หมู่บ้าน“คนหูหนวก”
ในหมู่บ้านห่างไกลที่ชื่อว่า “เบงกาลา” บนเกาะบาหลีของอินโดนีเซียน ชาวบ้านราว 3,000 คนในชุมชนสามารถใช้ภาษา “กาตา โกโลก” หรือ ภาษามือท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาช้านานเพื่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับคนปกติ ได้ แต่ทำไมพวกเขาถึงสามารถพูดภาษามือกันได้ทั้งชุมชนขนาดนี้ !!! เหตุผลเพราะ มีคน “หูหนวก”อยู่ในหมู่บ้านเป็น จำนวนมากค่ะ และไม่ใช่แค่ชาวบ้านจะสามารถสื่อสารภาษามือได้เท่านั้นนะคะ พวกเขายังให้เกียรติและเคารพคนหูหนวกอย่างเท่าเทียมด้วย จากบทความของคุณแมตต์ อาเลเซวิช นักข่าวของเครือสื่อมวลชนในสหรัฐ “ไวซ์”ให้ข้อมูลไว้ว่า จำนวนคนหูหนวกในหมู่บ้านนี้จะมีอัตราสูงกว่าจำนวนคนหูหนวกโดยเฉลี่ยทั่วไป ถึง 15 เท่า สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะชาวบ้านในพื้นที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม คือมียีนหูหนวก “DFNB3”แฝงอยู่ในยีนของพวกเขามากว่า 7 ชั่วอายุคน พ่อแม่ที่มีการได้ยินปกติ อาจให้กำเนิดลูกที่มีการได้ยินผิดปกติหรือ พ่อแม่ที่มีการได้ยินผิดปกติ ก็สามารถให้กำเนิดลูกที่มีการได้ยินปกติได้เช่นกัน แต่แม้จะเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรให้กับคนในหมู่บ้าน เพราะพวกเขาชินกับการอยู่ร่วมกับคนหูหนวกและใช้ภาษามือที่สืบทอดกันมา จากรุ่นสู่รุ่นเกือบร้อยปี ในชุมชนบางกลุ่มบนเกาะบาหลีไม่คิดว่าการหูหนวกเป็นความผิดปกติ ในทางตรงกันข้ามกลับคิดว่าเป็นพรจากเทพ “เทวา โกโลก” ซึ่งเป็นเทพแห่งการไม่ได้ยิน
ชาวบ้านเชื่อกันว่า เทพองค์นี้สถิตย์อยู่ในสุสานคอยดูแลคุ้มครองคนในพื้นที่ แต่ตำนานย่อมมีสองด้าน อีกตำนานหนึ่งซึ่งนายอิดา มาร์ดานา นายกเทศมนตรีของหมู่บ้านเบงกาลาเล่าว่า ในอดีตจอมเวทย์สองคนทำการต่อสู้กันอย่างดุเดือดในบริเวณนี้และต่างฝ่ายต่าง ถูกคำสาปว่า ให้กลายเป็นคนหูหนวก นอกจากนี้ ชื่อของหมู่บ้าน “เบงกาลา”ก็แปลว่า ที่สำหรับหลบซ่อนอีกด้วย ทุก วันนี้ มีชาวบ้านจำนวน 42 คน จากราว 3,000 คนที่หูหนวก แต่แทนที่พวกเขาจะได้รับความสงสารหรือตกเป็นพลเมืองชั้นสอง พวกเขากลับได้รับการยกย่องว่า มีร่างกายแข็งแรงกว่าคนปกติ มีความยืดหยุ่น ที่สำคัญจงรักภักดีและซื่อสัตย์มากกว่า ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ผู้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงเมื่อเดือดร้อนก็มักเข้ามา ที่เบงกาลาเพื่อหลบภัย ส่วนคนหูหนวกหรือที่เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า “โกโลก” ส่วนมากจะถูกจ้างให้เป็น “ยามรักษาความปลอดภัย” เพราะมีวินัยสูงและทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าคนปกติเสียอีก“
คุณอิดาเล่า ว่า ถ้าบอกให้คนโกโลกมาทำงานตอน 7.00 น. พวกเขาจะมาก่อนเวลา และยังมีความจำที่ดี ถ้าเห็นอะไรไม่ยุติธรรมก็จะตรงเข้าจัดการทันที และถ้าคนโกโลกสามารถจับโจรได้ พวกเขาจะตีโจรจนเกือบตาย เพราะไม่ได้ยินเสียงร้องขอชีวิต แม้พวกเขาจะไม่ได้มีจำนวนมากเมื่อเทียบกับคนปกติในหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านก็ไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับพวกเขา เพราะทุกคนใช้ภาษาโกโลกเป็น แถมยังสอนลูกสอนหลานให้ใช้ภาษานี้เป็นภาษาที่สองหรือสามอีกด้วย ทำให้ภาษาโกโลก ยังไม่ตายออกไปจากวิถีชีวิตคนในพื้นที่ นอก จากนี้ เด็กที่มีความผิดปกติทางการได้ยินยังสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้อีกด้วย เพราะคุณครูจะพูดไปด้วย ใช้ภาษามือสอนไปด้วยพร้อมๆกัน
