การรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ
แนวคิดเกี่ยวกับการให้โอกาสคนพิการในการมีส่วนร่วมในสังคมและสามารถ ประกอบอาชีพได้เท่าเทียมกับคนปกติเริ่มปรากฏมาตั้งแต่พระราชบัญญัติฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเอกชนต้องรับคนพิการเข้าทำงาน ตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับลูกจ้างอื่น โดยในขณะนั้นได้กำหนดไว้ที่จำนวนลูกจ้างสองร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการประสงค์จะไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามสัดส่วนดังกล่าว ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแทนได้โดยนำส่งเป็นรายปี อย่างไรก็ดี การกำหนดให้รับคนพิการเข้าทำงานดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงการรับคนพิการเข้า ทำงานในหน่วยงานของรัฐ คงมีการกำหนดเพียงเฉพาะกรณีของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่เป็นเอกชน เท่านั้น
ภายหลังได้มีการกำหนดรองรับสิทธิของคนพิการไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยมาโดยตลอดตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยบุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ และกำหนดให้รัฐต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพและ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิของคนพิการไว้ในลักษณะเดียวกัน
ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวยังคงกำหนดรองรับการรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ เอกชน และได้เพิ่มเติมกรณีการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐด้วยโดยหน่วยงาน ของรัฐจะหมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
ในส่วนของหน่วยงานของรัฐมีการกำหนดสัดส่วนไว้ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 ที่สัดส่วนผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปให้รับคนพิการที่สามารถทำ งานได้หนึ่งคน ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ดังนั้น กรณีการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับแนวทางการรับคนพิการเข้าทำงานให้ได้ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด
มาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและการทำงานของคนพิการตามกฎหมายดังกล่าวถูกกำหนดไว้ 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1. การรับคนพิการเข้าทำงาน (มาตรา 33) ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการเข้าทำงานเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เป็น พนักงานประจำ เช่น ในกรณีพนักงานประจำของส่วนราชการ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ โดยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานนั้นหากมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่หนึ่งร้อย คนขึ้นไป ให้รับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการหนึ่งร้อยคนต่อคน พิการหนึ่งคน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 1 และการนับจำนวนให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของแต่ละปี และกรณีหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการให้นับจำนวนผู้ปฏิบัติงานรวมกันเป็น กระทรวง 2. การส่งเสริมอาชีพในลักษณะอื่น (มาตรา 35) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำ ของตน ก็อาจเลือกใช้วิธีการการส่งเสริมอาชีพในลักษณะอื่นแทน ได้แก่ 2.1 การให้สัมปทาน ได้แก่ การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในการครอบครองหรือใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรหรือทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วย สามร้อยหกสิบห้าวันต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน เช่น การให้สัมปทานเพื่อให้คนพิการได้ใช้สถานที่สำหรับเปิดถ่ายเอกสารในส่วน ราชการ 2.2 การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การจัดสถานที่บริเวณองค์กรหรือภายนอกองค์กรเพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคน พิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วย สามร้อยหกสิบห้าวันต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน เช่น จัดพื้นที่ให้คนพิการได้ขายอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือสินค้าอื่นๆ 2.3 การจ้างคนพิการในลักษณะของการจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ ได้แก่ การให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ เพื่อดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ หรือรับช่วงงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องจัดให้มีการทำสัญญาไม่น้อยกว่าหกเดือน โดยมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าเท่าของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้น คูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน เช่น การจัดซื้อวัสดุหรืออุปกรณ์จากคนพิการโดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และ 2.4 การฝึกงาน ได้แก่ การเพิ่มความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพ และมีระยะเวลาฝึกงานไม่น้อยกว่าหกเดือน และมูลค่าของการฝึกงานต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าปีละอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน ท้องที่นั้นคูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าต่อคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน
แนวทางการส่งเสริมอาชีพของคนพิการตามกฎหมายนี้ เป็นการเน้นให้คนพิการสามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการดำรงชีพของคนพิการแล้ว ยังเป็นการช่วยให้คนพิการสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมได้เท่าเทียมกับ คนทั่วไป และจะเป็นการส่งเสริมและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไปของทั้งคนพิการเองและครอบครัวต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจะประกาศข้อมูลการรับคนพิการ เข้าทำงานตามกฎหมายนี้ต่อสาธารณะเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สาธารณะชนทราบว่าหน่วยงานของรัฐแห่งใดสามารถรับคนพิการเข้าทำงานได้ ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และหน่วยงานของรัฐใดไม่สามารถดำเนินการได้…โดย นายปรนาคินทร์ กตัญญุตานนท์ สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอบคุณ https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/188732/231703
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ย.56
1 มานี 12/09/2556 14:34:45
เราจบปริญญาตรี แต่บริษัทให้เงินเดือน 8000 กว่าจะปรับได้ 9000 ก็เมื่อมีแรงงานขั้นต่ำ มานี
2 หลิง 11/09/2556 05:21:25
ผมทำงานในมหาลัยราชภัฏแหล่งหนึ่ง แต่เป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินเดือน 9140 ผมควรดำเนินการอย่างไงบ้างครับ 0837446620
