ชาวเน็ตซึ้ง! "ชัชชาติ" เล่าเรื่อง "เมื่อลูกชายของผมหูหนวก"

แสดงความคิดเห็น

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

เพจ มนุษย์กรุงเทพฯ เผยเเพร่คำสัมภาษณ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงความสัมพันธ์ของตนกับ บุตร โดยเฉพาะการเลี้ยงและดูแลบุตรซึ่งเป็นบุคคลพิเศษมีปัญหาเรื่องการได้ยินอย่างดี โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนต่างเเสดงความเห็นชื่นชมกับการกระทำดังกล่าวในฐานะพ่อ มีรายละเอียดดังนี้

ลูกชายของผมเกิดเมื่อปี 2000 ร่างกายภายนอกของเขาปกติดี กระทั่งวันหนึ่งมีคนทักว่า ทำไมเรียกแล้วไม่หัน พออายุหนึ่งขวบกว่าๆ ผมตัดสินใจพาไปตรวจ พยาบาลบอกผลว่า ลูกชายของผมหูหนวก เคยเห็นเด็กหูหนวกส่งภาษามือแต่ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเองเป็นวินาทีเปลี่ยนชีวิตเลย

"ตอนนั้นผมตกใจ นั่งร้องไห้ สงสารลูกว่าอนาคตจะเป็นยังไง เราเหมือนปฏิเสธตัวเอง คิดว่าหมออาจตรวจผิด เลยไปตรวจที่อื่น แต่ทุกที่ก็บอกเหมือนเดิม ผมถึงขนาดไปไหว้พระ บนบานศาลกล่าว ขอให้เขาหาย ตอนลูกหลับก็เอาหูฟังเสียงดังๆ เปิดใส่ เผื่อจะกระตุ้นให้เขาได้ยิน เป็นความหวังลมๆ แล้งๆ เวลาผ่านไปเริ่มตกตะกอนว่าเป็นไปไม่ได้"

ผมเริ่มซื้อหนังสือเกี่ยวกับคนหูหนวกมาอ่าน ศึกษาบทความต่างๆ ทางเลือกมีทั้งการฝึกใช้ภาษามือ แต่คนอื่นสื่อสารด้วยยาก สังคมก็จะแคบ หรือใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเหมาะกับคนที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง หรือวิธีอ่านปาก ซึ่งก็ต้องใช้พร้อมเครื่องช่วยฟัง แต่ลูกของผมหูหนวกสนิทเลย อีกทางคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม สิบกว่าปีที่แล้วเมืองไทยมีอยู่บ้าง แต่เด็กที่ผ่ามักไม่ประสบความสำเร็จ คือพูดไม่ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าทำสำเร็จ เขาจะสื่อสารกับคนทั่วไปได้เลยผมเลยเลือกทางนี้

ประเทศที่ผ่าตัดได้เยอะคือ ออสเตรเลีย ผมติดต่อไปหาหมอคนหนึ่ง เขาผ่ามานับพันคน บินไปคุยอยู่สองครั้ง แล้วถึงพาลูกไปตรวจ พอรู้ผลว่าผ่าได้ ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์ เลยสอบเอาทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียไปทำวิจัย แล้วพาลูกไปผ่าเมื่อเดือนธันวาคม2002ใช้เวลาแค่2ชั่วโมง

แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือเราต้องฝึกให้เขาเข้าใจเครื่องนี้ ปกติประสาทหูชั้นในมีลักษณะเป็นก้นหอย มีขนๆ อยู่ พอได้ยินเสียง ขนก็สั่น แล้วเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นสมอง แต่ลูกของผมไม่มี เลยใส่ขดลวดไฟฟ้าไปแทน เวลาพูดจะเหมือนที่เราพูดกัน แต่เขาจะได้ยินอีกแบบ สมมุติคำว่า พ่อ เขาก็จะได้ยินเป็น ตื๊ด ตื๊ด ตื๊ด

