ชมบ้านหลังคาแดงรำลึก 250 ปี ธนบุรี
บ้านหลังคาแดง ในอดีตผู้คนหวาดผวา แม้คนสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ก็ไม่อยากเกี่ยวข้อง เพราะเข้าใจว่าเป็นสถานที่รักษาคนเสียจริต แต่ความจริงแล้ว “ไม่ใช่อย่างที่คิด คนปกติธรรมดาที่เครียด มีความกังวลมากก็เข้ามาปรึกษาได้ และสถานที่รักษาไม่ใช่มีอยู่ที่สถาบันฯ สมเด็จเจ้าพระยาแห่งเดียว ในภาคต่างๆก็กระจายกันอยู่ทั่วประเทศสามารถนำบัตรทองเข้าไปรับบริการได้”นพ.วีรพลบอก
นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ย้อนอดีตให้ฟังว่า สถาบันฯเดิมอยู่ปากคลองสานชื่อโรงพยาบาลคนเสียจริต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา จนกระทั่งปัจจุบันชื่อสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ช่วงย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันแรกๆ อาคารมุงหลังคาสีแดง ชาวบ้าน จึงเรียกว่า “บ้านหลังคาแดง”บริเวณอันร่มรื่นของบ้านหลังคาแดง เดิมเป็นที่ดินของตระกูล “บุนนาค” ผู้ครอบครองคนสุดท้าย คือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)ปี พ.ศ.2560 นี้ เป็นปี “รำลึกธนบุรี 250 ปี” ผู้นำชุมชนและหน่วยงานเอกชนย่านธนบุรีร่วมกับสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยา จัดงาน รำลึกกรุงธนบุรี และเปิดบ้าน “หลังคาแดง” ไปพร้อมๆกันอาจารย์สุดารา สุจฉายา หนึ่งในผู้นำภาคเอกชนบอกว่า เดิมทีธนบุรีมีความเป็นเมืองมาก่อน เมื่อสยามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังกู้เอกราชพระองค์ทรงสถาปนาธนบุรีเป็นเมืองหลวงเมื่อพ.ศ.2310 ครั้นถึงรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงใหม่ ธนบุรีจึงเปลี่ยนสถานะจากเมืองหลวงไปเป็นเมืองสามัญ เป็นต้นว่าในปี พ.ศ.2514 รวมกับจังหวัดพระนครเรียกว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรีจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกทม.ตั้งแต่พ.ศ.2516เป็นต้นมา
สำหรับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยามีความเป็นมายาวไกลถึง 128 ปี นับเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2432 ทรงจ้างแพทย์ชาวตะวันตกมาเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล และจัดให้มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลแห่งนี้สร้างหลังโรงพยาบาลศิริราชเพียง1ปีเท่านั้น อาคารแต่ละแห่งมีอายุกว่า 100 ปี อยู่ใต้ร่มเงาไม้เขียวขจี บรรยากาศร่มรื่น จัดเป็นพื้นที่สีเขียวผืนใหญ่แห่งหนึ่งของฝั่งธนในปัจจุบัน สถาบันฯใช้อาคารแห่งหนึ่งตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2532หลังเปิดให้บริการมานานแล้วก็บูรณะใหม่ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559 ภายในจัดทำเป็นนิทรรศการขึ้นมาใหม่ นอกจากให้เห็นการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังนำเอาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวธนบุรีเข้าไปด้วย
