ทักษะแห่งอนาคต เพื่อ "ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้"
จะมีสักกี่องค์กรที่ใส่ใจการพัฒนาเพื่อ "ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้" เพราะการสร้างต้นทุนทางความคิด ระดมสรรพความรู้ เพื่อพัฒนาคนมีรายละเอียดมากมายที่ต้องจัดการ
ถ้าผู้บริหารในองค์กรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ การพัฒนาคนด้วยทักษะใหม่ๆ อย่างจริงจังก็จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการทำงานได้ดียิ่งขึ้น แต่การให้โอกาสคนนอกองค์กร เป็นเรื่องที่ต้องคิดหลายตลบ ต้องอาศัยสรรพความรู้ และความพร้อมหลายด้านในการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้อื่น
เอพี ไทยแลนด์ หนึ่งในองค์กรตัวอย่างที่มีแนวทางในการพัฒนา "คน" ที่ชัดเจนและต่อเนื่องมายาวนาน ทั้งคนภายในองค์กรเองหรือบุคคลภายนอก ซึ่งนอกจากบทบาทเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว เอพียังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ "ผู้ด้อยโอกาส" เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้
ก่อนจะมีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ต้องมีทั้งความรู้เท่าทันโลก มีทักษะการทำงานที่ใช้ได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงเป็นที่มาของโครงการ "เพราะฉันคือ...ฉัน #IamPower" เพื่อให้บัณฑิต และเยาวชนผู้พิการทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ก่อนเข้าสู่ตลาดงาน
ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้
เมื่อตั้งใจจะทำงานพัฒนาศักยภาพผู้พิการ ผู้บริหาร เอพี ไทยแลนด์ มีแนวทางว่า ต้องมีพันธมิตรร่วมทำงาน จึงเลือกองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 4 ด้าน คือ
ซีแอค (SEAC) องค์กรผู้นำด้านการพัฒนาผู้บริหาร บุคลากรและองค์กร ที่มุ่งเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัลแคน โคอะลิชั่น (Vulcan Coalition) บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีภารกิจหลักในการสร้างงานและรายได้ที่แท้จริงให้กับคนพิการ
บริษัท ครีเอทีฟทอล์ค จำกัด(Creative Talk) องค์กรที่ริเริ่มจัดงาน Creative Talk Conference ในประเทศไทย
มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม หน่วยงานที่ทำงานสนับสนุนให้คนพิการมีอาชีพและช่วยลดช่องว่างการจ้างงาน เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ พัฒนาตนเองให้ผู้พิการ ทำงานได้เหมือนคนทั่วไป
วิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) นอกจากภารกิจพัฒนาคนในองค์กร ยังคิดไปถึงคนนอกองค์กร ให้โอกาสบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการทั่วประเทศ สร้างทักษะใหม่ในอนาคต เพื่อสนับสนุนให้มีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ ผ่านโครงการต่างๆ ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง
ทำไมต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
ก่อนหน้านี้ บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) เคยก่อตั้งสถาบัน AP Academy ส่งเสริมทักษะให้กับพนักงานในองค์กรกว่า 2,000 คน ให้มีความรู้ตั้งรับกับกฎกติกาโลกใหม่ และโครงการ AP Open House จัดขึ้นเพื่อส่งต่อองค์ความรู้จากประสบการณ์จริงให้กับนิสิต นักศึกษา เพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพกลับคืนสู่สังคมและอุตสาหกรรม รวมไปถึงก่อตั้ง SEAC (ซีแอค) หนึ่งในบริษัทในเครือเอพี ไทยแลนด์ เพื่อเป็นผู้นำด้านการพัฒนาผู้บริหาร บุคลากรและองค์กรในประเทศไทย เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ซีแอคที่ก่อตั้งขึ้น จะช่วยให้คนไทยทุกคนค้นพบศักยภาพและความเป็นไปใหม่ๆ ในชีวิตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ที่นำมาใช้กับชีวิตได้จริง ต่อยอดทักษะใหม่ๆ ที่ทันกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันมากยิ่งขึ้น
เตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดงาน
อีกหนึ่งความท้าทายของผู้พิการคือ การก้าวเข้าสู่ตลาดงานที่มีคุณภาพ นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์ YourNextU by SEAC (ซีแอค) กล่าวว่า ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาช่องว่างทางการศึกษากับความต้องการของภาคธุรกิจที่นับวันจะขยายกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนำมาสู่โอกาสในการเข้าถึงแหล่งงานคุณภาพของบัณฑิตและเยาวชน โดยเฉพาะกับน้องๆ บัณฑิตและเยาวชนผู้พิการ
"องค์กรเรา เน้นสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สังคมไทย มุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเอ็มพาวเวอร์ให้บัณฑิตและเยาวชนผู้พิการเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง" นิภัทรา กล่าว
