แม่ฮ่องสอน เปิดศูนย์เรียนรู้เพื่อคนพิการ
แม่ฮ่องสอน เปิดศูนย์เรียนรู้งานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ (ไมลงยี โมเดล) เป็นศูนย์เรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2566 นางสาววราภรณ์ ขันธ์เขียว ผู้อำนวยการปฏิบัติการ ในนามคณะทำงานศูนย์เรียนรู้งานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ (ไมลองยี โมเดล) ให้การต้อนรับ นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานในพิธี นายแฉล้ม ทองเกลา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน นายคำปัน คำประวัน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 4 นายวีกิจ เจ้าดูรี ปลัดอำเภอแม่สะเรียง นายณัฐพงษ์ มณีกร ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงห้วยหลวงโมเดล และประธานเครือข่ายเอามื้อสามัคคีของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้พิการ หัวหน้าส่วนราชการ ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้นำชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม
ซึ่งได้มีการจัดกิจกรรมการเอามื้อสามัคคี ขุดคลองใส้ไก่ การย่ำบ่อ กิจกรรมทำแซนวิชปลา น้ำหมัก 7 รส และเตรียมพื้นที่เพื่อสร้างธาราบำบัด โดยมีผู้ร่วมกิจกรรม ประกอบด้วยผู้พิการ ผู้ดูแลผู้พิการ นักเรียนจากมูลนิธิกิจกรุณา นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอนหน่วยจัดแม่สะเรียง
สำหรับ ศูนย์เรียนรู้งานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ (ไมลงยี โมเดล) เป็นศูนย์เรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยศูนย์เรียนรู้งานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการฯ ดำเนินงานโดยศูนย์คริสเตียนเพื่อพัฒนาผู้พิการ องค์กรสาธารณประโยชน์ กรณีเอกชน ที่มีประสบการณ์การทำงานกับครอบครัวคนพิการกว่า 20 ปี พบว่าคนพิการจังหวัดแม่ฮ่องสอนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบทพื้นที่ห่างไกล มีฐานะยากจน อยู่ในสภาวะพึ่งพิงครอบครัว คนพิการเมื่อเรียนจบไม่สามารถไปสมัครงานตามหน่วยงานต่างๆ ได้ วุฒิการศึกษาและความสามารถไม่อยู่ในระดับเกณฑ์ที่ต้องการของหน่วยงาน ครอบครัวไม่ปรารถนาให้ออกจากชุมชนเพื่อไปทำงานต่างจังหวัดเนื่องจากเป็นห่วงใน สวัสดิภาพและความปลอดภัยของคนพิการ