เรื่องนี้ นพ.วีรพลบอกว่า “กรุงธนบุรีมีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก มีการตัดถนน สร้างโรงไฟฟ้า ภาพชีวิตชาวสวนสมัยเก่าก่อนนับวันจะหาดูได้ยาก เพราะได้เปลี่ยนจากสวนไปเป็นบ้านจัดสรรแล้ว เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรารู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่เห็นว่า มีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างไร เราจึงนำภาพเก่าๆมาจัดนิทรรศการ และจัดทำหนังสือ 2 เล่ม เล่มหนึ่งเพื่อเก็บวิถีชีวิตชาวธนบุรี อีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือภาพธนบุรี” ภาพเหล่านั้น บางภาพเก็บไว้ 30-40 ปี บ้างก็เป็นภาพประจำตระกูล “เราได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งสำหรับคนที่อยากเห็นภาพชีวิตเก่าๆก็มาดูนิทรรศการได้”
อาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อเข้าสถาบันฯจะอยู่ด้านซ้ายมือ เดินเข้าไปไม่เกิน 200 เมตรก็ถึงจุดประสงค์ของการจัดงาน “เปิดบ้านหลังคาแดง” ตลอดปี 2560 นพ.วีรพลบอกว่า รพ.เมื่อก่อนอยู่ปากคลองสาน คนกลัวมาก ใครเดินเข้าออกโรงพยาบาลถือว่าเป็นคนเสียจริต “แต่ภายหลังเราเปิดกว้างมากขึ้น เปิดให้คนเข้ามาสัมผัส จะได้รู้ว่าจริงๆแล้วโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว คนไข้จิตเวชไม่น่ากลัว หลายๆครั้งคนเดินเข้ามาไม่รู้หรอกว่าคนที่เดินสวนนั้นเป็นคนไข้จิตเวชเพราะแท้จริงแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกติได้”
การจัดงานครั้งนี้ “ประการแรก คนภายนอกได้มาเรียนรู้ได้มาสัมผัส เพราะที่นี่ไม่ได้เป็นที่ปกปิดต่อไปอีกแล้ว ประการ ที่สองคือ เมื่อคุณเดินเข้ามาแล้ว เอาเรื่องราวไปถ่ายทอด ไปบอกเล่าว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะจะเห็นว่าโรงพยาบาลของเราเป็นโรงพยาบาลธรรมดา อาจจะมีอะไรเพิ่มขึ้น หรือนอกเหนือจากความเป็นโรงพยาบาลทั่วไปอยู่บ้าง” ประการที่สาม “คนไข้บางกลุ่มมีความเสื่อมถอย ทั้งความคิด และความสามารถอาจจะถดถอยไป คนเหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟู เราจัดงานนี้เพื่อให้เห็นว่า คนไข้ควรได้รับการฟื้นฟู และเราสามารถฝึกให้คนไข้ทำงานเลี้ยงดูตนเองได้เหล่านี้ต้องขอความกรุณาจากสังคมว่าคนไข้ของเราน่ารัก”
สำหรับคนไข้จิตเวชนั้น เฉลี่ยคนไข้ใน 10,000 รายต่อปี คนไข้นอกราว 200,000 ต่อปี และต่อไปอาจจะถึง 300,000 คน ยอดผู้ป่วยด้านจิตเวชนั้น นพ.วีรพลบอกว่า ส่วนใหญ่สาเหตุไม่ได้มาจากการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และสังคม แต่มาจากยาเสพติด “ระบบการดูแลสุขภาพจิต เราเป็นโรงพยาบาล 500 เตียง นอกเหนือจากประชากรจำนวนมากของกรุงเทพฯแล้ว ยังเป็นปัญหา เรื่องยาเสพติด ผมจึงคิดว่าในอนาคต กรุงเทพฯควรมีโรงพยาบาลจิตเวช เพิ่มขึ้นอีกสัก 1 แห่งไหม เพื่อรองรับการดูแลคนกรุงเทพฯ เพื่อให้สุขภาวะจิตดีขึ้น เอาเข้าจริงการรักษาดูแลคนไข้จิตเวชไม่ใช่ว่าแค่ฉีดยาเข็มเดียวจะหาย ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เตียงยังขาดแคลน”
