ฆาตกรฆ่าหมู่19ศพในญี่ปุ่นอ้างอยากช่วยผู้พิการซ้ำซ้อน

แสดงความคิดเห็น

เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมนาย ซาโตชิ อุเอะมัตสึหนุ่มวัย 26 ปี มือมีด 19 ศพ

เผยมือมีดญี่ปุ่นมุ่งเป้า"ผู้พิการซ้ำซ้อน” อ้างอยากช่วยคนเหล่านั้น และไม่รู้สึกผิด ผู้เชี่ยวชาญชี้ยากหามูลเหตุจูงใจ ความคืบหน้าสอบสวนเหตุสะเทือนขวัญที่อดีตเจ้าหน้าที่ศูนย์ดูแลคนพิการสึคุอิ ยามะยูริ เอน ในเมืองซากะมิฮาระ จ.คานางาวะ ใกล้กรุงโตเกียว บุกเข้าไปใช้มีดแทงเหยื่ออย่างบ้าระห่ำจนมีผู้เสียชีวิต 19 คน บาดเจ็บอีก 26 คน เมื่อเช้ามืดวานนี้ แหล่งข่าวสอบสวนเปิดเผยว่า นายซาโตชิ อุเอะมัตสึ ผู้ต้องสงสัยวัย 26 ปีที่เข้ามอบตัวเองหลังก่อเหตุ พุ่งเป้าสังหารผู้พิการซ้ำซ้อน แต่บอกว่าเพราะอยากช่วยพวกเขาเหล่านั้น และไม่มีความรู้สึกผิดในสิ่งที่ทำลงไป ตำรวจเชื่อว่านายอุเอะมัตสึ มีเจตนาฆาตกรรมชัดเจน และเปิดฉากลงมือขณะเหยื่อกำลังนอนหลับ ก่อนหน้านี้ มือมีดบอกตำรวจด้วยว่า คงจะดีถ้าไม่มีคนพิการ และไม่ต้องสงสัยว่าเขาทำจริง เขาแทงพวกที่สื่อสารไม่ได้

แพทย์กล่าวว่า เหยื่อส่วนใหญ่ถูกแทงที่คอ บางแผลลึกถึง 10 ซม. มือมีด 19 ศพศูนย์ดูแลคนพิการญี่ปุ่น เป็นใคร ? ผู้เสียชีวิต 19 คนอายุระหว่าง 19-70 ปี เป็นชาย 9 คน สตรี 10 คน ทุกคนเป็นผู้พิการซ้ำซ้อน ส่วนผู้บาดเจ็บ 26 คน มีสามคนอาการสาหัส และตำรวจไม่เปิดเผยรายชื่อตามความประสงค์ของญาติ

ด้านผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นว่า การหามูลเหตุจูงใจที่แท้จริงของฆาตกร ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก นายเคนจิ โอมาตะ ศาสตราจารย์ด้านอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัย ซูรุกะดาอิ แสดงความเห็นว่า คนส่วนใหญ่คุมอารมณ์โกรธตัวเองได้เพราะรู้ว่าอาจถูกจับกุมหรืออาจไปทำร้ายคนอื่น ต่อให้ผิดหวังขนาดไหนก็ตาม แต่ที่สุดแล้ว ก็จะรับมือด้วยเหตุและผลมากกว่า

แต่อุเอะมัตสึ อาจมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์โกรธ และอาจมีเรื่องอะไรบางอย่างเกิดขึ้นกับเขาเมื่อไม่นานมานี้ที่เป็นชนวนให้ลงมือ เช่น อาจเป็นเรื่องที่ฆาตกรเคยไปพยายามยื่นจดหมายที่หน้าบ้านพักประจำตำแหน่งของประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกรุงโตเกียว เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเสนอให้สภาผ่านกฎหมายเปิดทางให้การุญฆาตคนพิการ พอจดหมายถูกปฏิเสธ ก็อาจลงมือฆ่าเพื่อทำให้ตัวเขาเองและข้อเสนอของเขา ได้รับความสนใจ

นอกจากนี้แล้ว จำเป็นต้องไปสำรวจความสัมพันธ์ด้านต่างๆของเขาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัว เพื่อจะสามารถชี้ชัดได้ว่าเหตุใดจึงทำลงไป สถิติสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น พบว่า จำนวนอาชญากรรมรุนแรงที่รวมถึงฆาตกรรม ลดลงเรื่อยๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จาก 7,625 คดีในปี 2553 เหลือ 6,453 ในปี 2557 แต่เหตุฆาตกรรมส่วนมาก มักเป็นฝีมือของพวกอยู่คนเดียว มีปัญหาในการเข้าสังคม

