ฐานข้อมูลใหม่ ILO เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของคนพิการในตลาดแรงงาน

ฐานข้อมูลใหม่ ILO เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของคนพิการในตลาดแรงงาน

ฐานข้อมูลใหม่ ILOSTAT เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของคนพิการในตลาดแรงงาน ในระดับทั่วโลกพบว่าคนพิการ 7 ใน 10 คน ไม่มีงานทำหรือกำลังตกงาน เทียบกับ 4 ใน 10 คน ของผู้ไม่มีความพิการ สถานการณ์การจ้างงานคนพิการมีแนวโน้มแย่ลงในช่วงวิกฤตโควิด-19

อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานของคนพิการต่ำมาก ในระดับทั่วโลกพบว่าคนพิการ 7 ใน 10 คน ไม่มีงานทำหรือกำลังตกงาน เทียบกับ 4 ใน 10 คน ของผู้ไม่มีความพิการ

อัตราการว่างงานในผู้หญิงที่พิการก็ยังสูงเป็นพิเศษ นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเธอต้องเผชิญกับความเสียเปรียบถึง 2 เท่าในตลาดแรงงานเนื่องจากทั้งเพศและความพิการของพวกเธอ

คนพิการมีโอกาสเป็น 2 เท่าที่จะมีระดับการศึกษาต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีระดับการศึกษาขั้นสูงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น คนพิการจึงมีโอกาสน้อยที่จะทำงานในอาชีพที่มีทักษะสูง

คนพิการมีแนวโน้มไม่มีงานทำมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น และรมักจะมีรายได้น้อยลง

ฐานข้อมูลใหม่ ILO เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของคนพิการในตลาดแรงงาน

สถานการณ์การจ้างงานคนพิการมีแนวโน้มแย่ลงในช่วงวิกฤตโควิด-19

26 มิ.ย. 2565 มีคนพิการประมาณ 1 พันล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรโลก ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน ตัวบ่งชี้ด้านตลาดแรงงานใหม่ที่รวบรวมโดยฝ่ายสถิติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILOSTAT) เผยให้เห็นความท้าทายมากมายที่ผู้พิการต้องเผชิญในตลาดแรงงาน

'อนุสัญญาสิทธิของคนพิการในการทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันกับผู้อื่น' ได้การรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN) เมื่อเดือน ธ.ค. 2549 อนุสัญญาฯ นี้ได้ครอบคลุมสิทธิในโอกาสในการทำงาน การหาเลี้ยงชีพด้วยงานที่ได้รับการคัดเลือกหรือยอมรับอย่างเสรีในตลาดแรงงานและสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดกว้างที่คนพิการเข้าถึงได้ ภายใต้อนุสัญญาฯ นี้ได้ห้ามการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานทุกรูปแบบ เรียกร้องให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้ออำนวยมากขึ้น และกำหนดให้รัฐภาคีส่งเสริมการเข้าถึงการฝึกอบรมสายอาชีพและโอกาสในการจ้างงานตนเองสำหรับคนพิการ

อนุสัญญาฯ นี้ ยังรวมถึงบทบัญญัติเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลทางสถิติ (ข้อที่ 31) เพื่อให้ได้ภาพที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์ของคนพิการในตลาดแรงงาน ปัจจุบันองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลสำหรับตัวบ่งชี้ตลาดแรงงานจำนวนหนึ่งอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยในการหาปริมาณความเหลื่อมล้ำในผลลัพธ์ของตลาดแรงงานของบุคคลที่มีและไม่มีความพิการ ซึ่งรวมถึงตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับกำลังแรงงาน การจ้างงาน การว่างงาน เวลาทำงาน และรายได้ สถิติดังกล่าวมีความจำเป็นสำหรับการพัฒนา ติดตาม และประเมินผลนโยบายและแผนงานที่มุ่งส่งเสริมโอกาสการจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับคนพิการและปกป้องสิทธิแรงงานคนพิการ

ฐานข้อมูลใหม่ ILO เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของคนพิการในตลาดแรงงาน

สำหรับฐานข้อมูลด้านตลาดแรงงานของคนพิการที่รวบรวมโดย ILOSTAT มีข้อพิจารณาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ผู้หญิงพิการต้องเผชิญกับความเสียเปรียบถึง 2 เท่าในตลาดแรงงาน ทั้งเพศและความพิการ

อัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานของคนพิการต่ำมาก ในระดับทั่วโลกพบว่าคนพิการ 7 ใน 10 คน ไม่มีงานทำหรือกำลังตกงาน เทียบกับ 4 ใน 10 คน ของผู้ไม่มีความพิการ, อัตราการว่างงานในผู้หญิงที่พิการก็ยังสูงเป็นพิเศษ นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเธอต้องเผชิญกับความเสียเปรียบถึง 2 เท่าในตลาดแรงงานเนื่องจากทั้งเพศและความพิการของพวกเธอ โดยใน 60 ประเทศที่มีข้อมูล พบว่าอัตราการว่างงานของผู้หญิงพิการไม่เพียงสูงกว่าผู้หญิงที่ไม่พิการเท่านั้น แต่ยังสูงกว่าอัตราของผู้ชายทั้งที่พิการและไม่พิการอีกด้วย

คนพิการต้องเผชิญกับอุปสรรคในการศึกษา

คนพิการมีโอกาสเป็น 2 เท่าที่จะมีระดับการศึกษาต่ำกว่าขั้นพื้นฐาน พวกเขามีแนวโน้มที่จะมีระดับการศึกษาขั้นสูงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

การค้นพบนี้ยืนยันว่าคนพิการต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ซึ่งรวมถึงอุปสรรคในการศึกษาอันเป็นช่วงเวลาในช่วงการเริ่มต้นของชีวิต สิ่งนี้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลลัพธ์ของตลาดแรงงานที่ตามมา เนื่องจากอัตราการจ้างงานสำหรับทั้งผู้พิการและไม่พิการนั้นจะสูงขึ้นตามระดับการศึกษา นอกจากนี้ความสำเร็จทางการศึกษายังสัมพันธ์กับระดับทักษะของอาชีพ ข้อมูลของ ILOSTAT แสดงให้เห็นว่าคนพิการมีโอกาสน้อยที่จะทำงานในอาชีพที่มีทักษะสูง

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ทุพพลภาพได้รับการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน และต้องมีโปรแกรมที่แก้ไขช่องว่างในคุณสมบัติและทักษะของพวกเขา

คนพิการมีแนวโน้มไม่มีงานทำมากขึ้น

ข้อมูลจากกว่าครึ่งของประเทศที่มีข้อมูลพบว่าอัตราการว่างงานของคนพิการสูงกว่ากลุ่มที่ไม่พิการ ทั้งนี้อัตราการว่างงานเฉลี่ยของคนพิการอยู่ที่ร้อยละ 7.6 เทียบกับร้อยละ 6.0 สำหรับผู้ไม่พิการ

การว่างงานในช่วงใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเวลานานจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลลัพธ์ของตลาดแรงงานในอนาคต การว่างงานที่ยาวนานขึ้นย่อมทำให้คนพิการจำนวนมากต้องหยุดทำงานหรืออาจบังคับให้พวกเขาหางานทำในระบบเศรษฐกิจนอกระบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คนพิการมีโอกาสได้รับการจ้างงานเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับผู้ไม่พิการ

มีคนพิการประมาณ 1 ใน 3 เท่านั้นที่มีงานทำ ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของผู้ไม่พิการ โดยช่องว่างในการจ้างงานระหว่างคนพิการกับผู้ที่ไม่พิการนี้เพิ่มขึ้นตามอายุ

ตัวอย่างจากการสำรวจที่ดำเนินการในประเทศมองโกเลีย ปัจจัยหลักที่จะทำให้คนพิการสามารถหางานทำได้ง่ายขึ้น ได้แก่ ความพร้อมของสถานที่ทำงานที่ตอบสนองความต้องการของคนพิการ ความช่วยเหลือในการจัดสรรงานที่เหมาะสม การเข้าถึงการศึกษาหรือฝึกอบรมที่ทำให้ทักษะของคนพิการเพิ่มขึ้น และประสบการณ์การทำงาน ซึ่งหมายความว่าคนพิการสามารถได้รับการจ้างงานได้มากขึ้น หากพวกเขาได้รับการสนับสนุนที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม รวมถึงโอกาสในการฝึกอบรมที่เพียงพอ

คนพิการมีแนวโน้มที่จะทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบมากขึ้น

คนพิการส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนามักทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นงานที่มีลักษณะที่ขาดความปลอดภัยและขาดสวัสดิการ 3 ใน 4 ของประเทศที่มีข้อมูล พบว่าคนพิการมีแนวโน้มมากกว่าผู้ที่ไม่พิการที่จะได้รับการจ้างงานนอกระบบ นี่หมายความว่าพวกเขาประสบปัญหามากขึ้นในการเข้าถึงงานในระบบเศรษฐกิจในระบบ ซึ่งโดยทั่วไปจะช่วยให้รายได้ที่มั่นคงมากขึ้น เนื่องจากแรงงานนอกระบบไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานหรือประกันสังคม คนพิการที่ทำงานในเศรษฐกิจนอกระบบจึงอยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบางยิ่งขึ้น