“หลังจากผ่าตัด ช่วงแรกเขาไม่พูดเลย เราก็เครียด ไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือเปล่า ถ้าผิดก็ไม่รู้จะกลับไปยังไง การผ่าก็ไปทำลายของเดิมทั้งหมด ตอนนั้นพ่อแม่ต้องฝึกอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อกลับมาฝึกลูก 24 ชั่วโมงที่บ้าน หลังหกเดือนเขาก็เริ่มพูดได้ เครื่องมีความละเอียดไม่เท่าหูคน ผมเลยเลือกฝึกภาษาอังกฤษเพราะวรรณยุกต์ไม่เยอะ อีกอย่างความรู้บนโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเขาพูดได้ อนาคตคงเรียนภาษาไทยได้ หลังจากนั้นเขากลับมาอยู่โรงเรียนอินเตอร์ พูดอังกฤษได้พูดไทยได้นิดหน่อยเป็นเด็กหูหนวกหนึ่งในไม่กี่คนที่เรียนโรงเรียนคนปกติได้

“การมีลูกเป็นคนพิเศษ ทำให้ผมโฟกัสขึ้น ชีวิตเรามุ่งกับเขาเป็นหลัก ผมต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เพื่อที่จะอยู่กับเขาให้นานที่สุด เราอยู่เพื่อเขา ตอนนี้ลูกผมอายุ 15 เขาเข้าใจ รับได้ คุยกับเพื่อนได้ ด่ากันได้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ เวลาไหว้พระ ผมไม่เคยขอให้เขาเป็นเด็กเรียนเก่งเลย ผมขอให้เขาเข้าสังคมได้ มีเพื่อนที่ดี ชีวิตมีความสุข ผมพอแล้ว”

