‘คีย์แมน’ ร้าน ‘สตรีทฟู้ดดีกรีมิชลิน’ ‘เชฟเอ-สมเจตน์ ชื่นแย้ม’ เจ้าของตำนานดัง ‘ผัดไทยไร้เสียง’
"เขาพิการทางการได้ยินและพูดไม่ได้มาตั้งแต่เกิด ทำให้ไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่มีใครรับ แต่เขาก็ไม่เคยยอมแพ้โชคชะตา จึงหันมาฝึกหัดทำผัดไทยในแบบที่ชอบกินในวัยเด็ก จนสามารถเปิดร้าน และประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ได้ในวันนี้"
อ้น-กิตติชัย น้องชายของ “เชฟเอ-สมเจตน์” เจ้าของร้าน “บ้านใหญ่ผัดไทยเตาถ่าน” ที่ตั้งอยู่ในซอยอินทามระ 47 หรือที่รู้จักกันในฉายา “ผัดไทยไร้เสียง” ได้มาช่วยถ่ายทอดเรื่องราวแทนพี่ชาย เนื่องจาก “เชฟเอ” เป็นผู้พิการทางการได้ยิน และพูดไม่ได้มาตั้งแต่เกิด โดยอ้นเล่าว่า ครอบครัวของเขามีพี่น้องรวม 5 คน โดยเชฟเอเป็นลูกคนที่ 4 และตัวเขาเป็นลูกคนสุดท้อง ทำให้อายุจึงไม่ได้ห่างกันมาก และทำให้เขากับพี่ชายคนนี้สนิทกันมากมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งสำหรับพื้นเพครอบครัวนั้น อ้นเล่าว่า คุณปู่มีอาชีพทำนาอยู่ทุ่งห้วยขวาง แต่ คุณพ่อ (เทวัญ ขวัญพนา) เป็นนักร้อง พอหลังจากเลิกอาชีพร้องเพลง คุณพ่อก็หันมาทำค่ายมวย ซึ่งครอบครัวก็พอจะมีฐานะอยู่ในระดับที่ไม่ได้ลำบากนัก จนมาเกิดวิกฤติ คุณพ่อคุณแม่ล้มป่วย ต้องใช้เงินรักษาตัวมาก จนต้องนำบ้านไปจำนองเพื่อนำเงินมารักษา “หลังจากคุณพ่อที่เป็นเหมือนเสาหลักครอบครัวเสียชีวิตลงไป ก็ทำให้สภาพการเงินของที่บ้านยิ่งสั่นคลอน และค่ายมวยก็ต้องขายให้คนอื่นไป ซึ่งพี่น้องทุกคนต้องช่วยกันหางานทำเพื่อหาเงินมาจุนเจือและพยุงครอบครัว อย่างตัวผมก็ไปทำงานเป็นลูกจ้างทั่วไป” อ้นเล่าถึง “จุดหักเหของครอบครัว” หลังจากที่คุณพ่อเสีย
พร้อมเล่าต่ออีกว่า ในขณะที่พี่น้องทุกคนหางานทำได้ แต่เชฟเอไม่สามารถหางานทำได้ เนื่องจากไปสมัครงานที่ไหนก็ไม่มีคนรับ เพราะมองว่าพี่ชายคนนี้ของเขาเป็นคนพิการพูดไม่ได้ จนมีเพื่อน ๆ ของพี่ชาย ซึ่งเป็นผู้พิการเหมือนกัน ได้มาแนะนำให้พี่ชายไปขายลอตเตอรี่ จากนั้นพี่ชายก็จึงเริ่มต้นทำอาชีพนี้มาเรื่อย ๆ แต่หลังจากยึดอาชีพเป็นคนขายลอตเตอรี่อยู่นานหลายปี พอมาถึงช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็ได้มีการกำหนดนโยบายที่บังคับให้ ห้ามขายลอตเตอรี่เกินราคา 80 บาท ซึ่งทำให้พี่ชายมองว่า ขายต่อไปก็คงไม่คุ้ม เพราะ ลอตเตอรี่ที่รับมาราคาทุนก็เกิน 80 บาทแล้ว จึงตัดสินใจเลิกอาชีพขายลอตเตอรี่ ซึ่งหลังจากไม่ทำอาชีพนี้แล้ว พี่ชายของเขาก็พยายามมองหาอาชีพอื่นเพื่อมาทดแทน จนมาลงตัวที่ “อาชีพทำผัดไทยขาย”
