สพฉ.จับมือภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรจัดเวทีเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2
สพฉ.จับมือภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรจัดเวทีเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน”
สพฉ.จับมือภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรจัดเวทีเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน" ตั้งเป้าลดการเสียชีวิตและพิการของประชาชนในพื้นที่ชุมชน พร้อมเปิดสถิติในจำนวนคนไทยเสียชีวิตแต่ละปี 460,000 คนเป็นการเสียชีวิตจากภาวะฉุกเฉินถึงร้อยละ 15-20
วันที่ 30 – 31 สิงหาคมที่จะถึงนี้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนจัดเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน" ขึ้น ที่โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์ จังหวัดนนทบุรี โดยจะมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายประชาสังคมเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าว ถึงวัตถุประสงค์ในการเตรียมจัดงานครั้งนี้ว่า ปัจจุบันนี้คนไทยเราเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปีล่าสุดปีพ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาคนไทยเสียชีวิตมากถึง 460,000 รายซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินจากสี่โรคหลัก คือ โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน และอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15-20 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด นอกจากนี้แล้วเรายังมีผู้พิการเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ปีละประมาณ 1 แสนคนด้วย ซึ่งในจำนวนผู้พิการที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผู้พิการแต่กำเนิดน้อยมากแต่เป็นผู้พิการที่เกิดจากอุบัติบนท้องถนนและโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตในจำนวนที่มากจนน่าตกใจ ซึ่งระบบการแพทย์ฉุกเฉินจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปถึงโรงพยาบาลเพื่อเข้าสู่การรักษาอย่างทันท่วงทีและจะทำให้ลดการเสียชีวิตและพิการได้ ที่ผ่านมาเราได้พยายามพัฒนาระบบการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้ครอบคลุมการให้บริการประชาชนแต่ยังทำได้ไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามในส่วนที่สำคัญกว่าการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินคือการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่จะเป็นส่วนช่วยที่สำคัญที่จะลดอัตราการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และการพิการของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยประชาชนจะตัองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการสร้างกลไกความปลอดภัยในชีวิตให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเฉพาะการเริ่มจากฐานของชุมชน จึงเป็นสาเหตุที่เราจัดเวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน" ขึ้นในครั้งนี้
รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวต่อว่า การจัดประชุมในครั้งนี้เราได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี มากล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ตำบลปลอดภัย" โดยจะแนะนำในเรื่องของการทำงานในพื้นที่ชุมชนโดยให้ใช้มิติของตำบลปลอดภัยในการขับเคลื่อนงานเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ซึ่งตำบลปลอดภัยจะมีองค์ประกอบครบไม่เล็กเกินไปหรือว่าใหญ่จนเกินไป เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการขับเคลื่อนเรื่องการป้องกันภาวะของการเจ็บป่วยฉุกเฉินในชุมชนนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและขับเคลื่อนจากประชาชนด้วยกันเองและหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ก็จะเป็นส่วนที่หนุนเสริม โดยจะมีอาสาสมัครต่างๆ ที่จะเป็นคนช่วยขับเคลื่อนร่วมในภาพใหญ่ โดยภาพในเบื้องต้นของตำบลปลอดภัยจะประกอบด้วยมิติในเชิงโครงสร้างและการดำเนินการเช่นบ้านเรือนปลอดภัย หมู่บ้านปลอดภัย โรงเรียนปลอดภัย วัดปลอดภัย โรงงานปลอดภัย เส้นทางปลอดภัย สิ่งแวดล้อมปอลดภัยร้านค้าสถานที่ราชการสถานที่จัดประชุมก็จะต้องปลอดภัยด้วย โดยเป้าหมายสูงสุดของตำบลปลอดภัยคือการลดอัตราของคนเสียชีวิตและพิการให้ได้มากที่สุด
"ดังนั้นในวันที่ 30 – 31 สิงหาคมที่จะถึงนี้ เราจึงอยากขอเชิญชวนทุกคนให้มาร่วมงาน เวทีประชุมวิชาการภาคประชาชนครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "ยุทธศาสตร์ตำบลปลอดภัย หัวใจการแพทย์ฉุกเฉิน" ขึ้น ที่โรงแรมเบสท์เวสเทิร์นพลัสแวนด้าแกรนด์ จังหวัดนนทบุรี มาร่วมวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างตำบลที่ปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของทุกคนร่วมกัน โดยภายในงานจะมีกิจกรรมและเวทีเสวนาวิชาการ รวมถึงเวทีถอดบทเรียนต้นแบบตำบลปลอดภัยตัวอย่างที่น่าสนใจในหลากหลายพื้นที่ร่วมด้วย"นพ.ไพโรจน์กล่าว
ขอบคุณ... https://www.thaipr.net/health/884419