เรียนรู้เข้าใจ'แอสเพอร์เกอร์' หนูเป็นได้มากกว่า..ออทิสติกไร้มารยาท

แสดงความคิดเห็น

"แอสเพอร์เกอร์" เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่มของ "ออทิสติก" พ่อแม่หลายคนเมื่อได้ยินคำนี้มักมีความกังวลใจสูง เนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบเกี่ยวกับโรคออทิสติก ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่ป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์ สามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่วไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกอย่างไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง หรือจะเป็นเซอร์ไอแซ็ก นิวตัน รวมถึงผู้กำกับมือทองอย่างสตีเวน สปีลเบิร์ก ตัวอย่างของอัจฉริยะทั้งหลายนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าข่ายการเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์สามารถเป็นอัจฉริยะได้ เพียงแต่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องมีความเข้าใจและให้การดูแล ช่วยเหลืออย่างถูกวิธี

เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในสังคมที่ต้องดูแลผู้ที่ประสบภาวะแอส เพอร์เกอร์ โรงพยาบาลมนารมย์จึงได้จัดบรรยายในหัวข้อ "เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์" ขึ้น โดยแพทย์หญิงกมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์ เผยว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าแอสเพอร์เกอร์เกิดจากสาเหตุ ใด แต่ที่แน่ๆ คือไม่ได้เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดู โดยมีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยในกลุ่มภาวะความผิดปกติประเภทออทิสติก (Autistic Spectrum) เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑ และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่มีความสามารถทางสติปัญญา ในเกณฑ์ปกติ บางรายอยู่ในขั้นดีเลิศ ทั้งนี้พฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ ปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อ แม่ ครู และผู้ปกครอง สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด

"เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่สามารถเข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยที ถ้อยอาศัย และมักมีการดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำๆ ไม่เปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะ เกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด โกรธ อาละวาด เมื่อพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าว ควรให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการ และสภาพจิต เพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ" แพทย์หญิงกมลชนกกล่าว

นอกจากภาวะทางด้านการสื่อสารและด้านสังคมที่พบได้แล้ว เด็กที่ป่วยด้วยโรคแอสเพอร์เกอร์อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยก็อาจจะต้องใช้ยาร่วมกับการ ทำพฤติกรรมบำบัดในการรักษา

จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์กล่าวต่อว่า การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในด้านพัฒนาการทางสังคมจะต้องสอนทักษะการ ปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา การช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงการสอนให้มีการประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย

ข้อมูลบนเวทีบรรยายยังสะท้อนด้วยว่า ภาวะแอสเพอร์เกอร์ทำให้ผู้เข้าข่ายเป็นโรคดังกล่าวอยู่กับผู้อื่น ได้ยากลำบาก ทำให้โลกของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมร่วมกับมีพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียน การงาน และการเข้าสังคม อันเนื่องมาจากเด็กไม่เข้าใจและไม่รู้จักวิธีการมองโลกในมุมมอง ของคนอื่นแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา การใช้คำพูดและการกระทำอาจทำให้คนรอบข้างไม่พอใจ ประกอบกับการไม่สามารถเข้าใจในมุกตลกหรือคำประชดประชัน รวมทั้งลักษณะการเล่นสนุกตามวัย จึงมักถูกเพื่อนรังแก ทั้งที่จริงเด็กแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการเข้าสังคม อยากหัวเราะไปกับเรื่องตลกร่วมกับคนอื่นเช่นเดียวกัน

"เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่ก็มีศักยภาพและความน่ารักอยู่ในตัว เพราะเขาจะให้อภัยคนง่าย ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่ลักขโมย ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคม และการเรียน ทั้งพ่อแม่ ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดแล้ว ควรที่จะต้องช่วยหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนและสังคมยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยยังคงรักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของเขาอยู่" แพทย์หญิงกมลชนกระบุเพิ่ม พร้อมกล่าวด้วยว่า มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพ่อและแม่ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ลูกสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ ยากลำบากไปได้.

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1669677

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๑๒ มิ.ย.๕๖
วันที่โพสต์: 15/06/2556 เวลา 03:33:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

