยเท่านั้น แม้รัฐบาลพยายามออกนโยบายส่งเสริมเด็กพิการได้ออกจากบ้านไปเรียนหนังสือ แต่ระหว่างการเดินทางมาโรงเรียนของ “น้องฝ้าย” ไม่ใช่เรื่องง่าย...บ้านน้องฝ้ายอยู่ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ทุกเช้าแม่จ้างน้าชายขับรถไปส่งที่ ร.ร.ศรีสังวาลย์ แถวปากเกร็ด ตอนเย็นต้องมารับกลับบ้าน หากคิดเฉพาะค่ารถก็ไม่ต่ำกว่าวันละ 200บาททำให้เงินเบี้ยเลี้ยงคนพิการที่ได้รับเดือนละ500บาทไม่เพียงพอค่าใช้จ่ายส่วนนี้ “รัฐบอกจะเพิ่มให้เป็น 800 บาท ตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ยังไม่ได้ แม่บอกได้แค่ 500 บาท บางทีก็สงสารแม่นะ สิ้นเปลืองค่ารถมารับส่ง แต่แม่บอกว่าไม่เป็นไร อยากให้หนูได้เรียนหนังสือ โตขึ้นจะได้ไม่ลำบาก หนูเลยตั้งใจเรียนและบอกแม่ว่าอยากเรียนสูงๆจนจบปริญญาตรีจะได้มีงานทำดีๆมีเงินเดือนมาให้แม่” เนื่องจากโรงเรียนมี “โครงการไอทีเด็กพิการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ทำให้น้องฝ้ายได้รับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 1 เครื่อง สำหรับฝึกใช้ที่บ้าน น้องฝ้ายใช้คอมพิวเตอร์ตัวนี้รับจ้างพิมพ์รายงานให้พี่ๆ และญาติๆ รวมถึงคนในละแวกบ้าน และเอาเงินที่ได้มาเก็บใส่กระปุกออมสินไว้ช่วยแม่จ่ายค่าเล่าเรียนเทอมละ4,000บาทแต่ตอนนี้เครื่องปริ๊นเตอร์เสียทำให้ขาดรายได้ส่วนนี้ไป “ตอนนี้เรียนอีกเทอมเดียวจบ ม.3 แม่อยากให้เรียน กศน. หนูบอกไม่เอา อยากเรียนต่อ ม.4 แต่แม่บอกว่า กลัวมีปัญหาในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายเยอะ ตอนนี้คงดูก่อนว่าแม่จะส่งหนูเรียนไหวไหม” น้องฝ้าย กล่าวอย่างมีความหวัง คนพิการจดทะเบียนทั่วประเทศไทย 1.66 ล้านคน เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี 1.4 แสนคน วัยแรกเกิด - 6 ปี 2.1 หมื่นคน 7-14 ปี 5.9 หมื่นคน 15-20 ปี 6 หมื่นคน ที่มา : กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150611/207804.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)