สศศ. ผนึก มทร.ธัญบุรี พัฒนาหลักสูตรเพื่อเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส
สศศ. ผนึก มทร.ธัญบุรี พัฒนาหลักสูตรเพื่อเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส เร่งสร้างคุณภาพการศึกษา เพิ่มทักษะชีวิต แก้ปัญหาสังคมไทย
โครงการ “พัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิตหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) สำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส”
สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Human and Business Development คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผนึกกำลังพัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) ภายใต้โครงการ “จัดเตรียมหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) สำหรับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส” โดยจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และนักเรียน พร้อมจัดทำร่างหลักสูตรทักษะชีวิตฯ เพื่อบูรณาการความรู้ทางด้านวิชาการและทักษะที่เหมาะสมให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
นางสาวภัทริยาวรรณ พันธุ์น้อย ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงที่มาของการจัดโครงการ “พัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิตหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) สำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส” ว่า สืบเนื่องจากนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในด้านการศึกษาที่ว่า “เรียนดี มีความสุข” นั้น ทางสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ จึงดำเนินการตอบรับและต่อยอดในการขยายโยบายฯ ดังกล่าว ให้ออกมาเป็นรูปธรรมมากขึ้น และส่งผลชัดเจนกับเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จึงได้มีแนวคิดในการสร้างโรงเรียนแห่งความสุขเพื่อเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กกลุ่มพิเศษที่อยู่ในความดูแลของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ทั้งนี้ สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้ กลุ่มแรก โรงเรียนกลุ่มเฉพาะความพิการ (สำหรับกลุ่มเด็กพิการ) ที่มีความบกพร่องทางด้านสายตา ด้านสติปัญญา และ กลุ่มที่สอง โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ (สำหรับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส) เนื่องจากฐานะยากจน ซึ่งเด็กเหล่านี้จะอยู่ในความดูแลเสมือนโรงเรียนประจำตลอด 24 ชม. ในช่วงการเรียนรู้ระยะเวลา 12 ปี ดังนั้น จึงต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ระหว่างการใช้ชีวิตในโรงเรียนและตอบโจทย์ทักษะชีวิตที่ต้องตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็ก เน้นสร้างแรงบันดาลใจไม่รู้สึกว่าการเป็นเด็กพิเศษเป็นอุปสรรค และส่งเสริมให้เด็กๆ ต้นพบตัวเอง รู้คุณค่าของตัวเอง เป็นทักษะที่เสริมสร้างศักยภาพของเด็กให้เข้มขันมากขึ้น และที่สำคัญเมื่อจบออกไปสามารถประกอบวิชาชีพที่มั่นคงและใช่ชีวิตในอนาคตได้
ความร่วมมือระหว่างสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ และศูนย์ความเป็นเลิศด้าน Human and Business Development คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงจัดโครงการ “พัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิตหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) สำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส” เปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และนักเรียน จากโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ (สำหรับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส) และโรงเรียนกลุ่มเฉพาะความพิการ (สำหรับกลุ่มเด็กพิการ) จาก 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน เพื่อนำความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส มาเป็นแนวทางในการจัดทำร่างหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก
จากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว ได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตรทักษะชีวิต (Life Skills) สำหรับเด็กพิการแลผู้ด้วยโอกาส ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 7 สมรรถนะในการพัฒนาทักษะชีวิต ได้แก่ สมรรถนะที่ 1 ด้านการจัดการตนเองและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความสามารถในการดูแลสุขอนามัย กิจวัตรประจำวันตามบทบาทหน้าที่ การระมัดระวังภัยและการหลีกเลี่ยง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น รู้จักและเห็นคุณค่าในตนเอ วางแผนจัดการตนเองในการเรียนรู้การเงิน การจัดการความคิด การควบคุมอารมณ์และความเครียด และสะท้อนการเรียนรู้ตนเอง
สมรรถนะที่ 2 ด้านการเรียนรู้เพื่อการคิดอย่างสร้างสรรค์ ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูล สรุป นำเสนอและเลือกใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ สมรรถนะที่ 3 ด้านการทำงานเป็นทีมและความเป็นพลเมืองที่ดี ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทอย่างรับผิดชอบ ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็น ยอมรับความแตกต่าง ช่วยเหลือสมาชิก ปฏิบัติตนตรมสิทธิและหน้าที่ รับผิดชอบต่อสังคม
สมรรถนะที่ 4 ด้านการสื่อสาร ความสามารถในการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้สึกความต้องการของตนเองต่อผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ สมรรถนะที่ 5 ด้านการวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา ความสามารถในการวิเคราะห์และอธิบายปัญหา ระบุสาเหตุ แนวทางแก้ไข เลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม วางแผน ลงมือแก้ไขปัญหา และระเมินผลการแก้ปัญหาได้
สมรรถนะที่ 6 ด้านการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการเลือกใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศหรือโปรแกรมประยุกต์ (Application) เพื่อการเรียนรู้อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัย และ สมรรถนะที่ 7 ด้านการประกอบอาชีพ ความสามารถในการเลือกอาชีพที่รู้จักและสนใจ เพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม
อย่างไรก็ตาม สมรรถนะทั้ง 7 ประการ จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถเพิ่มทักษะชีวิต (Life Skills) ให้กับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย และยังมีความเชื่อว่าสังคมไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ชมชนใกล้เคียงโรงเรียน ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือทุกภาคส่วนในสังคม ล้วนมอบโอกาสในการร่วมพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่เด็กๆ เพื่อให้พวกเขาได้ฝึกฝน เพื่อให้เกิดความชำนาญ กลายเป็นสมรรถนะที่สำคัญที่เขาจะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ต่อไปในอนาคต
ขอบคุณ... https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9670000075612