คนพิการมีแนวโน้มที่จะประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น

ในเกือบทุกประเทศที่มีข้อมูล คนพิการมีแนวโน้มมากกว่าผู้ที่ไม่พิการในการประกอบอาชีพอิสระ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นโอกาสอันน้อยนิดที่พวกเขาจะได้รับการว่าจ้างให้ทำงานที่ได้รับค่าตอบแทน

คนพิการมักจะมีรายได้น้อยลง

ในประเทศส่วนใหญ่ที่มีข้อมูล คนพิการมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่าผู้ที่ไม่พิการ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อกำลังซื้อและมาตรฐานการครองชีพ รายได้ต่อเดือนที่ต่ำของคนพิการ จะจำกัดความสามารถในการบริโภคและทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงที่จะตกเข้าสู่ภาวะความยากจน

เยาวชนพิการมีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการจ้างงาน การศึกษา และการฝึกอบรม (NEET)

อุปสรรคที่คนพิการเผชิญในการเข้าถึงสถานที่ทำงานเริ่มต้นตั้งแต่เนิ่นๆ เยาวชนพิการที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 29 ปี มีแนวโน้มที่จะอยู่นอกระบบการศึกษา รวมทั้งไม่ได้อยู่ในระหว่างการทำงานหรือฝึกอบรมใดๆ (NEET) สูงกว่าผู้ไม่พิการถึง 5 เท่า

นอกจากนี้อัตรา NEET ผู้หญิงพิการนั้นสูงกว่าผู้ชายพิการ ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่ามีอุปสรรคในการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานตลอดจนการศึกษาและการฝึกอบรม

ทั้งนี้คนพิการจำนวนมากไม่ได้รับการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานในอนาคต ด้วยการลงทุนด้านการฝึกอบรม มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อทั้งตลาดแรงงานและการกีดกันทางสังคม

สถานการณ์การจ้างงานคนพิการมีแนวโน้มแย่ลงในช่วงวิกฤตโควิด-19

ภายหลังการรับรอง 'อนุสัญญาสิทธิของคนพิการในการทำงานบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันกับผู้อื่น' ในปี 2549 มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญในการจัดการกับความไม่เท่าเทียมกันและอุปสรรคที่คนพิการจำนวนมากต้องเผชิญ เป็นผลให้การมีส่วนร่วมของคนพิการในการจ้างงานเพิ่มขึ้นในหลายประเทศในช่วงหลายปีก่อนการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ในช่วงวิกฤตความก้าวหน้านี้หยุดลงหรือถดถอยในบางที่ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่กำลังปรากฏอยู่

สัดส่วนการจ้างงานคนพิการในปี 2563 ลดลงจากปี 2562 จาก 11 ใน 12 ประเทศที่มีข้อมูล สาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ คือการสูญเสียตำแหน่งงานจำนวนมากระหว่างการระบาดนั้นอยู่ในภาคการค้าปลีกและการบริการ ซึ่งคนพิการจำนวนมากมักจะทำงานในภาคนี้ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าคนพิการไม่เต็มใจที่จะกลับไปทำงานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

สรุปข้อสังเกตจากฐานข้อมูล

แม้จะมีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิการทำงานของคนพิการมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษ แต่คนพิการมักถูกปฏิเสธสิทธิในการทำงานอย่างเท่าเทียมกันกับผู้อื่น คนพิการโดยเฉพาะผู้หญิงต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านทัศนคติ ร่างกาย และข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งขัดขวางไม่ให้มีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน และคนพิการก็ไม่ได้รับโอกาสในการจ้างงานในระดับเดียวกับผู้ไม่พิการ คนพิการมีอัตราการว่างงานและการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในสถานการณ์การจ้างงานที่เปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงที่จะตกไปสู่ภาวะความยากจน

ILO มีความมุ่งมั่นมาอย่างยาวนานในการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคมและการทำงานที่มีคุณค่าสำหรับคนพิการ โดย ILO ได้ปฏิบัติตามแนวทาง 2 ทางในเรื่องนี้ แนวทาง 1 ประกอบด้วยโครงการหรือความคิดริเริ่มเฉพาะด้านความพิการที่มุ่งเอาชนะข้อเสียหรืออุปสรรคโดยเฉพาะ แนวทางที่ 2 คือการรับรองการรวมตัวของคนพิการในบริการและกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกอบรมทักษะ การส่งเสริมการจ้างงาน แผนการคุ้มครองทางสังคม และกลยุทธ์การลดความยากจน

ขอบคุณ... https://prachatai.com/journal/2022/06/99244

ที่มา: prachatai.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 มิ.ย.65
วันที่โพสต์: 28/06/2565 เวลา 10:54:53 ดูภาพสไลด์โชว์ ฐานข้อมูลใหม่ ILO เน้นย้ำให้เห็นถึงความท้าทายของคนพิการในตลาดแรงงาน