วันสตรีสากล (2) นักข่าววีลแชร์ และการออกแบบพื้นที่สาธารณะ
"ข่าวคนพิการไม่จำเป็นต้องดราม่า ไม่จำเป็นต้องน่าสงสาร ขอแค่ให้มีพื้นที่ในสังคม ให้คนได้รู้จักทำความคุ้นเคย เพื่อจะทำให้คนรู้สึกว่าเรื่องพิการไม่ได้ไกลตัว" นลัทพร ไกรฤกษ์ หรือ "หนู" เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และต้องใช้รถเข็นในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่เด็ก แต่ครอบครัวฝึกให้เธอทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ทำให้นลัทพรสามารถพึ่งพาตัวเองและเดินทางออกนอกบ้านได้ จนกระทั่งเรียนจบระดับปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน นลัทพรเป็นผู้สื่อข่าวของเว็บไซต์สื่อทางเลือก "ประชาไท" ควบคู่กับการทำงานให้เครือข่ายผู้พิการ และเป็นนักข่าวหญิงคนหนึ่งซึ่งใช้วีลแชร์ในการทำงานภาคสนาม โดยมีความคิดว่าการเป็นนักข่าวจะช่วยทำให้ประเด็นที่เกี่ยวกับคนพิการได้รับการเผยแพร่มากขึ้น รวมถึงผลักดันให้เกิด "พื้นที่สาธารณะ" ที่ทุกคนในสังคมสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
ด่านแรก คือ ครอบครัว สมัยเรียนมัธยมปลายปีที่ 4-5 นลัทพรพยายามค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับโรคที่เป็น ทำให้เธอพบเฟซบุ๊กของเครือข่ายพัฒนาศักยภาพคนพิการ จากนั้นจึงเริ่มทำงานเป็นอาสาสมัครให้แก่เครือข่ายดังกล่าว และมีโอกาสลงพื้นที่ไปพบกับผู้พิการด้านต่างๆ จึงได้รับทราบมุมมองหรืออุปสรรคที่ผู้พิการเผชิญอยู่ในแต่ละวัน และพบว่าหลายกรณี "ครอบครัว" เป็นหนึ่งในโจทย์ยากที่เครือข่ายผู้พิการต้องสื่อสารทำความเข้าใจอันดับแรก
"หลายครอบครัวไม่สนับสนุนให้ลูกตัวเองออกไปนอกบ้าน เพราะไม่เชื่อว่าจะออกไปใช้ชีวิตข้างนอกได้" นลัทพรย้ำว่า ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญ เพราะถือเป็นด่านแรกที่จะผลักดันให้คนพิการออกไปใช้ชีวิตและเจอผู้คนอื่นๆ ในสังคม โดยเฉพาะกรณีของผู้ที่ไม่ได้พิการมาแต่เกิด แต่เพิ่งพิการทีหลังเพราะอุบัติเหตุหรือโรคต่างๆ คนกลุ่มนี้จะปรับตัวได้ยากกว่า และมีภาวะที่อาจจะไม่อยากออกจากบ้านในตอนแรก แต่ถ้าครอบครัวสนับสนุนและพยายามพาผู้พิการออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ก็น่าจะทำให้พวกเขามีความมั่นใจมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม นลัทพรยอมรับว่าอาจมีบางคนในสังคมที่ยังรู้สึกแปลก กระอักกระอ่วน ไม่รู้จะทำตัวอย่างไรเมื่อเจอผู้พิการ แต่ปัญหาเหล่านี้อาจเริ่มต้นแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการพูดคุย "ทุกวันนี้ประเด็นคนพิการยังค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด ไม่ใช่การนำเสนอที่สร้างสรรค์สักเท่าไหร่ ส่วนมากยังเป็นแนวเวทนาน่าสงสาร หรือไม่ก็ชื่นชมคนพิการจนโอเวอร์ ซึ่งเรามองว่ามันไม่ได้ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน..."
"เราต้องไม่รู้สึกว่าความพิการเป็นเรื่องที่พูดไม่ได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าเขาจะโอเคหรือเปล่า เราก็แค่ถามเขาว่าเขาอยากจะให้เราเรียกเขาว่ายังไง เราต้องสื่อสาร ทำให้มันเป็นเรื่องปกติ เหมือนเพื่อนคุยกัน สุดท้ายแล้ว ถ้าเขาสื่อสารไม่ได้หรือเขาฟังเราไม่เข้าใจ หรือเราไม่เข้าใจเขา เราก็แค่สื่อสารใหม่ เปลี่ยนวิธี เปลี่ยนช่องทางใหม่ ไม่ได้ยากเกิน"
"พื้นที่สาธารณะ" เพื่อคนทุกกลุ่ม นอกเหนือจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องความพิการ เพื่อไม่ให้เกิดการมองคนพิการแบบเหมารวมว่าเป็น "ผู้ไร้ความสามารถ" แบบที่สังคมไทยในอดีตเคยมอง ยังจำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนทุกกลุ่ม ซึ่งนลัทพรย้ำว่าไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงแค่ผู้พิการเท่านั้น
"พื้นที่สาธารณะ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเป็นสาธารณะ แต่ในบ้านเรา ยังมีความรู้สึกว่าคนที่ร่างกายสมบูรณ์ เดินได้ ยังเป็นผู้ที่ได้ใช้อยู่กลุ่มเดียว แต่อย่าลืมว่าคนในสังคมของเรายังมีคนแก่ คนพิการ มีเด็ก และคนที่มีความต้องการพิเศษอื่นๆ อยู่ด้วย การออกแบบส่วนที่เรียกว่าพื้นที่สาธารณะก็ควรที่จะครอบคลุมและเอื้อแก่คนทุกกลุ่ม" นลัทพรติดตามรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้พิการที่เรียกร้องให้กรุงเทพมหานครสร้างลิฟต์ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจุดต่างๆ ให้เสร็จตามคำสั่งศาลปกครอง และล่าสุด กรุงเทพมหานครได้เปิดใช้ลิฟต์เพิ่มเติมหลายสถานีช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา แต่การที่เครือข่ายผู้พิการต้องผลักดันเรียกร้อง สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยอาจยังไม่มีความเข้าใจเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่มมากนัก
"เรื่องการเดินทางเป็นปัญหาหลักเหมือนกัน คนพิการส่วนหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกนัก อย่างรถเมล์ก็ตัดไปเลยสำหรับคนที่นั่งวีลแชร์ แท็กซี่ก็ยาก มอเตอร์ไซค์ก็ตัดทิ้ง ที่คิดว่าสะดวกที่สุดก็คือรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน หรือแอร์พอร์ทเรลลิงค์ ซึ่งก็ยังไม่ได้เอื้อต่อผู้พิการร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบางส่วนก็ยังไม่มีลิฟต์ ไม่มีทางลาด"
"การเรียกร้องค่าเสียหายที่ กทม.สร้างลิฟต์ล่าช้า ไม่ใช่เป้าหมายหลักของผู้พิการ เพราะเขาไม่ได้ต้องการค่าเสียหาย แต่ต้องการลิฟต์ หรือต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถที่จะใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า..." นลัทพรกล่าว "เรื่องนี้คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคุณจะขาดีหรือขาไม่ดี ตอนนี้คุณอาจจะยังไม่ได้ใช้ แต่ในอนาคตคุณอาจมีความจำเป็นก็ได้ เพราะคุณก็ต้องแก่ หรือในอนาคตก็อาจมีคนในครอบครัว พ่อแม่ หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับคุณต้องใช้"