คุณแมตต์ยังเสาะแสวงหาข้อมูลอีกว่า เด็กๆจากเบงกาลาก็เหมือนเด็กทั่วไปที่เข้าสู่ยุคโลกภิวัฒน์ สามารถสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ๆ เช่น สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดีย และพวกเด็กยังได้เรียนภาษามือที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก รวมทั้งมีบางคนที่ได้ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนหูหนวกของรัฐบาลอีกด้วย แม้ ขณะนี้จะมีคนหูหนวกในพื้นที่ได้รับการศึกษาเพียง 5 คน เท่านั้น แต่คุณอิดาบอกว่า ทุกอย่างกำลังจะดีขึ้น เพราะในปีที่ผ่านมา เบงกาลากลายเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกแวะมาเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะนักมนุษยวิทยาที่ต้องการเข้ามาศึกษาสังคมที่มีลักษณะเฉพาะตัวของที่นี่ และยังมีพวกนักท่องเที่ยวที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เดินทางเข้ามาที่หมู่บ้านเพื่อดูตัวอย่างชุมชน อีกทั้งมาชมระบำคนหูหนวก ที่คนโกโลกจะแสดงโดยการจับจังหวะจากท่าทาง น่า ดีใจนะคะ ชาวบ้านปฏิบัติกับคนที่มีอาการบกพร่องทางการได้ยินอย่างเท่าเทียม สร้างภาษามือขึ้นใช้เองสืบทอดกันมาเป็นร้อยปี ให้สิทธิ์คนหูหนวก สามารถมีอาชีพเหมือนกับคนปกติได้ แถมยังวางแผนดึงจุดนี้มาเป็นจุดเด่น สร้างหมู่บ้านให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดรายได้เลี้ยงชาวบ้านอีก หมวยเล็กว่า อย่างนี้แหละค่ะคือเพื่อนมนุษย์ที่เคารพสิทธิมนุษยชนตัวจริง
ขอบคุณภาพจาก http://www.brunchnews.com http://www.vice.com/read/theres-a-village-in-bali-where-everyone-knows-sign-language-511 (ขนาดไฟล์: 162)
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/364506 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หมู่บ้าน เบงกาลา บนเกาะบาหลีของอินโดนีเซียน ในหมู่บ้านห่างไกลที่ชื่อว่า “เบงกาลา” บนเกาะบาหลีของอินโดนีเซียน ชาวบ้านราว 3,000 คนในชุมชนสามารถใช้ภาษา “กาตา โกโลก” หรือ ภาษามือท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาช้านานเพื่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับคนปกติ ได้ แต่ทำไมพวกเขาถึงสามารถพูดภาษามือกันได้ทั้งชุมชนขนาดนี้ !!! เหตุผลเพราะ มีคน “หูหนวก”อยู่ในหมู่บ้านเป็น จำนวนมากค่ะ และไม่ใช่แค่ชาวบ้านจะสามารถสื่อสารภาษามือได้เท่านั้นนะคะ พวกเขายังให้เกียรติและเคารพคนหูหนวกอย่างเท่าเทียมด้วย จากบทความของคุณแมตต์ อาเลเซวิช นักข่าวของเครือสื่อมวลชนในสหรัฐ “ไวซ์”ให้ข้อมูลไว้ว่า จำนวนคนหูหนวกในหมู่บ้านนี้จะมีอัตราสูงกว่าจำนวนคนหูหนวกโดยเฉลี่ยทั่วไป ถึง 15 เท่า สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะชาวบ้านในพื้นที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม คือมียีนหูหนวก “DFNB3”แฝงอยู่ในยีนของพวกเขามากว่า 7 ชั่วอายุคน พ่อแม่ที่มีการได้ยินปกติ อาจให้กำเนิดลูกที่มีการได้ยินผิดปกติหรือ พ่อแม่ที่มีการได้ยินผิดปกติ ก็สามารถให้กำเนิดลูกที่มีการได้ยินปกติได้เช่นกัน แต่แม้จะเป็นเช่นนี้ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรให้กับคนในหมู่บ้าน เพราะพวกเขาชินกับการอยู่ร่วมกับคนหูหนวกและใช้ภาษามือที่สืบทอดกันมา จากรุ่นสู่รุ่นเกือบร้อยปี ในชุมชนบางกลุ่มบนเกาะบาหลีไม่คิดว่าการหูหนวกเป็นความผิดปกติ ในทางตรงกันข้ามกลับคิดว่าเป็นพรจากเทพ “เทวา โกโลก” ซึ่งเป็นเทพแห่งการไม่ได้ยิน ชาวบ้านเชื่อกันว่า เทพองค์นี้สถิตย์อยู่ในสุสานคอยดูแลคุ้มครองคนในพื้นที่ แต่ตำนานย่อมมีสองด้าน อีกตำนานหนึ่งซึ่งนายอิดา มาร์ดานา นายกเทศมนตรีของหมู่บ้านเบงกาลาเล่าว่า ในอดีตจอมเวทย์สองคนทำการต่อสู้กันอย่างดุเดือดในบริเวณนี้และต่างฝ่ายต่าง ถูกคำสาปว่า ให้กลายเป็นคนหูหนวก นอกจากนี้ ชื่อของหมู่บ้าน “เบงกาลา”ก็แปลว่า ที่สำหรับหลบซ่อนอีกด้วย ทุก วันนี้ มีชาวบ้านจำนวน 42 คน จากราว 3,000 คนที่หูหนวก แต่แทนที่พวกเขาจะได้รับความสงสารหรือตกเป็นพลเมืองชั้นสอง พวกเขากลับได้รับการยกย่องว่า มีร่างกายแข็งแรงกว่าคนปกติ มีความยืดหยุ่น ที่สำคัญจงรักภักดีและซื่อสัตย์มากกว่า ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ผู้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงเมื่อเดือดร้อนก็มักเข้ามา ที่เบงกาลาเพื่อหลบภัย ส่วนคนหูหนวกหรือที่เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า “โกโลก” ส่วนมากจะถูกจ้างให้เป็น “ยามรักษาความปลอดภัย” เพราะมีวินัยสูงและทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าคนปกติเสียอีก“ ชาวบ้านของหมู่บ้าน เบงกาลา บนเกาะบาหลีของอินโดนีเซียน สามารถใช้ภาษา “กาตา โกโลก” หรือ ภาษามือท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาช้านานเพื่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับคนปกติ ได้ คุณอิดาเล่า ว่า ถ้าบอกให้คนโกโลกมาทำงานตอน 7.00 น. พวกเขาจะมาก่อนเวลา และยังมีความจำที่ดี ถ้าเห็นอะไรไม่ยุติธรรมก็จะตรงเข้าจัดการทันที และถ้าคนโกโลกสามารถจับโจรได้ พวกเขาจะตีโจรจนเกือบตาย เพราะไม่ได้ยินเสียงร้องขอชีวิต แม้พวกเขาจะไม่ได้มีจำนวนมากเมื่อเทียบกับคนปกติในหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านก็ไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับพวกเขา เพราะทุกคนใช้ภาษาโกโลกเป็น แถมยังสอนลูกสอนหลานให้ใช้ภาษานี้เป็นภาษาที่สองหรือสามอีกด้วย ทำให้ภาษาโกโลก ยังไม่ตายออกไปจากวิถีชีวิตคนในพื้นที่ นอก จากนี้ เด็กที่มีความผิดปกติทางการได้ยินยังสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้อีกด้วย เพราะคุณครูจะพูดไปด้วย ใช้ภาษามือสอนไปด้วยพร้อมๆกัน คุณแมตต์ยังเสาะแสวงหาข้อมูลอีกว่า เด็กๆจากเบงกาลาก็เหมือนเด็กทั่วไปที่เข้าสู่ยุคโลกภิวัฒน์ สามารถสื่อสารผ่านช่องทางใหม่ๆ เช่น สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดีย และพวกเด็กยังได้เรียนภาษามือที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก รวมทั้งมีบางคนที่ได้ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนหูหนวกของรัฐบาลอีกด้วย แม้ ขณะนี้จะมีคนหูหนวกในพื้นที่ได้รับการศึกษาเพียง 5 คน เท่านั้น แต่คุณอิดาบอกว่า ทุกอย่างกำลังจะดีขึ้น เพราะในปีที่ผ่านมา เบงกาลากลายเป็นสถานที่ที่มีผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกแวะมาเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะนักมนุษยวิทยาที่ต้องการเข้ามาศึกษาสังคมที่มีลักษณะเฉพาะตัวของที่นี่ และยังมีพวกนักท่องเที่ยวที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เดินทางเข้ามาที่หมู่บ้านเพื่อดูตัวอย่างชุมชน อีกทั้งมาชมระบำคนหูหนวก ที่คนโกโลกจะแสดงโดยการจับจังหวะจากท่าทาง น่า ดีใจนะคะ ชาวบ้านปฏิบัติกับคนที่มีอาการบกพร่องทางการได้ยินอย่างเท่าเทียม สร้างภาษามือขึ้นใช้เองสืบทอดกันมาเป็นร้อยปี ให้สิทธิ์คนหูหนวก สามารถมีอาชีพเหมือนกับคนปกติได้ แถมยังวางแผนดึงจุดนี้มาเป็นจุดเด่น สร้างหมู่บ้านให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดรายได้เลี้ยงชาวบ้านอีก หมวยเล็กว่า อย่างนี้แหละค่ะคือเพื่อนมนุษย์ที่เคารพสิทธิมนุษยชนตัวจริง ขอบคุณภาพจาก http://www.brunchnews.com http://www.vice.com/read/theres-a-village-in-bali-where-everyone-knows-sign-language-511 ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/364506
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)