ใส่ใจสุขภาพ ‘เล็บ’ กันเถอะ
“เล็บ”...เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพได้ไม่แพ้ส่วนอื่นของร่างกาย การดูแลเล็บให้สวยงามจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ในทางการแพทย์ถือว่า เล็บสวย หรือเล็บงาม หมายถึง เล็บที่สะอาด แข็งแรงและมีสุขภาพดี นั่นคือลักษณะของเล็บจะต้องไม่มีร่อง ไม่มีสีสัน ไม่มีหลุม และไม่มีสีที่ผิดแปลกไปจากปกติ
แม้ว่าตามธรรมชาติ เล็บจะเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก เพื่อไว้คอยเป็นเกราะกำบังนิ้วมือและนิ้วเท้าจากอันตรายต่างๆ แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลทะนุถนอมอย่างถูกต้อง และต่อไปนี้เป็นวิธีที่ที่ควรปฏิบัติ คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาเล็บ หรือน้ำยาล้างเล็บบ่อยเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้เล็บเสียได้แล้ว ผิวหนังที่อยู่ข้างเคียงก็อาจเกิดการอักเสบได้ ส่วนที่มีอาการแพ้สีทาเล็บ ถ้ายังอยากทาเล็บอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทดสอบว่าแพ้สารตัวใดจะได้เลือกยาทา เล็บที่ไม่มีสารตัวนั้น
หลีกเลี่ยงการรบกวนผิวหนังที่หุ้มโคน เล็บ อาทิ ไม่ทำเล็บบ่อยเกินไป, ไม่ใช้เครื่องมือแข็งๆ เขี่ยหรือขลิบหนังหุ้มโคนเล็บออก เพราะหนังหุ้มโคนเล็บจะเป็นตัวป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่จมูกเล็บ และเนื้อเยื่อรอบๆ เล็บ และการมีหนังหุ้มโคนเล็บแข็งแรง เรียบสวย ไม่ฉีกขาดง่าย จะทำให้เล็บดูสวยงาม
ก่อนการตัดแต่งเล็บ ควรแช่มือและเท้าไว้ในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที เพื่อให้เล็บอ่อนลงทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ส่วนการตัดเล็บโดยเฉพาะเล็บเท้าให้ตัดเป็นแนวตรงและไม่ตัดจนสั้นเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาเล็บขบ ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ทรมานให้ไม่น้อย เล็บก็ไม่ต่างกับผิวหนังที่อาจแห้งได้ ดังนั้นควรดูแลอย่าให้เล็บแห้งเกินไป เพื่อป้องกันเล็บเปราะและแตกหักง่าย ด้วยการแช่มือและเท้าในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที แล้วทาครีมให้ความชุ่มชื้นทั้งมือและเท้า
การทำความสะอาดเล็บ ตัดแต่งเล็บควรใช้เครื่องมือที่สะอาด โดยเฉพาะการทำเล็บตามร้านเสริมสวยที่ส่วนใหญ่มักนิยมทำกัน ควรเลือกร้านที่ดูว่าเครื่องไม้เครื่องมือสะอาดเพียงพอ เพื่อป้องกันปัญหาติดเชื้อตามมา
ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรม ดังนี้ ใช้เล็บแทนเครื่องมือบางชนิด เช่น ใช้เล็บหมุนไขแทนไขควง ใช้เล็บเป็นที่เปิดฝากระป๋อง ใช้เล็บหมุนโทรศัพท์ ใช้เล็บงัดแงะอะไรต่อมิอะไร เป็นต้น ใช้ปลายเล็บหยิบจับ ควานหา หรือโกยสิ่งของโดยเฉพาะสิ่งที่วางอยู่บนพื้น ไม่สวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสสารเคมี ต่างๆ เช่น น้ำยาทำความสะอาด ซึ่งอาจทำให้เล็บเปราะหรือเสีย และผิวหนังข้างเล็บเกิดการระคายเคืองจนอักเสบและติดเชื้อได้ นอกจากนั้น การทำสวน ขุดดิน หรือโกยดินด้วยมือเปล่า อาจทำให้เล็บกระทบกระแทกกับของแข็งต่างๆ หรือเศษฝุ่นดินอาจแทรกเข้าไปอยู่ในซอกเล็บซึ่งยากแก่การทำความสะอาด