“พี่เอเขาชอบทำอาหาร ชอบกินผัดไทยมากอยู่แล้ว เขาก็เลยอยากทำอาชีพที่คิดว่าตัวเขานั้นถนัดที่สุด ซึ่งตอนแรกไม่ได้ขายผัดไทยเลย ขายอาหารตามสั่งก่อน แต่ก็ขายไม่ดี เราจึงมาช่วยกันคิดว่า ควรเปลี่ยนเมนูที่ขายไหม จนพี่เอเขาก็เกิดไอเดียว่า เขาเคยกินผัดไทยเจ้าหนึ่งแล้วชอบมาก ซึ่งเขาจำได้ทั้งหมดเลยว่า ในสูตรผัดไทยของร้านนั้นมีส่วนผสมอะไรบ้าง เขาก็เลยลองมาฝึกหัดทำดู โดยหัดทำอยู่ถึง 2 เดือน จนอร่อยได้ที่แล้ว พี่น้องจึงสนับสนุนให้เปิดร้าน แม้ตอนนั้นพี่เอเขาจะยังไม่มั่นใจก็ตามที ส่วนเงินทุนตั้งต้นเปิดร้าน พี่น้องทุกคนนำเงินกองกลางที่เหลืออยู่มาซื้อรถเข็นและอุปกรณ์ทำผัดไทยให้” น้องชาย “เชฟเอ” บอกเล่าเรื่องนี้
อ้นยังเล่าถึงช่วงที่พี่ชายเปิดร้านผัดไทยใหม่ ๆ ให้ฟังว่า ช่วงแรก ๆ จะขายอยู่ในซอยบ้าน โดยเริ่มจากไข่แค่ 1 แผง หลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ร้านก็เริ่มเป็นที่รู้จักของคนในละแวกบ้านมากขึ้น ซึ่งขายอยู่ได้ 2-3 ปี วันหนึ่งก็มียูทูบเบอร์คนหนึ่ง คือ “หม่อมถนัดแดก” มาเดินสายรีวิวร้านอาหารแถว ๆ ที่พี่ชายทำผัดไทยขายพอดี ซึ่งก็มีคนบอกกับเขาว่า มีร้านผัดไทยอร่อยอยู่ร้านหนึ่ง แถมคนทำยังเป็นใบ้ด้วย เขาก็เลยลองแวะเข้ามาชิมดู ซึ่งปรากฏหม่อมถนัดแดกเขาชอบรสชาติผัดไทยของที่ร้านมาก จึงแวะกลับมาอีก 3 รอบ รวมทั้งช่วยรีวิวให้ และก็เป็น หม่อมถนัดแดก นี่เองที่เป็น “คนตั้งฉายา” ให้กับร้านนี้ว่าเป็น “ผัดไทยไร้เสียง” เพราะเห็นว่าคนทำขายเป็นผู้พิการทางการได้ยินและพูดไม่ได้ หลังจากนั้นไม่นาน ก็ทำให้ร้านเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ภายหลังจากที่มีคนมารีวิวร้าน จนทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ต่อมา “ร้านผัดไทยไร้เสียง” ของพี่ชายเขาก็ยัง “ได้รับรางวัลจากมิชลินไกด์” มาแบบไม่ได้ตั้งตัว ทั้ง ๆ ที่ร้านผัดไทยร้านนี้เป็นเพียงแค่ “ร้านรถเข็นข้างทาง” โดย อ้น น้องชาย เชฟเอ เล่าถึงเรื่องราวในจุดนี้ให้ฟังว่า ตอนที่ได้รางวัลจากมิชลินมานั้น ทุกคนที่บ้านและที่ร้านไม่มีใครรู้ตัวมาก่อนเลย และตอนนั้นที่ร้านก็เป็นรถเข็นขายผัดไทยแค่เพียงกระทะเดียว โดยถ้าเดาไม่ผิด ตอนช่วงปลายปี 2018 ช่วงนั้นจะมีลูกค้าต่างชาติมากินอยู่บ่อย ๆ วัน ๆ หนึ่ง ก็จะมีเข้ามากินผัดไทยที่ร้านประมาณ 1-2 คน ซึ่งตอนนั้นทุกคนที่ร้านก็คิดว่าคงเป็นลูกค้าทั่วไป แต่ปรากฏผ่านไปไม่นาน ทางหลานก็ได้ส่งข่าวมาให้ดูว่า ร้านผัดไทยของพี่เอได้รับรางวัลมิชลิน ซึ่งตอนนั้นเขาเองก็ยังไม่รู้ด้วยซํ้าว่า รางวัลมิชลินคืออะไร? จนเมื่อไปค้นหาข้อมูลก็ยิ่งตกใจ เมื่อพบว่า รางวัลนี้เป็นรางวัลระดับโลกที่ร้านอาหารทุกแห่งอยากจะได้รางวัลนี้
