“พฤกษา” เผยโฉม 5 ทีมผู้ชนะโครงการ “Accelerate Impact with PRUKSA”
หลายคนสงสัยเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะว่าคืออาการลักษณะใดกันแน่
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคเกี่ยวกับหัวใจอีกหลายประเภท อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
บีบีซีไทยชวนสำรวจว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะคืออะไร มีกี่ประเภท รักษาอย่างไร และจะสามารถป้องกันได้อย่างไร
หัวใจเต้นระริก
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นระริก หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “เอเอฟ” (AF: Atrial Fibrillation) คือการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ
เว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นได้ทั้งกับหัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่าง โดยหากเกิดขึ้นกับหัวใจห้องล่าง คนไข้จะเสียชีวิตทันทีหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าไหลตาย ถ้าหากเกิดกับหัวใจห้องบน จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วมากและไม่สัมพันธ์กัน ทำให้หัวใจไม่มีการบีบตัว เกิดลิ่มเลือดตกตะกอนอยู่ที่หัวใจห้องบนตามมา จากนั้นลิ่มเลือดอาจไปอุดตันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
บทความบนเว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุอีกว่า หากลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมองจะทำให้เกิดอัมพาต โดยภาวะหัวใจเต้นระริกยังเป็นสาเหตุของอัมพาตประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยอัมพาตทั้งหมด
ประเภท
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ
หัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradyarrhythmia) คือเต้นช้าน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
หัวใจเต้นเร็วเกินไป (Tachyarrhythmia) คือเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที
สาเหตุ
รศ.นพ.รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ระบุในบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์ศิริราชออนไลน์ สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะมีได้หลายสาเหตุ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่เดิม มักจะสัมพันธ์กับโรคหัวใจที่เป็นอยู่เดิม เช่น โรคหัวใจขาดเลือดที่เกิดจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ เกิดจากโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ก็สามารถทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ร
อย่างไรก็ดี ศ.นพ.รุ่งโรจน์ บอกว่า ถึงแม้ผู้ป่วยจะไม่เคยเป็นโรคหัวใจอยู่เดิม หัวใจเต้นผิดจังหวะก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้
บทความบนเว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะนี้มากที่สุดคืออายุ โดยรองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด ตามลำดับ
บทความดังกล่าวยังระบุอีกว่า ในคนไข้อายุมาก ที่เกิดภาวะหัวใจเต้นระริกมักมาพบแพทย์ด้วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาต จึงตรวจพบภายหลังว่ามีสาเหตุมาจากภาวะดังกล่าว ขณะที่ในคนไข้อายุน้อย อาการที่แสดงออกมาหากมีภาวะดังกล่าวได้แค่ ใจสั่นและเหนื่อยง่าย
อาการ
ข้อมูลโดยเว็บไซต์โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ระบุว่า โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยภาวะนี้มักไม่ทราบว่าตนมีปัญหาโดยมาพบภาวะนี้จากการตรวจสุขภาพหรือเมื่อป่วยด้วยโรคอื่น แต่ในผู้ป่วยบางรายก็สามารถสังเกตอาการที่ปรากฏได้ อาทิ
วิงเวียน
หน้ามืด
ตาลาย
ใจสั่นบริเวณหน้าอก
หายใจขัด
เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
เป็นลม หมดสติ
วิธีป้องกัน
จากบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ศิริราชออนไลน์ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ระบุว่า คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก็ควรจะรักษาตามที่แพทย์แนะนำควรจะรับประทานยาสม่ำเสมอถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจก็ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ควรออกกำลังสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลไม่ดีต่าง ๆ และก็ตรวจเช็คสุขภาพเป็นระยะ ๆ
ขอบคุณ... https://www.bbc.com/thai/articles/c2jg81d3035o (ขนาดไฟล์: 260146)