คนพิการ กับ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียม
เนื้อหาบางส่วน
1. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการ
มนุษย์ดำรงชีวิตในสังคมร่วมกัน โดยใช้การ “ติดต่อสื่อสาร” กัน ด้วยการฟัง – พูด และ อ่าน – เขียนเป็นหลัก ความพิการทำให้คนพิการแต่ละประเภทมีข้อจำกัดในการสื่อสารต่างๆ กัน เช่น
1) คนตาบอด มีข้อจำกัดในการเห็น จึงไม่สามารถสื่อสารด้วยการอ่านและเขียนหนังสือในรูปแบบที่คนทั่วไปใช้ ดังนั้น คนตาบอดจึงต้องใช้ “อักษรเบรลล์” ซึ่งเขียนโดยการใช้อุปกรณ์กดกระดาษให้เป็น “จุดนูน” เรียงกันในลักษณะต่างๆ เพื่อแทนอักษรและสระภาษาไทย และอ่านโดยการใช้นิ้วสัมผัสจุดนูนดังกล่าว
2) คนหูหนวก มีข้อจำกัดในการได้ยิน จึงไม่สามารถสื่อสารด้วยการฟังและพูดในรูปแบบที่คนทั่วไปใช้ ดังนั้น คนหูหนวกจึงต้องสื่อสารโดยการใช้ “ภาษามือไทย” ซึ่งใช้ดูการเคลื่อนไหวมือและลำตัว รวมทั้งการแสดงสีหน้าท่าทางเป็นศัพท์ และประโยคต่างๆ ซึ่งใช้ไวยากรณ์ต่างจากภาษาไทย ภาษามือจึงเป็นภาษาแรก หรือภาษาแม่ของคนหูหนวก เมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา คนหูหนวกจึงเรียนอ่านและเขียนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2
ดาวน์โหลดเอกสาร คนพิการ กับ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียม
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เนื้อหาบางส่วน 1. การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของคนพิการ มนุษย์ดำรงชีวิตในสังคมร่วมกัน โดยใช้การ “ติดต่อสื่อสาร” กัน ด้วยการฟัง – พูด และ อ่าน – เขียนเป็นหลัก ความพิการทำให้คนพิการแต่ละประเภทมีข้อจำกัดในการสื่อสารต่างๆ กัน เช่น 1) คนตาบอด มีข้อจำกัดในการเห็น จึงไม่สามารถสื่อสารด้วยการอ่านและเขียนหนังสือในรูปแบบที่คนทั่วไปใช้ ดังนั้น คนตาบอดจึงต้องใช้ “อักษรเบรลล์” ซึ่งเขียนโดยการใช้อุปกรณ์กดกระดาษให้เป็น “จุดนูน” เรียงกันในลักษณะต่างๆ เพื่อแทนอักษรและสระภาษาไทย และอ่านโดยการใช้นิ้วสัมผัสจุดนูนดังกล่าว 2) คนหูหนวก มีข้อจำกัดในการได้ยิน จึงไม่สามารถสื่อสารด้วยการฟังและพูดในรูปแบบที่คนทั่วไปใช้ ดังนั้น คนหูหนวกจึงต้องสื่อสารโดยการใช้ “ภาษามือไทย” ซึ่งใช้ดูการเคลื่อนไหวมือและลำตัว รวมทั้งการแสดงสีหน้าท่าทางเป็นศัพท์ และประโยคต่างๆ ซึ่งใช้ไวยากรณ์ต่างจากภาษาไทย ภาษามือจึงเป็นภาษาแรก หรือภาษาแม่ของคนหูหนวก เมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา คนหูหนวกจึงเรียนอ่านและเขียนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 ดาวน์โหลดเอกสาร คนพิการ กับ
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)