ตำราเรียนในอินเดียบอกหญิงไม่สวย-พิการต้องจ่ายสินสอดแพง
อาจารย์ในรัฐมหาราษฏระ ตัดสินใจไม่สอนเนื้อหาในหนังสือที่ระบุว่า หญิงไม่สวยหรือพิการต้องจ่ายสินสอดแพง สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวโซเชียลไม่น้อย
เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตำราเรียนเล่มหนึ่งในรัฐมหาราษฏระ ของประเทศอินเดีย ระบุว่า หากเด็กหญิงไม่สวยหรือพิการอาจแต่งงานยาก การต้องแต่งงานกับหญิงแบบนี้ ฝ่ายเจ้าบ่าวและครอบครัวจึงต้องเรียกเงินสินสอดแพงขึ้น ภาพจากตำราเรียนเล่มดังกล่าวถูกทวีตโดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @DeathEndsFun
ด้านเว็บไซต์ Times of India รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (4 ก.พ.) ว่าอาจารย์ในเมืองปูเน่ รัฐมหาราษฏระ ปฏิเสธที่จะสอนเนื้อหาจากบทที่เกี่ยวกับค่าสินสอดในหนังสือเล่มดังกล่าว โดยที่ครูหลายคนระบุ คำว่า "น่าเกลียด" และ "พิการ" ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่สบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้พิการให้ความรู้สึกเหมือนถูกดูแคลน และก็ไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวไปร้องเรียนกับคณะกรรมการด้านการศึกษาของรัฐมหาราษฏระ เนื่องจากคิดว่าเป็นไปได้ยากที่จะแก้ไข้ข้อความให้ถูกต้องในหนังสือที่ถูกตีพิมพ์ออกไปแล้วหลายหมื่นเล่ม
ส่วนรัฐมนตรีคนหนึ่งกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า เนื้อหาผิดๆ แบบนี้ถูกถอดออกไปแต่หลายคนมองว่าการลอบข้อความก็ไม่อาจลบทัศนคดีที่คงอยู่ในสังคมอินเดียได้ ประเทศอินเดียมีธรรมเนียมที่พ่อแม่เจ้าสาวต้องมอบสินสอด ทั้งเงินสด, เสื้อผ้า และเครื่องประดับให้กับครอบครัวเจ้าบ่าวมานานหลายร้อยปีแล้ว จนกระทั่งมีกฎหมายห้ามเรียกสินสอด เมื่อปี 2504 แต่ความจริงธรรมเนียมดังกล่าวยังมีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้มีนักเคลื่อนไหวหลายคนมองว่า การต้องจ่ายสินสอดให้ฝ่ายชายทำให้ผู้หญิงหลายคนตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวและเสียชีวิตในที่สุด
อย่างไรก็ตาม นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาในตำราเรียน เมื่อปีที่ผ่านมา (59) ครูในรัฐฉัตตีสครห์ ออกมาโจมตีเนื้อหาในหนังสือเรียนที่ใช้เนื้อหาเดิมมากว่า 15 ปี ที่บอกว่า อัตราว่างงานในอินเดียสูงขึ้นนับตั้งแต่ได้รับเอกราช เพราะผู้หญิงเริ่มทำงานในหลากหลายสาขา ในปี 2549 ตำราเรียนเล่มหนึ่งในรัฐราชสถาน ที่ใช้มานาน 14 ปี ก็เปรียบเทียบแม่บ้านว่าเหมือนลา
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงสาวอินเดีย อาจารย์ในรัฐมหาราษฏระ ตัดสินใจไม่สอนเนื้อหาในหนังสือที่ระบุว่า หญิงไม่สวยหรือพิการต้องจ่ายสินสอดแพง สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวโซเชียลไม่น้อย เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตำราเรียนเล่มหนึ่งในรัฐมหาราษฏระ ของประเทศอินเดีย ระบุว่า หากเด็กหญิงไม่สวยหรือพิการอาจแต่งงานยาก การต้องแต่งงานกับหญิงแบบนี้ ฝ่ายเจ้าบ่าวและครอบครัวจึงต้องเรียกเงินสินสอดแพงขึ้น ภาพจากตำราเรียนเล่มดังกล่าวถูกทวีตโดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ @DeathEndsFun ด้านเว็บไซต์ Times of India รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (4 ก.พ.) ว่าอาจารย์ในเมืองปูเน่ รัฐมหาราษฏระ ปฏิเสธที่จะสอนเนื้อหาจากบทที่เกี่ยวกับค่าสินสอดในหนังสือเล่มดังกล่าว โดยที่ครูหลายคนระบุ คำว่า "น่าเกลียด" และ "พิการ" ทำให้เด็กนักเรียนเกิดความไม่สบายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้พิการให้ความรู้สึกเหมือนถูกดูแคลน และก็ไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวไปร้องเรียนกับคณะกรรมการด้านการศึกษาของรัฐมหาราษฏระ เนื่องจากคิดว่าเป็นไปได้ยากที่จะแก้ไข้ข้อความให้ถูกต้องในหนังสือที่ถูกตีพิมพ์ออกไปแล้วหลายหมื่นเล่ม ส่วนรัฐมนตรีคนหนึ่งกล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่า เนื้อหาผิดๆ แบบนี้ถูกถอดออกไปแต่หลายคนมองว่าการลอบข้อความก็ไม่อาจลบทัศนคดีที่คงอยู่ในสังคมอินเดียได้ ประเทศอินเดียมีธรรมเนียมที่พ่อแม่เจ้าสาวต้องมอบสินสอด ทั้งเงินสด, เสื้อผ้า และเครื่องประดับให้กับครอบครัวเจ้าบ่าวมานานหลายร้อยปีแล้ว จนกระทั่งมีกฎหมายห้ามเรียกสินสอด เมื่อปี 2504 แต่ความจริงธรรมเนียมดังกล่าวยังมีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้มีนักเคลื่อนไหวหลายคนมองว่า การต้องจ่ายสินสอดให้ฝ่ายชายทำให้ผู้หญิงหลายคนตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวและเสียชีวิตในที่สุด อย่างไรก็ตาม นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาในตำราเรียน เมื่อปีที่ผ่านมา (59) ครูในรัฐฉัตตีสครห์ ออกมาโจมตีเนื้อหาในหนังสือเรียนที่ใช้เนื้อหาเดิมมากว่า 15 ปี ที่บอกว่า อัตราว่างงานในอินเดียสูงขึ้นนับตั้งแต่ได้รับเอกราช เพราะผู้หญิงเริ่มทำงานในหลากหลายสาขา ในปี 2549 ตำราเรียนเล่มหนึ่งในรัฐราชสถาน ที่ใช้มานาน 14 ปี ก็เปรียบเทียบแม่บ้านว่าเหมือนลา ขอบคุณ... http://news.voicetv.co.th/world/459048.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)