สมาคมคนหูหนวกฟ้องค่ายหนังฮอลลีวู้ด ไม่ทำ "ซับไตเติล" เพลงประกอบภาพยนตร์?

แสดงความคิดเห็น

กลายเป็นข่าวขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อค่ายหนังยักษ์ใหญ่ของฮอลลีวู้ดและค่ายทีวียักษ์ใหญ่รวม 8 ค่าย ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้ง ค่ายพาราเมาท์ พิคเจอร์ส์, โซนี่ พิคเจอร์ส์ และค่ายดิสนี่ย์ ตกเป็นจำเลยหมู่ ถูกสมาคมคนหูหนวกและผู้มีปัญหาทางการได้ยินฟ้องในข้อหาเลือกปฏิบัติต่อคนหูหนวกและผู้มีปัญหาทางการได้ยิน เพราะไม่มีการทำซับไตเติล หรือคำบรรยายเนื้อเพลงของเพลงประกอบภาพยนตร์ ทำให้ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ได้รับอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์อย่างครบถ้วน

ภารยนต์การตูนอินนิเมชั่น พร้อม"ซับไตเติล" ประกอบภาพยนตร์

รายงานข่าวของเอเอฟพี ระบุว่า เมเรดิธ ซูการ์ ประธานสมาคมคนหูหนวกและผู้มีปัญหาทางการได้ยินอเล็กซานเดอร์กราแฮมเบลและสมาชิกหลายคนของสมาคมได้ฟ้อง

คดีนี้ต่อศาลสูงแห่งนครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยว่าขณะที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีการทำซับไตเติลสำหรับบทสนทนา แต่กลับไม่มีการทำซับไตเติลสำหรับบรรยายเนื้อเพลงทั้งจอเงินและจอแก้ว โดยผลงานภาพยนตร์ที่มีการระบุในหมายฟ้อง มีทั้งภาพยนตร์เรื่องดัง อย่าง "The Godfather", "The Avengers", "Minions" และภาพยนตร์ทีวียอดฮิตของค่ายเน็ตฟลิกซ์ อย่างเรื่อง "Orange is theNewBlack"และ"HouseofCards"

ทั้งนี้ เมเรดิธกล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้เธอและสมาชิกหลายคนในสมาคมต้องลุกขึ้นมาฟ้อง ร้องประเด็นนี้ว่า "สำหรับคนหูหนวก หรือผู้มีปัญหาทางการได้ยิน ซับไตเติลคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ดูภาพยนตร์ได้อย่างเข้าใจ มันก็เหมือนกับเวลาที่เราเข้าไปดูหนัง แล้วบางช่วงไม่มีซับไตเติล เราก็จะไม่รู้ว่าตัวละครพูดอะไรกันทำให้ขาดอรรถรสในการชม"

จอห์น สแตนตัน สมาชิกคนหนึ่งของสมาคมให้ความเห็นถึงความสำคัญของเนื้อเพลงว่า "บ่อยครั้งที่เนื้อเพลงของเพลงประกอบภาพยนตร์ ได้บอกเล่าถึงหัวใจของภาพยนตร์ และช่วยเสริมสร้างอารมณ์ความรู้สึกของภาพยนตร์ ดังนั้น การที่ไม่มีซับไตเติลให้คนหูหนวก หรือคนพิการทางการได้ยิน ได้อ่าน ก็เท่ากับเป็นการปล้นอรรถรสในการชมภาพยนตร์ได้อย่างเต็มอิ่มไป จากพวกเขาเหนือสิ่งอื่นใด เพลงประกอบภาพยนตร์สามารถอธิบายถึงแก่นสาระของภาพยนตร์ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของภาพยนตร์ แล้วยังสามารถให้ความสนุกสนานความโรแมนติกหรืออธิบายความเป็นไปต่างๆได้ดีกว่าบทสนทนาทั่วไป"

อย่างไรก็ตาม ค่ายหนังที่ตกเป็นจำเลยยังไม่ออกมาให้ความเห็นใดๆ ขณะที่ในหมายฟ้องทางโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายไม่ระบุจำนวน และขอให้โจทก์ต้องจัดทำซับไตเติล หรือคำบรรยายแบบครบถ้วนในดีวีดีที่ทำออกวางจำหน่ายหรือให้เช่า

ที่มา : นสพ.มติชน

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1446305987

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 02 พ.ย.58
วันที่โพสต์: 3/11/2558 เวลา 11:05:38 ดูภาพสไลด์โชว์ สมาคมคนหูหนวกฟ้องค่ายหนังฮอลลีวู้ด ไม่ทำ "ซับไตเติล" เพลงประกอบภาพยนตร์?