"แอสเพอร์เกอร์" เป็นหนึ่งในความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่มของ "ออทิสติก" พ่อแม่หลายคนเมื่อได้ยินคำนี้มักมีความกังวลใจสูง เนื่องจากมีความเชื่อฝังใจกับความหมายเชิงลบเกี่ยวกับโรคออทิสติก ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ที่ป่วยเป็นแอสเพอร์เกอร์ สามารถดำเนินชีวิตและประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยกว่าคนปกติทั่วไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกอย่างไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบแรงโน้มถ่วง หรือจะเป็นเซอร์ไอแซ็ก นิวตัน รวมถึงผู้กำกับมือทองอย่างสตีเวน สปีลเบิร์ก ตัวอย่างของอัจฉริยะทั้งหลายนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าข่ายการเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์สามารถเป็นอัจฉริยะได้ เพียงแต่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องมีความเข้าใจและให้การดูแล ช่วยเหลืออย่างถูกวิธี เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในสังคมที่ต้องดูแลผู้ที่ประสบภาวะแอส เพอร์เกอร์ โรงพยาบาลมนารมย์จึงได้จัดบรรยายในหัวข้อ "เปิดโลกแอสเพอร์เกอร์" ขึ้น โดยแพทย์หญิงกมลชนก เหล่าชัยศรี จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์ เผยว่า ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าแอสเพอร์เกอร์เกิดจากสาเหตุ ใด แต่ที่แน่ๆ คือไม่ได้เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดู โดยมีงานวิจัยในต่างประเทศพบว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยในกลุ่มภาวะความผิดปกติประเภทออทิสติก (Autistic Spectrum) เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑ และพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์ส่วนใหญ่มีความสามารถทางสติปัญญา ในเกณฑ์ปกติ บางรายอยู่ในขั้นดีเลิศ ทั้งนี้พฤติกรรมผิดปกติของแอสเพอร์เกอร์คือ ปัญหาด้านพัฒนาการของทักษะทางสังคม ซึ่งพ่อ แม่ ครู และผู้ปกครอง สามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่วัยเด็กในช่วงตั้งแต่เด็กเริ่มหัดพูด "เด็กที่มีภาวะแอสเพอร์เกอร์จะไม่สามารถเข้าใจถึงความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น จึงพูดแต่ในแง่มุมของตัวเองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ลักษณะการพูดคุยสื่อสารทางสังคมแบบโต้ตอบที่มีลักษณะถ้อยที ถ้อยอาศัย และมักมีการดำเนินกิจวัตรประจำวันรูปแบบเดิมซ้ำๆ ไม่เปลี่ยนแปลง หากมีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่แตกต่างไปจากเดิมจะ เกิดความเครียดขึ้นทันที ซึ่งบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นหงุดหงิด โกรธ อาละวาด เมื่อพบว่าเด็กมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับลักษณะดังกล่าว ควรให้แพทย์วินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยการตรวจร่างกาย ระบบประสาท พัฒนาการ และสภาพจิต เพื่อประเมินและหาแนวทางช่วยเหลือ" แพทย์หญิงกมลชนกกล่าว นอกจากภาวะทางด้านการสื่อสารและด้านสังคมที่พบได้แล้ว เด็กที่ป่วยด้วยโรคแอสเพอร์เกอร์อาจพบอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ การมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายตัวเอง ย้ำคิดย้ำทำ อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยก็อาจจะต้องใช้ยาร่วมกับการ ทำพฤติกรรมบำบัดในการรักษา จิตแพทย์เด็กประจำโรงพยาบาลมนารมย์กล่าวต่อว่า การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในด้านพัฒนาการทางสังคมจะต้องสอนทักษะการ ปฏิบัติตัวทางสังคมในชีวิตประจำวัน สอนวิธีการแก้ไขสถานการณ์ที่พบบ่อยและเป็นปัญหา การช่วยสอนให้รับรู้ว่าคนอื่นคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร รวมถึงการสอนให้มีการประเมินพฤติกรรมของตนเองว่าเหมาะสมเพียงใด และสอนให้เข้าใจความเกี่ยวโยงของสถานการณ์กับความรู้สึกด้วย ข้อมูลบนเวทีบรรยายยังสะท้อนด้วยว่า ภาวะแอสเพอร์เกอร์ทำให้ผู้เข้าข่ายเป็นโรคดังกล่าวอยู่กับผู้อื่น ได้ยากลำบาก ทำให้โลกของเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมร่วมกับมีพฤติกรรมไม่ยืดหยุ่น จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต การเรียน การงาน และการเข้าสังคม อันเนื่องมาจากเด็กไม่เข้าใจและไม่รู้จักวิธีการมองโลกในมุมมอง ของคนอื่นแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา การใช้คำพูดและการกระทำอาจทำให้คนรอบข้างไม่พอใจ ประกอบกับการไม่สามารถเข้าใจในมุกตลกหรือคำประชดประชัน รวมทั้งลักษณะการเล่นสนุกตามวัย จึงมักถูกเพื่อนรังแก ทั้งที่จริงเด็กแอสเพอร์เกอร์ก็ต้องการเข้าสังคม อยากหัวเราะไปกับเรื่องตลกร่วมกับคนอื่นเช่นเดียวกัน "เด็กแอสเพอร์เกอร์แม้จะมีความบกพร่องทางสังคม แต่ก็มีศักยภาพและความน่ารักอยู่ในตัว เพราะเขาจะให้อภัยคนง่าย ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ ไม่ค่อยรังเกียจหรือรังแกใคร ไม่ลักขโมย ไม่แบ่งแยกคนจากภาษาหรือสีผิว ฉลาดและมีความสามารถ ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือด้านพัฒนาการทางสังคม และการเรียน ทั้งพ่อแม่ ครู และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดแล้ว ควรที่จะต้องช่วยหาจุดแข็งของเด็กให้พบ เพื่อใช้เป็นจุดเด่นที่ทำให้เพื่อนและสังคมยอมรับ ซึ่งจะช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยยังคงรักษาความเป็นปัจเจกบุคคลของเขาอยู่" แพทย์หญิงกมลชนกระบุเพิ่ม พร้อมกล่าวด้วยว่า มีผู้ป่วยแอสเพอร์เกอร์จำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยพ่อและแม่ล้วนมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ลูกสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ ยากลำบากไปได้. ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/tpd/1669677

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...