ซาวองส์ อัจฉริยะ ออทิสติก

เนื้อหาบางส่วน

John Von Neuman นักคณิตศาสตร์ ผู้เลื่องชื่อ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “บิดาแห่งทฤษฎีเกม” เป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดคำนวณอันซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวเช่นนี้เป็นสิ่งที่คนอีกกลุ่ม หนึ่ง สามารถทำได้เช่นเดียวกัน และคนกลุ่มที่ว่านี้คือ Autistic Savant หรือเรียกสั้นๆว่า “ซาวองส์” ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลความหมายอย่างตรงตัวว่า “ผู้ที่มีความรู้หรือนักปราชญ์ [[51582]] ส่วนผู้ที่บัญญัติคำนี้ขึ้น เพื่อใช้เรียกลักษณะอาการของอัจฉริยะออทิสติกนี้ คือ นายแพทย์ จอห์น แลงดอน ดาว (John Landon Down) และเหตุที่ต้องเรียกเช่นนี้เป็นเพราะ ซาวองนั้นมีความสามารถเฉพาะทางที่พิเศษจนเรียกได้ว่าเข้าขั้นอัจฉริยะแล้ว แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็มีความบกพร่องทางพัฒนาการความผิดปกติเกี่ยวกับสมอง หรือมีภาวะออทิสติกร่วมด้วยเช่นกัน และ ภาวะออทิสติกนี้เองที่ทำให้ซาวองส์ขาดความสามารถพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เช่น หัดเดินได้ช้า ติดกระดุมเสื้อหรือผูกเชือกรองเท้าและทานอาหารเองไม่เป็น และนอกจากนั้น ซาวองส่วนใหญ่ยังมีไอคิวอยู่ในช่วง 40-70 ซึ่งถึอว่าต่ำจากไอคิวเฉลี่ยของคนปกติที่อยู่ระหว่าง 90-110 และด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “อัจฉริยะออทิสติก”

ในปัจจุบันยังไม่มีทฤษฎีใดที่สามารถอธิบายถึงลักษณะพิเศษและขอบเขตความสามารถ ของซาวองส์ได้อย่างครบถ้วน และครอบคลุม แต่ก็มีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนด้วยหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ทฤษฎี ที่บอกว่า ซาวองส์เกิดจากการที่สมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย สมองซีกขวาจึงเข้ามาทำหน้าที่ทดแทน โดยจะสังเกตได้จากการที่ทักษะและความสามารถของซาวองส์ส่วนใหญ่นั้นมักเกี่ยว ข้องกับสมองซีกขวา ซึ่งควบคุมในเรื่องของจินตนาการที่มีความหลากหลายเชื่อมต่อหลายมุม และไม่มีมิติสัมพันธ์ เช่น ศิลปะและดนตรี ส่วนทักษะที่ไม่ค่อยพบในกลุ่มคนที่เป็นซาวองส์นั้นจะเกี่ยวข้องกับสมองซีก ซ้าย เช่น เรื่องความคิดในเชิงตรรกะและความคิดเชิงนามธรรม ในกลุ่มคนที่เป็นออทิสติกอาจมีซาวองส์อยู่ประมาณ 1 ใน 10 คน ส่วนกลุ่มคนที่มีปัญหาความผิดปกติทางพัฒนาการ เช่น ปัญญาอ่อน หรือ สมองพิการ ก็จะพบซาวองส์ 1 คน ใน 2,000 คน แต่เนื่องจากกลุ่มคนที่เป็นออทิสติกมีน้อยกว่ากลุ่มคนที่มีปัญหาด้าน พัฒนาการและปัญหาความพิการของสมองอยู่มาก ดังนั้นหากสุ่มคนที่เป็นซาวองส์มาจำนวนหนึ่ง ก็จะพบว่ามีคนที่เป็นโรคออทิสติกถึงครึ่งหนึ่ง นอกเหนือจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้โดยการทดลองด้วย Computer Tomography (CT)และ Magnetic Resonance Imaging (MRI) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างภาพด้วยรังสี และ สนามแม่เหล็ก ทำให้พบข้อบกพร่องในสมองซีกซ้ายของคนที่เป็นซาวองส์จำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองของทารกขณะอยู่ในครรภ์มารดา เนื่องจากสมองซีกซ้ายนั้นมีการพัฒนาช้ากว่าสมองซีกขวา ดังนั้นสมองซีกซ้ายจึงมีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายได้มากกว่า ส่วนในกรณีที่มักพบอาการซาวองส์ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาจมีสาเหตุมาจากการทีมีฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเทอโรนในระดับสูงมากจนเป็น พิษต่อประสาทและทำให้เซลล์ประสาทเกิดความเสียหายได้ [[51583]]

ดาวน์โหลดเอกสาร

ที่มา: http://habitant-morbi.exteen.com/20130510/entry-4
วันที่โพสต์: 12/05/2556 เวลา 02:16:08

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด