การพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการฝึกและพัฒนาอาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพแรงงานคนพิการไทยในเขตภาคกลาง

เนื้อหาบางส่วน

บทนำ

ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาที่เชื่อมโยงการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กันในรูปแบบของการศึกษาตลอดชีวิต (สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล, 2554) ซึ่งการพัฒนาและส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิต เป็นต้น เนื่องจากในประเทศไทยมีผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ขาดโอกาสทางการศึกษา ตกอยู่ในสภาวะปัญหาดังกล่าวอยู่เป็นจำนวนมากการส่งเสริมการศึกษาจึงมีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเชื่อว่า มนุษย์เป็นทุนทางสังคมที่มีคุณค่า หากได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ในทิศทางที่ถูกต้องตามศักยภาพแล้วย่อมจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้

คนพิการเป็นบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่งในสังคม ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะทรัพยากรมนุษย์ผู้ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ สังคมเพื่อให้ประเทศชาติเกิดความเจริญก้าวหน้าเช่นเดียวคนปกติทุกคน หากคนพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพโดยการ ฟื้นฟูสมรรถภาพ มีการศึกษา การฝึกและพัฒนาอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งสามารถประกอบอาชีพ ได้รับการจ้างงานจากตลาดแรงงาน ซึ่งการมอบโอกาสให้คนพิการได้พัฒนาศักยภาพดังกล่าว จึงเป็นกลไกสำคัญที่ส่งเสริมให้คนพิการ มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น อยู่ร่วมกับทุกคนในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สู่การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของประเทศเช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป เพราะปัจจุบันมีคนพิการเป็นจำนวนไม่น้อยที่ร่วมเป็นกำลังแรงงานในระบบเศรษฐกิจและสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมทั่วทุกระดับ (องค์การแรงงานระหว่างประเทศ, 2553)

ดาวน์โหลดเอกสาร

ที่มา: นาย อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่โพสต์: 6/05/2556 เวลา 02:18:25

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด