หุ่นยนต์ช่วยเด็ก ‘ออทิสติก’

แสดงความคิดเห็น

นักวิจัยอังกฤษ คิดค้นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ “แคสปาร์” ช่วยเหลือเด็กออทิสติกสื่อสารกับผู้อื่น คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮิร์ตฟอร์ดเชียร์ พัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ “แคสปาร์” ขนาดเท่าเด็กเพื่อช่วยเหลือเด็กภาวะออทิสติกในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและทักษะการสื่อสารผ่านเกมและเพลง โดยนักวิจัยนำแคสปาร์มาใช้กับเด็กออกทิสติกประมาณ 170 คน ระหว่างการศึกษาระยะยาวกว่า 10 ปี

หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ “แคสปาร์” ช่วยเหลือเด็กออทิสติกสื่อสารกับผู้อื่น

แคสปาร์ยังพูดคุย หวีผม เลียนแบบการรับประทานอาหาร เล่นแทมบูลิน และร้องเพลงกับเด็กๆ แม้การเข้าใจการสื่อสารทางกายภาพที่สังคมยอมรับได้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้ แต่หุ่นยนต์แคสปาร์มีวิธีการที่ปลอดภัยเพื่อให้เด็กเรียนรู้การโต้ตอบได้ โดยมีเซนเซอร์ที่ตอบสนองการสัมผัส ตัวอย่างเช่น หากเด็กทุบตีหรือบีบจมูกหุ่นยนต์ มันจะร้องว่า “โอ๊ย! เธอทำฉันเจ็บนะ” พร้อมยกมือมาที่ใบหน้าและแสดงสีหน้าเศร้า จากนั้นเด็กจะถูกกระตุ้นให้แก้ไขสถานการณ์โดยให้จักจี้เท้าของหุ่นยนต์ ซึ่งเปล่งเสียงว่า “แบบนี้แหละดีแล้ว ผมจักจี้จัง” จนถึงขณะนี้ ทีมวิจัยได้สร้างต้นแบบแคสปาร์ไว้ 28 ตัว และมองหาการลงทุนเพื่อนำหุ่นยนต์ไปให้กับโรงเรียนต่างๆ บ้านหรือคลินิกที่ต้องการหุ่นยนต์ตัวนี้

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/748568 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 03 เม.ย.60
วันที่โพสต์: 5/04/2560 เวลา 10:44:08 ดูภาพสไลด์โชว์ หุ่นยนต์ช่วยเด็ก ‘ออทิสติก’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักวิจัยอังกฤษ คิดค้นหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ “แคสปาร์” ช่วยเหลือเด็กออทิสติกสื่อสารกับผู้อื่น คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮิร์ตฟอร์ดเชียร์ พัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ “แคสปาร์” ขนาดเท่าเด็กเพื่อช่วยเหลือเด็กภาวะออทิสติกในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและทักษะการสื่อสารผ่านเกมและเพลง โดยนักวิจัยนำแคสปาร์มาใช้กับเด็กออกทิสติกประมาณ 170 คน ระหว่างการศึกษาระยะยาวกว่า 10 ปี หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ “แคสปาร์” ช่วยเหลือเด็กออทิสติกสื่อสารกับผู้อื่น แคสปาร์ยังพูดคุย หวีผม เลียนแบบการรับประทานอาหาร เล่นแทมบูลิน และร้องเพลงกับเด็กๆ แม้การเข้าใจการสื่อสารทางกายภาพที่สังคมยอมรับได้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้ แต่หุ่นยนต์แคสปาร์มีวิธีการที่ปลอดภัยเพื่อให้เด็กเรียนรู้การโต้ตอบได้ โดยมีเซนเซอร์ที่ตอบสนองการสัมผัส ตัวอย่างเช่น หากเด็กทุบตีหรือบีบจมูกหุ่นยนต์ มันจะร้องว่า “โอ๊ย! เธอทำฉันเจ็บนะ” พร้อมยกมือมาที่ใบหน้าและแสดงสีหน้าเศร้า จากนั้นเด็กจะถูกกระตุ้นให้แก้ไขสถานการณ์โดยให้จักจี้เท้าของหุ่นยนต์ ซึ่งเปล่งเสียงว่า “แบบนี้แหละดีแล้ว ผมจักจี้จัง” จนถึงขณะนี้ ทีมวิจัยได้สร้างต้นแบบแคสปาร์ไว้ 28 ตัว และมองหาการลงทุนเพื่อนำหุ่นยนต์ไปให้กับโรงเรียนต่างๆ บ้านหรือคลินิกที่ต้องการหุ่นยนต์ตัวนี้ ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/748568

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...