คนที่เริ่มมีอาการ เช่น เครียดหนัก หรือมีปัญหาทางจิต แม้จะเล็กๆน้อยๆ นพ.วีรพลแนะนำว่า ให้ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ เพราะจะมีแผนกให้คำปรึกษาอยู่ และยังมีหน่วยงานของกรมสุขภาพจิต ทั่วประเทศอีก 17 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ คอยให้บริการงานเปิดบ้านหลังคาแดงครั้งนี้ นายเอนก นาวิกมูล แห่งบ้านพิพิธภัณฑ์ บอกว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ช่วยให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจภาพ ของสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยาอย่างแท้จริงและคนที่มาดูนิทรรศการก็ยังได้เห็นภาพในอดีตของธนบุรีด้วยว่าเคยมีความเป็นมาอย่างไร
“ผมมาร่วมในนามบ้านพิพิธภัณฑ์ มาให้คำปรึกษาเรื่องการจัด นิทรรศการ ส่วนการบริหารจัดการ การดำเนินการทางโรงพยาบาลเขา จัดการเอง ซึ่งครั้งนี้เราก็ได้เห็นความร่วมมือเป็นอย่างดีของชุมชนชาวธนบุรี” สิ่งที่ “ผมแนะและอยากให้เป็นคือ ให้คนทั่วไปได้มาเห็นความร่มรื่นของต้นไม้ ได้มาเห็นเรื่องราวของชาวธนบุรีในอดีต ได้มาฟังดนตรี มาดูภาพชีวิตต่างๆ หรือไม่ก็แวะเข้ามาดื่มกาแฟในบรรยากาศที่ร่มรื่น ให้เห็นว่าโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว” ตลอดปี 2560 “บ้านหลังคาแดง” พร้อมรับผู้เข้าเยี่ยมเยือน ทั้งเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการของคนธนบุรี.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/869725 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา บ้านหลังคาแดง ในอดีตผู้คนหวาดผวา แม้คนสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ก็ไม่อยากเกี่ยวข้อง เพราะเข้าใจว่าเป็นสถานที่รักษาคนเสียจริต แต่ความจริงแล้ว “ไม่ใช่อย่างที่คิด คนปกติธรรมดาที่เครียด มีความกังวลมากก็เข้ามาปรึกษาได้ และสถานที่รักษาไม่ใช่มีอยู่ที่สถาบันฯ สมเด็จเจ้าพระยาแห่งเดียว ในภาคต่างๆก็กระจายกันอยู่ทั่วประเทศสามารถนำบัตรทองเข้าไปรับบริการได้”นพ.วีรพลบอก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในอดีต นพ.วีรพล อุณหรัศมี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ย้อนอดีตให้ฟังว่า สถาบันฯเดิมอยู่ปากคลองสานชื่อโรงพยาบาลคนเสียจริต ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลโรคจิต ธนบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา จนกระทั่งปัจจุบันชื่อสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ช่วงย้ายมาอยู่ในที่ปัจจุบันแรกๆ อาคารมุงหลังคาสีแดง ชาวบ้าน จึงเรียกว่า “บ้านหลังคาแดง”บริเวณอันร่มรื่นของบ้านหลังคาแดง เดิมเป็นที่ดินของตระกูล “บุนนาค” ผู้ครอบครองคนสุดท้าย คือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)ปี พ.ศ.2560 นี้ เป็นปี “รำลึกธนบุรี 250 ปี” ผู้นำชุมชนและหน่วยงานเอกชนย่านธนบุรีร่วมกับสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยา จัดงาน รำลึกกรุงธนบุรี และเปิดบ้าน “หลังคาแดง” ไปพร้อมๆกันอาจารย์สุดารา สุจฉายา หนึ่งในผู้นำภาคเอกชนบอกว่า เดิมทีธนบุรีมีความเป็นเมืองมาก่อน เมื่อสยามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังกู้เอกราชพระองค์ทรงสถาปนาธนบุรีเป็นเมืองหลวงเมื่อพ.