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/foreign/235402 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.59
วันที่โพสต์: 28/07/2559 เวลา 11:20:47 ดูภาพสไลด์โชว์ ฆาตกรฆ่าหมู่19ศพในญี่ปุ่นอ้างอยากช่วยผู้พิการซ้ำซ้อน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมนาย ซาโตชิ อุเอะมัตสึหนุ่มวัย 26 ปี มือมีด 19 ศพ เผยมือมีดญี่ปุ่นมุ่งเป้า"ผู้พิการซ้ำซ้อน” อ้างอยากช่วยคนเหล่านั้น และไม่รู้สึกผิด ผู้เชี่ยวชาญชี้ยากหามูลเหตุจูงใจ ความคืบหน้าสอบสวนเหตุสะเทือนขวัญที่อดีตเจ้าหน้าที่ศูนย์ดูแลคนพิการสึคุอิ ยามะยูริ เอน ในเมืองซากะมิฮาระ จ.คานางาวะ ใกล้กรุงโตเกียว บุกเข้าไปใช้มีดแทงเหยื่ออย่างบ้าระห่ำจนมีผู้เสียชีวิต 19 คน บาดเจ็บอีก 26 คน เมื่อเช้ามืดวานนี้ แหล่งข่าวสอบสวนเปิดเผยว่า นายซาโตชิ อุเอะมัตสึ ผู้ต้องสงสัยวัย 26 ปีที่เข้ามอบตัวเองหลังก่อเหตุ พุ่งเป้าสังหารผู้พิการซ้ำซ้อน แต่บอกว่าเพราะอยากช่วยพวกเขาเหล่านั้น และไม่มีความรู้สึกผิดในสิ่งที่ทำลงไป ตำรวจเชื่อว่านายอุเอะมัตสึ มีเจตนาฆาตกรรมชัดเจน และเปิดฉากลงมือขณะเหยื่อกำลังนอนหลับ ก่อนหน้านี้ มือมีดบอกตำรวจด้วยว่า คงจะดีถ้าไม่มีคนพิการ และไม่ต้องสงสัยว่าเขาทำจริง เขาแทงพวกที่สื่อสารไม่ได้ แพทย์กล่าวว่า เหยื่อส่วนใหญ่ถูกแทงที่คอ บางแผลลึกถึง 10 ซม. มือมีด 19 ศพศูนย์ดูแลคนพิการญี่ปุ่น เป็นใคร ? ผู้เสียชีวิต 19 คนอายุระหว่าง 19-70 ปี เป็นชาย 9 คน สตรี 10 คน ทุกคนเป็นผู้พิการซ้ำซ้อน ส่วนผู้บาดเจ็บ 26 คน มีสามคนอาการสาหัส และตำรวจไม่เปิดเผยรายชื่อตามความประสงค์ของญาติ ด้านผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นว่า การหามูลเหตุจูงใจที่แท้จริงของฆาตกร ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก นายเคนจิ โอมาตะ ศาสตราจารย์ด้านอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัย ซูรุกะดาอิ แสดงความเห็นว่า คนส่วนใหญ่คุมอารมณ์โกรธตัวเองได้เพราะรู้ว่าอาจถูกจับกุมหรืออาจไปทำร้ายคนอื่น ต่อให้ผิดหวังขนาดไหนก็ตาม แต่ที่สุดแล้ว ก็จะรับมือด้วยเหตุและผลมากกว่า แต่อุเอะมัตสึ อาจมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์โกรธ และอาจมีเรื่องอะไรบางอย่างเกิดขึ้นกับเขาเมื่อไม่นานมานี้ที่เป็นชนวนให้ลงมือ เช่น อาจเป็นเรื่องที่ฆาตกรเคยไปพยายามยื่นจดหมายที่หน้าบ้านพักประจำตำแหน่งของประธานสภาผู้แทนราษฎร ในกรุงโตเกียว เมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเสนอให้สภาผ่านกฎหมายเปิดทางให้การุญฆาตคนพิการ พอจดหมายถูกปฏิเสธ ก็อาจลงมือฆ่าเพื่อทำให้ตัวเขาเองและข้อเสนอของเขา ได้รับความสนใจ นอกจากนี้แล้ว จำเป็นต้องไปสำรวจความสัมพันธ์ด้านต่างๆของเขาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัว เพื่อจะสามารถชี้ชัดได้ว่าเหตุใดจึงทำลงไป สถิติสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น พบว่า จำนวนอาชญากรรมรุนแรงที่รวมถึงฆาตกรรม ลดลงเรื่อยๆในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จาก 7,625 คดีในปี 2553 เหลือ 6,453 ในปี 2557 แต่เหตุฆาตกรรมส่วนมาก มักเป็นฝีมือของพวกอยู่คนเดียว มีปัญหาในการเข้าสังคม ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/foreign/235402

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...