บช.แจ้งแบงก์รัฐ “บัตรคนจน” รอบใหม่ เคสพิการ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง มอบฉันทะ “ผู้ดูแล” ทำธุรกรรมแทนได้

บช.แจ้งแบงก์รัฐ “บัตรคนจน” รอบใหม่ เคสพิการ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง มอบฉันทะ “ผู้ดูแล” ทำธุรกรรมแทนได้

บช. แจง “เจ้าของบัตรคนจน” รอบใหม่ กรณีผู้พิการ ผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง ไม่สะดวกไปแบงก์ สามารถมอบฉันทะ “ผู้ดูแล” ทำธุรกรรมแทนได้ หลัง บมจ.กรุงไทย ทำหนังสือสอบถามต้องใช้เอกสารใด? หรือกรณีเขียนหนังสือไม่ได้ให้ทำอย่างไร ย้ำ ธนาคารต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐาน “ใบมอบฉันทะ-ชื่อ-นามสกุล-ที่อยู่-ลายมือชื่อรับรอง-พยาน” ให้ละเอียดทุกขั้นตอน ก่อนผ่านธุรกรรม

วันนี้ (13 ม.ค.) รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมบัญชีกลาง มีหนังสือด่วนที่สุดถึง บมจ.ธนาคารกรุงไทย เพื่อแจ้งแนวทางดำเนินการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ภายหลัง บมจ. มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ สอบถามแนวทางการดำเนินงานกรณีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) มอบฉันทะ กรณีมีการทำธุรกรรมของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในการถอนเงินสดจากกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ของผู้ถือบัตรทีมืสถานะต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง อาจไม่สะดวกที่จะเดินทางไปที่สาขาธนาคารด้วยตัวเองเพื่อทำธุรกรรม

ทั้งกรณีอายัดบัตร และถอนอายัดบัตร กรณีปลดล็อกรหัสบัตร และเปลี่ยนแปลงรหัสบัตร (รหัส 6 หลัก ต้องใช้กรณีที่ถอนเงินสดที่ตู้ ATM ซื้อสินค้าจากรัานค้าที่ใช้ application ถุงเงิน) กรณีถอนเงินสดจาก e-Money กรณีแจ้งปัญหาถอนเงินแต่ไม่ได้รับเงิน และกรณีแจ้งตู้ยึดบัตร

“โดยธนาคารได้สอบถามแนวทางการดำเนินงานในกรณีที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมอบฉันทะให้ผู้อื่นทำธุรกรรมแทน เช่น การมอบฉันทะให้ผู้อื่นกระทำการแทน สามารถทำได้หรือไม่ หากสามารถมอบฉันทะได้ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และในกรณีที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเขียนหนังสือไม่ได้ จะให้มอบฉันทะอย่างไร”

ล่าสุด กรมบัญชีกลาง มีหนังสือแจ้ง บมจ.ธนาคารกรุงไทย และมีหนังสือเวียนถึงกระทรวงมหาดไทย สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศแล้ว

ทั้งนี้ หนังสือที่กรมบัญชีกลางตอบคำถาม บมจ.ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ตามคู่มือประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กำหนดเงื่อนไขการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงฺ ที่ไม่สามารถเดินทางได้ สามารถใช้สิทธิในการซื้อสินค้าได้ ดังนั้น เพี่อให้การดำเนินงานในกรณีทีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มอบฉันทะให้ผู้อื่นทำธุรกรรมแทนเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับกรณีการใช้สิทธิในการซื้อสินค้า

ให้ดำเนินการดังนี้ 1. กรณีผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางได้ สามารถมอบฉันทะ/มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนได้

2. การมอบฉันทะต้องใช้เอกสาร ดังนี้ “กรณีผู้พิการ” ให้ผู้ดูแลที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบัตรประจำตัวผู้พิการเป็นผู้ทำธุรกรรมแทนได้ โดยธนาคารต้องตรวจสอบจากบัตรประจำตัวผู้พิการที่ระบุชื่อผู้ดูแเล และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแล “กรณีผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง” ให้ผู้ดูแลเป็นผู้ทำธุรกรรมแทนได้

โดยธนาคารต้องตรวจสอบจากเอกสาร ประกอบด้วย “ใบมอบฉันทะ/หนังสือมอบอำนาจ/เอกสารที่ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง (ผู้มอบ)” จัดทำขึ้นเพี่อใช้เป็นหลักฐานให้ผู้ดูแล (ผู้รับมอบ) กระทำการแทน ซึ่งจะต้องมีขัอมูล ประกอบด้วย 1. ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ของผู้มอบ 2. ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ของผู้รับมอบ 3. ลายมือชื่อผู้มอบ ผู้รับมอบ และให้มีพยานลงลายมือชื่อรับรองไวัด้วยสองคน รวมทั้งหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ดูแล”

ท้ายสุด กรณีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งร้ฐเขียนหนังสือไม่ได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ (รอบกากบาทหรือขีดเขียน ซึ่งบุคคลไม่รู้หนังสือ ขีดเขียนลงไว้เป็นสำคัญ) ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่น ทำนองเช่านว่านั้น ลงในใบมอบฉันทะ/หนังสือมอบอำนาจ/เอกสารที่ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานให้ผู้ดูแลกระทำการแทน แทนการลงลายมือชื่อ และให้มีพยานลงลายมือชื่อรองรับไว้ด้วยสองคน ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9

ขอบคุณ... https://mgronline.com/politics/detail/9620000004263

ที่มา: mgronline.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ม.ค.61
วันที่โพสต์: 14/01/2562 เวลา 11:20:21 ดูภาพสไลด์โชว์ บช.แจ้งแบงก์รัฐ “บัตรคนจน” รอบใหม่ เคสพิการ คนชรา ผู้ป่วยติดเตียง มอบฉันทะ “ผู้ดูแล” ทำธุรกรรมแทนได้