มาด้วยใจภักดิ์ ไม่เคยย่อท้อ
ผู้พิการใจมุ่งมั่นเดินทางเข้ากราบสักการะพระบรมศพฯ - หมอแคนศรีสะเกษ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ เป่าเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายความอาลัย
สำหรับบรรยากาศภายใน และรอบพระบรมมหาราชวัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้ามากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่เวลา 05.00 น.มีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศแต่งกายด้วยชุดสีดำไว้ทุกข์มารอต่อแถวเข้ากราบสักการะพระบรมศพ เบื้องหน้าพระบรมโกศกันอย่างเป็นระเบียบตั้งแต่เช้าตรู่ ส่วนในช่วงสายแม้ว่าอากาศจะค่อนข้างร้อนอบอ้าวแต่ไม่มีทีท่าว่าประชาชนจะย่อท้อต่อการรอคอย
นายอุดมโชค ชูรัตน์อายุ 59 ปี อัมพาตครึ่งตัว ครูโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่พัทยา ร่วมเดินทางมากับคนพิการจากมูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อการพัฒนาคนพิการ จ.ชลบุรี กล่าวว่า วันนี้มากันประมาณ 35 คน โดยออกเดินทางจาก จ.ชลบุรี เวลา 03.00 น. และมาถึงสนามหลวงเวลา 05.00 น. พวกเราทุกคนต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีน้ำพระทัยช่วยเหลือทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะคนพิการ ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า งานช่วยเหลือคนพิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็นผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเอง เราต้องช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งที่ผ่านมาตัวเองก็ใช้ความรู้และความสามารถที่ตนมีไปช่วยเหลือคนอื่นตามพระราชดำรัสของพระองค์
"ผมติดตามข่าวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่างๆ เคยคิดน้อยใจว่า เราอยู่ภาคกลางก็อยากจะได้เฝ้ารับเสด็จฯ บ่อยๆ บ้าง แต่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือตามถิ่นทุรกันดารบ่อยมาก พอมาคิดอีกทีก็เข้าใจว่ายังมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าเราอยู่อีกจำนวนมาก พระองค์ทรงงานหนักเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ผมดีใจมากที่ได้มาสักการะพระบรมศพ แม้จะรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ขึ้นไปสักการะพระบรมศพบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่อย่างน้อยก็ได้รับการอำนวยความสะดวกให้เข้าไปกราบสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ด้านล่างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผมได้อธิษฐานขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย จากนี้จะทำตามที่พระองค์ได้พระราชทานคำสอนไว้ ซึ่งผมเป็นครูก็จะทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด" นายอุดมโชคกล่าว
ด้าน นายรถชัย กองปัด อายุ 28 ปี ชาว อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ สวมชุดส่วยซึ่งเป็นชุดพื้นบ้าน ยืนเป่าแคนสีดำยาวข้างหนึ่งประดับธงชาติไทย อีกข้างประดับธงตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร เป่าเพลงสรรเสริญพระบารมี ท่ามกลางสายตาจับจ้องชื่นชม จากมวลพสกนิกรที่เพิ่ง้สร็จจากกาเข้ากราบถวายสักการะพระบรมศพ
