มุมมองการจ้างงานคนพิการในไทยและต่างประเทศ

มุมมองการจ้างงานคนพิการในไทยและต่างประเทศ

วันที่ 8 พ.ย. 67 ที่ผ่านมา ประชาไทจัดเสวนา ‘งาน การเดินทาง อิสรภาพ: อุปสรรคและมายาคติที่คนพิการเจอ’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์เสวนา ‘ประเทศไทยในรอบ 20 ปี’ ในวาระครบรอบ 20 ปี ก่อตั้งสำนักข่าวประชาไท ร่วมเสวนาโดย ผศ.ดร. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , เสาวลักษณ์ ทองก๊วย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีพิการ , และอรรถพล ศรีชิษนุวรานนท์ นักเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของคนพิการ ที่ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ผศ.ดร. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงประเด็นการจ้างงานคนพิการในไทยและต่างประเทศโดย ยกกรณีของการฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมี 2 คดี คือ คดี 1 มาตรา 33 ที่บริษัทมีพนักงงาน 100 คน ต้องจ้างคนพิการ 1 คน บริษัทที่มาฟ้องศาล รธน. กล่าวว่าเป็นการจ้างงานที่จำกัดสิทธิเสรีภาพในการเลือกบุคคลากรเข้ามาทำงานไหม คดีที่ 2 กรณีไม่จ้างงานพนักงานที่เป็นคนพิการงบประมาณในส่วนนั้นต้องส่งคืนเข้ากองทุน ข้อบังคับนี้ทำไมถึงกำหนดแค่บริษัทที่เอกชนเท่านั้นเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างเอกชนกับรัฐหรือไม่ ศาลมีตัดสินออกมาว่า พ.ร.บ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มันคือการเปิดโอกาสให้ต้องทํางานซึ่งเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ส่วนเรื่องหน่วยงานรัฐไม่ส่งเงินเข้ากองทุน

ศาลมองว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะว่าเขามีสิ่งอื่นต้องทําอยู่แล้ว และถ้าเขาไม่ปฏิบัติตามเขาจะโดนประกาศลงเผยแพร่โดยกรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิต จากคําในวินิจฉัยรัฐธรรมนูญมีหลายจุดที่สะท้อนให้เห็นว่า ไทยมีกฎหมายที่เหมือนกับหลายๆ ประเทศแล้ว คือเป็น Option เช่น ถ้าไม่ได้ให้ส่งเงินเข้ากองทุน หรือค่าปรับเรียกว่า Levy ถ้าไม่ได้ให้จ้างงานเป็นมาตรา 35 เป็นมาตราแก้ไขเพิ่มในกฎหมายเมื่อ พ.ศ. 2556 เมื่อลองอ่าน พบว่ามาตรา 35 เรื่องการจ้างเหมาเขียนว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทํางานหรือกรณีที่นายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการไม่รับคนพิการเข้าทํางาน แปลว่าบริษัทมีทางเรื่อง ซึ่งนายจ้างหันมาจ้างคนพิการเป็นมาตรา 35 ถ้าเราเทียบกันแล้วการที่ได้จ้างตามมาตรา 33 การเป็นลูกจ้างอยู่ในระบบมีประกันสังคม มีสิทธิ์ได้รับสวัสดิการ มันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ว่าที่ไทยเขียนมันเขียนเหมือนเป็นทางเลือก ซึ่งในต่างประเทศ(ญี่ปุ่น) ออกเป็นกฎหมายบังคับจ้างพนักงานให้ได้ครบก่อนถ้าไม่ทำต้องจ่ายค่าปรับ ในตอนยกร่างเจตนากฎหมายที่ดี แต่การนำมาใช้อาจจะทำให้เกิดช่องทางที่จะนำมาปรับให้ดีได้เพิ่มขึ้นอีก โดยใช้กลไกทางกฎหมายอื่นเสริม เช่น หลักเรื่องการเลือกปฎิบัติ มีเขียนใน พ.ร.บ. มาตรา 15 ห้ามการเลือกปฏิบัติของคนพิการ แต่ของไทย มาตรา 15 วรรค 3 เขียนไว้ว่า หากมีเหตุผลให้ยอมรับการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นได้ ในกรณีที่มีเหตุผลทางวิชาการ ทางจารีตประเพณี หรือประโยชน์สาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ได้มีการปรับแก้เอาส่วนนี้ออก กฎหมายระหว่างประเทศ (CRPD) ถ้าไม่ปรับสภาพให้คนพิการอย่างเหมาะสมจะเป็นการเลือกปฎิบัติ ตนมองว่าถ้าใส่ลงในกฎหมายจะทำให้เกิดหน้าที่ขึ้น ทำให้การจ้างงานการให้บริการอื่นๆ ต้องปรับให้เหมาะสมกับคนพิการมากขึ้น

ขอบคุณ... https://prachatai.com/journal/2024/11/111469

ที่มา: prachatai.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 พ.ย.67
วันที่โพสต์: 26/11/2567 เวลา 14:45:57 ดูภาพสไลด์โชว์ มุมมองการจ้างงานคนพิการในไทยและต่างประเทศ