ศ.2310 ครั้นถึงรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงใหม่ ธนบุรีจึงเปลี่ยนสถานะจากเมืองหลวงไปเป็นเมืองสามัญ เป็นต้นว่าในปี พ.ศ.2514 รวมกับจังหวัดพระนครเรียกว่านครหลวงกรุงเทพธนบุรีจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกทม.ตั้งแต่พ.ศ.2516เป็นต้นมา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในอดีต สำหรับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยามีความเป็นมายาวไกลถึง 128 ปี นับเป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2432 ทรงจ้างแพทย์ชาวตะวันตกมาเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล และจัดให้มีแพทย์ประจำโรงพยาบาลทำการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลแห่งนี้สร้างหลังโรงพยาบาลศิริราชเพียง1ปีเท่านั้น อาคารแต่ละแห่งมีอายุกว่า 100 ปี อยู่ใต้ร่มเงาไม้เขียวขจี บรรยากาศร่มรื่น จัดเป็นพื้นที่สีเขียวผืนใหญ่แห่งหนึ่งของฝั่งธนในปัจจุบัน สถาบันฯใช้อาคารแห่งหนึ่งตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2532หลังเปิดให้บริการมานานแล้วก็บูรณะใหม่ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2559 ภายในจัดทำเป็นนิทรรศการขึ้นมาใหม่ นอกจากให้เห็นการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังนำเอาวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวธนบุรีเข้าไปด้วย เรื่องนี้ นพ.วีรพลบอกว่า “กรุงธนบุรีมีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก มีการตัดถนน สร้างโรงไฟฟ้า ภาพชีวิตชาวสวนสมัยเก่าก่อนนับวันจะหาดูได้ยาก เพราะได้เปลี่ยนจากสวนไปเป็นบ้านจัดสรรแล้ว เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เรารู้สึกว่ามีความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่เห็นว่า มีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยโบราณอย่างไร เราจึงนำภาพเก่าๆมาจัดนิทรรศการ และจัดทำหนังสือ 2 เล่ม เล่มหนึ่งเพื่อเก็บวิถีชีวิตชาวธนบุรี อีกเล่มหนึ่งเป็นหนังสือภาพธนบุรี” ภาพเหล่านั้น บางภาพเก็บไว้ 30-40 ปี บ้างก็เป็นภาพประจำตระกูล “เราได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งสำหรับคนที่อยากเห็นภาพชีวิตเก่าๆก็มาดูนิทรรศการได้” สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ในปัจจุบันกับสภาพแว้ดล้อมที่ร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้ อาคารพิพิธภัณฑ์ เมื่อเข้าสถาบันฯจะอยู่ด้านซ้ายมือ เดินเข้าไปไม่เกิน 200 เมตรก็ถึงจุดประสงค์ของการจัดงาน “เปิดบ้านหลังคาแดง” ตลอดปี 2560 นพ.วีรพลบอกว่า รพ.