สานต่อและขับเคลื่อนข้อมติงานเพื่อคนพิการในกรุงเทพมหานคร

สานต่อและขับเคลื่อนข้อมติงานเพื่อคนพิการในกรุงเทพมหานคร

#BKK:Mini Conference on PWDs #สานต่อและขับเคลื่อนข้อมติงานเพื่อคนพิการในกรุงเทพมหานคร

ทีมกรุงเทพมหานคร นำโดยนายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ

มหานคร นาย ขจิต ชัชวานิชย์ ปลัด กรุงเทพมหานคร นางอนุสรา ชื่นทรวง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม นายดลจิตร์ เสรีรักษ์ ผู้อำนวยการเขตตลิ่งชัน เยี่ยมชม ศูนย์ IREACH CENTER และ Digital Comunity Center บางพรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิออทิสติกไทยกับกระทรวงDEs

อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย อ.ปราโมทย์ ธรรมสโรช อุปนายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) น.ส.กิจจาพร ชื่นบุญ กรรมการบริหารสมาคมสภาคนพิการ กรุงเทพมหานคร ร่วมหารือต่อเนื่องประเด็นการจัางงานและส่งเสริมอาชีพคนพิการตามที่ได้ประกาศรับลงทะเบียนไว้ ซึ่งขณะนี้มีคนพิการลงข้อมูลแบบสำรวจความต้องการสนับสนุนการมีงานทำกว่า 700 คน

ซึ่งที่ประชุมหารือ มีข้อสรุปสำคัญ ได้แก่

1.มอบหมายสำนักพัฒนาสังคม เป็นจุดประสานงานในภาคส่วนของกรุงเทพมหานคร และมอบผู้แทนองค์กรคนพิการผู้แทนในคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรุงเทพ

มหานคร เป็นภาคี

2.ประเด็นการส่งเสริมอาชีพคนพิการ แบ่งเป็น2ภารกิจ 1.การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานสังกัดกรุงเทพ

มหานคร เบื้องต้น จำนวน100คน ให้จัดทำฐานข้อมูลด้าน คุณวุฒิ ความสามารถ ลักษณะงานที่ทำ ถิ่นที่พักอาศัย โดยมอบสำนักพัฒนาสังคมและสภาคนพิการฯจัดทำฐานข้อมูล และประชุมหารือกับคนพิการที่แจ้งความจำนงค์ไว้

3. ปลัดกรุงเทพมหานคร จะประสานสำนักการศึกษา ว่า สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร แห่งใด มีตำแหน่งงานว่าง จะนำมาสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ ได้อีกจำนวนเท่าใด และหากคนพิการจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมก่อนเข้าทำงาน ให้นำต้นแบบ ศูนย์ IREACH มูลนิธิออทิสติกไทย ไปขยายผล ในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพมหานครโดย มอบ สำนักพัฒนาสังคมและมูลนิธิออทิสติกไทยหรือร่วมกันดำเนินงาน

4.กรณีที่คนพิการจะประกอบอาชีพอิสระ และอาจต้องมีการ UpSkill ReSkill มอบสำนักพัฒนาสังคม ประสานมูลนิธิออทิสติกไทยและมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตร โดยมีศูนย์ฝึกอาชีพ กทม. สนับสนุน และอาจทำต้นแบบนำร่อง พร้อมเตรียมแผนสนับสนุนด้านทุน ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งกรุงเทพมหานครมี”ทุน”สนับสนุนเพื่อเริ่มต้นกิจการระดับหนึ่งและอาจช่วยให้คนพิการเข้าถึงแหล่งทุนด้านคนพิการ เช่น กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งยังมีคนพิการในกรุงเทพมหานครยื่นกู้จำนวนเฉลี่ยปีละประมาณ 800 ราย ถือว่ามีจำนวนน้อยหากเทียบกับประชากรคนพิการที่มี ซึ่งบางรายต้องการการสนับสนุนเรื่องการวางแผนประกอบกิจการ ช่องทางการจำหน่ายทั้งOnline Offline รวมถึงเรื่องผู้ค้ำประกัน มอบสำนักพัฒนาสังคมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องและหารือภาคธุรกิจเอกชนมาให้การปรึกษาแนะนำ

5.การร่วมกับองค์กรคนพิการ พัฒนาPlatForm จำหน่ายสินค้ากับต่างประเทศ รูปแบบ Cross Border E-commerce ซึ่งจะเปิดช่องทางให้คนพิการและสินค้าชุมชน Bangkok Brand ส่งออกจำหน่ายต่างประทศผ่านระบบOnline มอบกองการต่างประเทศ สำนักพัฒนสังคมและสภาคนพิการฯหารือแนวทางการจัดทำบันทึกความร่วมมือต่อกัน และเชื่อมต่อกับสถานฑูตหรือ องค์กรที่ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

6.อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ได้หารือเรื่อง การสนับสนุนให้เด็กพิการได้รับการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กว่า 200 แห่ง สังกัดกรุงเทพ

มหานคร และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 436 แห่ง โดยเสนอ”การทำบันทึกข้อตกลงระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการในพื้นที่กรุงเทพ

มหานคร “ซึ่งปลัดกรุงเทพมหานครจะมอบหมายคณะทำงานด้านการศึกษาหารือกับเครือข่ายคนพิการในกรุงเทพมหานครต่อไป

7.โอกาสนี้ มูลนิธิออทิสติกไทย ได้มอบชุดสื่อส่งเสริมทักษะและพัฒนาการแก่กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 ชุด จำนวนสื่อกว่า 1,000 รายการ แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อมอบให้เด็กๆในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรุงเทพ

มหานครต่อไป

ทั้ง 6 ประเด็น มีการจัดทำ Timeline ไว้ในเบื้องต้น เพื่อให้สามารถ”ขับเคลื่อนงาน”ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

ขอบคุณ ทีม คณะผู้บริหาร กทม.ที่มาเยี่ยมชมและปรึกษาหารือกัน

#สัปดาห์หน้า จะมีผู้แทนสมาคมตามประเภทความพิการ โทรศัพท์หารือกับคนพิการทั้ง700 คนในรายละเอียดต่อไป และจะนัดประชุมกลุ่มย่อยกับพี่น้องคนพิการด้วยผ่านระบบ Online ด้วย

ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย นายกสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย 6พ.ย.2564

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 8/11/2564 เวลา 10:51:14 ดูภาพสไลด์โชว์ สานต่อและขับเคลื่อนข้อมติงานเพื่อคนพิการในกรุงเทพมหานคร