หลีกเลี่ยงการที่มือและเท้าต้องถูกน้ำ บ่อยๆ หรือแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน เนื่องจากจะทำให้ผิวหนังมีสภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์ เชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อรา ซึ่งปัญหาเชื้อราที่เล็บเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ดังนั้น หากสำรวจพบว่าเล็บมีความผิดปกติบางอย่าง เช่น เล็บมีสีเขียวอมเหลือง แม้จะมีการตัดหรือตะไบให้เรียบร้อยแล้วก็ตาม อาจแสดงว่าเริ่มมีการติดเชื้อราที่เล็บ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยเร็ว เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องก่อนที่เชื้อราจะกินเนื้อเล็บจนขยายตัว มากยิ่งขึ้นและยากต่อการรักษา เช่น เชื้อราทำลายผิวเล็บจนเล็บเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง น้ำตาล ขาวขุ่นเป็นหย่อมๆ ผิวเล็บไม่เรียบตรงแต่ขรุขระหรือยุ่ย เล็บแยกจากหนังใต้เล็บ เป็นต้น โดยในการรักษาแพทย์จะพิจารณาตามความมากน้อยของอาการซึ่งมีตั้งแต่ยารับ ประทาน ยาทา จนถึงการถอดเล็บ
คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามความสำคัญของเล็บ จนกระทั่งสูญเสียหรือเกิดปัญหาขึ้นกับเล็บแล้วนั่นแหละจึงจะนึกขึ้นได้ การถนอมเล็บให้สวยคงอยู่นานๆ จึงเป็นความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามเฉกเช่นเดียวกับการดูแลผิวหนังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย : พญ.พงศ์ระวี ดอแสงธรรมนนท์ โรงพยาบาลยันฮี โทร.0-2879-0340
ขอบคุณ... เนื้อหาข่าว : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=848786 (ขนาดไฟล์: 4514) รูป : http://www.ruksukaphab.com/articles/41975297/health/your_health_your_skin.html
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
มือกำลังทำเล็บ ทาสีเล็บ “เล็บ”...เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพได้ไม่แพ้ส่วนอื่นของร่างกาย การดูแลเล็บให้สวยงามจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ในทางการแพทย์ถือว่า เล็บสวย หรือเล็บงาม หมายถึง เล็บที่สะอาด แข็งแรงและมีสุขภาพดี นั่นคือลักษณะของเล็บจะต้องไม่มีร่อง ไม่มีสีสัน ไม่มีหลุม และไม่มีสีที่ผิดแปลกไปจากปกติ แม้ว่าตามธรรมชาติ เล็บจะเป็นอวัยวะที่มีความแข็งแรงมาก เพื่อไว้คอยเป็นเกราะกำบังนิ้วมือและนิ้วเท้าจากอันตรายต่างๆ แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลทะนุถนอมอย่างถูกต้อง และต่อไปนี้เป็นวิธีที่ที่ควรปฏิบัติ คือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาเล็บ หรือน้ำยาล้างเล็บบ่อยเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้เล็บเสียได้แล้ว ผิวหนังที่อยู่ข้างเคียงก็อาจเกิดการอักเสบได้ ส่วนที่มีอาการแพ้สีทาเล็บ ถ้ายังอยากทาเล็บอยู่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทดสอบว่าแพ้สารตัวใดจะได้เลือกยาทา เล็บที่ไม่มีสารตัวนั้น หลีกเลี่ยงการรบกวนผิวหนังที่หุ้มโคน เล็บ อาทิ ไม่ทำเล็บบ่อยเกินไป, ไม่ใช้เครื่องมือแข็งๆ เขี่ยหรือขลิบหนังหุ้มโคนเล็บออก เพราะหนังหุ้มโคนเล็บจะเป็นตัวป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่จมูกเล็บ และเนื้อเยื่อรอบๆ เล็บ และการมีหนังหุ้มโคนเล็บแข็งแรง เรียบสวย ไม่ฉีกขาดง่าย จะทำให้เล็บดูสวยงาม ก่อนการตัดแต่งเล็บ ควรแช่มือและเท้าไว้ในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที เพื่อให้เล็บอ่อนลงทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ส่วนการตัดเล็บโดยเฉพาะเล็บเท้าให้ตัดเป็นแนวตรงและไม่ตัดจนสั้นเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาเล็บขบ ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ทรมานให้ไม่น้อย เล็บก็ไม่ต่างกับผิวหนังที่อาจแห้งได้ ดังนั้นควรดูแลอย่าให้เล็บแห้งเกินไป เพื่อป้องกันเล็บเปราะและแตกหักง่าย ด้วยการแช่มือและเท้าในน้ำอุ่นประมาณ 10 นาที แล้วทาครีมให้ความชุ่มชื้นทั้งมือและเท้า การทำความสะอาดเล็บ ตัดแต่งเล็บควรใช้เครื่องมือที่สะอาด โดยเฉพาะการทำเล็บตามร้านเสริมสวยที่ส่วนใหญ่มักนิยมทำกัน ควรเลือกร้านที่ดูว่าเครื่องไม้เครื่องมือสะอาดเพียงพอ เพื่อป้องกันปัญหาติดเชื้อตามมา ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรม ดังนี้ ใช้เล็บแทนเครื่องมือบางชนิด เช่น ใช้เล็บหมุนไขแทนไขควง ใช้เล็บเป็นที่เปิดฝากระป๋อง ใช้เล็บหมุนโทรศัพท์ ใช้เล็บงัดแงะอะไรต่อมิอะไร เป็นต้น ใช้ปลายเล็บหยิบจับ ควานหา หรือโกยสิ่งของโดยเฉพาะสิ่งที่วางอยู่บนพื้น ไม่สวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสสารเคมี ต่างๆ เช่น น้ำยาทำความสะอาด ซึ่งอาจทำให้เล็บเปราะหรือเสีย และผิวหนังข้างเล็บเกิดการระคายเคืองจนอักเสบและติดเชื้อได้ นอกจากนั้น การทำสวน ขุดดิน หรือโกยดินด้วยมือเปล่า อาจทำให้เล็บกระทบกระแทกกับของแข็งต่างๆ หรือเศษฝุ่นดินอาจแทรกเข้าไปอยู่ในซอกเล็บซึ่งยากแก่การทำความสะอาด หลีกเลี่ยงการที่มือและเท้าต้องถูกน้ำ บ่อยๆ หรือแช่น้ำอยู่เป็นเวลานาน เนื่องจากจะทำให้ผิวหนังมีสภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อยีสต์ เชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อรา ซึ่งปัญหาเชื้อราที่เล็บเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ดังนั้น หากสำรวจพบว่าเล็บมีความผิดปกติบางอย่าง เช่น เล็บมีสีเขียวอมเหลือง แม้จะมีการตัดหรือตะไบให้เรียบร้อยแล้วก็ตาม อาจแสดงว่าเริ่มมีการติดเชื้อราที่เล็บ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผิวหนังโดยเร็ว เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องก่อนที่เชื้อราจะกินเนื้อเล็บจนขยายตัว มากยิ่งขึ้นและยากต่อการรักษา เช่น เชื้อราทำลายผิวเล็บจนเล็บเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง น้ำตาล ขาวขุ่นเป็นหย่อมๆ ผิวเล็บไม่เรียบตรงแต่ขรุขระหรือยุ่ย เล็บแยกจากหนังใต้เล็บ เป็นต้น โดยในการรักษาแพทย์จะพิจารณาตามความมากน้อยของอาการซึ่งมีตั้งแต่ยารับ ประทาน ยาทา จนถึงการถอดเล็บ คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามความสำคัญของเล็บ จนกระทั่งสูญเสียหรือเกิดปัญหาขึ้นกับเล็บแล้วนั่นแหละจึงจะนึกขึ้นได้ การถนอมเล็บให้สวยคงอยู่นานๆ จึงเป็นความจำเป็นที่ไม่ควรมองข้ามเฉกเช่นเดียวกับการดูแลผิวหนังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย : พญ.พงศ์ระวี ดอแสงธรรมนนท์ โรงพยาบาลยันฮี โทร.0-2879-0340 ขอบคุณ... เนื้อหาข่าว : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=848786 รูป : http://www.ruksukaphab.com/articles/41975297/health/your_health_your_skin.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)