เมื่อก่อนอยู่ปากคลองสาน คนกลัวมาก ใครเดินเข้าออกโรงพยาบาลถือว่าเป็นคนเสียจริต “แต่ภายหลังเราเปิดกว้างมากขึ้น เปิดให้คนเข้ามาสัมผัส จะได้รู้ว่าจริงๆแล้วโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว คนไข้จิตเวชไม่น่ากลัว หลายๆครั้งคนเดินเข้ามาไม่รู้หรอกว่าคนที่เดินสวนนั้นเป็นคนไข้จิตเวชเพราะแท้จริงแล้วผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตปกติได้” การจัดงานครั้งนี้ “ประการแรก คนภายนอกได้มาเรียนรู้ได้มาสัมผัส เพราะที่นี่ไม่ได้เป็นที่ปกปิดต่อไปอีกแล้ว ประการ ที่สองคือ เมื่อคุณเดินเข้ามาแล้ว เอาเรื่องราวไปถ่ายทอด ไปบอกเล่าว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะจะเห็นว่าโรงพยาบาลของเราเป็นโรงพยาบาลธรรมดา อาจจะมีอะไรเพิ่มขึ้น หรือนอกเหนือจากความเป็นโรงพยาบาลทั่วไปอยู่บ้าง” ประการที่สาม “คนไข้บางกลุ่มมีความเสื่อมถอย ทั้งความคิด และความสามารถอาจจะถดถอยไป คนเหล่านี้ต้องได้รับการฟื้นฟู เราจัดงานนี้เพื่อให้เห็นว่า คนไข้ควรได้รับการฟื้นฟู และเราสามารถฝึกให้คนไข้ทำงานเลี้ยงดูตนเองได้เหล่านี้ต้องขอความกรุณาจากสังคมว่าคนไข้ของเราน่ารัก” สำหรับคนไข้จิตเวชนั้น เฉลี่ยคนไข้ใน 10,000 รายต่อปี คนไข้นอกราว 200,000 ต่อปี และต่อไปอาจจะถึง 300,000 คน ยอดผู้ป่วยด้านจิตเวชนั้น นพ.วีรพลบอกว่า ส่วนใหญ่สาเหตุไม่ได้มาจากการเมือง สภาพเศรษฐกิจ และสังคม แต่มาจากยาเสพติด “ระบบการดูแลสุขภาพจิต เราเป็นโรงพยาบาล 500 เตียง นอกเหนือจากประชากรจำนวนมากของกรุงเทพฯแล้ว ยังเป็นปัญหา เรื่องยาเสพติด ผมจึงคิดว่าในอนาคต กรุงเทพฯควรมีโรงพยาบาลจิตเวช เพิ่มขึ้นอีกสัก 1 แห่งไหม เพื่อรองรับการดูแลคนกรุงเทพฯ เพื่อให้สุขภาวะจิตดีขึ้น เอาเข้าจริงการรักษาดูแลคนไข้จิตเวชไม่ใช่ว่าแค่ฉีดยาเข็มเดียวจะหาย ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้เตียงยังขาดแคลน” สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา คนที่เริ่มมีอาการ เช่น เครียดหนัก หรือมีปัญหาทางจิต แม้จะเล็กๆน้อยๆ นพ.วีรพลแนะนำว่า ให้ปรึกษาโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ เพราะจะมีแผนกให้คำปรึกษาอยู่ และยังมีหน่วยงานของกรมสุขภาพจิต ทั่วประเทศอีก 17 แห่ง กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ คอยให้บริการงานเปิดบ้านหลังคาแดงครั้งนี้ นายเอนก นาวิกมูล แห่งบ้านพิพิธภัณฑ์ บอกว่า เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้ช่วยให้คนทั่วไปรู้และเข้าใจภาพ ของสถาบันฯสมเด็จเจ้าพระยาอย่างแท้จริงและคนที่มาดูนิทรรศการก็ยังได้เห็นภาพในอดีตของธนบุรีด้วยว่าเคยมีความเป็นมาอย่างไร “ผมมาร่วมในนามบ้านพิพิธภัณฑ์ มาให้คำปรึกษาเรื่องการจัด นิทรรศการ ส่วนการบริหารจัดการ การดำเนินการทางโรงพยาบาลเขา จัดการเอง ซึ่งครั้งนี้เราก็ได้เห็นความร่วมมือเป็นอย่างดีของชุมชนชาวธนบุรี” สิ่งที่ “ผมแนะและอยากให้เป็นคือ ให้คนทั่วไปได้มาเห็นความร่มรื่นของต้นไม้ ได้มาเห็นเรื่องราวของชาวธนบุรีในอดีต ได้มาฟังดนตรี มาดูภาพชีวิตต่างๆ หรือไม่ก็แวะเข้ามาดื่มกาแฟในบรรยากาศที่ร่มรื่น ให้เห็นว่าโรงพยาบาลไม่ได้น่ากลัว” ตลอดปี 2560 “บ้านหลังคาแดง” พร้อมรับผู้เข้าเยี่ยมเยือน ทั้งเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการของคนธนบุรี. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/869725
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)