ทั้งนี้ อีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการ "เพราะฉันคือ...ฉัน #IamPower" คือทางซีแอค ได้ร่วมกับทางมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม สานต่อกิจกรรม IW-Inclusive Workplace เตรียมพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกการทำงาน ปีที่ 2 โดยในปีนี้มีบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการจาก 21 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวนรวมกว่า 100 คนได้เข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งซีแอคได้ออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้และหลักสูตรที่เสริมสร้างทักษะและวิธีคิดที่จำเป็น
สอดคล้องกับความต้องการของโลกทำงานปัจจุบันและในอนาคต อาทิ วิธีคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ทักษะเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น (DISC) และทักษะการเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นต้น ผ่านการสนับสนุนจากทีมงานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม เพื่อให้เรียนรู้ในรูปแบบ Virtual Classroom สอนสดผ่านซูม เข้าถึงผู้เรียนผู้พิการได้อย่างเต็มที่และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเลือกใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
อภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธิฯ กล่าวว่า การขับเคลื่อนให้คนพิการได้เข้าถึงโอกาสงานและอาชีพมากขึ้น ถือเป็นอีกเรื่องที่มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลตอบรับจากบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการในรุ่นที่ผ่านมา ถือว่าดีมาก เพราะหลักสูตรที่ทางซีแอคจัดเตรียมไว้ สามารถดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวพวกเขาออกมาได้ ทำให้เกิดความมั่นใจ กล้าที่จะทำตามความฝันของตนเองมากขึ้น
สร้างโอกาสที่เท่าเทียม
การต่อยอดโอกาสในการเข้าถึงทักษะใหม่ๆ ให้แก่ "ผู้ด้อยโอกาส" เป็นภาระกิจที่องค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ และพันธมิตรทั้ง 4 เล็งเห็นว่า การหยิบยื่นโอกาสให้ผู้พิการมีอาวุธทางปัญญาและความรู้ เป็นเรื่องสำคัญในการเข้าถึงตลาดงานที่มีคุณภาพ จะได้มีทักษะเทียบเท่าคนทั่วไป
เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท วัลแคน โคอะลิชั่น จำกัด (VULCAN COALITION) กล่าวว่า จากการทำงานร่วมกับคนพิการ พบว่า มีคนพิการจำนวนมากที่มีศักยภาพ แต่โอกาสในการเข้าถึงทั้งในด้านการจ้างงานและการศึกษาไม่มากนัก
"จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยมีคนพิการในวัยทำงานกว่า 819,000 คน แต่มีคนพิการเพียง 33.18% ที่ได้รับโอกาสจ้างงาน ทางเอพี ไทยแลนด์ จึงให้การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการในการสร้างทักษะแห่งอนาคต ถือเป็นการเปิดโลกการเรียนรู้และเสริมพลังบวกให้คนพิการทุกคนได้มีชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้" เมธาวี กล่าว
Creative Talk อีกเครื่องมือพัฒนาคน
ในงาน Creative Talk Conference 2022 (CTC2022) ทาง เอพี ไทยแลนด์ ได้ทางวัลแคน โคอะลิชั่น มาช่วยสนับสนุนและดูแลน้องๆ อย่างเต็มที่ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มี เพื่อรับรองบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการในการเข้าร่วมงานครั้งนี้
สำหรับปีนี้ ถือเป็นปีแรกที่ทาง เอพี ไทยแลนด์ เพิ่มพื้นที่สำหรับบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการ ซึ่งทีมจัดงาน ได้เตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้น้องๆ บัณฑิตและเยาวชนผู้พิการได้เรียนรู้เต็มที่ มีทั้งล่ามภาษามือ ที่นั่ง เบรลล์บล็อก ตลอดจนทีมงานอาสาสมัคร หรือการรับชมผ่านระบบออนไลน์โดยเอพี ไทยแลนด์ ได้เตรียมโควตาบัตรพิเศษ ที่เรียกว่า Angel Ticket เพื่อมอบให้แก่น้องๆ บัณฑิตและเยาวชนผู้พิการที่สนใจเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ อีกทางหนึ่งด้วย
สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ครีเอทีฟทอล์ค จำกัด กล่าวถึงการจัดงาน Creative Talk Conference ในปีนี้ว่า มีความยินดีเป็นอย่างมาก ที่ทาง เอพี ไทยแลนด์ ได้สนับสนุนการจัดงาน CREATIVE TALK CONFERENCE อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปีนี้แนวคิดของ AP ที่ต้องการต่อยอดโอกาสในการเข้าถึงทักษะใหม่ๆ ให้แก่บุคคลผู้ด้อยโอกาส ถือเป็นไอเดียที่ช่วยยกระดับงาน CTC2022 ให้เทียบเท่างาน Conference ในระดับสากลมากยิ่งขึ้น โดยทีมงาน และวิทยากรกว่า 100 คนพร้อมที่จะเปิดโลกทัศน์และต่อยอดทางความคิดแก่บัณฑิตและเยาวชนผู้พิการอย่างเต็มที่ เพื่อส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ให้กับทุกคนในสังคม
สำหรับงาน "AP-SEAC presents Creative Talk Conference 2022" จัดวันที่ 25-26 มิถุนายนนี้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โควตาบัตรพิเศษ Angel Ticket สำหรับบัณฑิตและเยาวชนผู้พิการที่สนใจเข้าร่วมรับฟังผ่านระบบออนไลน์
สแกน QR Code เพื่อลงทะเบียน ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 มิถุนายน 65 หรือ https://bit.ly/3xNyM6T (ขนาดไฟล์: 152)