คนไทยมีน้ำใจ...แต่... นลัทพรเชื่อว่าการออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งคำนึงถึงความต้องการของคนทุกกลุ่ม จะช่วยให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใครรอความอนุเคราะห์หรือความช่วยเหลือเกื้อกูลแต่เพียงลำพัง ซึ่งถือเป็นการยอมรับความแตกต่างและการปฏิบัติต่อกันอย่างเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียม "คนไทยมีน้ำใจมาก ไม่ว่าเราจะอยู่ริมถนนแล้วเจอฟุตปาธหรือเจอบันได ก็จะมีคนที่พร้อมเข้ามาช่วยเหลือ แต่ในฐานะคนที่ถูกช่วยตลอดเวลา สุดท้ายแล้วเราไม่ได้สบายใจ... เรามีความกังวลอยู่ลึกๆ ว่าวันหนึ่ง ถ้าเกิดว่าเราหาคนช่วยไม่ได้ เราจะใช้ชีวิตยังไง หรือถ้าวันหนึ่งคนแล้งน้ำใจไปหมดแล้ว เราจะอยู่ยังไง"
"ถึงที่สุดแล้วคนทุกคนอยากจะพึ่งตัวเอง ไม่ว่าจะพิการหรือไม่พิการ... ไม่มีใครอยากอยู่ได้ด้วยคนอื่น สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดเป็นอันดับแรกก็คือว่าจะคิดหรือจะออกแบบอย่างไรให้เขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้... อาจจะมีบางสิ่งที่เขาทำด้วยตัวเองไม่ได้ แต่ก็น่าจะให้มันเป็นส่วนที่น้อยที่สุด เพราะเราอยู่บนน้ำใจของคนอื่นไปตลอดไม่ได้" ในความเห็นของนลัทพร การออกแบบพื้นที่เพื่อผู้พิการต่างๆ ในไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเธอยกตัวอย่างกรณี Braille Block หรือปุ่มบอกทางที่ติดตั้งบนถนนเพื่อบอกทางให้แก่ผู้พิการทางสายตาที่ใช้ไม้เท้าขาว ซึ่งถ้าเป็นที่ประเทศญี่ปุ่น ปุ่มเหล่านี้จะเป็นสัญลักษณ์บอกทิศทางแก่ผู้พิการทางสายตา เช่น เลี้ยวซ้าย ขวา หรือว่าตรงไป แต่ปุ่มบอกทางในไทยไม่มีความต่อเนื่อง เพราะมีเพียงบางจุด และผู้ติดตั้งไม่มีความรู้เรื่องสัญลักษณ์ ทำให้บอกทางไม่ถูกต้อง ผู้ใช้ไม้เท้าไม่สามารถพึ่งพาเครื่องมือเหล่านี้ได้ และสัญญาณไฟจราจรก็ไม่มีระบบเตือนด้วยเสียง
ส่วนกรณีของผู้พิการทางการได้ยิน มักมีปัญหาเรื่องการอ่านตัวอักษร ทำให้การอ่านป้ายบอกทางทั่วไปเป็นอุปสรรค เธอเสนอว่าผู้ออกแบบระบบขนส่งมวลชนควรคำนึงถึงสัญลักษณ์ภาษามือเพิ่มเติม เช่น ต้องเพิ่มสัญญาณไฟกะพริบตรงแผนผังแสดงสถานีแต่ละจุดเพื่อให้ข้อมูลบนรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน เพื่อให้ผู้โดยสารที่หูหนวกทราบว่าสถานีปัจจุบันหรือสถานีต่อไปคือสถานีอะไร เพิ่มเติมจากข้อความที่ปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ในตู้โดยสาร
"ตราบใดที่สังคมหรือสภาพแวดล้อมยังไม่เอื้อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ เราก็ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ แต่ขอให้เป็นการช่วยเหลือที่พอดีๆ ให้เป็นการช่วยเหลือกันในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ต้องช่วยเพราะสงสารหรือทำแล้วได้บุญ... แต่อยากให้เป็นการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งที่เขาควรจะได้รับโอกาส หรือควรจะได้ใช้ชีวิตที่เท่าๆ กับเรา"
เรียบเรียงโดย ตติกานต์ เดชชพงศ
