กทปส. สนับสนุนทุนโครงการหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์
กทปส. สนับสนุนทุนโครงการหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร สำหรับผู้พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
ดยสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จัดทำหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อและใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารผ่านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำหรับคนพิการด้านการได้ยินหรือสื่อความหมายพร้อมทั้งจัดอบรมให้กับ 2 กลุ่มเป้าหมายหลักใน 4 ภูมิภาค คือ กลุ่มระดับดำเนินการ และกลุ่มแกนนำคนหูหนวก เช่น สมาคมคนหูหนวกแต่ละจังหวัด ชมรมคนหูหนวก Influencer และ Idol คนหูหนวก เป็นต้น โดยนำหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อของสำนักงาน กสทช. และการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อทั้งของคนพิการทางการได้ยินในประเทศไทยและต่างประเทศมาปรับใช้ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการทางการได้ยินให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารผ่านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไปประกอบกับการเข้าถึงสื่อของคนพิการทางการได้ยินปัจจุบันทั้งช่องทางโทรทัศน์และสื่อโซเชียลมีเดีย บางช่องมีบริการคำบรรยายแทนเสียง มีการจัดทำล่ามภาษามือ ซึ่งคนหูหนวกมีการใช้สื่อผ่านโทรศัพท์มือถือในช่องทางโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook YouTube Instagram อยู่แล้ว ทำให้เข้าถึงสื่อได้ง่าย
ทั้งนี้กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) ได้สนับสนุนทุนในโครงการหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการเข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ผ่านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับคนพิการด้านการได้ยินหรือสื่อความหมายในการจัดทำหลักสูตรและจัดอบรม โดยมีการประเมินผู้เข้ารับการอบรมในการเข้าถึงสื่อว่าสามารถเข้าใจ อธิบายการเข้าถึงสื่อและผลที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สื่อได้ สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของสื่อและเนื้อหาแต่ละประเภทได้ และสามารถประเมินคุณค่าและความน่าเชื่อถือของสื่อได้
พบว่าคนพิการทางการได้ยินที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้มีทักษะการรับสื่อ เผยแพร่สื่อ และสามารถรู้เท่าทันสื่อมากขึ้น มีการเสพสื่ออย่างมีสติ มีความรอบคอบและระมัดระวังในการใช้สื่อมากขึ้น มีความรับผิดชอบในการใช้สื่อต่อส่วนรวมมากขึ้น เช่น การค้นหา ประเมินค่า ใช้ประโยชน์และแบ่งปันข้อมูลอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่โพสต์คำหยาบ ยุยง และรู้ช่องทางการร้องเรียน และพบว่าถ้ามีสื่อมีเดียที่ผลิตหรือมีทีมงานผลิตที่มีคนหูหนวกร่วมอยู่ด้วย ก็จะช่วยส่งเสริมด้านการออกแบบที่สอดคล้องกับการรับรู้สื่อของคนพิการทางการได้ยินได้ดียิ่งขึ้น
ขอบคุณ... https://mgronline.com/qol/detail/9670000080226#google_vignette