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1440384003 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย24ส.ค.58
วันที่โพสต์: 25/08/2558 เวลา 12:06:26 ดูภาพสไลด์โชว์ ชาวเน็ตซึ้ง! "ชัชชาติ" เล่าเรื่อง "เมื่อลูกชายของผมหูหนวก"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพจ มนุษย์กรุงเทพฯ เผยเเพร่คำสัมภาษณ์ นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงความสัมพันธ์ของตนกับ บุตร โดยเฉพาะการเลี้ยงและดูแลบุตรซึ่งเป็นบุคคลพิเศษมีปัญหาเรื่องการได้ยินอย่างดี โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนต่างเเสดงความเห็นชื่นชมกับการกระทำดังกล่าวในฐานะพ่อ มีรายละเอียดดังนี้ ลูกชายของผมเกิดเมื่อปี 2000 ร่างกายภายนอกของเขาปกติดี กระทั่งวันหนึ่งมีคนทักว่า ทำไมเรียกแล้วไม่หัน พออายุหนึ่งขวบกว่าๆ ผมตัดสินใจพาไปตรวจ พยาบาลบอกผลว่า ลูกชายของผมหูหนวก เคยเห็นเด็กหูหนวกส่งภาษามือแต่ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเองเป็นวินาทีเปลี่ยนชีวิตเลย "ตอนนั้นผมตกใจ นั่งร้องไห้ สงสารลูกว่าอนาคตจะเป็นยังไง เราเหมือนปฏิเสธตัวเอง คิดว่าหมออาจตรวจผิด เลยไปตรวจที่อื่น แต่ทุกที่ก็บอกเหมือนเดิม ผมถึงขนาดไปไหว้พระ บนบานศาลกล่าว ขอให้เขาหาย ตอนลูกหลับก็เอาหูฟังเสียงดังๆ เปิดใส่ เผื่อจะกระตุ้นให้เขาได้ยิน เป็นความหวังลมๆ แล้งๆ เวลาผ่านไปเริ่มตกตะกอนว่าเป็นไปไม่ได้" ผมเริ่มซื้อหนังสือเกี่ยวกับคนหูหนวกมาอ่าน ศึกษาบทความต่างๆ ทางเลือกมีทั้งการฝึกใช้ภาษามือ แต่คนอื่นสื่อสารด้วยยาก สังคมก็จะแคบ หรือใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเหมาะกับคนที่มีการได้ยินเหลืออยู่บ้าง หรือวิธีอ่านปาก ซึ่งก็ต้องใช้พร้อมเครื่องช่วยฟัง แต่ลูกของผมหูหนวกสนิทเลย อีกทางคือ การผ่าตัดประสาทหูเทียม สิบกว่าปีที่แล้วเมืองไทยมีอยู่บ้าง แต่เด็กที่ผ่ามักไม่ประสบความสำเร็จ คือพูดไม่ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าทำสำเร็จ เขาจะสื่อสารกับคนทั่วไปได้เลยผมเลยเลือกทางนี้ ประเทศที่ผ่าตัดได้เยอะคือ ออสเตรเลีย ผมติดต่อไปหาหมอคนหนึ่ง เขาผ่ามานับพันคน บินไปคุยอยู่สองครั้ง แล้วถึงพาลูกไปตรวจ พอรู้ผลว่าผ่าได้ ตอนนั้นผมเป็นอาจารย์ เลยสอบเอาทุนจากรัฐบาลออสเตรเลียไปทำวิจัย แล้วพาลูกไปผ่าเมื่อเดือนธันวาคม2002ใช้เวลาแค่2ชั่วโมง แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือเราต้องฝึกให้เขาเข้าใจเครื่องนี้ ปกติประสาทหูชั้นในมีลักษณะเป็นก้นหอย มีขนๆ อยู่ พอได้ยินเสียง ขนก็สั่น แล้วเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นสมอง แต่ลูกของผมไม่มี เลยใส่ขดลวดไฟฟ้าไปแทน เวลาพูดจะเหมือนที่เราพูดกัน แต่เขาจะได้ยินอีกแบบ สมมุติคำว่า พ่อ เขาก็จะได้ยินเป็น ตื๊ด ตื๊ด ตื๊ด “หลังจากผ่าตัด ช่วงแรกเขาไม่พูดเลย เราก็เครียด ไม่รู้ว่ามาถูกทางหรือเปล่า ถ้าผิดก็ไม่รู้จะกลับไปยังไง การผ่าก็ไปทำลายของเดิมทั้งหมด ตอนนั้นพ่อแม่ต้องฝึกอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมง เพื่อกลับมาฝึกลูก 24 ชั่วโมงที่บ้าน หลังหกเดือนเขาก็เริ่มพูดได้ เครื่องมีความละเอียดไม่เท่าหูคน ผมเลยเลือกฝึกภาษาอังกฤษเพราะวรรณยุกต์ไม่เยอะ อีกอย่างความรู้บนโลกนี้ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ถ้าเขาพูดได้ อนาคตคงเรียนภาษาไทยได้ หลังจากนั้นเขากลับมาอยู่โรงเรียนอินเตอร์ พูดอังกฤษได้พูดไทยได้นิดหน่อยเป็นเด็กหูหนวกหนึ่งในไม่กี่คนที่เรียนโรงเรียนคนปกติได้ “การมีลูกเป็นคนพิเศษ ทำให้ผมโฟกัสขึ้น ชีวิตเรามุ่งกับเขาเป็นหลัก ผมต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เพื่อที่จะอยู่กับเขาให้นานที่สุด เราอยู่เพื่อเขา ตอนนี้ลูกผมอายุ 15 เขาเข้าใจ รับได้ คุยกับเพื่อนได้ ด่ากันได้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ เวลาไหว้พระ ผมไม่เคยขอให้เขาเป็นเด็กเรียนเก่งเลย ผมขอให้เขาเข้าสังคมได้ มีเพื่อนที่ดี ชีวิตมีความสุข ผมพอแล้ว” ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1440384003

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...