“ที่พวกเราทุกคนงงก็คือ เขาแอบมาชิมตอนไหน? ซึ่งหลังจากข่าวที่ร้านได้รางวัลมิชลินออกไป ปรากฏหลังจากนั้น ทำให้ลูกค้ายิ่งมาที่ร้านกันมากขึ้น แต่ตอนนั้นที่ร้านก็ยังเป็นร้านรถเข็นผัดแค่เตาเดียว จนบางครั้งทำให้ลูกค้าต้องรอถึง 3 ชั่วโมงก็มี ขนาดผมเลิกงานกลับมายังตกใจเลยว่าทำไมมีคนรอคิวเยอะมาก” น้องชายเชฟเอกล่าว
ภายหลังจากที่มีคนมารีวิวร้าน จนทำให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว ต่อมา “ร้านผัดไทยไร้เสียง” ของพี่ชายเขาก็ยัง “ได้รับรางวัลจากมิชลินไกด์” มาแบบไม่ได้ตั้งตัว ทั้ง ๆ ที่ร้านผัดไทยร้านนี้เป็นเพียงแค่ “ร้านรถเข็นข้างทาง” โดย อ้น น้องชาย เชฟเอ เล่าถึงเรื่องราวในจุดนี้ให้ฟังว่า ตอนที่ได้รางวัลจากมิชลินมานั้น ทุกคนที่บ้านและที่ร้านไม่มีใครรู้ตัวมาก่อนเลย และตอนนั้นที่ร้านก็เป็นรถเข็นขายผัดไทยแค่เพียงกระทะเดียว โดยถ้าเดาไม่ผิด ตอนช่วงปลายปี 2018 ช่วงนั้นจะมีลูกค้าต่างชาติมากินอยู่บ่อย ๆ วัน ๆ หนึ่ง ก็จะมีเข้ามากินผัดไทยที่ร้านประมาณ 1-2 คน ซึ่งตอนนั้นทุกคนที่ร้านก็คิดว่าคงเป็นลูกค้าทั่วไป แต่ปรากฏผ่านไปไม่นาน ทางหลานก็ได้ส่งข่าวมาให้ดูว่า ร้านผัดไทยของพี่เอได้รับรางวัลมิชลิน ซึ่งตอนนั้นเขาเองก็ยังไม่รู้ด้วยซํ้าว่า รางวัลมิชลินคืออะไร? จนเมื่อไปค้นหาข้อมูลก็ยิ่งตกใจ เมื่อพบว่า รางวัลนี้เป็นรางวัลระดับโลกที่ร้านอาหารทุกแห่งอยากจะได้รางวัลนี้
“ที่พวกเราทุกคนงงก็คือ เขาแอบมาชิมตอนไหน? ซึ่งหลังจากข่าวที่ร้านได้รางวัลมิชลินออกไป ปรากฏหลังจากนั้น ทำให้ลูกค้ายิ่งมาที่ร้านกันมากขึ้น แต่ตอนนั้นที่ร้านก็ยังเป็นร้านรถเข็นผัดแค่เตาเดียว จนบางครั้งทำให้ลูกค้าต้องรอถึง 3 ชั่วโมงก็มี ขนาดผมเลิกงานกลับมายังตกใจเลยว่าทำไมมีคนรอคิวเยอะมาก” น้องชายเชฟเอกล่าว
“เบื้องหลัง” ความสำเร็จของ “ผัดไทยไร้เสียง” ร้านนี้ นอกจาก “รสชาติ” แล้ว อีกคีย์เวิร์ดที่ช่วยผลักดันให้ร้านนี้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ก็คือ “พลังครอบครัว” โดย อ้น-กิตติชัย บอกว่า ครอบครัวเติบโตกันมาแบบอบอุ่น คุณพ่อคุณแม่จะคอยสอนให้พี่น้องรักกันและคอยช่วยเหลือกัน อย่างร้านผัดไทยของพี่เอที่ประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ได้ ก็มาจากครอบครัวพี่น้องเราไม่เคยทิ้งกัน ทุกคนพร้อมจะช่วยเหลือและสนับสนุนกันตลอด โดยอ้นยังบอกเล่าเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า “ช่วงแรก ๆ ที่พี่เอจะเปิดร้าน เขาก็จะกังวลว่าจะขายได้หรือไม่ แต่พวกเราพี่น้องก็พยายามให้กำลังใจ จนเขากล้าที่จะเปิดร้านนี้ ซึ่งถ้าวันนั้นไม่สร้างความมั่นใจให้เขา เขาอาจจะไม่กล้าเปิดร้าน และอาจจะไม่ได้พบกับความเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จแบบนี้ก็ได้”