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลายเป็นข่าวขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อค่ายหนังยักษ์ใหญ่ของฮอลลีวู้ดและค่ายทีวียักษ์ใหญ่รวม 8 ค่าย ซึ่งในจำนวนนี้มีทั้ง ค่ายพาราเมาท์ พิคเจอร์ส์, โซนี่ พิคเจอร์ส์ และค่ายดิสนี่ย์ ตกเป็นจำเลยหมู่ ถูกสมาคมคนหูหนวกและผู้มีปัญหาทางการได้ยินฟ้องในข้อหาเลือกปฏิบัติต่อคนหูหนวกและผู้มีปัญหาทางการได้ยิน เพราะไม่มีการทำซับไตเติล หรือคำบรรยายเนื้อเพลงของเพลงประกอบภาพยนตร์ ทำให้ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ได้รับอรรถรสในการรับชมภาพยนตร์อย่างครบถ้วน ภารยนต์การตูนอินนิเมชั่น พร้อม"ซับไตเติล" ประกอบภาพยนตร์ รายงานข่าวของเอเอฟพี ระบุว่า เมเรดิธ ซูการ์ ประธานสมาคมคนหูหนวกและผู้มีปัญหาทางการได้ยินอเล็กซานเดอร์กราแฮมเบลและสมาชิกหลายคนของสมาคมได้ฟ้อง คดีนี้ต่อศาลสูงแห่งนครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยว่าขณะที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีการทำซับไตเติลสำหรับบทสนทนา แต่กลับไม่มีการทำซับไตเติลสำหรับบรรยายเนื้อเพลงทั้งจอเงินและจอแก้ว โดยผลงานภาพยนตร์ที่มีการระบุในหมายฟ้อง มีทั้งภาพยนตร์เรื่องดัง อย่าง "The Godfather", "The Avengers", "Minions" และภาพยนตร์ทีวียอดฮิตของค่ายเน็ตฟลิกซ์ อย่างเรื่อง "Orange is theNewBlack"และ"HouseofCards" ทั้งนี้ เมเรดิธกล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้เธอและสมาชิกหลายคนในสมาคมต้องลุกขึ้นมาฟ้อง ร้องประเด็นนี้ว่า "สำหรับคนหูหนวก หรือผู้มีปัญหาทางการได้ยิน ซับไตเติลคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ดูภาพยนตร์ได้อย่างเข้าใจ มันก็เหมือนกับเวลาที่เราเข้าไปดูหนัง แล้วบางช่วงไม่มีซับไตเติล เราก็จะไม่รู้ว่าตัวละครพูดอะไรกันทำให้ขาดอรรถรสในการชม" จอห์น สแตนตัน สมาชิกคนหนึ่งของสมาคมให้ความเห็นถึงความสำคัญของเนื้อเพลงว่า "บ่อยครั้งที่เนื้อเพลงของเพลงประกอบภาพยนตร์ ได้บอกเล่าถึงหัวใจของภาพยนตร์ และช่วยเสริมสร้างอารมณ์ความรู้สึกของภาพยนตร์ ดังนั้น การที่ไม่มีซับไตเติลให้คนหูหนวก หรือคนพิการทางการได้ยิน ได้อ่าน ก็เท่ากับเป็นการปล้นอรรถรสในการชมภาพยนตร์ได้อย่างเต็มอิ่มไป จากพวกเขาเหนือสิ่งอื่นใด เพลงประกอบภาพยนตร์สามารถอธิบายถึงแก่นสาระของภาพยนตร์ สามารถถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของภาพยนตร์ แล้วยังสามารถให้ความสนุกสนานความโรแมนติกหรืออธิบายความเป็นไปต่างๆได้ดีกว่าบทสนทนาทั่วไป" อย่างไรก็ตาม ค่ายหนังที่ตกเป็นจำเลยยังไม่ออกมาให้ความเห็นใดๆ ขณะที่ในหมายฟ้องทางโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายไม่ระบุจำนวน และขอให้โจทก์ต้องจัดทำซับไตเติล หรือคำบรรยายแบบครบถ้วนในดีวีดีที่ทำออกวางจำหน่ายหรือให้เช่า ที่มา : นสพ.มติชน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1446305987

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...