ควรรู้! ผลศึกษาเผย นอนไม่เพียงพอ ไม่ใช่แย่หนักที่สุด แต่ยังมี"แย่หนักกว่า"อีก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จากผลการวิจัยระบุว่าการถูกขัดจังหวะระหว่างการนอนหลับมีผลกระทบต่ออารมณ์มากกว่าการนอนหลับไม่เพียงพออีกทั้งยังลดระดับความเห็นอกเห็นใจและความเป็นมิตรลงด้วย
รายงานระบุว่าทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย"จอห์น ฮอปกินส์"ที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์รัฐแมรี่แลนด์ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่าการถูกขัดจังหวะระหว่างการนอนหลับส่งผลกระทบต่ออารมณ์เชิงบวกโดยพวกเขาได้ทำการศึกษาจากอาสาสมัครชายหญิงทั้งหมด 62 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่ถูกบังคับให้ตื่นขึ้นระหว่างการนอนหลับ ขณะที่กลุ่มสองคือกลุ่มที่นอนดึกและกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่นอนหลับตามปกติโดยไม่มีการรบกวนใดๆภายในการศึกษาวิเคราะห์ซึ่งใช้เวลากว่า3วัน
โดยจากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ถูกปลุกบ่อยๆ เผยให้เห็นว่ามีระดับอารมณ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ หลังการนอนหลับในคืนแรกและระดับอารมณ์เชิงบวกก็ลดลงอีก 30 เปอร์เซ็นต์ ในคืนที่2โดย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เข้าร่วมที่นอนดึกกลับแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมที่นอนดึกกลับมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงเพียง12เปอร์เซ็นต์หลังการนอนหลับในคืนที่2
นอกจากนี้ กลุ่มที่ถูกขัดจังหวะการนอนหลับยังมีช่วงเวลาในการหลับลึกที่สั้นซึ่งนักวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับการลดระดับทางอารมณ์เชิงบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการถูกขัดจังหวะขณะหลับซึ่งมีผลกระทบต่อระดับพลังงานและความรู้สึกของความเห็นอกเห็นใจและเป็นมิตรด้วย
ด้านนายแพทริค ฟิแนน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชและพฤติกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ กล่าวว่า "เมื่อคุณนอนหลับร่างกายของคุณจะหยุดชะงักตลอดทั้งคืน คุณไม่มีทางที่จะก้าวข้ามผ่านขั้นตอนการนอนหลับไปสู่การหลับลึกได้ซึ่งนั่นคือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูความรู้สึก"
ทั้งนี้ นายแพทริค ยังกล่าวอีกว่า การถูกขัดจังหวะขณะหลับมักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากพ่อแม่ผู้ปกครองหรือโทรศัพท์จากเจ้านายกระทันหันซึ่งนี่คือสิ่งสำคัญ นอกจากนี้การมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงยังเป็นอาการที่พบบ่อยของคนที่มีอาการนอนไม่หลับอีกด้วย
ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447305865 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จากผลการวิจัยระบุว่าการถูกขัดจังหวะระหว่างการนอนหลับมีผลกระทบต่ออารมณ์มากกว่าการนอนหลับไม่เพียงพออีกทั้งยังลดระดับความเห็นอกเห็นใจและความเป็นมิตรลงด้วย คู่รักชาย หญิงกำลังนอนหลับ รายงานระบุว่าทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย"จอห์น ฮอปกินส์"ที่มีชื่อเสียงด้านการแพทย์ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์รัฐแมรี่แลนด์ประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า พวกเขาได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่าการถูกขัดจังหวะระหว่างการนอนหลับส่งผลกระทบต่ออารมณ์เชิงบวกโดยพวกเขาได้ทำการศึกษาจากอาสาสมัครชายหญิงทั้งหมด 62 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่ถูกบังคับให้ตื่นขึ้นระหว่างการนอนหลับ ขณะที่กลุ่มสองคือกลุ่มที่นอนดึกและกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่นอนหลับตามปกติโดยไม่มีการรบกวนใดๆภายในการศึกษาวิเคราะห์ซึ่งใช้เวลากว่า3วัน โดยจากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ถูกปลุกบ่อยๆ เผยให้เห็นว่ามีระดับอารมณ์เชิงบวกอยู่ในระดับต่ำ หลังการนอนหลับในคืนแรกและระดับอารมณ์เชิงบวกก็ลดลงอีก 30 เปอร์เซ็นต์ ในคืนที่2โดย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เข้าร่วมที่นอนดึกกลับแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมที่นอนดึกกลับมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงเพียง12เปอร์เซ็นต์หลังการนอนหลับในคืนที่2 นอกจากนี้ กลุ่มที่ถูกขัดจังหวะการนอนหลับยังมีช่วงเวลาในการหลับลึกที่สั้นซึ่งนักวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับการลดระดับทางอารมณ์เชิงบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการถูกขัดจังหวะขณะหลับซึ่งมีผลกระทบต่อระดับพลังงานและความรู้สึกของความเห็นอกเห็นใจและเป็นมิตรด้วย ด้านนายแพทริค ฟิแนน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตเวชและพฤติกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ กล่าวว่า "เมื่อคุณนอนหลับร่างกายของคุณจะหยุดชะงักตลอดทั้งคืน คุณไม่มีทางที่จะก้าวข้ามผ่านขั้นตอนการนอนหลับไปสู่การหลับลึกได้ซึ่งนั่นคือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูความรู้สึก" ทั้งนี้ นายแพทริค ยังกล่าวอีกว่า การถูกขัดจังหวะขณะหลับมักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากพ่อแม่ผู้ปกครองหรือโทรศัพท์จากเจ้านายกระทันหันซึ่งนี่คือสิ่งสำคัญ นอกจากนี้การมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงยังเป็นอาการที่พบบ่อยของคนที่มีอาการนอนไม่หลับอีกด้วย ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1447305865
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)