เปิดตัว"รีดดี้"แชทบอทช่วยเพจเพื่อผู้พิการทางสายตา
เฟซบุ๊ค จับมือ Read For the Blind ชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตา และ HBOT เปิดตัว Bot for Messenger บริการแชทบอท เพื่อช่วยเหลือ ถ่ายทอดข้อมูล วิธีการในการสร้างหนังสือเสียง เพื่อการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วันนี้( 20 ส.ค.) เฟซบุ๊ค ประเทศไทย ร่วมกับ Read For the Blind ชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีความบกพร่องทางสายตา และ HBOT บริษัทผู้พัฒนาและผลิตแชทบอท เปิดตัว Bot for Messenger สำหรับ Read for the Blind ซึ่งเป็นบริการแชทบอท เพื่อช่วยเหลือ เฟสบุ๊ค เพจในการถ่ายทอดข้อมูลและช่วยเหลืออาสาสมัครและกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการในการสร้างหนังสือเสียงและการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นายแมทธิว คิง วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบช่วยเหลือผู้พิการ ของ เฟซบุ๊ค ซึ่ง เป็นวิศกรคนแรกของเฟสบุ๊คที่พิการทางสายตา กล่าวว่า ตนเองได้ทำงานโดยตรงเกี่ยวกับระบบการช่วยเหลือผู้พิการบนแพลตฟอร์ม มานาน 20 ปี แลได้มาร่วมงานเฟวบุ๊ค 4 ปี โดย หัวใจหลักๆ ของ ระบบช่วยเหลือ คือ การให้ผู้ใช้งานที่เป็นผู้พิการสามารถเข้าถึงระบบและเทคโนโลยี ซึ่งการช่วยเหลือจะมีหลายระบบ เช่น ในเรื่องการเคลื่อนไหว การอ่าน การมองเห็น เพื่อให้สามารถเข้าใช้ระบบได้อย่างเหมือนคนปกติทั่วไป
“ หัวใจหลักของเฟซบุ๊ค คือการเชื่อมต่อกับผู้ครทั่วโลก โดยไม่จำกัดว่าคนๆนั้นจะมีสภาพร่างกายแบบไหน ไม่มีการกีดกันบุคคคลใดบุคคลหนึ่งออกไป เพียงสภาพร่างกายที่แตกต่างจากทั่วไป ซึ่งตนเองสูญเสียการมองเห็นตั้งแต่เด็ก รู้สึก เหมือนมืดแปดด้านจะใช้ชีวิตยังไง ไม่รู้จักคนหรือ ที่มีประสบการณ์แบบนี้ จนครอบครัวเกิดความกังวลจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างไร เมื่อต้องสูญเสียการมองเห็น ซึ่งทางเฟซบุ๊คก็มีชุมชนที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนกลุ่มนั้นๆทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้”
“ฟังก์ชั่นการใช้งานบนเฟซบุ๊คที่ช่วยเหลือคนพิการ เช่น คนที่มีปัญหาเรื่องมองเห็น สามารถปรับสี ขนาดตัวอักษร หรือเอไอ ที่ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นในการช่วยบรรยายรูปภาพ จากที่แต่ละวันมีคนแชร์รูปมากกว่า 2 พันล้านรูปรวมถึงระบบจดจำใบหน้าผู้ใช้ว่าใครบ้างที่อยู่ในรูปภาพ”
นายแมทธิว คิง กล่าวต่อว่า ระบบที่ทำขึ้นเป็นไปไม่ได้ที่ทำแล้วจะเวิร์คต้องอาศัยฟีดแบคจากผู้ใช้และผู้พิการ ที่สามารถ แนะนำและฟีดแบคกลับมายังทีมงานได้
ด้าน นายณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Read For the Blind และกลุ่มช่วยอ่านหน่อยนะ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของทางกลุ่มมาจาก การที่ได้ไปทำหน้าที่อาสาสัมครอ่านหนังสือให้คนตาบอด แล้วพบว่า มีคนอยากทำมาก แต่ อาจจะติดขัดเรื่องเวลา และการเดินทางมายังสถานที่บันทึกเสียง จึงอยากทำแอพ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้อาสาสามารถอ่านหนึงสืออัดเสียงให้คนตาบอดเมื่ออยู่ที่ไหนก็ได้แล้วส่งขึ้นระบบผ่านคลาวด์
ปัจจุบันกลุ่ม มีอาสาสมัคร 1.8 แสนคน สร้างหนังสือเสียงมากกว่า 3 หมื่นเล่ม เป็นบทความและหนังสือที่หลากหลาย หลังจากนั้นจึงทำเฟซบุ๊ค เพจขึ้นมาให้การสร้างคอมมูนิตี้ เพื่อสื่อสาร และรับฟีดแบค
จาก ผู้พิการ อยากได้หนังสืออะไร เพื่อให้ อาสาสมัครได้รับรู้ และจัดทำหนังสือตามความสนใจของผู้พิการ
น.ส.ชลทิพย์ ยิ้มย่อง ผู้ร่วมก่อตั้ง Read For the Blind และกลุ่มช่วยอ่านหน่อยนะ กล่าวว่า ปัจจุบันแม้จะมีผู้ดูแล หรือแอดมิน แต่ส่วนใหญ่ การเข้ามาบอกคำถามจะทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา บางครั้งคำถามก็ซ้ำๆ ซึ่งการมีบอท จะช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้นให้ในการตอบคำถาม
ด้าน น.ส.ชญาณิษฐ์ ศรีนาคอ่อน ซีอีโอ เฮ็ดบอท กล่าวว่า เฮ็ดบอท โซลูชั่น เป็นโพวายเดอร์ให้กับทุกคน ให้สามารถเข้าถึงอินฟอร์เมชั่น ได้ และเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาสร้างแชทบอท เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทเป็นพาร์เนอร์กัยเฟซบุ๊คอยู่แล้ว และสองเดือนที่ผ่านมาก็ได้รับการติดต่อจากเฟซบุ๊คให้เข้ามาศึกษาดูว่าจะช่วย
คอมมูนิตี้ได้อย่างไรบ้าง
แชทบอท ที่พัฒนาขึ้นชื่อว่า รีดดี้(Ready) สามารถใช้งานได้แล้วบนเฟซบุ๊ค แมสเซนเจอร์ ซึ่งจะช่วยให้ Read For the Blind เชื่อมต่อ และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยลดปัยหาเรื่องขาดแคลนคน และช่วยเพิ่มการปฎิสัมพันธ์กับกลุ่มคนอาสาสมัคร และช่วยคัดกรองอาสาสมัตรได้อย่างมีคุณภาพด้วย และในเฟส 2 จะมีฟิวเจอร์ใหม่ๆออกมาใช้งานงานเพิ่มขึ้นขึ้น
นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า ในอนาคตอยากให้มีการบอกต่อเพื่อให้เกิดการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลต่างๆไปพัฒนาเทคโนโลยี และได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Read For the Blin เป็นภาษาภูฏาน เนื่องจากในคนภูฏานที่พิการทางสายตามีความสนใจกันจำนวนมาก โดยจะเปิดตัวในปลายปีนี้ และเตรียมนำไอเดียนี้ไปนำเสนอให้คอมมูนิตี้ต่างๆทั่วโลกนำไปใช้งานเพื่อให้เป็นตัวเชื่อมระหว่างคนปกติและกลุ่มผู้พิการทางสายตา
ขอบคุณ... https://www.dailynews.co.th/it/726966