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนพิการนั่งรถเข็นอ่านหนังสืออยู่กลางสนามหญ้า แนวคิดเกี่ยวกับการให้โอกาสคนพิการในการมีส่วนร่วมในสังคมและสามารถ ประกอบอาชีพได้เท่าเทียมกับคนปกติเริ่มปรากฏมาตั้งแต่พระราชบัญญัติฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการเอกชนต้องรับคนพิการเข้าทำงาน ตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับลูกจ้างอื่น โดยในขณะนั้นได้กำหนดไว้ที่จำนวนลูกจ้างสองร้อยคนต่อคนพิการหนึ่งคน หากนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการประสงค์จะไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามสัดส่วนดังกล่าว ให้ส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแทนได้โดยนำส่งเป็นรายปี อย่างไรก็ดี การกำหนดให้รับคนพิการเข้าทำงานดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงการรับคนพิการเข้า ทำงานในหน่วยงานของรัฐ คงมีการกำหนดเพียงเฉพาะกรณีของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่เป็นเอกชน เท่านั้น ภายหลังได้มีการกำหนดรองรับสิทธิของคนพิการไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทยมาโดยตลอดตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยบุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอํานวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ และกำหนดให้รัฐต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพและ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิของคนพิการไว้ในลักษณะเดียวกัน ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อกำหนดแนวทางและปรับปรุงวิธีการในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวยังคงกำหนดรองรับการรับคนพิการเข้าทำงานในสถานประกอบการ เอกชน และได้เพิ่มเติมกรณีการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐด้วยโดยหน่วยงาน ของรัฐจะหมายถึง กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ในส่วนของหน่วยงานของรัฐมีการกำหนดสัดส่วนไว้ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 ที่สัดส่วนผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไปให้รับคนพิการที่สามารถทำ งานได้หนึ่งคน ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าว มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ดังนั้น กรณีการรับคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้าง ใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับแนวทางการรับคนพิการเข้าทำงานให้ได้ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด มาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและการทำงานของคนพิการตามกฎหมายดังกล่าวถูกกำหนดไว้ 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1. การรับคนพิการเข้าทำงาน (มาตรา 33) ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการเข้าทำงานเป็นผู้ปฏิบัติงานที่เป็น พนักงานประจำ เช่น ในกรณีพนักงานประจำของส่วนราชการ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ โดยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานนั้นหากมีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่หนึ่งร้อย คนขึ้นไป ให้รับคนพิการเข้าทำงานในอัตราส่วนลูกจ้างที่ไม่ใช่คนพิการหนึ่งร้อยคนต่อคน พิการหนึ่งคน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 1 และการนับจำนวนให้นับทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของแต่ละปี และกรณีหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการให้นับจำนวนผู้ปฏิบัติงานรวมกันเป็น กระทรวง 2. การส่งเสริมอาชีพในลักษณะอื่น (มาตรา 35) เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะรับคนพิการเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำ ของตน ก็อาจเลือกใช้วิธีการการส่งเสริมอาชีพในลักษณะอื่นแทน ได้แก่ 2.1 การให้สัมปทาน ได้แก่ การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในการครอบครองหรือใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรหรือทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วย สามร้อยหกสิบห้าวันต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน เช่น การให้สัมปทานเพื่อให้คนพิการได้ใช้สถานที่สำหรับเปิดถ่ายเอกสารในส่วน ราชการ 2.2 การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การจัดสถานที่บริเวณองค์กรหรือภายนอกองค์กรเพื่อให้คนพิการหรือผู้ดูแลคน พิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ โดยต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้นคูณด้วย สามร้อยหกสิบห้าวันต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน เช่น จัดพื้นที่ให้คนพิการได้ขายอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือสินค้าอื่นๆ 2.3 การจ้างคนพิการในลักษณะของการจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ ได้แก่ การให้คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ เพื่อดำเนินงานทั้งหมดหรือแต่บางส่วนของงานใดในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ หรือรับช่วงงานในความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต้องจัดให้มีการทำสัญญาไม่น้อยกว่าหกเดือน โดยมีมูลค่าไม่น้อยกว่าห้าเท่าของอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในท้องที่นั้น คูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าต่อคนพิการหนึ่งคนที่ต้องรับเข้าทำงาน เช่น การจัดซื้อวัสดุหรืออุปกรณ์จากคนพิการโดยวิธีกรณีพิเศษตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ และ 2.4 การฝึกงาน ได้แก่ การเพิ่มความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพ และมีระยะเวลาฝึกงานไม่น้อยกว่าหกเดือน และมูลค่าของการฝึกงานต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่าปีละอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน ท้องที่นั้นคูณด้วยสามร้อยหกสิบห้าต่อคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงาน แนวทางการส่งเสริมอาชีพของคนพิการตามกฎหมายนี้ เป็นการเน้นให้คนพิการสามารถประกอบอาชีพได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการดำรงชีพของคนพิการแล้ว ยังเป็นการช่วยให้คนพิการสามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมได้เท่าเทียมกับ คนทั่วไป และจะเป็นการส่งเสริมและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไปของทั้งคนพิการเองและครอบครัวต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจะประกาศข้อมูลการรับคนพิการ เข้าทำงานตามกฎหมายนี้ต่อสาธารณะเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สาธารณะชนทราบว่าหน่วยงานของรัฐแห่งใดสามารถรับคนพิการเข้าทำงานได้ ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และหน่วยงานของรัฐใดไม่สามารถดำเนินการได้…โดย นายปรนาคินทร์ กตัญญุตานนท์ สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอบคุณ https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/188732/231703 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)