ขอบคุณ... http://www.bbc.com/thai/features-39127367 (ขนาดไฟล์: 0 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ป้ายสัญลักษณ์คนพิการนั่งรถเข็น "ข่าวคนพิการไม่จำเป็นต้องดราม่า ไม่จำเป็นต้องน่าสงสาร ขอแค่ให้มีพื้นที่ในสังคม ให้คนได้รู้จักทำความคุ้นเคย เพื่อจะทำให้คนรู้สึกว่าเรื่องพิการไม่ได้ไกลตัว" นลัทพร ไกรฤกษ์ หรือ "หนู" เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และต้องใช้รถเข็นในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่เด็ก แต่ครอบครัวฝึกให้เธอทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ทำให้นลัทพรสามารถพึ่งพาตัวเองและเดินทางออกนอกบ้านได้ จนกระทั่งเรียนจบระดับปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน นลัทพรเป็นผู้สื่อข่าวของเว็บไซต์สื่อทางเลือก "ประชาไท" ควบคู่กับการทำงานให้เครือข่ายผู้พิการ และเป็นนักข่าวหญิงคนหนึ่งซึ่งใช้วีลแชร์ในการทำงานภาคสนาม โดยมีความคิดว่าการเป็นนักข่าวจะช่วยทำให้ประเด็นที่เกี่ยวกับคนพิการได้รับการเผยแพร่มากขึ้น รวมถึงผลักดันให้เกิด "พื้นที่สาธารณะ" ที่ทุกคนในสังคมสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ นลัทพร ไกรฤกษ์ เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นนักข่าวหญิงคนหนึ่งซึ่งใช้วีลแชร์ในการทำงานภาคสนาม ด่านแรก คือ ครอบครัว สมัยเรียนมัธยมปลายปีที่ 4-5 นลัทพรพยายามค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับโรคที่เป็น ทำให้เธอพบเฟซบุ๊กของเครือข่ายพัฒนาศักยภาพคนพิการ จากนั้นจึงเริ่มทำงานเป็นอาสาสมัครให้แก่เครือข่ายดังกล่าว และมีโอกาสลงพื้นที่ไปพบกับผู้พิการด้านต่างๆ จึงได้รับทราบมุมมองหรืออุปสรรคที่ผู้พิการเผชิญอยู่ในแต่ละวัน และพบว่าหลายกรณี "ครอบครัว" เป็นหนึ่งในโจทย์ยากที่เครือข่ายผู้พิการต้องสื่อสารทำความเข้าใจอันดับแรก "หลายครอบครัวไม่สนับสนุนให้ลูกตัวเองออกไปนอกบ้าน เพราะไม่เชื่อว่าจะออกไปใช้ชีวิตข้างนอกได้" นลัทพรย้ำว่า ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญ เพราะถือเป็นด่านแรกที่จะผลักดันให้คนพิการออกไปใช้ชีวิตและเจอผู้คนอื่นๆ ในสังคม โดยเฉพาะกรณีของผู้ที่ไม่ได้พิการมาแต่เกิด แต่เพิ่งพิการทีหลังเพราะอุบัติเหตุหรือโรคต่างๆ คนกลุ่มนี้จะปรับตัวได้ยากกว่า และมีภาวะที่อาจจะไม่อยากออกจากบ้านในตอนแรก แต่ถ้าครอบครัวสนับสนุนและพยายามพาผู้พิการออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน ก็น่าจะทำให้พวกเขามีความมั่นใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นลัทพรยอมรับว่าอาจมีบางคนในสังคมที่ยังรู้สึกแปลก กระอักกระอ่วน ไม่รู้จะทำตัวอย่างไรเมื่อเจอผู้พิการ แต่ปัญหาเหล่านี้อาจเริ่มต้นแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยการพูดคุย "ทุกวันนี้ประเด็นคนพิการยังค่อนข้างอยู่ในวงจำกัด ไม่ใช่การนำเสนอที่สร้างสรรค์สักเท่าไหร่ ส่วนมากยังเป็นแนวเวทนาน่าสงสาร หรือไม่ก็ชื่นชมคนพิการจนโอเวอร์ ซึ่งเรามองว่ามันไม่ได้ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน..." คนพิการนั่งรถเข็น "เราต้องไม่รู้สึกว่าความพิการเป็นเรื่องที่พูดไม่ได้ ถ้าไม่มั่นใจว่าเขาจะโอเคหรือเปล่า เราก็แค่ถามเขาว่าเขาอยากจะให้เราเรียกเขาว่ายังไง เราต้องสื่อสาร ทำให้มันเป็นเรื่องปกติ เหมือนเพื่อนคุยกัน สุดท้ายแล้ว ถ้าเขาสื่อสารไม่ได้หรือเขาฟังเราไม่เข้าใจ หรือเราไม่เข้าใจเขา เราก็แค่สื่อสารใหม่ เปลี่ยนวิธี เปลี่ยนช่องทางใหม่ ไม่ได้ยากเกิน" "พื้นที่สาธารณะ" เพื่อคนทุกกลุ่ม นอกเหนือจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องความพิการ เพื่อไม่ให้เกิดการมองคนพิการแบบเหมารวมว่าเป็น "ผู้ไร้ความสามารถ" แบบที่สังคมไทยในอดีตเคยมอง ยังจำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนทุกกลุ่ม ซึ่งนลัทพรย้ำว่าไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงแค่ผู้พิการเท่านั้น "พื้นที่สาธารณะ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าต้องเป็นสาธารณะ แต่ในบ้านเรา ยังมีความรู้สึกว่าคนที่ร่างกายสมบูรณ์ เดินได้ ยังเป็นผู้ที่ได้ใช้อยู่กลุ่มเดียว แต่อย่าลืมว่าคนในสังคมของเรายังมีคนแก่ คนพิการ มีเด็ก และคนที่มีความต้องการพิเศษอื่นๆ อยู่ด้วย การออกแบบส่วนที่เรียกว่าพื้นที่สาธารณะก็ควรที่จะครอบคลุมและเอื้อแก่คนทุกกลุ่ม" นลัทพรติดตามรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของเครือข่ายผู้พิการที่เรียกร้องให้กรุงเทพมหานครสร้างลิฟต์ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจุดต่างๆ ให้เสร็จตามคำสั่งศาลปกครอง และล่าสุด กรุงเทพมหานครได้เปิดใช้ลิฟต์เพิ่มเติมหลายสถานีช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา แต่การที่เครือข่ายผู้พิการต้องผลักดันเรียกร้อง สะท้อนให้เห็นว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยอาจยังไม่มีความเข้าใจเรื่องพื้นที่สาธารณะเพื่อการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่มมากนัก นลัทพร ไกรฤกษ์ นักข่าวหญิงใช้วีลแชร์ในการทำงานภาคสนาม "เรื่องการเดินทางเป็นปัญหาหลักเหมือนกัน คนพิการส่วนหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวกนัก อย่างรถเมล์ก็ตัดไปเลยสำหรับคนที่นั่งวีลแชร์ แท็กซี่ก็ยาก มอเตอร์ไซค์ก็ตัดทิ้ง ที่คิดว่าสะดวกที่สุดก็คือรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน หรือแอร์พอร์ทเรลลิงค์ ซึ่งก็ยังไม่ได้เอื้อต่อผู้พิการร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะบางส่วนก็ยังไม่มีลิฟต์ ไม่มีทางลาด" "การเรียกร้องค่าเสียหายที่ กทม.สร้างลิฟต์ล่าช้า ไม่ใช่เป้าหมายหลักของผู้พิการ เพราะเขาไม่ได้ต้องการค่าเสียหาย แต่ต้องการลิฟต์ หรือต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถที่จะใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า..." นลัทพรกล่าว "เรื่องนี้คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคุณจะขาดีหรือขาไม่ดี ตอนนี้คุณอาจจะยังไม่ได้ใช้ แต่ในอนาคตคุณอาจมีความจำเป็นก็ได้ เพราะคุณก็ต้องแก่ หรือในอนาคตก็อาจมีคนในครอบครัว พ่อแม่ หรือใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับคุณต้องใช้" คนไทยมีน้ำใจ...