"ผมมีอาชีพทำไร่ทำนา และอาชีพเสริมเป็นหมอแคน คอยเป่าให้กับคนในหมู่บ้านหายป่วย ทั้งนี้ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ ซึ่งย้อนหลังไปปี 2552 ผมป่วยไม่ทราบสาเหตุ ไปรักษาที่ไหนก็ไม่หาย ตอนนั้นร่างกายผอม เหลือง น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ รู้สึกเหมือนตนเองกำลังจะตายในอีกไม่นาน จึงคิดขอพึ่งบารมีพระองค์เขียนฎีกาส่งขึ้นไปถวาย ขอให้พระองค์ส่งแพทย์มารักษาอาการป่วยดังกล่าว แต่ตอนนั้นลึกๆ ในใจไม่ได้หวังว่าจะทรงตอบจดหมายหรือไม่ ปรากฏว่า 1 เดือนให้หลังมีจดหมายมาว่าพระองค์จะส่งแพทย์มารักษา และได้รับติดต่อประสานส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดศรีสะเกษเรื่อยมา จนปัจจุบันแม้ยังไม่หายขาด แต่อาการก็ทุเลาลงไปมาก ดีขึ้นจนทำให้สามารถเดินเท้าจาก จ.ศรีสะเกษตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม มาถึงสนามหลวงวันที่ 8 พฤศจิกายน รวมใช้เวลา 15 วันและมีโอกาสได้เข้าไปกราบถวายสักการะพระบรมศพเมื่อวันก่อน แต่ไม่ได้มาเป่าแคน วันนี้จึงกลับมาเป่าแคนถวายตามที่ตั้งใจไว้ วันที่ได้รับจดหมายกลับมานั้น รู้สึกดีใจมาก ดีใจที่จะได้มีชีวิตต่อ วันนี้จึงต้องมาเป่าแคน โดยฝึกซ้อมเป่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นภายใน 3-4 วัน อย่างไรก็ดี จากนี้จะเดินรอยตามพระองค์ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การทำไร่นาสวนผสม" หมอแคนเล่าเหตุการ์ให้ฟังด้วยความรู้สึกตื้นตันใจ
จากนั้นนายรถชัยพาแม่และน้องชายเดินเลาะกำแพงไปด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง บริเวณกำแพงด้านข้างประตูมณีนพรัตน์ เพื่อเป่าแคนเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกครั้ง ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่มากราบถวายสักการะพระบรมศพ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่างเข้ามาขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกด้วความชื่นชม ในช่วงบ่าย เมื่อเวลา 14.00 น. ผู้พิการทางสายตาจำนวน 300 คนและจิตอาสา 100 คนจากสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเบื้องหน้าพระบรมโกศ
นายรัชตะ มงคลอุปนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดฯ กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อผู้พิการทางสายตา ด้วยความซาบซึ้งว่า โรงเรียนสอนคนตาบอดฯ ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเห็นคุณค่าของผู้พิการทางสายตา สามารถมีศักยภาพในการเรียนหนังสือ มิใช่เพียงอยู่บ้านเฉยๆ เพราะเมื่อพวกเขาเหล่านั้นสำเร็จการศึกษาก็จะสามารถดูแลตัวเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงมีพระราชดำริให้จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สร้างโรงเรียนคนตาบอดในกรุงเทพฯ ขึ้น
“สมัยก่อนพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เสด็จฯไปที่โรงเรียนบ่อยมากเพื่อไปทรงเยี่ยมเยียนนักเรียนผู้พิการทางสายตา หลายครั้งที่พระองค์โปรดที่จะเล่นกับเด็กๆ โดยทรงส่งสัญญาณมายังอาจารย์ที่สายตาปกติว่าไม่ให้บอกว่าพระองค์คือใคร จากนั้นก็จะทรงใช้พระนามย่อว่า ”พล“เล่นกับเด็กๆ แทน อีกทั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์ทรงสอนวิชาดนตรีให้แก่ผู้พิการทางสายตาด้วยนอกจากนี้พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้พิการทางสายตาเรื่อยมาทุกปีจะทรงมีพระราชทานเลี้ยงอาจารย์และนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่พระราชวังพญาไท พร้อมทรงแซกโซโฟนพระราชทานแก่ทุกคน ที่สำคัญทรงมีพระราชประสงค์อยากให้ผู้พิการทางสายตาทุกคนลุกขึ้นมาต่อสู้กับชีวิตไม่ท้อถอยกับโชคชะตา จึงทรงพระราชนิพนธ์บทเพลง “ยิ้มสู้” ขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้พิการทุกคนมีกำลังใจในชีวิตต่อไป"
