#Report>AAN#11 Year AAN AUTISM NETWORK

#Report>AAN#11 Year AAN AUTISM NETWORK

15 มิถุนายน 2564 จะครบ 2 ปี ที่ AAN หรือ ASEAN Autism Network ดำเนินงานมา จนได้รับการรับรองจาก สำนักงานเลขาธิการอาเซียนให้มีสถานะ Entity Associated with ASEAN หรือสมาคมที่เป็นสมาชิก ASEAN ได้

และหากนับจากวันจัดประชุม The First ASEAN Autism Congress เมื่อ 15-17 ธันวาคม 2553 จะครบ 11 ปีในเดือนธันวาคม ปี 2564 เครือข่ายออทิสติกอาเซียน เกิดจากการร่วมก่อตั้งของเครือข่ายผู้ปกครองบุคคลออทิสติกในกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ ได้รวมกัน ประชุมจัดตั้งขึ้น ณ ประเทศไทย โดย นายกสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ได้รับการลงมติ ให้ปฎิบัติ ประธานเครือข่ายออทิซึมอาเซียน เป็นคนแรก (First AAN Chair person) ซึ่งมีวาระ 2ปี โดยแต่ละประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันปฎิบัติหน้าที่ประธานเครือข่าย ในการประชุมครั้งแรก “ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีผู้ร่วมประชุมจาก 9 ประเทศ กว่า 300 คน มีองค์กรร่วมจัดคือ มูลนิธิคุณพุ่ม สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย)(AU THAI) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(MSDHS) และศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งภาคพื้นเอเซียแปซิฟิค (APCD) มีการจัดทำคำประกาศกรุงเทพ หรือ Bangkok Statement on Autism 2010 มีคำประกาศ 3 ข้อ ใน 5 ประเด็นขับเคลื่อน นับเป็น Declaration Statement ฉบับแรกที่ร่วมกันระดมความคิดเห็นของกลุ่มผู้ปกครองออทิสติกในประเทศอาเซียน และเป็นฉบับที่สมาคมผู้ปกครองออทิสติกในอาเซียนนำไปใช้กำหนด”ยุทธศาสตร์การทำงาน”ที่สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการแห่งสหประชาชาติ หรือ CRPD ต่อมาประเทศสิงค์โปร์ได้เข้าร่วมด้วย จนครบ 10ประเทศ

ในปี 2019-2020 มีโครงการร่วมระหว่าง 10ประเทศ คือ Autism Mapping Project in the ASAEN Region ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเชิงประเด็นสำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน แม้จะไม่สามารถระบุจำนวนบุคคลออทิสติกอย่างเป็นทางการเพราะฐานการคัดกรอง ระบบฐานข้อมูลแตกต่างกันในแต่ละประเทศ มีข้อมูลสรุปว่า ประมาณการจำนวนบุคคลออทิสติกในประเทศอาเซียนสำรวจ มีจำนวนกว่า 500,000 คน มีกิจกรรมบริการที่ดำเนินการโดยกลุ่ม รัฐ เอกชน ครอบครัว ชุมชนและจุดเน้นต่างกันแต่ละประเทศ มากน้อยตามบริบทและการสนับสนุนจากแต่ละประเทศ สิทธิ ประโยชน์แตกต่างกันตามกฎหมายของแต่ละประเทศ

พวกเราเครือข่ายผู้ปกครองออทิสติกไทย ได้มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ในส่วน ออทิซึม(ไทย) มีดร.สำเริง วิระชะณัง และอ.เจริญ คุวินทรพันธ์ เป็น Key Persons ที่สำคัญ ปัจจุบัน ดร.สำเริง ปฎิบัติหน้าที่ Executive Board และ ประธานวิชาการของ AAN และในวันที่ 15 มิถุนายน 2020 AAN ได้รับการรับรองเป็นสมาคม

ผมภูมิใจที่ ประเทศไทย เป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้ง AAN และก่อนวิกฤติโควิด 19 เครือข่ายเรามีกิจกรรมพบกลุ่ม หารือ แลกเปลี่ยนกันต่อเนื่อง และในช่วงโควิด เราปรับเป็น Online Meeting แต่ทุกช่วงของ เดือน เมษายน เราจะร่วมกันจัด กิจกรรมวันรณรงค์ตระหนักรู้ออทิสติกโลก วันนี้มีคลิปวิดิทัศน์สรุปงาน ปี 2018-2021 ของกิจกรรมเครือข่ายมาให้ชมกัน

ชมคลิป ชมภาพแล้ว คิดถึงสมาชิกออทิซึมอาเซียนทุกคน ด้วยความห่วงใยพ้นวิกฤติ Covid คงจะมีกิจกรรมต่างๆร่วมกัน

ชูศักดิ์ จันทยานนท์ First AAN Chairperson 12/06/2021

https://www.youtube.com/watch?v=dhxTHU7FBZE (ขนาดไฟล์: 753763)

https://bit.ly/3vqmxIR (ขนาดไฟล์: 152)

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 มิ.ย.64
วันที่โพสต์: 14/06/2564 เวลา 12:10:28 ดูภาพสไลด์โชว์ #Report>AAN#11 Year AAN AUTISM NETWORK