แต่... นลัทพรเชื่อว่าการออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งคำนึงถึงความต้องการของคนทุกกลุ่ม จะช่วยให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใครรอความอนุเคราะห์หรือความช่วยเหลือเกื้อกูลแต่เพียงลำพัง ซึ่งถือเป็นการยอมรับความแตกต่างและการปฏิบัติต่อกันอย่างเพื่อนมนุษย์ที่เท่าเทียม "คนไทยมีน้ำใจมาก ไม่ว่าเราจะอยู่ริมถนนแล้วเจอฟุตปาธหรือเจอบันได ก็จะมีคนที่พร้อมเข้ามาช่วยเหลือ แต่ในฐานะคนที่ถูกช่วยตลอดเวลา สุดท้ายแล้วเราไม่ได้สบายใจ... เรามีความกังวลอยู่ลึกๆ ว่าวันหนึ่ง ถ้าเกิดว่าเราหาคนช่วยไม่ได้ เราจะใช้ชีวิตยังไง หรือถ้าวันหนึ่งคนแล้งน้ำใจไปหมดแล้ว เราจะอยู่ยังไง" ภาพนูนอักษรเบล สำหรับคนตาบอด "ถึงที่สุดแล้วคนทุกคนอยากจะพึ่งตัวเอง ไม่ว่าจะพิการหรือไม่พิการ... ไม่มีใครอยากอยู่ได้ด้วยคนอื่น สิ่งสำคัญที่เราต้องคิดเป็นอันดับแรกก็คือว่าจะคิดหรือจะออกแบบอย่างไรให้เขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้... อาจจะมีบางสิ่งที่เขาทำด้วยตัวเองไม่ได้ แต่ก็น่าจะให้มันเป็นส่วนที่น้อยที่สุด เพราะเราอยู่บนน้ำใจของคนอื่นไปตลอดไม่ได้" ในความเห็นของนลัทพร การออกแบบพื้นที่เพื่อผู้พิการต่างๆ ในไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยเธอยกตัวอย่างกรณี Braille Block หรือปุ่มบอกทางที่ติดตั้งบนถนนเพื่อบอกทางให้แก่ผู้พิการทางสายตาที่ใช้ไม้เท้าขาว ซึ่งถ้าเป็นที่ประเทศญี่ปุ่น ปุ่มเหล่านี้จะเป็นสัญลักษณ์บอกทิศทางแก่ผู้พิการทางสายตา เช่น เลี้ยวซ้าย ขวา หรือว่าตรงไป แต่ปุ่มบอกทางในไทยไม่มีความต่อเนื่อง เพราะมีเพียงบางจุด และผู้ติดตั้งไม่มีความรู้เรื่องสัญลักษณ์ ทำให้บอกทางไม่ถูกต้อง ผู้ใช้ไม้เท้าไม่สามารถพึ่งพาเครื่องมือเหล่านี้ได้ และสัญญาณไฟจราจรก็ไม่มีระบบเตือนด้วยเสียง ส่วนกรณีของผู้พิการทางการได้ยิน มักมีปัญหาเรื่องการอ่านตัวอักษร ทำให้การอ่านป้ายบอกทางทั่วไปเป็นอุปสรรค เธอเสนอว่าผู้ออกแบบระบบขนส่งมวลชนควรคำนึงถึงสัญลักษณ์ภาษามือเพิ่มเติม เช่น ต้องเพิ่มสัญญาณไฟกะพริบตรงแผนผังแสดงสถานีแต่ละจุดเพื่อให้ข้อมูลบนรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน เพื่อให้ผู้โดยสารที่หูหนวกทราบว่าสถานีปัจจุบันหรือสถานีต่อไปคือสถานีอะไร เพิ่มเติมจากข้อความที่ปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ในตู้โดยสาร "ตราบใดที่สังคมหรือสภาพแวดล้อมยังไม่เอื้อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ เราก็ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ แต่ขอให้เป็นการช่วยเหลือที่พอดีๆ ให้เป็นการช่วยเหลือกันในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ต้องช่วยเพราะสงสารหรือทำแล้วได้บุญ... แต่อยากให้เป็นการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งที่เขาควรจะได้รับโอกาส หรือควรจะได้ใช้ชีวิตที่เท่าๆ กับเรา" เรียบเรียงโดย ตติกานต์ เดชชพงศ ขอบคุณ... http://www.bbc.com/thai/features-39127367
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)