นายรัชตะ กล่าวต่อว่า วันนี้ก็ถือเป็นอีกครั้งที่ผู้พิการทางสายตาทุกคนที่เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จะมาแสดงความกตัญญูแลร่วมถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเป็นครั้งสุดท้ายในฐานะลูกที่ดีของพ่อ จากนี้ต่อไปถึงแม้จะไม่มีพ่ออยู่แล้ว แต่พวกเราทุกคนจะน้อมนำหลักคำสอนและพระราชจรินวัตรของพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตต่อไป
“ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าพระองค์ท่านจะมีอาการพระประชวรมากเพียงใดก็ตาม แต่ก็มิเคยหยุดการทรงงานเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนเลย ดังนั้นพวกเราทุกคนร่างกายไม่ได้ป่วยไข้เพียงแค่มีความบกพร่องทางสายตาเท่านั้น เราจะมุ่งมั่นทำสิ่งที่ดีเพื่อตอบแทนสังคมเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับเพียงฝ่ายเดียว ต้องเป็นผู้ให้ที่ดีด้วย”นายรัชตะกล่าวด้วยน้ำเสียงมุ่งมั่น
น.ส.พรรณี สงคราม อายุ 70 ปี หนึ่งในคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้มาถวายสักการะพระบรมศพ เพราะซาบซึ้งที่ในหลวง รัชกาล 9 เคยเสด็จฯไปทรงเปิดอาคารเรียนใหม่ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดงานเลี้ยงปีใหม่ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานให้นักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ และทรงดนตรีให้ฟัง และทรงให้พระราชโอรสและพระราชธิดาแจกอาหารให้กับผู้พิการทางสายตาอย่างไม่ถือพระองค์ สร้างความปลื้มปีติเป็นอย่างมาก ที่ขนาดพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็ทรงเป็นห่วงและรักพวกเราไม่ต่างจากประชาชนคนอื่น ๆ เป็นแรงบันดาลใจให้รู้จักช่วยตัวเอง มีมานะ ต้องให้กำลังใจตัวเองและต้องเป็นคนดีของสังคม
ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/news/women/249592 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คณะคนพิการทาวสายตามากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้พิการใจมุ่งมั่นเดินทางเข้ากราบสักการะพระบรมศพฯ - หมอแคนศรีสะเกษ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ เป่าเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายความอาลัย สำหรับบรรยากาศภายใน และรอบพระบรมมหาราชวัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้ามากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่เวลา 05.00 น.มีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศแต่งกายด้วยชุดสีดำไว้ทุกข์มารอต่อแถวเข้ากราบสักการะพระบรมศพ เบื้องหน้าพระบรมโกศกันอย่างเป็นระเบียบตั้งแต่เช้าตรู่ ส่วนในช่วงสายแม้ว่าอากาศจะค่อนข้างร้อนอบอ้าวแต่ไม่มีทีท่าว่าประชาชนจะย่อท้อต่อการรอคอย นายอุดมโชค ชูรัตน์อายุ 59 ปี อัมพาตครึ่งตัว ครูโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่พัทยา มากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นายอุดมโชค ชูรัตน์อายุ 59 ปี อัมพาตครึ่งตัว ครูโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่พัทยา ร่วมเดินทางมากับคนพิการจากมูลนิธิพระมหาไถ่ เพื่อการพัฒนาคนพิการ จ.ชลบุรี กล่าวว่า วันนี้มากันประมาณ 35 คน โดยออกเดินทางจาก จ.ชลบุรี เวลา 03.00 น. และมาถึงสนามหลวงเวลา 05.00 น. พวกเราทุกคนต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีน้ำพระทัยช่วยเหลือทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะคนพิการ ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า งานช่วยเหลือคนพิการมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้พิการไม่ได้อยากจะเป็นผู้พิการ และอยากช่วยเหลือตนเอง เราต้องช่วยเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งที่ผ่านมาตัวเองก็ใช้ความรู้และความสามารถที่ตนมีไปช่วยเหลือคนอื่นตามพระราชดำรัสของพระองค์ "ผมติดตามข่าวที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามสถานที่ต่างๆ เคยคิดน้อยใจว่า เราอยู่ภาคกลางก็อยากจะได้เฝ้ารับเสด็จฯ บ่อยๆ บ้าง แต่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือตามถิ่นทุรกันดารบ่อยมาก พอมาคิดอีกทีก็เข้าใจว่ายังมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าเราอยู่อีกจำนวนมาก พระองค์ทรงงานหนักเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ผมดีใจมากที่ได้มาสักการะพระบรมศพ แม้จะรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้ขึ้นไปสักการะพระบรมศพบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่อย่างน้อยก็ได้รับการอำนวยความสะดวกให้เข้าไปกราบสักการะพระบรมฉายาลักษณ์ด้านล่างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ผมได้อธิษฐานขอให้พระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย จากนี้จะทำตามที่พระองค์ได้พระราชทานคำสอนไว้ ซึ่งผมเป็นครูก็จะทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด" นายอุดมโชคกล่าว ด้าน นายรถชัย กองปัด อายุ 28 ปี ชาว อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ สวมชุดส่วยซึ่งเป็นชุดพื้นบ้าน ยืนเป่าแคนสีดำยาวข้างหนึ่งประดับธงชาติไทย อีกข้างประดับธงตราสัญลักษณ์พระปรมาภิไธยย่อ ภปร เป่าเพลงสรรเสริญพระบารมี ท่ามกลางสายตาจับจ้องชื่นชม จากมวลพสกนิกรที่เพิ่ง้สร็จจากกาเข้ากราบถวายสักการะพระบรมศพ "ผมมีอาชีพทำไร่ทำนา และอาชีพเสริมเป็นหมอแคน คอยเป่าให้กับคนในหมู่บ้านหายป่วย ทั้งนี้ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระองค์ ซึ่งย้อนหลังไปปี 2552 ผมป่วยไม่ทราบสาเหตุ ไปรักษาที่ไหนก็ไม่หาย ตอนนั้นร่างกายผอม เหลือง น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ รู้สึกเหมือนตนเองกำลังจะตายในอีกไม่นาน จึงคิดขอพึ่งบารมีพระองค์เขียนฎีกาส่งขึ้นไปถวาย ขอให้พระองค์ส่งแพทย์มารักษาอาการป่วยดังกล่าว แต่ตอนนั้นลึกๆ ในใจไม่ได้หวังว่าจะทรงตอบจดหมายหรือไม่ ปรากฏว่า 1 เดือนให้หลังมีจดหมายมาว่าพระองค์จะส่งแพทย์มารักษา และได้รับติดต่อประสานส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดศรีสะเกษเรื่อยมา จนปัจจุบันแม้ยังไม่หายขาด แต่อาการก็ทุเลาลงไปมาก ดีขึ้นจนทำให้สามารถเดินเท้าจาก จ.ศรีสะเกษตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม มาถึงสนามหลวงวันที่ 8 พฤศจิกายน รวมใช้เวลา 15 วันและมีโอกาสได้เข้าไปกราบถวายสักการะพระบรมศพเมื่อวันก่อน แต่ไม่ได้มาเป่าแคน วันนี้จึงกลับมาเป่าแคนถวายตามที่ตั้งใจไว้ วันที่ได้รับจดหมายกลับมานั้น รู้สึกดีใจมาก ดีใจที่จะได้มีชีวิตต่อ วันนี้จึงต้องมาเป่าแคน โดยฝึกซ้อมเป่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นภายใน 3-4 วัน อย่างไรก็ดี จากนี้จะเดินรอยตามพระองค์ โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การทำไร่นาสวนผสม" หมอแคนเล่าเหตุการ์ให้ฟังด้วยความรู้สึกตื้นตันใจ จากนั้นนายรถชัยพาแม่และน้องชายเดินเลาะกำแพงไปด้านหน้าพระบรมมหาราชวัง บริเวณกำแพงด้านข้างประตูมณีนพรัตน์ เพื่อเป่าแคนเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกครั้ง ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่มากราบถวายสักการะพระบรมศพ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต่างเข้ามาขอถ่ายรูปเป็นที่ระลึกด้วความชื่นชม ในช่วงบ่าย เมื่อเวลา 14.00 น. ผู้พิการทางสายตาจำนวน 300 คนและจิตอาสา 100 คนจากสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เข้าถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเบื้องหน้าพระบรมโกศ นายรัชตะ มงคลอุปนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดฯ กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงมีต่อผู้พิการทางสายตา ด้วยความซาบซึ้งว่า โรงเรียนสอนคนตาบอดฯ ถือกำเนิดขึ้นมาด้วยแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงเห็นคุณค่าของผู้พิการทางสายตา สามารถมีศักยภาพในการเรียนหนังสือ มิใช่เพียงอยู่บ้านเฉยๆ เพราะเมื่อพวกเขาเหล่านั้นสำเร็จการศึกษาก็จะสามารถดูแลตัวเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงมีพระราชดำริให้จอมพลป.พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สร้างโรงเรียนคนตาบอดในกรุงเทพฯ ขึ้น “สมัยก่อนพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เสด็จฯไปที่โรงเรียนบ่อยมากเพื่อไปทรงเยี่ยมเยียนนักเรียนผู้พิการทางสายตา หลายครั้งที่พระองค์โปรดที่จะเล่นกับเด็กๆ โดยทรงส่งสัญญาณมายังอาจารย์ที่สายตาปกติว่าไม่ให้บอกว่าพระองค์คือใคร จากนั้นก็จะทรงใช้พระนามย่อว่า ”พล“เล่นกับเด็กๆ แทน อีกทั้งยังทรงเป็นพระอาจารย์ทรงสอนวิชาดนตรีให้แก่ผู้พิการทางสายตาด้วยนอกจากนี้พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อผู้พิการทางสายตาเรื่อยมาทุกปีจะทรงมีพระราชทานเลี้ยงอาจารย์และนักเรียนผู้พิการทางสายตาที่พระราชวังพญาไท พร้อมทรงแซกโซโฟนพระราชทานแก่ทุกคน ที่สำคัญทรงมีพระราชประสงค์อยากให้ผู้พิการทางสายตาทุกคนลุกขึ้นมาต่อสู้กับชีวิตไม่ท้อถอยกับโชคชะตา จึงทรงพระราชนิพนธ์บทเพลง “ยิ้มสู้” ขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้พิการทุกคนมีกำลังใจในชีวิตต่อไป" นายรัชตะ กล่าวต่อว่า วันนี้ก็ถือเป็นอีกครั้งที่ผู้พิการทางสายตาทุกคนที่เคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จะมาแสดงความกตัญญูแลร่วมถวายอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเป็นครั้งสุดท้ายในฐานะลูกที่ดีของพ่อ จากนี้ต่อไปถึงแม้จะไม่มีพ่ออยู่แล้ว แต่พวกเราทุกคนจะน้อมนำหลักคำสอนและพระราชจรินวัตรของพระองค์ท่านมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตต่อไป น.ส.พรรณี สงคราม อายุ 70 ปี หนึ่งในคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ มากราบสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าพระองค์ท่านจะมีอาการพระประชวรมากเพียงใดก็ตาม แต่ก็มิเคยหยุดการทรงงานเพื่อประโยชน์และความสุขของประชาชนเลย ดังนั้นพวกเราทุกคนร่างกายไม่ได้ป่วยไข้เพียงแค่มีความบกพร่องทางสายตาเท่านั้น เราจะมุ่งมั่นทำสิ่งที่ดีเพื่อตอบแทนสังคมเท่าที่จะทำได้ ไม่ใช่ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับเพียงฝ่ายเดียว ต้องเป็นผู้ให้ที่ดีด้วย”นายรัชตะกล่าวด้วยน้ำเสียงมุ่งมั่น น.ส.พรรณี สงคราม อายุ 70 ปี หนึ่งในคณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้มาถวายสักการะพระบรมศพ เพราะซาบซึ้งที่ในหลวง รัชกาล 9 เคยเสด็จฯไปทรงเปิดอาคารเรียนใหม่ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดงานเลี้ยงปีใหม่ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานให้นักเรียนโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ และทรงดนตรีให้ฟัง และทรงให้พระราชโอรสและพระราชธิดาแจกอาหารให้กับผู้พิการทางสายตาอย่างไม่ถือพระองค์ สร้างความปลื้มปีติเป็นอย่างมาก ที่ขนาดพระองค์ท่านทรงเป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็ทรงเป็นห่วงและรักพวกเราไม่ต่างจากประชาชนคนอื่น ๆ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)